รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมิถุนายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 11, 2011 14:43 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนพฤษภาคม 2554
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2554 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2554ร้อยละ 7.6 แต่ลดลงร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตลดลงจากอุตสาหกรรมสำคัญ คือ การผลิตยานยนต์ เครื่องแต่งกาย โทรทัศน์ เม็ดพลาสติกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนพฤษภาคม 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 58.7เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 54.4 ในเดือนเมษายน 2554
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญ

อุตสาหกรรมอาหาร

? การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย ตามปริมาณคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกไปญี่ปุ่นที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการที่ผู้บริโภคมีความกังวลกับการปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีของอาหารในประเทศ

? สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มชะลอตัว จากระดับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับการเปิดเทอมใหม่ ทำให้มีรายจ่ายด้านอื่นเพิ่มขึ้นส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยในการบริโภคสินค้าอาหารอาจชะลอตัวลง

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

? ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนมิถุนายน 2554 จะปรับตัวลดลงร้อยละ 2.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

? ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เดือนมิถุนายน 2554 ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

เม.ย. 54 = 165.3

พ.ค. 54 = 177.8

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • ยานยนต์
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

เม.ย. 54 = 54.4

พ.ค. 54 = 58.7

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • ยานยนต์
  • Hard Disk Drive
  • อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนพฤษภาคม 2554 มีค่า 177.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน2554 (165.3) ร้อยละ 7.6 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนพฤษภาคม 2553 (185.0)ร้อยละ 3.9

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2554 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องแต่งกาย โทรทัศน์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนพฤษภาคม 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 58.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2554 (ร้อยละ 54.4) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนพฤษภาคม2553 (ร้อยละ 63.9)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน2554 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เส้นใยสิ่งทอ อาหารสัตว์สำเร็จรูป เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ เส้นใยสิ่งทอ โทรทัศน์ เม็ดพลาสติก เหล็ก เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2554

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2554 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 293 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนเมษายน 2554 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 354 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 17.29 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 23,939.13 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2554 ซึ่งมีการลงทุน 17,805.35 ล้านบาท ร้อยละ 34.45 และการจ้างงานรวมมีจำนวน8,547 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2554 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,613 คน ร้อยละ 12.27

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 263 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 11.41 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งมีการลงทุน 6,676.28 ล้านบาท ร้อยละ 258.57 และมีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2553 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 5,901 คน ร้อยละ 44.84

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2554 คือ อุตสาหกรรม ขุด ตัก ดิน และดูดทราย จำนวน 24 โรงงาน รองลงมาคืออุตสาหกรรมทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ ส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือน จากไม้จำนวน 23 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2554 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องเรือน เครื่องประดับจากพลาสติก เงินลงทุนจำนวน 9,183.84 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตกระแสไฟฟ้า เงินลงทุนจำนวน 5,626.50 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2554 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 1,316 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมทำเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องเรือน เครื่องประดับจากพลาสติก จำนวนคนงาน 896 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2554 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 41 ราย น้อยกว่าเดือนเมษายน 2554 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 49 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.33 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 155.17 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนเมษายน 2554 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,681.75 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานมีจำนวน 474 คน น้อยกว่าเดือนเมษายน 2554 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 1,388 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤษภาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2553ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 337 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 87.83 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2553 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,587.52 ล้านบาทและมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนพฤษภาคม 2553 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 5,639 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2554 คืออุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ จำนวน 6 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำยางแผ่นรมควัน ยางเครป ยางแท่ง ยางน้ำ ยางให้เป็นรูปแบบอื่น จำนวน 4 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2554คืออุตสาหกรรมนำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่ใช้แล้วมาผลิตเป็นวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ เงินทุน 29.06 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ เงินทุน28.04 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนพฤษภาคม 2554 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป คนงาน 130 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ คนงาน 50 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม — พฤษภาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 653 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 566 โครงการ ร้อยละ 15.37 แต่มีเงินลงทุน 184,400 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 199,700 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.66

