ภาคอุตฯปี 53 สร้างสถิติใหม่ทั้ง GDP-MPI ขยายตัว13.9%และ 14.4% ตามลำดับ ชี้อุตฯไทยของจริง เป็นฐานการผลิตที่แข็งแกร่ง การ ส่งออกรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวครั้งมโหฬาร ขณะที่ MPI เดือน ม.ค.ไม่น้อยหน้า ขยายตัว 3.7% กำลังการผลิตสูง 62.13%
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภาคการผลิตอุตสาหกรรมในปี 2553 มีอัตราการขยายตัวที่ ถือว่าดีมาก โดย GDP ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวได้สูงถึง 13.9% เป็นสถิติสูงสุดใหม่ในรอบ 16 ปีนับจากปี 2537 (Q1 22.9%Q2 17.6%,Q3 11.6% และQ4 4.8%) ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างมีเสถียรภาพ รวมทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ที่การลงทุนภาครัฐมีส่วนสำคัญใน การขับเคลื่อนอัตราการขยายตัว ขณะที่ภาคเอกชนเริ่มมีความเชื่อมั่นมากขึ้นและพร้อมอัดฉีดเม็ดเงินลงทุนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้อัตราการ ขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมไทย ปี 2554 เป็นไปในทิศทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง
เช่นเดียวกันกับ อัตราการขยายตัวของดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม หรือ MPI ขยายตัวได้สูงถึง 14.4% เป็นสถิติสูงสุดในรอบ 10 ปี นับ จากปี 2543 ที่ สศอ.เริ่มจัดทำ MPI ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 63.3% เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับ MPI ปัจจัยหลักมาจากการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจโลก และปัจจัยภายในประเทศที่ได้รับแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือน การลงทุน และการใช้จ่ายของภาครัฐ
ในปี 2553 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวได้ได้สูงถึง 29.7% ซึ่ง อุตฯ หลักที่สำคัญ 3 อันดับแรก ประกอบ ด้วย ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ที่ขยายตัว 55.2% 32.4% และ 21.9% ตามลำดับ นอกจากนี้หากพิจารณาการนำเข้าสินค้า ทุนและวัตถุดิบ ที่มีการขยายตัว 29.8% และ 44.4% จะเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงภาพบวกของการลงทุนการผลิตที่สูงขึ้นนั่นเอง
นางสุทธินีย์ กล่าวว่า ในปี 2554 อัตราการขยายตัวของ GDP ภาคอุตสาหกรรม และ MPI จะขยายตัวอยู่ที่ 5.5-6.5% และ 6.0- 8.0% ตามลำดับ ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตจะอยู่ที่ 64.0-66.0% โดย สศอ.ยังคงคาดการณ์นี้ไว้เท่ากับที่ได้เคยประเมินในช่วงปลายปี 2553 เนื่องจากภาพรวมของภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการผลิตเพื่อการส่งออกในหมวดสินค้าสำคัญ เช่น ยานยนต์ Hard disk drive เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น โดยปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อการขยายตัวได้แก่ เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวชัดเจน รวมทั้งการย้าย ฐานการผลิตมายังประเทศไทย จะกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม สศอ. ยังได้ประเมินปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวที่สำคัญได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ต้นทุนการผลิต สูงขึ้นจากค่าแรงที่สูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนพลังงานและวัตถุดิบมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาโดมิโน่การโค่นล้มผู้นำประเทศในแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ จะส่งผลต่อราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่พุ่งสูงและมีความผันผวน ซึ่งปัจจัยนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อการค้าการลงทุนที่มีระหว่างกัน ซึ่ง ในปี 2553 ประเทศไทยมีการค้าการส่งออกไปยังประเทศแถบตะวันออกกลางและแอฟริกาในสัดส่วน 8.5% ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 5.1 แสนล้านบาท
