รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 18, 2011 14:54 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนกุมภาพันธ์ 2554
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ลดลงจากเดือนมกราคม 2554 ร้อยละ 5.3 และลดลงร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตชะลอตัวจากอุตสาหกรรมสำคัญ คือ การผลิต Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่มีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา และเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 59.1 ลดลงจากร้อยละ 62.3 ในเดือนมกราคม 2554
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญ

อุตสาหกรรมรถยนต์

  • ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2554 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีการจัดงาน Bangkok International Motor Show ครั้งที่ 32 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งภายในงานมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด
  • การผลิตรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 45 และส่งออกร้อยละ 55 อย่างไรก็ตาม การเกิดภัยพิบัติที่ประเทศญี่ปุ่น อาจส่งผลกระทบต่อการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อนำมาประกอบเป็นรถยนต์

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

  • ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามประมาณการของเครื่องปรับอากาศ ที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 11.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก Hard Disk Drive มีอัตราการเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และปีที่แล้วมีการเร่งการผลิตค่อนข้างมาก
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ม.ค. 54 = 186.9

ก.พ. 54 = 176.9

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
  • น้ำตาล
  • อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ม.ค. 54 = 62.3

ก.พ. 54 = 59.1

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
  • เส้นใยสิ่งทอ
  • อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 มีค่า 176.9 ลดลงจากเดือนมกราคม2554 (186.9) ร้อยละ 5.3 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนกุมภาพันธ์ 2553 (183.2)ร้อยละ 3.4

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2554 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำตาล อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็งเครื่องแต่งกาย โทรทัศน์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องประดับเทียม โทรทัศน์เบียร์ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 59.1 ลดลงจากเดือนมกราคม 2554 (ร้อยละ 62.3) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนกุมภาพันธ์ 2553(ร้อยละ 60.6)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนมกราคม 2554 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เส้นใยสิ่งทอ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง โทรทัศน์ผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม โทรทัศน์ Hard Disk Drive อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เหล็ก เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2554

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2554 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 261 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมกราคม 2554 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 296 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 11.82 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 9,489.25 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม 2554 ซึ่งมีการลงทุน 43,488.90 ล้านบาท ร้อยละ 78.18 แต่การจ้างงานรวมมีจำนวน 6,918 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2554 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 5,778 คน ร้อยละ 19.73

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 283 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 7.77 มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งมีการลงทุน16,039.35 ล้านบาท ร้อยละ 40.84 แต่มีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 5,109 คน ร้อยละ 35.41

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 คือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์และเคาะพ่นสีรถยนต์ จำนวน 22 โรงงาน รองลงมาคืออุตสาหกรรมขุดดิน ล้างทราย จำนวน 13 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 คือ อุตสาหกรรม ผลิต และจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า เงินลงทุน จำนวน 3,391.20 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์และเคาะพ่นสีรถยนต์ เงินลงทุน จำนวน 1,273.16 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 1,725 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมทำวงกบ ขอบประตู ขอบหน้าต่าง บานประตู บานหน้าต่าง โต๊ะ ตู้ เตียงจำนวนคนงาน 606 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2554 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 69 ราย น้อยกว่าเดือนมกราคม 2554 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 109 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.70 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 587.40 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนมกราคม 2554 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 661.99 ล้านบาท แต่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,211 คน มากกว่าเดือนมกราคม 2554 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 1,274 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 101 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 31.68 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 5,253.44 ล้านบาทและมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 3,358 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 คือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์และเคาะพ่นสีรถยนต์ จำนวน 8 โรงงาน รองลงมาคืออุตสาหกรรมดูดทราย และอุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสมผลิตภัณฑ์ยิมซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 6 โรงงานเท่ากัน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 คืออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป เงินทุน 215.65 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ตบแต่ง ซ่อมเครื่องเรือนที่ทำจากโลหะ รวมถึงส่วนประกอบ เงินทุน 88 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 คือ อุตสาหกรรมผลิตรองเท้าหรือชิ้นส่วนรองเท้า ซึ่งมิได้ทำจากไม้ ยางอบแข็ง พลาสติก คนงาน 1,590 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป คนงาน 560 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม —กุมภาพันธ์ 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 266 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 232 โครงการ ร้อยละ 14.66 มีเงินลงทุน 79,300 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 52,600 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 50.76

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม — กุมภาพันธ์ 2554

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

            การร่วมทุน                     จำนวน(โครงการ)        มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%                 119                     31,200
          2.โครงการต่างชาติ 100%                 84                     22,800
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ           63                     25,300

