รายงานภาวะอุตสาหกรรมทองแดง ปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 7, 2011 15:42 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ทองแดงเป็นโลหะที่มนุษย์รู้จักและนามาใช้ประโยชน์เกือบ 5,000 ปีแล้ว ทั้งในรูปของทองแดงบริสุทธิ์และทองแดงเจือ เช่น ทองเหลือง และบรอนซ์ ด้วยคุณสมบัติที่สามารถดัดแปลงรูปร่างได้ง่าย นาความร้อนและนาไฟฟ้าได้ดี จึงทาให้มีการนาเอาโลหะทองแดงมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โทรคมนาคม อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และ ยานยนต์

ภาวะตลาดโลก

การผลิต

หากเปรียบเทียบปริมาณการผลิตแร่ทองแดงกับแร่โลหะอื่น เช่น เหล็ก นับว่าการผลิตทองแดงมีปริมาณน้อยมาก นับตั้งแต่ปี 2443 การผลิตแร่ทองแดงของโลกมีปริมาณน้อยกว่า 5 แสนตันต่อปี แต่ล่าสุดในปี 2552 การผลิตแร่ทองแดงอยู่ที่ประมาณ 16 ล้านตัน ถ้าจาแนกตามภูมิภาคจะพบว่าภูมิภาคที่มีการผลิตแร่ทองแดงสูงสุดคือ ลาตินอเมริกา รองลงมาคือ เอเชีย และยุโรป หากพิจารณาเป็นรายประเทศ ประเทศชิลี เป็นผู้ผลิตสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของโลก อันดับ 2 คือ เปรู และอันดับ 3 คือ สหรัฐอเมริกา

ในส่วนของการผลิตทองแดงบริสุทธิ์ (Refined Copper) ปี 2552 ผลิตได้ 18,356,000 เมตริกตัน ในขณะที่ปี 2553 ผลิตได้ 19,278,000 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.95 เมื่อเทียบกับปีก่อน ภูมิภาคเอเชียเป็นแหล่งที่ผลิตสูงสุด โดยผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 1 ของโลกคือ บริษัท Jiangxi Copper Corporation ประเทศจีน มีกาลังการผลิต 900,000 เมตริกตันต่อปี อันดับ 2 มี 2 แห่งคือ บริษัท Yunnan Copper Industry Group ประเทศจีน และบริษัท Birla Group Hidalco ประเทศอินเดีย แต่ละแห่งมีกาลังการผลิต 500,000 เมตริกตันต่อปี สาหรับปี 2554 International Copper Study Group (ICSG) ได้มีการประมาณการว่าทั่วโลกจะผลิตทองแดงบริสุทธิ์ได้ 20,498,000 เมตริกตัน ซึ่งจะเพิ่มขึ้นจากปี 2553 เพียงเล็กน้อยคือ ร้อยละ 1.11 เนื่องจากการขาดแคลน Copper centrates

ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตแร่ทองแดงและทองแดงบริสุทธิ์ ปี 2552 และประมาณการผลิตปี 2553-2554

                                      ปริมาณการผลิตและประมาณการ
       ภูมิภาค                                            แร่ทองแดง                   ทองแดงบริสุทธิ์
   (1000 เมตริกตัน)                                2552     2553    2554         2552    2553     2554
อาฟริกา                                          1,185    1,308   1,529          672     919    1,152
อเมริกาเหนือ                                      1,933    1,883   2,142        1,758   1,691    1,827
ละตินอเมริกา                                      7,034    7,196   7,528        3,935   3,972    4,109
อาเซียน10 ประเทศ                                 1,179    1,055     844          544     536      593
เอเชีย ยกเว้นอาเซียนและกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) 1,504    1,629   1,715        7,044   7,578    7,997
กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)                       519      517     539          450     456      512
สหภาพยุโรป 27 ประเทศ                               729      783     809        2,510   2,680    2,763
ยุโรปนอกเหนือจากกลุ่มสหภาพยุโรป 27 ประเทศ              774      806     855          995   1,038    1,070
นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย                             1,021    1,057   1,115          445     409      475
รวมทั้งสิ้น                                        15,877   16,235  17,076       18,356  19,278   20,498

