สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม — ธันวาคม) พ.ศ. 2553(อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 28, 2011 15:31 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ในช่วงไตรมาสที่ 4 อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อยู่ในชะลอตัวลง ทั้งนี้เนื่องจากการแข็งค่าของเงินบาทที่ส่งผลให้การส่งออกได้น้อยลง ราคา น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นความไม่แน่นอนทางการเมืองยังคงเป็นปัจจัยที่อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้เคมีภัณฑ์เป็นวัตถุดิบในการผลิต ประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลปีใหม่ที่มีวันหยุดยาว

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้สำรวจข้อมูลการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซดาไฟซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานที่สำคัญ โดยใน ไตรมาสที่ 4 ปริมาณการผลิต และการจำหน่ายมีปริมาณลดลง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การผลิต

โซดาไฟ

หน่วย: ตัน

Q4/53เทียบกับ

โซดาไฟ       2550          2551       Q3/52       Q4/52       Q1/53       Q2/53       Q3/53       Q4/53  Q3/53(ร้อยละ)
การผลิต    571,599.9     842,967   255,106.4   233,228.4   210,104.2   290,930.3   308,561.6   266,255.1     -13.71
การจำหน่าย   479,821   741,487.7   213,710.7   194,881.8   180,404.5   209,016.7   225,087.1   195,497.5     -13.14

ที่มา :สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตโซดาไฟในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีปริมาณ 266,255.1 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 13.71 และการจำหน่ายโซดาไฟ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 มีปริมาณ 195,497.5 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 13.14 การผลิตและการจำหน่ายลดลงเนื่องจากเป็นวัฎจักรของ การผลิตอุตสาหกรรมโซดาไฟและมีวันหยุดค่อนข้างมาก รวมทั้งเทศกาลปีใหม่ และโรงงานจะไม่สต๊อกสินค้าไว้ด้วย

หมายเหตุ : โซดาไฟเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา และยังใช้ประโยชน์ได้อีกมาก มาย เช่น ในการผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร เส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น ๆ

การตลาด

การนำเข้า

ไตรมาส 4 ปี 2553 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 10,234 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.25 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลง ร้อยละ 1.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 27,011 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 6.19 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีมูลค่านำเข้า 14,308 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.68 เมื่อ เทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากเป็นช่วงนอกฤดูกาลทำไร่นาและราคาปุ๋ยเคมีค่อนข้างแพงแต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี ก่อน อุตสาหกรรมสีมีการนำเข้า 9,754 ล้านบาทลดลงร้อยละ 10.19 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.81 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อนและเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 6,844 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.76 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออก

ไตรมาส 4 ปี 2553 การส่งออกเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 4,221 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.37 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่ม ขึ้นร้อยละ 19.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 11,371 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.19 เมื่อ เทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 7.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีมูลค่าการส่งออก 781 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อย ละ 0.38 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอุตสาหกรรมสีมีมูลค่าส่งออก 2,999 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่ง สำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 13,544 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.35 เมื่อเทียบกับช่วง เดียวกันของปีก่อน

แนวโน้ม

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์น่าจะดีขึ้น ทั้งการผลิต การจำหน่าย นำเข้าและส่งออก เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ตัวเลขทางเศรษฐกิจดี ขึ้น มีมาตราการทางด้านการเงินออกมากระตุ้นภาคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง ปริมาณการส่งออกที่ดีขึ้น รวมทั้ง การเบิกจ่ายงบโครงการไทยเข้มแข็ง ของรัฐบาลในปี 2553 ที่มีเป้าหมายในการใช้เงินงบประมาณอยู่ที่ร้อยละ 85 ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 278,000 ล้านบาท ถือว่าเป็นการกระตุ้นให้เกิดการ ลงทุนและการจับจ่ายใช้สอยกันเพิ่มมากขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องระวังการแข็งค่าของเงินบาท ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจของยุโรป ปัญหาทางการเมืองของ อียิปต์ ปัญหาการเมืองภายในประเทศ และปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย รวมทั้ง ปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