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — กุมภาพันธ์ 2554 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 24,300 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดเกษตรกรรม และผลิตผลจากการเกษตร มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 22,100 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารคาดว่า จะปรับลดลงตามคำสั่งซื้อ และระดับราคาน้ำมันที่ขยับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปัญหาการเมืองในกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ทำให้กำลังซื้อของต่างประเทศเริ่มชะลอตัวลง ประกอบกับการส่งออกไปญี่ปุ่นต้องหยุดชั่วคราวจากอุบัติภัยแผ่นดินไหว-สึนามิ นอกจากนี้การจำหน่ายภายในประเทศอาจปรับตัวลดลง จากระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้น และการเกิดอุทกภัยทางภาคใต้ ส่งผลให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยลดลง

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนกุมภาพันธ์ 2554 ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.1 แต่ทรงตัวจากปีก่อน แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น ไก่แปรรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง และแป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 13.6 28.2 และ 1.5 เนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณลดลง กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 79.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนเนื่องจากมีการอนุมัตินำเข้าน้ำมันปาล์มมาผลิตเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลน นอกจากนี้ในส่วนของการผลิตน้ำตาล โรงงานน้ำตาลเริ่มเปิดหีบช้ากว่าปีก่อน ปริมาณอ้อยทยอยเข้าโรงงานเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2554 สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณการจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.8 แต่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.5 จากการเพิ่มขึ้นของการจับจ่ายใช้สอยเนื่องจากการปรับเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำและรายได้ของครัวเรือนภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น

2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร(ไม่รวมน้ำตาล) ในรูปเงินบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 15.2 และ 11.9 โดยเฉพาะในสินค้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังสับปะรดกระป๋อง ไก่แปรรูป และทูน่ากระป๋อง มูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 30.0 7.6 7.1 และ 6.8 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินที่อ่อนค่าลงจากเดือนก่อน สำหรับสินค้าน้ำตาล ส่งออกได้ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ จากสต็อกน้ำตาลที่ลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากอินเดียและออสเตรเลียส่งออกลดลง

3. แนวโน้ม

การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าจะปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน ตามปริมาณคำสั่งซื้อที่ลดลง และระดับราคาน้ำมันที่ขยับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามปัญหาการเมืองในกลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ส่งผลให้กำลังซื้อของต่างประเทศอาจชะลอตัวลง ประกอบกับการส่งออกไปญี่ปุ่นต้องหยุดเป็นการชั่วคราว จากผลกระทบของเหตุอุบัติภัยแผ่นดินไหว-สึนามิ สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลงจากระดับราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยที่ชะลอตัวลง นอกจากนี้การเกิดอุทกภัยทางภาคใต้อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่ปรับตัวลดลงด้วย

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

“...แนวโน้มการผลิตในภาพรวมในระยะ 2-3 เดือนถัดไปของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอาจจะปรับตัวลดลงต่อเนื่อง รวมถึงการส่งออกสิ่งทอที่เป็นผ้าผืนอาจจะติดลบ...”

1. การผลิต

ภาวะการผลิตในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ส่วนใหญ่มีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน เครื่องนอนเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ ลดลงร้อยละ 6.1, 11.5, 18.6, 13.4 และ 2.0 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามฤดูกาลของการผลิตประกอบราคาวัตถุดิบปรับราคาสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ผลิตผลิตเฉพาะที่มีคำสั่งซื้อ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ผลิตลดลง ได้แก่ ผ้าผืน เครื่องนอน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอลดลงร้อยละ 0.6, 22.9 และ 0.2 แต่ในบางผลิตภัณฑ์มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าลูกไม้ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 , 23.1 และ 6.2 ตามลำดับ

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2554 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการจำหน่ายเพิ่มขึ้นทั้งผ้าผืน ผ้าลูกไม้ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอและผ้าถัก ร้อยละ 6.3, 27.0 , 7.4 และ 8.3ตามลำดับ สำหรับการส่งออก โดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เป็นสิ่งทอต้นน้ำ ได้แก่ ด้ายฝ้ายเส้นใยประดิษฐ์ และสิ่งทออื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.7, 7.9 และ 10.4 ตามลำดับ ในขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 0.6 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผ้าผืน ด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ เส้นใยประดิษฐ์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.6, 70.2, 38.8, 10.2, 49.6 และ 7.5 ตามลำดับ ตลาดส่งออกเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ยังขยายตัวได้ทั้งตลาดอาเซียนและญี่ปุ่นร้อยละ 4.9 และ 7.2 แต่ลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ร้อยละ 5.3, 0.9 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการส่งออกขยายตัวได้ดีทั้งอาเซียน, ญี่ปุ่น,สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ร้อยละ 31.1, 32.3, 2.8 และ 13.5 ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