ที่มา : International Copper Study Group

สาหรับการผลิตทองแดงบริสุทธิ์และทองแดงเจือที่อยู่ในรูปของสินค้ากึ่งสาเร็จรูปนั้น ในปี 2553 มีสัดส่วนกาลังการผลิตที่จาแนกตามภูมิภาค และจาแนกตามสินค้าดังนี้

จำแนกตำมภูมิภำค

  • จีน ร้อยละ 30 ซึ่งมีสัดส่วนกาลังการผลิตมากที่สุดในโลกและมีจานวนมากที่สุดด้วยคือ 498 โรงงาน
  • สหภาพยุโรป (27ประเทศ) รวมนอร์เวย์และสวิตเซอร์แลนด์ ร้อยละ 22
  • อเมริกาเหนือและใต้ ร้อยละ 14
  • เอเชียเหนือไม่รวมจีน ร้อยละ 14
  • เอเชียใต้ รวมทั้งกลุ่ม Oceania (นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย) ร้อยละ 9
  • รัสเซีย รวมทั้งเอเชียกลาง ร้อยละ 5
  • ตะวันออกกลาง ร้อยละ 5
  • อาฟริกา ร้อยละ 1

จำแนกตำมสินค้ำ

  • Wire rod ร้อยละ 49
  • Plate Sheet & Strip ร้อยละ 15
  • Rod Bar & Section ร้อยละ 13
  • Copper tube & Copper alloy tube ร้อยละ 13
  • Copper alloy wire ร้อยละ 6
  • Ingot ร้อยละ 3
  • ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 1 คือ Foil Powder และCasting

การบริโภคทองแดงบริสุทธิ์

การบริโภคทองแดงบริสุทธิ์ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประเทศจีน โดยในปี 2552 จีนมีการบริโภคเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 38 แต่ในปี 2553 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย สาหรับการบริโภคทองแดงทั้งโลกนั้น ภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาส่งผลให้การบริโภคในปี 2553 ลดลงร้อยละ 3.8 อยู่ที่ระดับ 18,882,000 เมตริกตัน และในปี 2554 ทาง International Copper Study Group ประมาณการว่าทั้งโลกจะบริโภคอยู่ที่ระดับ 19,729,000 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับปี 2553

ตารางที่ 2 ปริมาณการบริโภคทองแดงบริสุทธิ์ ปี 2552 และประมาณการบริโภคปี 2553-2554

   ภูมิภาค(1000 เมตริกตัน)                              2552           2553           2554
อาฟริกา                                               306            313            344
อเมริกาเหนือ                                         2,048          2,143          2,228
ละตินอเมริกา                                           502            593            611
อาเซียน10 ประเทศ                                      687            730            760
เอเชีย ยกเว้นอาเซียนและ กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)  10,540         10,744         11,300
กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS)                          105            111            114
สหภาพยุโรป 27 ประเทศ                                3,096          3,299          3,394
ยุโรปนอกเหนือจากกลุ่มสหภาพยุโรป 27 ประเทศ                 775            813            839
นิวซีแลนด์และออสเตรเลีย                                  130            135            139
รวมทั้งสิ้น                                           18,189         18,882         19,729
          ที่มา : International Copper Study Group

ราคาตลาดโลก

ในปี 2553 ราคาทองแดงค่อนข้างจะผันผวนมาก ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวอย่างรุนแรงในประเทศชิลีซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตแร่ทองแดงรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีปริมาณการผลิตต่อปีประมาณ 1 ใน 3 ของการผลิตแร่ทองแดงทั้งโลก ก่อให้เกิดความกังวลต่อภาวะอุปทาน ทาให้การซื้อขายในตลาด London Metal Exchange (LME) มีการปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ที่ราคาแร่อยู่ที่ 6,278 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน เพิ่มขึ้นสูงสุดที่ 7,938 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตันในวันที่ 2 เมษายน อันเป็นผลมาจากความกังวลของนักลงทุน จากนั้นก็ทยอยปรับตัวลงมาจนถึงระดับต่าสุดในรอบที่สองของปีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน อยู่ที่ระดับ 6,155 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน และไต่ระดับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงจุดสูงสุดที่ 8,815 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน สาเหตุจากความต้องการใช้ทองแดงที่เพิ่มมากขึ้นในอุตสาหกรรมพลังงาน ยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ของประเทศจีน โดยจีนมีการบริโภคทองแดงรวมทั้งสิ้นในปี 2553 ที่ระดับ 6.8 ล้านเมตริกตัน และคาดว่าอีก 5 ปี ข้างหน้าคือปี 2558 จะมีความต้องการบริโภค 8.5 ล้านเมตริกตัน นอกจากความต้องการของประเทศจีนแล้ว เยอรมนีเป็นอีกประเทศหนึ่งที่กระตุ้นด้านอุปสงค์ให้เพิ่มขึ้นและส่งผลให้ราคาทองแดงเพิ่มขึ้นตามไปด้วยจากการที่เศรษฐกิจในประเทศมีการขยายตัว

