ดัชนีอุตฯ ก.ค.-1.11% กำลังการผลิต 63.01%

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 5, 2011 14:51 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ค.2554 ติดลบเล็กน้อย การผลิตหลอดอิเล็กฯ-เสื้อผ้าสำเร็จรูป-เยื่อกระดาษ ฉุด ขณะที่กลุ่ม Hard disk drive-ยานยนต์-เครื่องปรับอากาศ ยอดผลิตและจำหน่ายกลับมาขยายตัวต่อเนื่อง

รายงานจาก สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนกรกฎาคม 2554 ลดลง -1.11% เมื่อเทียบกับ เดือนเดียวกันของปีก่อน โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 63.01% อุตสาหกรรมที่ทำให้ MPI ลดลงที่สำคัญได้แก่ การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อ ผ้าสำเร็จรูป และการผลิตเยื่อกระดาษ ขณะที่ การผลิต Hard disk drive ยานยนต์ และการผลิตเครื่องปรับอากาศ กลับฟื้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งเป็นผล มาจากความต้องการในตลาดเพิ่มมากขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสัญญาณบวกในประเทศที่ชัดเจน เนื่องมาจากการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่เป็นไป อย่างราบรื่น พรรคการเมืองที่เป็นแกนจัดตั้งรัฐบาลเริ่มขับเคลื่อนนโยบายตามที่หาเสียงไว้ ทำให้ผู้บริโภคกลับมามีความเชื่อมั่นมากขึ้น

การผลิตหลอดอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายลดลงทุกผลิตภัณฑ์ สาเหตุสำคัญเนื่องจากผลกระทบ ของคลื่นยักษ์สึนามิที่ถล่มประเทศญี่ปุ่นเมื่อต้นปี ทำให้บริษัทแม่หลายแห่งได้รับความเสียหายส่งผลคำสั่งซื้อชะลอชั่วขณะ จึงส่งผลต่อการผลิตและจำหน่ายลด ลง โดย Other IC ,Monolitic IC และ Transistors การผลิตและส่งออกลดลง 11.0%,11.6%,4.58%,8.76%,และ 6.78%,4.22% ตาม ลำดับ

เสื้อผ้าสำเร็จรูป เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายลดลง 32.6%และ25.0% ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลด ลง โดยเฉพาะตลาดยุโรปและสหรัฐอเมริกา ที่กำลังเผชิญปัญหาทางการเงินทำให้ลูกค้าหลักในกลุ่มนี้ชะลอคำสั่งซื้อออกไป นอกจากนี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ ผลิตและจำหน่ายลดลง คือ คำสั่งซื้อย่อยที่เคยมีอย่างต่อเนื่องลดลง

การผลิตเยื่อกระดาษ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายลดลง 4.5% และ 6.8% ตามลำดับ เนื่องจากโรงงาน ผลิตขนาดใหญ่ หยุดซ่อมบำรุงเครื่องจักรประจำปี จึงส่งผลต่อการผลิตและจำหน่ายที่ลดลงดังกล่าว อย่างไรก็ตามภาพรวมทั้งปียังมีทิศทางที่ขยายตัวดี เนื่องจากความต้องการของตลาดเพิ่มสูงขึ้น

ขณะที่ การผลิต Hard disk drive เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 6.1% และ 11.0% ตามลำดับ เนื่องจากผู้ผลิตมีการพัฒนาสินค้าใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง และมีความจุที่เพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถใช้ได้กับเครื่องมือสื่อสารยุคใหม่ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยม แพร่หลายอยู่ในขณะนี้

การผลิตยานยนต์ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่าย ทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับเมื่อปีก่อนหลังจากติดลบหลาย เดือน เนื่องจากผลพวงของคลื่นยักษ์สึนามิถล่มญี่ปุ่น ทำให้ไม่สามารถส่งชิ้นส่วนสำคัญที่มีเทคโนโลยีสูงจากบริษัทแม่มาประกอบในประเทศไทยได้ เดือน กรกฎาคมนี้ การผลิตทรงตัวอยู่ที่ 0.0% ขณะที่การจำหน่ายชะลอตัว 1.6% ส่วนแนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งปี 2554 แม้ว่าในช่วงต้นปีอุตสาหกรรม ยานยนต์ไทยจะได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น แต่ก็ถือว่ามีการฟื้นตัวที่เร็ว จึงคาดว่าปี 2554 จะมีการผลิตรถยนต์ 1,800,000 คัน เพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9.40% แบ่งเป็นการจำหน่ายในประเทศ 900,000 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 12.45% และการส่งออก 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 0.46%

การผลิตเครื่องปรับอากาศ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่าย เพิ่มขึ้น 4.4% และ 1.3% เนื่องจากผู้ประกอบ การพัฒนาสินค้าและเทคโนโลยีใหม่ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งใน ประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นที่ ความประหยัดและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม

สรุปตัวเลข MPI เดือนกรกฎาคม 2554 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นดังนี้ ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 188.01 ลดลง -1.11% จากระดับ 190.12 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 193.13 เพิ่มขึ้น 2.11% จากระดับ 189.14 ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ ระดับ 194.87 เพิ่มขึ้น 2.65% จากระดับ 189.84 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 144.66 เพิ่มขึ้น 4.98% จากระดับ 137.80 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 118.55 ลดลง —1.88% จากระดับ 120.82 และ อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 63.01%

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต

             Index          ------------------------ 2553 --------------------------     ---------------------2554---------------------
                             ก.ค.    ส.ค.    ก.ย.    ต.ค.     พ.ย.     ธ.ค.     ม.ค.     ก.พ.      มี.ค.   เม.ย.    พ.ค.    มิ.ย.    ก.ค.
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม          190.12  183.71   201.5  191.21   190.43   188.38    186.93   177.79   198.2   165.31   178.1   201.6     188
อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) %    -2.05   -3.37    9.67   -5.09    -0.41    -1.08     -0.77    -4.89    11.5    -16.6     7.8    13.2   -6.74
อัตราการเปลี่ยนแปลง (YOY) %     13.1    8.41    8.14     604     5.65    -3.43      4.05    -2.97   -6.69    -8.14    -3.7     3.8   -1.11
อัตราการใช้กำลังการผลิต %       64.55   63.61    64.36  63.92     63.6    62.35     62.32    62.32   66.08    54.43   58.81    64.1   63.01

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