นอกจากนี้ นางสุทธินีย์ ได้สรุปตัวเลข MPI เดือนมกราคม 2554 ว่า MPI เดือน ม.ค.ขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน โดยอัตราการใช้กำลังการผลิต 62.13% อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ MPI เดือน ม.ค.เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ที่สำคัญ ได้แก่ การผลิตยานยนต์ หลอดอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ขณะที่การผลิต Hard disk drive เบียร์ ลดลงเล็กน้อย
การผลิตรถยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้น 20.7% และ 18.6%ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลมา จากเศรษฐกิจของโลกและของประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น สำหรับตลาดภายในประเทศได้รับผลดีจากค่ายรถยนต์ต่างมีการเปิดตัวรถรุ่นใหม่ออกมาเสนอเพื่อ เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค โดยเฉพาะรถยนต์ภายใต้โครงการอีโคคาร์ ที่ออกมากระตุ้นตลาดทำให้ตลาดรถยนต์คึกคักเป็นอย่างยิ่ง ส่งผลให้การจำหน่าย รถยนต์นั่งขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 1800 c.c.เพิ่มสูงขึ้นถึง 61.2% ขณะเดียวกันจากปัจจัยราคาพืชผลทางการเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้นส่งผลต่อยอดการ จำหน่ายรถกะบะขนาด 1ตัน เพิ่มขึ้นถึง 17.6% จากปีก่อน และยังคาดว่าในปี 2554 นี้ ปัจจัยราคายางพาราที่พุ่งสูงขึ้น จะส่งผลให้เกษตรกรชาวสวน ยางใหม่ โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกำลังซื้อมากขึ้นจึงส่งผลต่อยอดการจำหน่ายรถกะบะที่สูงขึ้นอย่างมาก
การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 18% และ 19% ตามลำดับ เนื่องจาก ตลาดโลกยังมีความต้องการสินค้าในกลุ่มนี้ค่อนข้างสูง ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตเพื่อการส่งออกที่สำคัญจึงได้รับคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง โดยสินค้า ที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ Monolithic IC มีการผลิตและจำหน่าย เพิ่มขึ้น 21.95%และ 2.84% ตามลำดับ
การผลิตเครื่องปรับอากาศ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 27.2%และ31.4% ตามลำดับ เนื่องจาก เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวผู้ประกอบการได้ส่งสินค้ารุ่นใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมเป็น สำคัญ จึงได้รับคำสั่งซื้อเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา และยุโรปอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งปัจจัยการเติบโตของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นหลายโครงการ โดย เฉพาะบริเวณที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายต่างๆ ส่งผลต่อยอดการผลิตและจำหน่ายเครื่องปรับอากาศที่สูงขึ้น
นางสุทธินีย์ สรุปภาพรวม MPI เดือนมกราคมคม 2554 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดังนี้
ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 186.30 เพิ่มขึ้น 3.70% จากระดับ 179.65 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 182.14 เพิ่มขึ้น 2.27% จากระดับ 178.10 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง 187.07 เพิ่มขึ้น 4.47% จากระดับ 179.08 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ ระดับ 152.44 เพิ่มขึ้น 10.18% จากระดับ 138.36 ขณะที่ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 117.47 ลดลง -0.36% จากระดับ 117.90 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 62.13%
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต
Index -------------------------------------------------2553 --------------------------------------------- 2554 ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 179.65 183.23 212.5 179.95 185.02 194.19 190.12 183.71 201.5 191.2 190.4 188.4 อัตราการเปลี่ยนแปลง(MOM)% -7.9 2 15.6 -15.6 2.8 5.07 -2.05 -3.14 9.65 -4.91 -0.45 -0.1 -1.1 อัตราการเปลี่ยนแปลง(YOY)% 29.1 31.1 32.6 23 15.9 14.34 13.16 8.67 8.13 6.24 5.61 -2.48 3.7 อัตราการใช้กำลังการผลิต% 60.4 60.6 67.9 57.9 64 65.66 62.4 64.03 64.36 64.11 63.63 63.39 62.1
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--