ภาวะอุตสาหกรรมทองแดงภายในประเทศ

โครงสร้างอุตสาหกรรมทองแดงภายในประเทศแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ อุตสาหกรรมต้นน้า อุตสาหกรรมกลางน้า และอุตสาหกรรมปลายน้า

อุตสาหกรรมต้นน้า คือการถลุงทองแดงจากสินแร่ ปัจจุบันมีผู้ผลิตเพียงรายเดียว ได้แก่ บริษัทไทยคอปเปอร์ จากัด (มหาชน) ก่อตั้งตั้งแต่ปี 2537 แต่ขณะนี้ยังมิได้ดาเนินการผลิต

อุตสาหกรรมกลางน้า คือการหล่อทองแดงให้เป็นแท่งหน้าตัดต่างๆ ขึ้นอยู่กับการนาไปผลิตต่อ เช่น ทองแดงแท่งหน้าตัดกลม (Billet) จะถูกนาไปใช้ผลิตทองแดงทรงยาว ทองแดงแท่งหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า (Slab) จะใช้ผลิตทองแดงแผ่นและ Foil ผู้ผลิตกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีการผลิตต่อเนื่องไปยังอุตสาหกรรมปลายน้า

อุตสาหกรรมปลายน้า จะแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มตามชนิดผลิตภัณฑ์ ดังนี้

1. ท่อทองแดง

2. สายไฟและเคเบิ้ล

3. ทองแดงแผ่นและ Foil

4. ลวดทองแดงและทองแดงเส้น

การใช้งาน : ผลิตภัณฑ์ทองแดงเหล่านี้จะถูกนาไปใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลักที่สาคัญ ได้แก่ โทรคมนาคม ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศและตู้เย็น อาคารและงานก่อสร้างต่างๆ

การผลิตและการจาหน่าย : ปี 2553 เป็นปีที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ดังนั้นการผลิตและการจาหน่ายภายในประเทศจึงมีการขยายตัวในทุกผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะในกลุ่มที่นาไปใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องทาความเย็น และยานยนต์ โดยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นระหว่างร้อยละ 10-30 (แล้วแต่ผลิตภัณฑ์) เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

การนาเข้า : เนื่องจากโรงงานผู้ผลิตทองแดงบริสุทธิ์จากการถลุงจากสินแร่ของไทยยังไม่เริ่มดาเนินการผลิต ผู้ผลิตไทยจึงต้องนาเข้าวัตถุดิบ เช่น Copper matt Copper anode และ Unwrought เข้ามาหลอมแล้วนาไปรีดเป็นผลิตภัณฑ์ทรงยาวและทรงแบน รวมทั้งยังมีการนาเข้าสินค้าสาเร็จรูปด้วย สาหรับปี 2553 วัตถุดิบที่มีการนาเข้าสูงมาก ได้แก่ ทองแดงที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป (Unwrought) นาเข้ามาในปริมาณ 250,350 เมตริกตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 13.82 แหล่งนาเข้าที่สาคัญคือประเทศอินโดนีเซีย ลาว ฟิลิปปินส์ ชิลี และออสเตรเลีย รองลงมาคือ เศษทองแดง (Scrap) นาเข้ามา 10,346 เมตริกตัน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียงเล็กน้อยคือร้อยละ 9.88) โดยนาเข้ามาจากประเทศสิงคโปร์ โคลอมเบีย และ มาเลเซีย สาหรับผลิตภัณฑ์ทองแดงที่นาเข้ามามาก ได้แก่ แผ่นทองแดงที่มีความหนาเกิน 0.15 มิลลิเมตร คิดเป็นปริมาณ 42,433 เมตริกตัน (เพิ่มจากปีก่อนร้อยละ 30.43) ส่วนใหญ่นาเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้ รองลงมาคือ ลวดทองแดง คิดเป็นปริมาณ 41,790 เมตริกตัน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 38.95) โดยนาเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย ไต้หวัน และอินเดีย รายละเอียดปริมาณและมูลค่าการนาเข้าทองแดงปี 2553 ปรากฏตามตารางที่ 3

