ประตูโอกาส...! ตลาดลาตินอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 19, 2011 15:41 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ปี 2552 เศรษฐกิจโลกชะลอตัวครั้งล่าสุด การส่งออกของประเทศไทยเกิดอาฟเตอร์ช็อกเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี โดยหดตัวถึง - 14.26% เนื่องจากตลาดหลักเกิดภาวะชะลอตัวอย่างรุนแรง ผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน จึงเริ่มมีการทบทวนนโยบายการส่งออกไปสู่ ตลาดใหม่ๆ จากที่เคยกระจุกตัวอยู่ที่ตลาดยักษ์ใหญ่ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น ทั้งนี้นอกจากเพื่อกระจายความเสี่ยงแล้ว ยังอาจนำไปสู่ธุรกิจสินค้าหรือ นวัตกรรมเพื่อตอบสนองผู้บริโภคใหม่ๆ ซึ่งเป้าหมายการกระจายความเสี่ยงที่น่าจับตามอง ได้แก่ ตลาดกลุ่มประเทศลาตินอเมริกา

กลุ่มประเทศลาตินเมริกามีทั้งสิ้น 47 ประเทศ ประเทศที่คุ้นชื่อกันดี เช่น บราซิล เม็กซิโก อาร์เจนตินา ชิลี โคลัมเบีย เป็นต้น ลาตินอ เมริกามีประชากรรวมกันประมาณ 590 ล้านคน ใกล้เคียงกับกลุ่มอาเซียนที่มีประชากรรวมกันราว 600 ล้านคน เมื่อวิเคราะห์ถึงรายได้ของประชากร เฉลี่ยพบว่ามีสูงถึง 7,974 ดอนลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ขณะที่ประเทศไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 4,621 ดอนลาร์สหรัฐฯ ต่อปี สูงกว่าไทยเกือบ 2 เท่าปัจจุบันประเทศ ไทยได้มีการส่งออกไปยังลาตินอเมริกาคิดเป็น 3% ของสัดส่วนการส่งออกรวม ขณะที่การนำเข้ามีสัดส่วน 1.9% ของการนำเข้าโดยรวม

ประเทศไทยมีมูลค่าการค้ากับกลุ่มประเทศลาตินอเมริกาไม่มากนัก โดยในปี 2553 มูลค่าการส่งออกของไทยไปประเทศในกลุ่มลาตินอเม ริกา ประมาณ 5,801.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวสูงถึง 70.52% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 3,443.07 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวสูงถึง 42.59% การส่งออกไปมากกว่าการนำเข้า จึงส่งผลให้ไทยมีสถานะเกินดุลกับประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกา โดยในปี 2553 ไทยมีมูลค่าการค้าเกินดุล กับลาตินอเมริกา เท่ากับ 2,358.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ.ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ชี้นำเตือนภัยภาคอุตสาหกรรม จึงได้ศึกษาวิเคราะห์เรื่อง “เปิด ประตูบุกตลาดลาตินอเมริกา” เพื่อศึกษาตำแหน่งทางการตลาด และความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบสินค้าอุตสาหกรรมไทยในตลาดลาตินอเมริกา รวม ทั้งศึกษาวิเคราะห์สินค้าอุตสาหกรรมไทยที่คาดว่าจะมีศักยภาพเข้าไปแข่งขันในตลาดลาตินอเมริกาได้อย่างเข้มแข็ง โดยคัดเลือกประเทศในกลุ่มลาตินอ เมริกาที่ไทยส่งออกมีมูลค่ามาก 5 อันดับแรก ได้แก่ บราซิล เม็กซิโก อาเจนตินา ชิลี และโคลัมเบีย วิเคราะห์เชิงลึกในสินค้าอุตสาหกรรมทั้งสิ้น 14 สาขา ได้แก่ 1.อาหารเครื่องดื่มและยาสูบ 2.สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 3.ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง 4.ผลิตภัณฑ์ไม้ 5.ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ 6. ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและถ่านหิน 7.เคมีภัณฑ์ 8.ยางและพลาสติก 9.ผลิตภัณฑ์อโลหะ 10.ผลิตภัณฑ์โลหะ 11.ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ 12.ยานยนต์และชิ้น ส่วน 13.เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และ 14.อุตสาหกรรมอื่นๆ จากการศึกษาโครงสร้างการส่งออกของประเทศไทยไปยัง 5 ประเทศที่ทำการศึกษาครั้งนี้พบว่า ในปี 2553 ไทยมีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด คือตลาดบราซิลมีสัดส่วนการส่งออก 29.00% ของมูลค่าการส่งออกไปลา ตินอเมริกาทั้งหมด รองลงมา ได้แก่ เม็กซิโก 17.39% อาร์เจนตินา ชิลี และโคลัมเบีย 10.69% 9.24% และ 6.85% ตามลำดับ ซึ่งถ้ารวมมูลค่า การส่งออกของทั้ง 5 ประเทศ มีสัดส่วนรวมกัน 73.17% ของมูลค่าการส่งออกของไทยไปลาตินอเมริกา ขณะที่การนำเข้า พบว่าไทยนำเข้าสินค้าจาก ประเทศบราซิลมากที่สุดในสัดส่วน 53.03% รองลงมาได้แก่ อาร์เจนตินา เม็กซิโก ชิลี และโคลัมเบีย 15.45% 11.70% 8.95% และ 1.31% ตามลำดับ ซึ่งถ้ารวมมูลค่าการนำเข้าของทั้ง 5 ประเทศ มีสัดส่วนรวมกัน 90.44% ของมูลค่าการนำเข้าจากลาตินอเมริกา

