สรุปประเด็นสำคัญ ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนมิถุนายน 2554
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2554 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2554 ร้อยละ 12.6 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรมสำคัญ คือ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน รถจักรยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนมิถุนายน 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 63.6 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 58.8 ในเดือนพฤษภาคม 2554
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- การผลิตในภาพรวมและการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะมีการขยายตลาดสู่อาเซียนมากขึ้น อีกทั้งราคาวัตถุดิบ (ฝ้าย) เริ่มปรับตัวลดลง เนื่องจากมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ราคาฝ้ายในตลาดโลกลดลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการ
- หากราคาฝ้ายยังคงผันผวนก็จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในส่วนอื่นๆ กระทบต่อผู้นำเข้าผ้าผืนจากไทย และกระทบต่อการจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออก และหากผู้ประกอบการมีการปรับขึ้นราคาสินค้าก็จะกระทบต่อการบริโภค สำหรับกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม โดยไทยยังมีศักยภาพในการผลิตและเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในอาเซียน
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- การประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
- การประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 181.4 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (187.7) ร้อยละ 3.4 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553(186.4) ร้อยละ 2.7
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ น้ำตาล เครื่องแต่งกายโทรทัศน์ เครื่องประดับเพชรพลอย เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ได้แก่ ได้แก่ ยานยนต์ เครื่องแต่งกาย Hard Disk Drive โทรทัศน์ เครื่องประดับเพชรพลอยเป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 58.9 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 62.6) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี2553 (ร้อยละ 62.4)
อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์น้ำตาล เส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์ เส้นใยสิ่งทอ เม็ดพลาสติก เครื่องแต่งกาย เป็นต้น
ในปี 2554 กระทรวงอุตสาหกรรมโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวในปี 2554 ของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจากปัจจัยผลกระทบภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ทำให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI ในครึ่งปีแรกหดตัวร้อยละ 2.4 แต่คาดว่าในครึ่งหลังของปีจะมีการขยายตัวที่ดี หากไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่นอกเหนือการคาดหมายมากระทบ โดยคาดการณ์ปี 2554 MPI จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.0— 3.0 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวช่วงร้อยละ 6.0 — 8.0
ปัจจัยบวกในครึ่งหลังของปี ได้แก่ ผู้ผลิตรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบได้ปรับเพิ่มกำลังการผลิตเพื่อเร่งส่งมอบรถยนต์ให้ผู้บริโภคในประเทศและตลาดส่งออกให้เร็วขึ้น รวมทั้งสถานการณ์การเมืองในประเทศที่มีความชัดเจน บวกกับการประกาศนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่ จะเสริมความเชื่อมั่นของภาคเอกชนและมีผลต่อการใช้จ่ายภายในประเทศตามมา ทั้งนี้การบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ต่อเนื่องจากรายได้เกษตรกรที่ยังมีแนวโน้มที่ดี และการจ้างงานที่ยังอยู่ในระดับสูง
สำหรับปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ปัญหาอัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวในระดับสูง แม้การต่ออายุมาตรการดูแลค่าครองชีพออกไปจะชะลอการเร่งขึ้นของตัวเลขเงินเฟ้อออกไป แต่แนวทางปฏิบัติของการปรับเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำและแผนการใช้จ่ายของภาครัฐในระยะข้างหน้าอาจเพิ่มแรงกดดันด้านราคาและส่งผลให้เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นนอกจากนี้ปัจจัยการขึ้นค่าแรง ยังเป็นหนึ่งในปัญหาต้นทุนของผู้ประกอบการที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งรวมถึง ทิศทางอัตราดอกเบี้ยซึ่งเป็นต้นทุนทางการเงินที่ยังเป็นขาขึ้น และการประกาศขึ้นราคาขายก๊าซหุงต้มภาคอุตสาหกรรม 3 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
พ.ค. 54 = 178.1
มิ.ย. 54 = 200.6
โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่
- Hard Disk Drive
- ยานยนต์
- ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
พ.ค. 54 = 58.8
มิ.ย. 54 = 63.6
โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่
- ยานยนต์
- Hard Disk Drive
- ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายน 2554 มีค่า 200.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม2554 (178.1) ร้อยละ 12.6 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนมิถุนายน 2553 (194.2) ร้อยละ 3.3
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2554 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เบียร์เครื่องแต่งกาย เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือนรถจักรยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนมิถุนายน 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 63.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2554 (ร้อยละ 58.8) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนมิถุนายน 2553(ร้อยละ 65.2)