แนวโน้มการผลิตในภาพรวมในระยะ 2-3 เดือนถัดไปของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มอาจจะปรับตัวลดลงต่อเนื่องตามฤดูกาล รวมถึงการส่งออกสิ่งทอที่เป็นผ้าผืนอาจจะติดลบ เนื่องจากผลกระทบจากราคาวัตถุดิบโดยเฉพาะฝ้ายมีราคาที่สูงขึ้น รวมถึงผลกระทบต่อเนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่มีคำสั่งซื้อลดลง แต่คาดว่าจะมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาในไตรมาสที่ 3 โดยเฉพาะจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา เนื่องจากจะมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นเพื่อสำรองไว้ช่วงไตรมาสที่ 4 ซึ่งจะมีการนำเข้าสินค้าก่อนเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

บ.Nippon Steel Corp (NSC) และ บ. Sumitomo Metal Industries (SMI) ได้วางแผนที่จะควบรวมกิจการกัน โดยปัจจุบัน บ.NSC เป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ในขณะที่ บ.SMI เป็นผู้ผลิตรายใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ ซึ่งหากข้อตกลงในการควบรวมประสบความสำ เร็จในเดือนตุลาคม 2012 จะทำ ให้กลายเป็นบริษัทผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจาก บ.Arcelor Mittal

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนกุมภาพันธ์2554 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.49 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 136.62 เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงยาวพบว่ามีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.87 โดยเหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.72 เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.26 และลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.93 โดยเป็นการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับคำสั่งซื้อที่เริ่มเข้ามามากขึ้นเนื่องจากในช่วงไตรมาสแรกของปีจะเป็นช่วงฤดูการก่อสร้างทำให้ผู้ซื้อมีการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น แต่ในกลุ่มเหล็กทรงแบน กลับมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 2.34 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีลดลง ร้อยละ 22.80 เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 7.41ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงร้อยละ7.83 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 10.88ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 19.38 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 10.81 สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 2.85 โดยลวดเหล็ก ลดลง ร้อยละ 26.41

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมีนาคม 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ดัชนีราคาเหล็กที่สำคัญในกลุ่มทรงแบนเพิ่มขึ้นทุกตัว ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 150.76 เป็น 159.18 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.59 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 157.94 เป็น 165.42 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.74 เหล็กแท่งแบนมีราคาที่ทรงตัว คือ 159.65แต่เหล็กในกลุ่มทรงยาวกลับมีราคาที่ลดลง ได้แก่ เหล็กเส้น ลดลงจาก 146.80 เป็น 144.15 เหรียญสหรัฐต่อตัน ลดลง ร้อยละ 1.81 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต ลดลงจาก 141.47 เป็น 141.18 ลดลง ร้อยละ 0.20 ซึ่งสถานการณ์ราคาเหล็กโดยรวมคาดการณ์ว่าจะมีการปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากราคาวัตถุดิบ เช่น ถ่านโค้ก ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้จะเป็นผลจากความต้องการใช้เหล็กของประเทศญี่ปุ่นเพื่อซ่อมแซมประเทศหลังจากการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนมีนาคม 2554 คาดว่าจะมีทิศทางที่ขยายตัวขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเหล็กทรงแบนเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า มีความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกันกับเหล็กทรงยาวที่มีแนวโน้มการผลิตที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากคำสั่งซื้อเริ่มมีมากขึ้น

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

  • อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 ตามสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ ดังนี้
  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 150,743 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งมีการผลิต 127,849 คัน ร้อยละ 17.91เนื่องจากมีการผลิตรถยนต์ทุกประเภทเพิ่มขึ้น (รถยนต์นั่ง, รถกระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์) และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2554 ร้อยละ 3.08
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 77,213 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 54,175 คัน ร้อยละ 42.53เนื่องจากมีการจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภทเพิ่มขึ้น (รถยนต์นั่ง,รถกระบะ 1 ตัน, รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV และ SUV) และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2554 ร้อยละ 12.89
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 80,699 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งมีการส่งออก 74,063 คัน ร้อยละ 8.96 ซึ่งเป็นการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย ตะวันออกกลางและยุโรป และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2554 ร้อยละ 18.53
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2554 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีการจัดงาน Bangkok International Motor Show ครั้งที่ 32 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ซึ่งภายในงานมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนมีนาคม 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 45 และส่งออกร้อยละ 55 อย่างไรก็ตาม การเกิดภัยพิบัติที่ประเทศญี่ปุ่น อาจส่งผลกระทบต่อการนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อนำ มาประกอบเป็นรถยนต์ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