จากการวิเคราะห์ศักยภาพของอุตสาหกรรมทั้ง 14 สาขา สามารถจัดกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ดังนี้

สรุปสินค้าอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในตลาดลาตินอเมริกา

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สินค้าอุตสาหกรรม                         บราซิล      เม็กซิโก       อาร์เจนติน่า         ชิลี      โคลัมเบีย
อาหารเครื่องดื่มและยาสูบ                                                 มาก
สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม                       มาก     ปานกลาง             มาก        มาก      ปานกลาง
ผลิตภัณฑ์เครื่องหนัง                                  ปานกลาง
ผลิตภัณฑ์ไม้
ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและถ่านหิน
เคมีภัณฑ์
ยาง และพลาสติก                                       มาก             มาก    ปานกลาง
ผลิตภัณฑ์อโลหะ
ผลิตภัณฑ์โลหะ                                                          มาก
ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
ยานยนต์และชิ้นส่วน                          มาก                                    มาก      ปานกลาง
เครื่องจักร เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์      มาก     ปานกลาง
อุตสาหกรรมอื่นๆ                            มาก         มาก         ปานกลาง
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

หมายเหตุ : มาก หมายถึง เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและโอกาสมาก

ปานกลาง หมายถึง เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและโอกาสปานกลาง

ประเทศที่ไม่ระบุ หมายถึง เป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและโอกาสเข้าสู่ตลาดลาตินอเมริกาน้อย

ที่มา : สำนักวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

โครงสร้างการส่งออกสินค้าแต่ละประเทศอาจแตกต่างกันไป ในอดีตถนนทุกสายของการส่งออกมุ่งตรงไปยังประเทศยักษ์ใหญ่อย่าง สหรัฐ อเมริกา ยุโรป เป็นหลัก การส่งออกที่กระจุกตัวเมื่อประเทศที่ส่งออกหลักมีปัญหาทางเศรษฐกิจย่อมส่งผลกระทบโดยตรง ดังนั้นการกระจายความเสี่ยง ไปยังตลาดอื่นๆ ที่มีศักยภาพจึงเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการเปิดตลาดใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน ด้วยกัน ปัจจุบันหลายๆ ประเทศในโลกเริ่มเห็นถึงโอกาสทางการตลาดในกลุ่มประเทศลาตินอเมริกามากขึ้น ทั้งประเทศญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน บรูไน สิงคโปร์ อินเดีย เริ่มขยับตัวเจาะตลาดลาตินอเมริกามากขึ้น โดยเฉพาะมาเลเซียได้เริ่มบุกตลาดลาตินอเมริกามามากกว่า 10 ปี และมีทิศทางการ ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไปยังกลุ่มประเทศลาตินอเมริกายังมีช่องว่างการขยายตัวอีกมาก ให้ผู้ประกอบการไทยเร่งพัฒนาสินค้าจาก กรณีศึกษาดังกล่าวถึงแม้จะเป็นเบื้องต้น แต่จะช่วยให้เห็นทิศทางที่ชัดเจนยิ่งขึ้น สินค้าอุตสาหกรรมใดที่มีศักยภาพและโอกาสอยู่แล้ว ผู้ประกอบการต้อง รักษาระดับคุณภาพให้คงอยู่ และยกระดับคุณภาพให้สูงขึ้น เพื่อเป็นการมัดใจลูกค้าให้ยาวนาน ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมใดที่อยู่ในระดับปานกลางต้องเร่ง เติมเต็มประสิทธิภาพให้สูงขึ้น เพื่อรักษาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูงให้คงอยู่ต่อไป

เมื่อประตูแห่งโอกาสเปิดกว้างรออยู่ หากไม่รีบคว้าไว้ เสียแต่วันนี้ ท่านอาจจะไม่ให้อภัยตัวเองตลอดไป

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