ตารางที่ 3 ปริมาณและมูลค่าการนาเข้าทองแดง และของที่ทำด้วยทองแดง ปี 2553

          ผลิตภัณฑ์                                  ปริมาณ      อัตราการขยายตัว        มูลค่า      อัตราการขยายตัว
                                                (เมตริกตัน)    เทียบกับปีก่อน (%)     (ล้านบาท)    เทียบกับปีก่อน (%)
- คอปเปอร์แมตต์ รวมทั้งซีเมนต์คอปเปอร์                    1,295          94.74             14          133.33
- ทองแดงไม่บริสุทธ์ รวมทั้งแอโนดทองแดง                     479         -62.49            126          -51.35
- ทองแดงบริสุทธ์ และทองแดงเจือที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป            250,350          13.82         60,020           47.22
- เศษและของที่ใช้ไม่ได้ที่เป็นทองแดง                      10,346           9.88          2,131           47.17
- มาสเตอร์อัลลอยของทองแดง                              143          74.39          97.00           73.21
- ผงทองแดงและเกล็ดทองแดง                              989          18.30            359           40.78
- ท่อน เส้น และโพรไฟล์ ทาด้วยทองแดง                   17,683          27.01          4,053           62.58
- ลวดทองแดง                                       41,790          38.95         10,738           82.34
- แผ่น แผ่นบาง และแถบ ทาด้วยทองแดง หนาเกิน 0.15 มม.   42,433          30.43         12,861           43.43
- ฟอยล์ทองแดง                                      18,302          34.31          6,651           43.46
- หลอด หรือ ท่อ ทาด้วยทองแดง                         21,209          45.68         12,924          245.93
- อุปกรณ์ติดตั้ง ของหลอดหรือท่อทาด้วยทองแดง                1,627          60.30            774           54.80
- ลวดเกลียว เคเบิล แถบถัก ทาด้วยทองแดงไม่หุ้มฉนวนไฟฟ้า       192          65.52            100           92.31
- ตะปู ตะปูสั้นหัวใหญ่ หมุดกด ตะปูสองขาทาด้วยทองแดง
  รวมทั้งตะปูควงและสลักเกลียว                             704          38.04            406           40.00
- ของใช้บนโต๊ะอาหาร ของใช้ในครัว หรือของใช้
  ตามบ้านเรือนอื่นๆ ทาด้วยทองแดง                        1,590          34.75            593           33.26
- ของอื่นๆ ทาด้วยทองแดง                               2,535         585.14          3,086          161.53
          รวม                                    411,667          21.03        114,933           61.92

ที่มา : กรมศุลกากร

การส่งออก : ในปี 2553ไทยมีการส่งออกเศษทองแดงเป็นจานวนมากคิดเป็นปริมาณ 66,368 เมตริกตัน (ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.74) ตลาดส่งออกคือ ประเทศญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และสิงคโปร์ สาหรับผลิตภัณฑ์ทองแดงที่ส่งออกมาก ได้แก่ หลอดหรือท่อทองแดง (Pipes & Tubes) คิดเป็นปริมาณ 26,285 เมตริกตัน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ23.97) ตลาดที่สาคัญคือ ประเทศลาว ญี่ปุ่น และอียิปต์ ผลิตภัณฑ์ทองแดงที่ส่งออกมาก รองลงมาคือ ท่อน เส้น และโพรไฟล์ (Bars Rods & Profiles) คิดเป็นปริมาณ 21,430 เมตริกตัน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20.03) โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังประเทศไต้หวัน สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย รายละเอียดปริมาณและมูลค่าส่งออกทองแดงของไทยปี 2553 ปรากฏตามตารางที่ 4