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม2554 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประดับเทียมเป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ โทรทัศน์ ยานยนต์ เส้นใยสิ่งทอ เม็ดพลาสติก เครื่องแต่งกาย เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2554
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2554 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 344 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2554 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 293 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 17.41 มีการจ้างงานจำนวน 9,186 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม2554 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,547 คน ร้อยละ 7.48 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 9,633.21 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2554 ซึ่งมีการลงทุน 23,939.13 ล้านบาท ร้อยละ 59.76
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 328 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 4.88 มีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2553 ที่มีจำนวนการจ้างงาน7,962 คน ร้อยละ 15.37 แต่มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งมีการลงทุน13,298.73 ล้านบาท ร้อยละ 27.56
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2554 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ ส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือน จากไม้จำนวน 27 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน 24โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2554 คือ อุตสาหกรรม ผลิตกระแสไฟฟ้า เงินลงทุน จำนวน 1,440.50 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมผลิตและประกอบชิ้นส่วน เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เงินลงทุน จำนวน 601.48 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2554คือ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เป็นของใช้ จำนวนคนงาน 1,517 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 937 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2554 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 73 ราย มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2554 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 41 ราย คิดเป็นร้อยละ 78.05 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 714.38 ล้านบาท มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2554 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 155.17 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,080 คน มากกว่าเดือนพฤษภาคม 2554 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 474 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 183 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 60.11 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2553 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,073.20 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2553 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,749 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมิถุนายน 2554 คืออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป และอุตสาหกรรมทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือน จากไม้ จำนวน 9 โรงงานเท่ากัน รองลงมาคืออุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ จำนวน 8 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2554 คือ อุตสาหกรรมทำชิ้นส่วนพิเศษสำหรับรถยนต์หรือรถพ่วง เงินทุน 207.13 ล้านบาทรองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมและพ่นสีรถยนต์ เงินทุน 132.29 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมิถุนายน 2554 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป คนงาน 625 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องประดับโดยใช้เพชร พลอย ไข่มุก ทองคำ ทองขาว เงิน นาก หรืออัญมณีคนงาน 276 คน
ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม — มิถุนายน 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 853 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 700โครงการ ร้อยละ 21.86 มีเงินลงทุน 253,300 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 227,400 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.39
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม — มิถุนายน 2554
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท) 1.โครงการคนไทย 100% 356 91,500 2.โครงการต่างชาติ 100% 307 87,700 3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 190 74,200
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — มิถุนายน 2554 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 54,600 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 53,600 ล้านบาท
ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะปรับตัวลดลงตามฤดูกาล ประกอบกับปัญหาหนี้สาธารณะของสหรัฐและยุโรป อาจส่งผลต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบใหม่ไม่สามารถทำได้ และยังทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกชะลอตัวลงสำหรับการจำหน่ายภายในประเทศอาจชะลอตัว จากระดับราคาสินค้าที่ปรับสูงขึ้น
1. การผลิต
ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมิถุนายน2554 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.5 แต่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนร้อยละ 5.8 แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น แป้งมันสำปะหลัง และสับปะรดกระป๋อง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 85.2 และ 102.8 ตามลำดับ เนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้นหลังจากประสบปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง และภัยแล้งเมื่อปีก่อน กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 18.4 และ76.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับการผลิตน้ำตาล มีปริมาณอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีก่อน ทำให้ปริมาณการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก แต่หากพิจารณาโดยเปรียบเทียบกับเดือนก่อนปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 84.4 เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดูหีบอ้อย