รถจักรยานยนต์

  • อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ดังนี้
  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 174,345 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งมีการผลิต 149,715 คัน ร้อยละ 6.45 เนื่องจากมีการผลิตรถจักรยานยนต์ทุกประเภทเพิ่มขึ้น(รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต) แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมกราคม 2554ร้อยละ 2.25
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 167,298 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 143,683 คันร้อยละ 16.44 และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2554 ร้อยละ 3.54
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 16,500 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์ 2553 ซึ่งมีการส่งออก 6,636 คัน ร้อยละ 148.64 ซึ่งมีการส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2554 ร้อยละ 5.44
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมีนาคม2554 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์2554 ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีการจัดงาน Bangkok International Motor Show ครั้งที่ 32 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนมีนาคม 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 89 และส่งออกร้อยละ 11
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ขยายตัวดีขึ้นเนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง การส่งออกยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวได้ เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนายังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ปริมาณการผลิต และปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53 และ 1.63 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่าย เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.95 และ 3.31 ตามลำดับเนื่องจากอยู่ในช่วงไตรมาสที่ 1 ซึ่งเป็นฤดูกาลก่อสร้าง และปัจจัยสำคัญที่มีส่วนช่วยในการเติบโตของอุตสาหกรรม คือการลงทุนในโครงการพื้นฐานของรัฐบาล ซึ่งจะมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมากขึ้น

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนกุมภาพันธ์ 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 10.66 และ 19.37 ตามลำดับ การส่งออกของไทยที่ลดลงนี้ ลดลงเฉพาะในส่วนของปูนเม็ด สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ กัมพูชา เมียนมาร์ บังคลาเทศ และเวียดนาม

3.แนวโน้ม

แนวโน้มการผลิตและการจำ หน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง ประกอบกับมีการลงทุนโครงการพื้นฐานของภาครัฐนอกจากนี้มีการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย และปรับปรุงสาธารณูปโภคที่เสียหายจากน้ำท่วม

สำหรับการส่งออกคาดว่าจะยังขยายตัวได้เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโต ตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

-คาดการณ์แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนมีนาคม 2554 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามประมาณการของเครื่องปรับอากาศ ที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

-ส่วนคาดการณ์แนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เดือนมีนาคม 2554 คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 11.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก Hard Disk Drive มีอัตราการเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและปีที่แล้วมีการเร่งการผลิตค่อนข้างมาก

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มี

มูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ก.พ. 2554 +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

          เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์                                  มูลค่า(ล้านเหรียญฯ)    %MoM      %YoY
          อุปกรณ์คอมพิวเตอร์                                             1,361.87       -0.38     -6.97
          IC                                                           621.36        0.63     10.95

เครื่องปรับอากาศ 292.62 26.08 20.42

          เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้ารวมถึงแป้นและแผงควบคุม      171.25        9.89     97.47
          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์                                4,244.13        2.41     10.27
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 2.06 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 6 เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.89 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.45 ตามการผลิตเครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้เครื่องปรับอากาศที่มีผลมาจากสภาวะอากาศที่ร้อนขึ้นในหลายประเทศ รวมทั้งเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวผู้ประกอบการได้ส่งสินค้ารุ่นใหม่ออกสู่ตลาดให้เป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.61 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 8.23เนื่องจากปีก่อนตลาด Hard Disk Drive ขยายตัวได้ดีกว่าปีนี้ จากการฟื้นตัวของความต้องการสินค้าคอนซูเมอร์อิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก รวมถึงผลของการปรับปรุงระบบและการอัพเกรดคอมพิวเตอร์

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกุมภาพันธ์ 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.41 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.27 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 4,244.13 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 4.61 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.18 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,754.76 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีผลมาจากเครื่องปรับอากาศมีการส่งออกไปสหรัฐอเมริกา และยุโรปอย่างต่อเนื่อง เพราะมีสินค้ารุ่นใหม่ๆที่เน้นพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพประหยัดพลังงาน และรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาด สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ทรงตัวโดยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.91 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ2.20 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คือ 2,489.36 ล้านเหรียญสหรัฐตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว และจากความต้องการในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ที่หลากหลาย เพราะสินค้าที่ใช้อยู่ทุกวันมีความสามารถมากขึ้นเร็วขึ้นและมีราคาถูกลง

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนมีนาคม 2554 ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตามประมาณการของเครื่องปรับอากาศ ที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีอัตราการขยายตัวลดลง ร้อยละ 11.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก Hard Disk Drive มีอัตราการเติบโตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนและปีที่แล้วมีการเร่งการผลิตค่อนข้างมาก

ที่มา กรมศุลกากร

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