ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เป็นการกลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากหดตัวติดต่อกันมาสี่เดือน โดยการผลิตเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรมสำคัญ คือ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน รถจักรยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ทั้งนี้จากการที่ในเดือน มิ.ย.54 ดัชนีฯ กลับมาขยายตัวและดัชนีฯอยู่ที่ระดับ 200.64 ซึ่งเป็นเดือนที่ดัชนีฯกลับมาเกิน 200 อีกครั้งเป็นเดือนที่ 3 ในรอบ 18 เดือน สะท้อนสัญญาณที่ดีในการขยายตัวของการผลิตในภาคอุตสาหกรรม สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน2554 ยังคงชะลอตัวลง โดยขยายตัวร้อยละ 8.4 แต่หากหักการส่งออกทองคำ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่รวมทองคำขยายตัวร้อยละ 12.6
การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เป็นการกลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากหดตัวติดต่อกันมาสี่เดือน โดยการผลิตเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรมสำคัญ คือ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน รถจักรยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ ทั้งนี้จากการที่ในเดือน มิ.ย.54 ดัชนีฯ กลับมาขยายตัว และดัชนีฯอยู่ที่ระดับ 200.64 ซึ่งเป็นเดือนที่ดัชนีฯกลับมาเกิน 200 อีกครั้งเป็นเดือนที่ 3 ในรอบ 18 เดือน สะท้อนสัญญาณที่ดีในการขยายตัวของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมสำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต(1) เดือนมิถุนายน 2554 อยู่ที่ร้อยละ 63.58 จากร้อยละ65.22 ในเดือนมิถุนายน 2553
หมายเหตุ (1) อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็มศักยภาพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)
เมื่อพิจารณาในด้านของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2554 ยังคงชะลอตัวลงโดยขยายตัวร้อยละ 8.4 แต่หากหักการส่งออกทองคำการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่รวมทองคำขยายตัวร้อยละ 12.6
อุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ(มิถุนายน2554)
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอปรับตัวลดลง ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน เครื่องนอนฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (จากผ้าถัก) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (จากผ้าทอ) ลดลงร้อยละ 3.8,3.7, 22.0, 18.3 และ 6.5 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิต เช่นราคาวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงานในปีนี้เพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นและกระทบต่อการรับคำสั่งซื้อ ซึ่งอาจจะต่อเนื่องไปถึงปลายปีนี้ แต่ในด้านการส่งออกโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ในผลิตภัณฑ์สิ่งทอหลักๆ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ และผลิตภัณฑ์ผ้าอื่นๆ (เช่น ผ้าปักและผ้าลูกไม้ ผ้าคลุมไหล่และผ้าพันคอ ผ้าสำหรับตัดเสื้อ เป็นต้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5, 10.3, 12.9 และ8.6 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตลดลง ร้อยละ 5.94 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 20.50 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลงร้อยละ 43.28 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 40.83 ในขณะที่เหล็กทรงยาวกลับมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.30 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ161.30ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ พบว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงในช่วงเดือนกรกฎาคม 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ดัชนีราคาเหล็กที่สำคัญส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเกือบทุกตัวยกเว้น เหล็กแท่งแบน กลับมีดัชนีราคาเหล็กที่ลดลง เนื่องจากการซบเซาของตลาดเหล็กแผ่นรีดร้อนทำให้ราคาของเหล็กแท่งแบนถูกกดดันจากผู้ใช้ นอกจากนี้โรงงานยังชะลอการสั่งซื้อเนื่องจากปริมาณสต๊อกของเหล็กแท่งแบนที่ยังสูงอยู่และความต้องการใช้เหล็กที่น้อยลงในช่วงฤดูฝน
อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิต จำนวน 153,646 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งมีการผลิต 148,878 คัน ร้อยละ 3.20 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์กระบะ 1 ตัน และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2554 ร้อยละ 55.51 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เนื่องจากการผลิตรถยนต์เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ภายหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น สำหรับการส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน2553 ซึ่งมีการส่งออก 69,279 คัน ร้อยละ 9.20
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.71 เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.69 ตามการปรับตัวของเครื่องปรับอากาศเป็นหลัก และความต้องการของตลาดส่งออกยังคงเป็นปัจจัยสำคัญทำให้การผลิตสูงขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.88 ปรับขึ้นตามการผลิต Hard Disk Drive ที่เริ่มฟื้นตัวหลังจากที่ดัชนีการผลิตลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันหลายเดือน
ในส่วนมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.23 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 5,123.26 ล้านเหรียญสหรัฐ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--