ตารางที่ 4 ปริมาณและมูลค่าการส่งออกทองแดง และของที่ทาด้วยทองแดง ปี 2553

          ผลิตภัณฑ์                                  ปริมาณ        อัตราการขยายตัว       มูลค่า       อัตราการขยายตัว
                                                (เมตริกตัน)      เทียบกับปีก่อน (%)    (ล้านบาท)     เทียบกับปีก่อน (%)
- คอปเปอร์แมตต์ รวมทั้งซีเมนต์คอปเปอร์                       0            -100.00            0          -65.33
- ทองแดงไม่บริสุทธ์ รวมทั้งแอโนดทองแดง                      0                  0
- ทองแดงบริสุทธ์ และทองแดงเจือที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป             2,978              30.79           97           18.29
- เศษและของที่ใช้ไม่ได้ที่เป็นทองแดง                     66,368              -4.74        9,300           25.97
- มาสเตอร์อัลลอยของทองแดง                               0            -100.00            0          -75.50
- ผงทองแดงและเกล็ดทองแดง                           2,214             362.21           34          -43.33
- ท่อน เส้น และโพรไฟล์ ทาด้วยทองแดง                  21,430              20.03        5,520           50.70
- ลวดทองแดง                                       6,631              29.51        1,719           64.03
- แผ่น แผ่นบาง และแถบ ทาด้วยทองแดง หนาเกิน 0.15 มม.  10,157              56.57        2,243           76.06
- ฟอยล์ทองแดง                                      8,945              13.92        1,124           -8.62
- หลอด หรือ ท่อ ทาด้วยทองแดง                        26,285              23.97        7,827           47.46
- อุปกรณ์ติดตั้ง ของหลอดหรือท่อทาด้วยทองแดง               2,219              42.88          975           62.50
- ลวดเกลียว เคเบิล แถบถัก ทาด้วยทองแดงไม่หุ้มฉนวนไฟฟ้า    1,078             143.34          332          186.21
- ตะปู ตะปูสั้นหัวใหญ่ หมุดกด ตะปูสองขา-
  ทาด้วยทองแดง รวมทั้งตะปูควงและสลักเกลียว                158             122.54          146          192.00
- ของใช้บนโต๊ะอาหาร ของใช้ในครัว หรือของใช้ตาม-
  บ้านเรือนอื่นๆ ทาด้วยทองแดง                          2,678              65.41        1,015           85.56
- ของอื่นๆทาด้วยทองแดง                                 233             130.69        1,056           30.21
          รวม                                   151,374              12.35       31,389           41.55
          ที่มา : กรมศุลกากร

ปัญหาและอุปสรรค : ปัญหาของอุตสาหกรรมทองแดง คือการที่ราคาวัตถุดิบในตลาดโลก เช่น แร่ และทองแดงบริสุทธิ์ มีความผันผวนมาก เพราะนอกจากราคาจะขึ้นลงตามความต้องการของตลาดแล้วยังเกิดจากการเก็งกาไรของนักลงทุนด้วย ทาให้บางครั้งราคามิได้สะท้อนถึงอุปสงค์ที่แท้จริงส่งผลให้ผู้ผลิตสินค้าของไทยต้องประสบปัญหาในการวางแผนการผลิต และการคานวณต้นทุนการผลิต

แนวโน้มในปี 2554 : คาดว่าในปี 2554 อุตสาหกรรมทองแดงภายในประเทศจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยจะขยายตัวไม่ต่ากว่าร้อยละ 10 เพราะอุตสาหกรรมที่ใช้ทองแดง เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และเครื่องทาความเย็น ยังมีการขยายตัวต่อไป นอกจากนั้นอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ของญี่ปุ่นจะย้ายฐานการผลิตจากญี่ปุ่นมายังไทยเพราะฐานการผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นส่วนใหญ่อยู่ในไทยก็จะทาให้มีการใช้ทองแดงเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อีกหนึ่งปัจจัยที่จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมทองแดงคือเศรษฐกิจโลก หากความไม่สงบทางการเมืองในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ามันของโลกยังไม่ยุติลง ก็จะส่งผลให้น้ามันมีราคาเพิ่มสูงขึ้น ทาให้เศรษฐกิจโลกขยายตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่างๆรวมทั้งอุตสาหกรรมทองแดงด้วย

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