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม — พฤษภาคม 2554
            การร่วมทุน                     จำนวน(โครงการ)          มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%                 273                      63,300
          2.โครงการต่างชาติ 100%                232                      59,400
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ          148                      61,700
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — พฤษภาคม 2554 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 40,700ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 38,700 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น จากความไม่เชื่อมั่นของผู้บริโภคในสินค้าอาหารที่อาจปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสี สำหรับการจำหน่ายภายในประเทศอาจชะลอตัว จากระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้น และการเปิดเทอมใหม่ ทำให้มีรายจ่ายด้านอื่นๆ เพิ่ม อาจส่งผลให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนพฤษภาคม 2554 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 9.5 และ 5.7 ตามลำดับ แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลักเช่น แป้งมันสำปะหลัง และสับปะรดกระป๋อง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 19.5 และ 63.2 ตามลำดับ เนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้น หลังจากประสบการระบาดของเพลี้ยแป้ง และเกิดภัยแล้งเมื่อปีก่อน กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่นน้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3และ 13.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับการผลิตน้ำตาล มีปริมาณอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้ปริมาณการผลิตน้ำ ตาลเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แต่หากพิจารณาโดยเปรียบเทียบกับเดือนก่อน ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 76.2เนื่องจากเข้าสู่ช่วงปลายฤดูหีบอ้อย

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนพฤษภาคม 2554 สินค้าอาหารและเกษตร มีปริมาณการส่งสินค้าในประเทศเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและปีก่อนร้อยละ 10.7 และ 4.5 เนื่องจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นจากความชัดเจนทางการเมืองและสถานการณ์การเลือกตั้ง ได้สร้างบรรยากาศให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภคเพิ่มขึ้น

2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร(ไม่รวมน้ำตาล) ในรูปเงินบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 40.2 และ 32.1 โดยเฉพาะในสินค้าสับปะรดกระป๋อง ทูน่ากระป๋อง ไก่แปรรูป และผลิตภัณฑ์ข้าว มูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 82.6 21.5 13.6 และ 7.1 ตามลำดับ เป็นผลจากคำสั่งซื้อจากญี่ปุ่นที่เพิ่มขึ้นภายหลังภัยพิบัติสำหรับสินค้าน้ำตาลมีการส่งออกในปริมาณและมูลค่าที่เพิ่มขึ้นเช่นกันเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อน โดยเป็นผลจากระดับราคาในเดือนพฤษภาคมที่ชะลอตัวลงเล็กน้อยส่งผลให้การเสนอซื้อ-ขายสินค้าทำได้ง่ายขึ้น

3. แนวโน้ม

การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อย ตามปริมาณคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกไปญี่ปุ่นที่ยังขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการที่ผู้บริโภคมีความกังวลกับการปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีของอาหารในประเทศ สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มชะลอตัว จากระดับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับการเปิดเทอมใหม่ ทำให้มีรายจ่ายด้านอื่นเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยในการบริโภคสินค้าอาหารอาจชะลอตัวลง

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

“...ราคาวัตถุดิบ (ฝ้าย) เริ่มปรับตัวลดลงกลุ่มเครื่องนุ่งห่มไทยยังมีศักยภาพในการผลิตและเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ ยังขยายตัวได้ดีทั้งตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น......”

1. การผลิต

ภาวะการผลิตในเดือนพฤษภาคม 2554 ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน เครื่องนอนฯ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (รวมเสื้อผ้าถักและเสื้อผ้าทอ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1, 8.1, 12.2, และ 4.1 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอปรับตัวลดลง ทั้งเส้นใยสิ่งทอฯผ้าผืน เครื่องนอนฯ และ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (รวมเสื้อผ้าถักและเสื้อผ้าทอ) ลดลงร้อยละ 4.1, 4.3, 20.9 และ 7.3 ตามลำดับ เนื่องจากราคาวัตถุดิบในการผลิตปีนี้เพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อ-การผลิตลดลง

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ กลุ่มสิ่งทอ ลดลงเพียงเล็กน้อยร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และลดลงร้อยละ 18.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นไปตามกลไกของตลาดจากคำสั่งซื้อที่ลดลง แต่กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม โดยเฉพาะเสื้อผ้าแฟชั่น มีการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากราคาวัตถุดิบและสถานการณ์ทางการเมืองปรับตัวในทางที่ดีขึ้น ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

ตลาดต่างประเทศ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืนด้ายเส้นใยประดิษฐ์ และเส้นใยประดิษฐ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2, 3.2,1.5 และ 0.7 ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนในผลิตภัณฑ์เดียวกันร้อยละ 17.1, 20.2,22.8 และ 9.6 ตามลำดับ ตลาดส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยังคงเป็นสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และอาเซียน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.3, 18.9, 7.8 และ 17.6 ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

แนวโน้มการผลิตในภาพรวมและการส่งออกของอุตสาหกรรม สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนตามปริมาณคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะมีการขยายตลาดสู่อาเซียนมากขึ้นและราคาวัตถุดิบ (ฝ้าย) เริ่มปรับตัวลดลง สำหรับกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ไทยยังมีศักยภาพในการผลิตและเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ และยังขยายตัวได้ดี ทั้งตลาดสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

คณะกรรมการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาดของประเทศอินโดนีเซีย (Kadi) กำลังสืบสวนข้อมูลการนำเข้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากประเทศจีน สิงคโปร์และยูเครนเพื่อเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด โดยแหล่งข่าวจาก Kadiเปิดเผยว่า ผู้ส่งออกชาวสิงคโปร์ที่จะได้รับการยกเว้นอากรตอบโต้การทุ่มตลาด ได้แก่ Asia Enterprises (Pte) Ltd, Chuan Leong Metalimpex Co Pte Ltd, HG Metal Manufacturing Ltd, Regency Steel Asia Pte Ltd, Super Steel Pte Ltd ในขณะที่บริษัทอื่นของประเทศสิงคโปร์ต้องเสียอากรตอบโต้การทุ่มตลาด 12.5 %

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนพฤษภาคม 2554 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 132.32 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.29 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงยาวพบว่ามีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.66 โดยผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.33 ลวดเหล็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.48 เหล็กลวดเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.51 และลวดเหล็กแรงดึงสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.52 ตามลำดับเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อของลูกค้า โดยปัจจุบันผู้ผลิตไม่มีมาตรการสต๊อกสินค้าไว้ เนื่องจากเกรงผลกระทบของราคาวัตถุดิบคือเหล็กแท่งบิลเล็ตที่สูงขึ้น สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีการผลิตลดลง ร้อยละ 2.64 โดยผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยมลดลงร้อยละ 6.76 แผ่นเหล็กรีดร้อนชนิดม้วนร้อยละ 6.40 และแผ่นเหล็กเคลือบดีบุกลดลงร้อยละ 2.16 เนื่องจากมีการนำ เข้าเหล็กทั้ง 3 ชนิดจากประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงร้อยละ 2.91 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 24.70 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลงร้อยละ 37.91 เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลงร้อยละ 31.95 ในขณะที่เหล็กทรงยาวกลับมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.29 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 29.43

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมิถุนายน 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า มีดังต่อไปนี้ ดัชนีราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้น ได้แก่เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 149.52 เป็น 157.05 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.04 เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 142.55 เป็น 147.34 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.36 และเหล็กแท่งแบนเพิ่มขึ้นจาก 148.83 เป็น 150.00 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.79 ในส่วนดัชนีราคาเหล็กที่ลดลงจะเป็นกลุ่มเหล็กทรงแบนได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 157.94 เป็น 146.72ลดลง ร้อยละ 7.10 และเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 145.64 เป็น 141.53ลดลง ร้อยละ 2.82 เนื่องจากความต้องการในการใช้เหล็กภายในของประเทศที่สำคัญลดลง เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และไต้หวัน ส่งผลให้ประเทศเหล่านั้นใช้กลยุทธ์ในการเพิ่มการส่งออกโดยการลดราคาเหล็กลง

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนมิถุนายน 2554 คาดว่าจะมีทิศทางที่ขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเหล็กทรงยาวมีแนวโน้มการผลิตที่เพิ่มขึ้นซึ่งข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ พบว่าการลงทุนในหมวดก่อสร้างยังขยายตัวได้ดีและต่อเนื่อง อีกทั้งมีโครงการเปิดใหม่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัย ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการใช้เหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น สำหรับเหล็กทรงแบน คาดการณ์ว่าความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนมีการปรับตัวที่ดีขึ้นตามลำดับ ในส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยังมีความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2554 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 เนื่องจากผู้ประกอบการรถยนต์ในประเทศได้รับผลกระทบจากการเกิดภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ขาดชิ้นส่วนยานยนต์เพื่อใช้ประกอบเป็นรถยนต์ โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 98,804 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม2553 ซึ่งมีการผลิต 132,165 คัน ร้อยละ 25.24 โดยเป็นการปรับลดลงของรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1 ตันและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ) แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2554 ร้อยละ 10.79 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน ซึ่งเป็นไปตามปกติเนื่องจากเดือนเมษายนของทุกปี มีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงเพราะมีเทศกาลวันหยุดยาวหลายวัน
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 55,851 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 62,205 คัน ร้อยละ 10.21 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง,รถยนต์กระบะ 1 ตัน, รถยนต์ PPV รวมกับ SUV และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ) อีกทั้งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนเมษายน 2554 ร้อยละ 16.99 ซึ่งเป็นการลดลงของการจำหน่ายรถยนต์รถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์ PPVรวมกับ SUV
  • การส่งออกรถยนต์ จำ นวน 38,656 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งมีการส่งออก 75,075 คัน ร้อยละ 48.51 โดยเป็นการปรับลดลงทุกตลาดส่งออก (เอเชีย, โอเชียเนีย, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา, ยุโรป อเมริกากลางและอเมริกาใต้) อีกทั้งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนเมษายน 2554 ร้อยละ25.93
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน 2554 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2554 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนมิถุนายน 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 46 และส่งออกร้อยละ 54

