สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1(มกราคม—มีนาคม)2554(อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 13, 2011 14:34 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตและการจำหน่าย

การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 21.23 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 19.69 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.02 หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 27.24 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 21.01 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.64

การตลาด

การส่งออก

ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,559.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 119.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกอัญมณีที่มีมูลค่า 510.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.89 เครื่องประดับแท้ที่มีมูลค่า 988.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.69 นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 1,892.06ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ลดลงเล็กเพียงเล็กน้อยร้อยละ 5.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่

1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 510.83 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42.72, 14.48 และ 9.72ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้

1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 321.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.77, 22.81 และ15.31 ตามลำดับ

1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 185.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.10, 13.94 และ 8.26 ตามลำดับ

2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 988.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และเดนมาร์ก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.40, 15.89 และ 9.88 ตามลำดับซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญมีดังนี้

2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 383.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 10.39 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.71, 15.84 และ8.36 ตามลำดับ

2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 536.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.65, 17.20และ 12.10 ตามลำดับ

3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 83.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.20 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 74.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ลิกเตนสไตน์ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.65, 17.93 และ 7.36 ตามลำดับ

4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 23.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และตุรกี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.75, 9.14 และ 8.83 ตามลำดับ

5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 1,892.06ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 400.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ71.67, 17.49 และ 4.33 ตามลำดับ

หากพิจารณาจากดัชนีผลผลิตในไตรมาสนี้ที่ลดลงร้อยละ 21.23 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 27.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่การส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 119.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากข้อมูลที่ใช้คำนวณดัชนีเก็บในเชิงปริมาณ แต่การส่งออกพิจารณาจากมูลค่าสินค้าที่มีราคาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งปัจจุบันราคาสินค้าสูงขึ้นเนื่องจากราคาต้นทุนต่างๆ เช่น ทองคำ เงิน สูงขึ้น

การนำเข้า

1. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 (ดูตารางที่ 3 ประกอบ) มีมูลค่าการนำเข้า 4,160.77 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 119.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน วัตถุดิบสำคัญ ได้แก่

1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 449.96 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 208.61 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 95.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย อิสราเอล และเบลเยียม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.45, 20.71และ 16.70 ตามลำดับ

1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 84.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 68.82 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.24, 15.65 และ 8.50 ตามลำดับ

1.3 ทองคำ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 3,330.87 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 137.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 1.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.28, 28.45 และ 11.37 ตามลำดับ

1.4 เงิน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 230.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.20 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 42.03, 17.63 และ 11.38 ตามลำดับ

1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 23.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 19.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 64.17, 19.12 และ 6.02 ตามลำดับ

โดยการนำเข้าเพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.01 ของการนำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด

2. เครื่องประดับอัญมณี ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าทั้งสิ้น 197.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่

2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 189.25ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อิตาลี และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.50, 12.27และ 3.81 ตามลำดับ

2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 8.42ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 48.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และฝรั่งเศส คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.79, 13.93 และ 11.09 ตามลำดับ

นโยบายภาครัฐ

คณะอนุกรรมการจัดหาวัตถุดิบอัญมณีและเครื่องประดับ ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับไทย ส่งเสริมให้เกิดการจัดหาวัตถุดิบอัญมณีจากประเทศแทนซาเนียในอนาคตโดยได้หารือกับกระทรวงสิ่งแวดล้อมและเหมืองแร่ประเทศแทนซาเนีย และประสบความสำเร็จโดยแทนซาเนียได้ลงนาม MOU ด้านความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ

สรุปและแนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 ด้านการผลิตหดตัวลดลงร้อยละ 21.23 และการจำหน่ายหดตัวลดลงร้อยละ 19.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกมีการขยายตัว คือ ขยายตัวร้อยละ 3.87 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากการส่งออกอัญมณี ขยายตัวร้อยละ 32.89 เครื่องประดับแท้ขยายตัว 9.69 รวมถึงการส่งออกทองคำ ยังไม่ได้ขึ้นรูปซึ่งแม้ลดลงร้อยละ 5.88 แต่มูลค่าการส่งออกสูงถึง 1,892.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน สำหรับสาเหตุที่การนำเข้าทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปมีมูลค่าสูงกว่ามูลค่าการนำเข้า เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงต่ำกว่าระดับ 1,320 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ ในเดือนมกราคมที่ระดับราคาต่ำกว่าไตรมาสก่อน ก่อนที่ราคาทองคำจะปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับ 1,440 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ดี พบว่าการส่งออกเพชร พลอย และเครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 12.67 90.98 และ 31.45 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 119.29 เนื่องมาจากการนำเข้าทองคำยังไม่ขึ้นรูป เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 ปัจจัยด้านลบ คือ แนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัจจัยด้านบวก คือ ราคาทองคำในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับมากกว่า 1,440 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ จะเป็นสาเหตุให้เกิดการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปเพิ่มขึ้นอย่างมากและนำเข้าทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปลดลง และความสำเร็จจากการจัดงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 47 ที่เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 ถึง วันที่ 1 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา โดยจะมีคำสั่งซื้อเข้ามาซึ่งมีส่วนช่วยให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นได้ จากปัจจัยบวกและปัจจัยลบดังที่กล่าวมานั้น ปัจจัยบวกจะส่งผลดีมากกว่าปัจจัยลบ ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าแนวโน้มการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 จะขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