สศอ.เผย สึนามิญี่ปุ่นเริ่มกระทบภาคอุตฯ ยานยนต์ ผลิตลดลง 50% ขณะที่ฮาร์ดดิส ยังซบเซา ส่งผลดัชนีอุตฯเม.ย.-7.81% อัตราการใช้ กำลังการผลิตแผ่ว 54.6%
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วิกฤตคลื่นยักษ์ถล่มประเทศญี่ปุ่น เริ่มส่งผลกระทบต่อดัชนีผล ผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2554 ซึ่งลดลง -7.81% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 54.6% อุตสาหกรรมที่ทำให้ MPI ติดลบที่สำคัญได้แก่ การผลิตยานยนต์ Hard Disk Drive เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร เป็นต้น
การผลิตรถยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่าย ลดลง 27.8% และ 17.2% ตามลำดับ สาเหตุสำคัญ เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศญี่ปุ่นได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวและสึนามิ ทำให้ไม่สามารถส่งชิ้นส่วนสำคัญที่ใช้เทคโนโลยีสูงจากบริษัทแม่ ในประเทศญี่ปุ่นให้ได้ ส่งผลให้ผู้ผลิตของไทยที่นำเข้าชิ้นส่วนเพื่อทำการผลิตประสบปัญหา ทำให้มีการปรับแผนการผลิตลดลง โดยในเดือนเมษายนปีนี้ บางบริษัททำการผลิตเพียง 17 วัน
การผลิต Hard disk drive เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่าการผลิตและจำหน่ายลดลง 16.8% และ 13.3% ตามลำดับ เนื่องจากในปีก่อนหลังผ่านวิกฤตเศรษฐกิจ มีความต้องการสินค้าในตลาดโลกสูง จึงมีการเร่งผลิตอย่างต่อเนื่อง แต่ในปัจจุบันความต้องการใช้เริ่มทรง ตัว ประกอบกับปัจจุบัน มีเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ใหม่มีมากขึ้น สินค้าทดแทนเช่น Solid State Drive (SSD) คือ ฮาร์ดดิสที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อ แก้ไขจุดอ่อนของรุ่นเดิม เพิ่มความจุให้มากขึ้น และใช้พลังงานน้อยมีความทนทานต่อแรงกระแทก น้ำหนักเบา หรือการปรับเปลี่ยนไปใช้ Cloud Computing คือ ซอฟต์แวร์ในการบริหารจัดการประสิทธิภาพเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สูงขึ้นโดยวิธีการประมวลผลที่อิงกับความต้องการของผู้ใช้ และผู้ใช้ สามารถระบุความต้องการไปยังซอฟต์แวร์ของระบบ
การผลิตอาหาร เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายโดยรวมลดลง 4.6% และ 6.6%ตามลำดับ เป็นผลมา จากกุ้งแช่แข็งมีการผลิตลดลงมาก เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ทำให้ปริมาณกุ้งลดลงและราคาปรับตัวสูงขึ้น ผู้ประกอบการจึงทำการผลิตไม่ได้ตาม ปกติ
นอกจากนี้ นางสุทธินีย์ ได้สรุปตัวเลข MPI เดือนเมษายน 2554 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นดังนี้ ดัชนีผลผลิต (มูลค่า เพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 165.89 ลดลง -7.81% จากระดับ 179.95 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 162.72 ลดลง -7.25% จากระดับ 175.44 ดัชนีสินค้า สำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 182.23 เพิ่มขึ้น 1.71%
จากระดับ 179.17 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 113.37 ลดลง -0.85% จากระดับ 112.41 ดัชนีผลิตภาพแรงงานใน ภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 134.08 ลดลง -1.18% จากระดับ 135.69 โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 54.6%
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต
Index --------------------------------2553-------------------------------- ------------2554----------- เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 179.95 185.02 194.2 190.12 183.71 201.47 191.21 190.43 188.4 186.9 177.8 198.2 165.9 อัตราการเปลี่ยนแปลง(MOM) % -15.3 2.8 5 -2.1 -3.4 9.7 -5.1 -0.4 -1.1 -0.8 -4.9 11.5 -16.3 อัตราการเปลี่ยนแปลง(YOY) % 23.4 15.9 14.2 13.1 8.4 8.1 6 5.7 -3.4 4.1 -3 -6.7 -7.8 อัตราการใช้กำลังการผลิต % 57.9 64 65.2 64.5 63.6 64.3 63.9 63.6 62.3 62.3 59.4 66.8 54.6
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--