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ประกอบกับการส่งออกมีการขยายตัว โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนพฤษภาคม ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 207,262 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งมีการผลิต 154,290 คัน ร้อยละ 34.33 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์ทุกประเภท(รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต)อีกทั้งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน2554 ร้อยละ 25.98 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์ทุกประเภทเช่นกัน ซึ่งเป็นไปตามปกติที่ในเดือนเมษายนของทุกปี มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลง เพราะมีเทศกาลวันหยุดยาวหลายวัน
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 168,743 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 149,677 คัน ร้อยละ 12.74 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์ทุกประเภท(รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต) อีกทั้งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2554 ร้อยละ 12.34 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์ทุกประเภทเช่นกัน สำหรับในเดือนนี้ถือเป็นฤดูกาลขายรถจักรยานยนต์ เนื่องจากเป็นช่วงเปิดภาคเรียนของนักเรียนและนักศึกษา
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 21,642 คันเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งมีการส่งออก 12,614 คันร้อยละ 71.57 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในตลาดส่งออก เช่น สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น เป็นต้น อีกทั้งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2554 ร้อยละ 79.44 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในตลาดส่งออก เช่น สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เป็นต้น
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน 2554 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2554 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 91 และส่งออกร้อยละ 9
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ดีตามภาวะเศรษฐกิจ สำหรับการส่งออกยังมีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนพฤษภาคม 2554 ปริมาณการผลิต และปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.27 และ 12.82 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตลดลงเพียงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 0.62 แต่ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.38 เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ดี เนื่องจากธุรกิจการก่อสร้างยังขยายตัวได้ตามภาวะเศรษฐกิจ สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนการใช้ปูนซีเมนต์

ในประเทศ คือ การลงทุนโครงการพื้นฐานต่างๆ ของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบที่กระทบต่อต้นทุนการผลิต คือราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนพฤษภาคม 2554เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.65 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 27.26 ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ เมียนมาร์ บังคลาเทศ กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ตามลำดับ

3.แนวโน้ม

แนวโน้มการผลิตและการจำ หน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ คาดว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝนทำให้เป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง ทั้งนี้ การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ จะเริ่มขยายตัวในช่วงของไตรมาสที่ 4เนื่องจากเป็นช่วงเริ่มต้นของฤดูกาลก่อสร้างสร้าง

สำหรับการส่งออกคาดว่าจะยังขยายตัวได้ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโต ตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

-ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนมิถุนายน 2554 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวลดลงร้อยละ 2.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เดือนมิถุนายน 2554 ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.38เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มี

มูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน พ.ค. 2554

          เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์          มูลค่า(ล้านเหรียญฯ)          %MoM           %YoY
          อุปกรณ์คอมพิวเตอร์                     1,492.40              7.26           2.28
          IC                                   712.97              7.54          -1.33
          เครื่องปรับอากาศ                        364.27             15.38          32.67
          กล้องถ่าย TV,VDO                       166.77             31.20          19.11
          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์        4,665.52              9.99           7.27

ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนพฤษภาคม 2554 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 361.06 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ11.81 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.03 เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.58 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.60 เนื่องจากมีความต้องการเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็นและหม้อหุงข้าว เป็นต้น เพิ่มมากขึ้น หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่ญี่ปุ่น สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนยังทรงตัวโดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.95 แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.32 ตามการผลิต Hard Disk Drive ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ12.09 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นเป็นเดือนแรกตั้งแต่เดือนธันวาคม2553

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนพฤษภาคม2554 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 9.99 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.27 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ4,665.52 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 12.05 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.98 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,920.02 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และกล้องถ่าย TV, VDO โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 364.27 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 166.77 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ8.59 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.62 เนื่องจากความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีเทคโนโลยีระดับสูง พวก Smart Phone และ Tablet ต่างๆ ในตลาดยังมีความต้องการอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ให้สูงตาม โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คือ 2,745.50 ล้านเหรียญสหรัฐ

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนมิถุนายน 2554 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวลดลงร้อยละ 2.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เดือนมิถุนายน 2554 ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