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ เดือนมิถุนายน 2554 สินค้าอาหารและเกษตรมีปริมาณการส่งสินค้าในประเทศเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.8 แต่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนร้อยละ10 เนื่องจากระดับราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ประกอบกับเข้าสู่ช่วงการเปิดเทอมใหม่ ทำให้ประชาชนมีรายจ่ายด้านอื่นเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการจับจ่ายใช้สอยในการบริโภคสินค้าอาหารชะลอตัวลงจากเดือนก่อน
2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร(ไม่รวมน้ำตาล) ในรูปเงินบาท ปรับชะลอตัวลงเล็กน้อยจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 0.4 และ 0.2 แต่หากรวมการส่งออกน้ำตาล มูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 17.5 จากปริมาณและมูลค่าการส่งออกน้ำตาลเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ประกอบกับราคาสินค้าได้ปรับตัวสูงขึ้นในเกือบทุกสินค้า
3. แนวโน้ม
การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะปรับชะลอตัวลงจากเดือนก่อน ตามปริมาณคำสั่งซื้อที่ลดลงตามฤดูกาล ประกอบกับความวิตกกังวลในสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่เริ่มส่อเค้ามีปัญหาในเรื่องหนี้สาธารณะที่ปรับเพิ่มขึ้นจนชนเพดานทำให้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะนำมาใช้เพิ่มเติมอาจไม่สามารถกระทำได้ ส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนของเศรษฐกิจโลกในภาพรวม นอกจากนี้ปัญหาเงินเฟ้อในประเทศจีนที่ปรับตัวสูงขึ้นมากโดยเฉพาะสินค้าอาหารส่งผลโดยตรงกับการค้าสินค้าอาหารทั้งภูมิภาคและอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกในที่สุด สำหรับการจำหน่ายในประเทศได้รับผลกระทบจากระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นซึ่งอาจส่งผลต่อการชะลอตัวของการบริโภคสินค้าและบริการ
“...หากราคาฝ้ายยังคงผันผวนก็จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในส่วนอื่นๆ กระทบต่อผู้นำเข้าผ้าผืนจากไทยและกระทบต่อการจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออก......”
1. การผลิต
ภาวะการผลิตในเดือนมิถุนายน 2554 ส่วนใหญ่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน เครื่องนอนฯ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (จากผ้าถัก) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (จากผ้าทอ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7, 4.2, 1.0, 9.8 และ 8.3 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอปรับตัวลดลงในผลิตภัณฑ์เดียวกันร้อยละ 3.8, 3.7, 22.0, 18.3 และ 6.5 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิต เช่นราคาวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงานในปีนี้เพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นและกระทบต่อการรับคำสั่งซื้อ ซึ่งอาจจะต่อเนื่องไปถึงปลายปีนี้
2. การจำหน่าย
การจำหน่ายในประเทศ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป (จากผ้าถัก) และเสื้อผ้าสำเร็จรูป (จากผ้าทอ) ร้อยละ 2.3, 2.3, 9.7 และ 6.8 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอฯ และผ้าผืน ลดลงร้อยละ 20.0 และ 1.1 เนื่องจากราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อและการจำหน่ายลดลง ในขณะที่กลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูป (ทั้งจากผ้าถักและผ้าทอ) โดยเฉพาะเสื้อผ้าแฟชั่น มีการจำ หน่ายที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 และ 7.7 ตามลำดับ
ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 9.3 โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าผืน ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ และผลิตภัณฑ์ผ้าอื่นๆ (เช่น ผ้าปักและผ้าลูกไม้ ผ้าคลุมไหล่และผ้าพันคอ ผ้าสำหรับตัดเสื้อ เป็นต้น) เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.5, 6.0, 1.7 และ 23.8 ตามลำดับ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนในผลิตภัณฑ์เดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5,10.3, 12.9 และ 8.6 ตามลำดับ
3. แนวโน้ม
การผลิตในภาพรวมและการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนโดยเฉพาะมีการขยายตลาดสู่อาเซียนมากขึ้น อีกทั้งราคาวัตถุดิบ(ฝ้าย) เริ่มปรับตัวลดลง เนื่องจากมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ทำให้ราคาฝ้ายในตลาดโลกลดลง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อผู้ประกอบการ แต่ถ้าหากราคาฝ้ายยังคงผันผวนก็จะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในส่วนอื่นๆ กระทบต่อผู้นำเข้าผ้าผืนจากไทย และกระทบต่อการจำหน่ายทั้งในประเทศและส่งออก และหากผู้ประกอบการมีการปรับขึ้นราคาสินค้าก็จะกระทบต่อการบริโภค สำหรับกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม ไทยยังมีศักยภาพในการผลิตและเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในอาเซียน
หอการค้าและอุตสาหกรรมของเมือง Bangalore ประเทศอินเดียเปิดเผยว่าโรงงานผลิตเหล็กในรัฐ Karnataka และรัฐใกล้เคียงได้ลดการผลิตเหล็กลงหลังจากที่มีคำสั่งจากศาลสูงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาในการระงับการทำเหมืองแร่เหล็กรวมถึงการขนส่งเหล็ก ซึ่งหอการค้าฯ ได้กล่าวว่าสาเหตุของคำสั่งดังกล่าวเพื่อต้องการจะกำจัดการทำเหมืองเหล็กที่ผิดกฎหมาย แต่บริษัทเหล็กร้องเรียนว่าคำสั่งศาลนี้จะสร้างความเสียหายแก่ผู้ผลิตเหล็ก ผู้ใช้เหล็ก และสุดท้ายจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตมวลรวมของประเทศ
1.การผลิต
สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมิถุนายน 2554 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลงร้อยละ 16.64 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 112.07 เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงยาวพบว่ามีการผลิตลดลง ร้อยละ 9.76 โดยผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ ลวดเหล็กเหล็กเส้นข้ออ้อย และเหล็กลวด โดยผลิตลดลงร้อยละ 16.62,14.99 และ 11.41 ตามลำดับ เนื่องจากความต้องการใช้ที่ชะลอตัวทำให้ผู้ผลิตลดการผลิตและเน้นการระบายสินค้าในสต๊อกแทน สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีการผลิตลดลง ร้อยละ 22.45 โดยผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีและเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกลดลงร้อยละ 33.23 และ 33.18 โดยสาเหตุที่เหล็กแผนเคลือบดีบุกมีการผลิตที่ลดลงเนื่องจากผู้ผลิตรายหนึ่งมีการปรับเปลี่ยนสารเคมีที่ใช้เป็นส่วนหนึ่งของการผลิต จึงทำให้ผลิตได้ไม่เต็มที่ ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลง ร้อยละ 5.94 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 20.50 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 43.28 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลงร้อยละ 40.83 ในขณะที่เหล็กทรงยาวกลับมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.30โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ161.30
2.ราคาเหล็ก
จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ดัชนีราคาเหล็กที่สำคัญส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเกือบทุกตัว โดยเหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 146.72 เป็น 149.53 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.92เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 147.34 เป็น 148.93 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.08 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 110.87 เป็น 111.57 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.63 เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 157.05 เป็น 157.50 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.29 แต่เหล็กแท่งแบน กลับมีดัชนีราคาเหล็กที่ลดลงจาก 150.0 เป็น 146.51 ลดลง ร้อยละ 2.33 เนื่องจากการซบเซาของตลาดเหล็กแผ่นรีดร้อนทำให้ราคาของเหล็กแท่งแบนถูกกดดันจากผู้ใช้ นอกจากนี้โรงงานยังชะลอการสั่งซื้อเนื่องจากปริมาณสต๊อกของเหล็กแท่งแบนที่ยังสูงอยู่และความต้องการใช้เหล็กที่น้อยลงในช่วงฤดูฝน
3. แนวโน้ม
สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนกรกฎาคม 2554 คาดว่าจะมีทิศทางที่ขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเหล็กทรงยาวมีแนวโน้มการผลิตที่เพิ่มขึ้นซึ่งจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าการลงทุนในหมวดก่อสร้างขยายตัวขึ้น โดยพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลปรับตัวสูงขึ้นซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและการลงทุนเพื่อการพาณิชยกรรมในเขตกรุงเทพ ซึ่งมีผลทำให้แนวโน้มความต้องการใช้เหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น สำหรับเหล็กทรงแบน คาดการณ์ว่าจะขยายตัวตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการปรับตัวที่ดีขึ้นและชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น
รถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมิถุนายน ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 153,646 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน2553 ซึ่งมีการผลิต 148,878 คัน ร้อยละ 3.20 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์กระบะ 1 ตัน และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2554 ร้อยละ 55.51 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เนื่องจากการผลิตรถยนต์เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายหลังจากที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 70,259 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 70,557 คัน ร้อยละ 0.42 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง, รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2554 ร้อยละ 25.80ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1 ตันและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
- การส่งออกรถยนต์ จำนวน 75,651 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งมีการส่งออก 69,279 คัน ร้อยละ 9.20 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา, และยุโรป และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม2554 ร้อยละ 95.70 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นทุกตลาดส่งออก(เอเชีย, โอเชียเนีย, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา, ยุโรป และอเมริกากลางและอเมริกาใต้)
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2554 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2554 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 47 และส่งออกร้อยละ 53
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมิถุนายน 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนมิถุนายน ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 222,149 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งมีการผลิต 201,117 คัน ร้อยละ10.46 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์ทุกประเภท(รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต) อีกทั้งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2554 ร้อยละ 6.92 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
- การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 221,818 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 182,607 คัน ร้อยละ 21.47 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์ทุกประเภท (รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต) อีกทั้งมีปริมาณการจำ หน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2554 ร้อยละ 18.24 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์ทุกประเภทเช่นกัน
- การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 21,574 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2553 ซึ่งมีการส่งออก 12,165 คัน ร้อยละ 77.34 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกเช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เป็นต้น แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2554 ร้อยละ 0.31
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2554 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2554 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 91 และส่งออกร้อยละ 9
“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ดีตามภาวะเศรษฐกิจ สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มทรงตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกมีความผันผวน”
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
ในเดือนมิถุนายน 2554 ปริมาณการผลิต และปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงร้อยละ 3.17 และ 4.91 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตลดลงเพียงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 1.61แต่ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ4.13 เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศ คือ การลงทุนโครงการพื้นฐานต่างๆ ของภาครัฐอย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบคือต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2.การส่งออก
มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนมิถุนายน 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 9.94 และ 5.77 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดภายในประเทศขยายตัวทำให้ผู้ประกอบการหันมาเน้นตลาดภายในประเทศมากขึ้น อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน และภาวะเงินเฟ้อที่เริ่มชัดเจนขึ้นในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทย สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ เมียนมาร์ บังคลาเทศ กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ตามลำดับ
3.แนวโน้ม
แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศ คาดว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้เป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง ทั้งนี้ คาดว่าความต้องการใช้ในประเทศจะเริ่มขยาย ตัวอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 4 โดยปัจจัยสำคัญที่จะมีส่วนสนับสนุนคือ การผลักดันให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ
สำหรับการส่งออกคาดว่ายังทรงตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกมีความผันผวน อย่างไรก็ตาม ตลาดส่งออกหลักของไทย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
- ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกรกฎาคม 2554จากแบบจำ ลองดัชนีชี้นำ ภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า(ล้านเหรียญฯ) %MoM %YoY อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ 1,614.85 8.21 -2.60 วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี 816.37 14.50 -3.65 เครื่องปรับอากาศ 415.73 14.13 50.54 กล้องถ่าย TV,VDO 189.61 13.70 22.94 รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 5,123.26 9.81 3.23
1.การผลิต
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมิถุนายน 2554 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 424.19 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.25 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.71 เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.07 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.69 ตามการปรับตัวของเครื่องปรับอากาศเป็นหลักและความต้องการของตลาดส่งออกยังคงเป็นปัจจัยสำคัญทำให้การผลิตสูงขึ้นสำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.63 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.88 ปรับขึ้นตามการผลิต Hard Disk Drive ที่เริ่มฟื้นตัวหลังจากที่ดัชนีการผลิตลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันหลายเดือน
2. การตลาด
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนมิถุนายน2554 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 9.81และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.23 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 5,123.26 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนมิถุนายน 2554 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 9.22 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.53 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 2,096.95 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และกล้องถ่าย TV, VDO โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 415.73 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 189.61 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.23 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ-2.37 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คือ 3,026.30 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สูงที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 1,614.85 ล้านเหรียญสหรัฐและ 816.37 ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ
3. แนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนมิถุนายน 2554จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มา กรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--