สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2 (เมษายน — มิถุนายน) พ.ศ. 2554(เศรษฐกิจโลก)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 5, 2011 15:58 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เศรษฐกิจโลก(1)

ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 2 ปี 2554 เศรษฐกิจแต่ละประเทศยังคงขยายตัว แต่มีแรงกดดันจากแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ปัญหาหนี้สาธารณะที่อาจขยายตัวไปยังอิตาลีและสเปน และความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศในยุโรป นอกจากนี้ปัญหาเงินเฟ้อก็ยังเป็นปัจจัยกดดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศฝั่งเอเชีย

ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ 111.14 USD/Barrel เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 อยู่ที่ 78.23 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวขึ้นลง โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนกันยายน (ณ วันที่ 5 สิงหาคม 2554) ลดลง 5.30 USD/Barrel โดยมีราคาอยู่ที่ 86.63 USD/Barrel เนื่องจากนักลงทุนกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย และปัญหาหนี้ในกลุ่มประเทศยุโรป

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)

ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 2.1 เท่ากับไตรมาส 2 ปี 2553 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 3.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 23.7 เนื่องจากปัญหาหนี้ของสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนเกี่ยวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทำให้ภาคเอกชนชะลอการลงทุน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 61.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.2 อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 74.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 71.3 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 89.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 76.3

การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 17.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 19.3 การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 15.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 26.6

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 6.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.2 อัตราเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูงเป็นผลมาจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดอาหารและพลังงาน อัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 8.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.5

ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ(Fed) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2554 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 และยืนยันยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE2) ซึ่งเป็นมาตรการในการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในวันที่ 30 มิถุนายน 2554 ตามแผนที่วางไว้

หมายเหตุ 1. ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2554

ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th

2. ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 ปี 2554 ชะลอตัว เนื่องจากการบริโภคภาคเอกชนที่เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัว ภาคการผลิตชะลอตัวเนื่องจากขาดแคลนชิ้นส่วนการผลิตในบางอุตสาหกรรมอันเป็นผลมาจากเหตุภัยพิบัติที่ญี่ปุ่น

เศรษฐกิจจีน(3)

เศรษฐกิจประเทศจีนในไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 9.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.3 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 17.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 18.5 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 106.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 107.7 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 25.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 25.8 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 13.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 16.0

การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 22.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 40.9 การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 23.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 44.5

ภาวะเงินเฟ้อของประเทศจีนในไตรมาส 2 ปี 2554 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 5.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.9 เป็นผลมาจากราคาสินค้าในหมวดอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นอัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.2

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (People's Bank of China) ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554 จากร้อยละ 6.31 เป็นร้อยละ 6.56 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อภายในประเทศ

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ปี 2554 ยังคงขยายตัวแต่ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายทางการเงินแบบเข้มงวดของรัฐบาล นอกจากนี้ปัญหาเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กดดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศจีน

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2554 GDP หดตัวร้อยละ 0.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 1.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 35.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 42.5 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 5.3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่หดตัวร้อยละ 17.8 ดัชนีการผลิต

หมายเหตุ (3) ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com

(4) ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2554

www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp www.ceicdata.com

ภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 88.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.3 อันเป็นผลมาจากเหตุภัยพิบัติและภาวะขาดแคลนพลังงาน

การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2554 หดตัวร้อยละ 8.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 33.4 อันเป็นผลมาจากภัยพิบัติและการแข็งค่าของเงินเยน การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 10.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 28.2

ภาวะเงินเฟ้อของประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2554 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -0.9 เป็นผลมาจากราคาสินค้าหมวดอาหารและพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.1

ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 (เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2554) นอกจากนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีเป้าหมายในการสกัดการแข็งค่าของเงินเยนเพื่อช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2554 คาดว่าจะหดตัวต่อเนื่อง จากเหตุภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออก รวมทั้งปัญหาการแข็งค่าของเงินเยน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)

เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.5 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 ในส่วนของ GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 5.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 การบริโภคไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 0.7 เท่ากับไตรมาส 1 ปี 2553 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 100.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 93.7 และในเดือนเมษายน พฤษภาคม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 101.1 และ 101.6 ตามลำดับ

การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 25.2 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 14.8 สำหรับการส่งออกในเดือนเมษายน และพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 14.6 และ 21.0 ตามลำดับ การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 25.3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 สำหรับการนำเข้าในเดือนเมษายน และพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 16.8 และ 16.0 ตามลำดับ

ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปของกลุ่มประเทศยุโรปในไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.6 อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 9.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.5

หมายเหตุ (5) ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2554 - ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 1.25 เป็นร้อยละ 1.50 (เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2554) เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 2 ปี 2554 คาดว่าจะชะลอตัว เนื่องจากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปอาจจะลุกลามไปประเทศอิตาลีและสเปน รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง สำหรับอัตราการว่างงานปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ

เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมในเอเชีย

เศรษฐกิจฮ่องกง(6)

เศรษฐกิจประเทศฮ่องกงในไตรมาส 1 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่ปรับขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการบริโภคของภาคเอกชนที่ขยายตัวตามการจ้างงานและระดับรายได้ที่เพิ่มขึ้น ด้านตลาดแรงงาน อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 ของกำลังแรงงานรวม อยู่ในระดับเดียวกันกับไตรมาส 1 ปี 2554 อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 87.4 ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากปริมาณการผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์ยาสูบ รวมถึงปริมาณการผลิตโลหะ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่ขยายตัวเป็นสำคัญ ขณะที่ดัชนีราคาผู้ผลิต ในไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 2 ปี 2554 ฮ่องกงมีมูลค่าการส่งออก 108,879 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 52.6 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) ขยายตัวร้อยละ 4.8 อย่างไรก็ตามการส่งออกไปสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.6 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2554 ฮ่องกงมีมูลค่าการนำเข้า 124,780 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านสถานการณ์การเงิน ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 โดยดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมิถุนายน 2554 ขยายตัวร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงการเพิ่มขึ้นของภาษียาสูบ

เศรษฐกิจเกาหลีใต้(7)

เศรษฐกิจประเทศเกาหลีใต้ในไตรมาส 2 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 152.9 ขยายตัวร้อยละ 7.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

หมายเหตุ (6) ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2554 - ที่มา www.censtad.gov.hk, www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

(7) ที่มา www.eco.bok.or.kr, www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 2 ปี 2554 เกาหลีใต้มีมูลค่าการส่งออก 143,817 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 19.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกไปยังตลาดสำคัญขยายตัวได้ดี โดยตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของเกาหลีใต้ยังคงเป็นตลาดจีนที่ในไตรมาสนี้การส่งออกไปจีนขยายตัวร้อยละ 14.4 ขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา ขยายตัวร้อยละ 17.7 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2554 เกาหลีใต้มีมูลค่าการนำเข้า 134,444 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 27.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าจากตลาดหลักอย่างจีนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

ด้านสถานการณ์การเงิน ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากในไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 อย่างไรก็ตามธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 3.0 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 (เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2554)

เศรษฐกิจสิงคโปร์(8)

เศรษฐกิจประเทศสิงคโปร์ในไตรมาส 2 ปี 2554 GDP ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวลงจากในไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.3 จากการที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาส 2 ปี 2554 หดตัวร้อยละ 5.5 จากที่ในไตรมาส 1 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ16.4 ทั้งนี้เนื่องจากการผลิตสินค้าในกลุ่มไบโอเมดิคอลที่หดตัวเป็นสำคัญ รวมถึงการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลง นอกจากนี้ภาคการก่อสร้างและภาคการบริการก็ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 124.8 หดตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2554 ที่หดตัวร้อยละ 9.2 และ 16.2 ตามลำดับ ขณะที่ดัชนีในเดือนมิถุนายน 2554 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 10.5

          ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 1 ปี 2554 สิงคโปร์มีมูลค่าการส่งออก 97,661 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 24.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกไปยังตลาดหลักต่างขยายตัวดี โดยการส่งออกไปยังมาเลเซีย ฮ่องกง จีน และอินโดนีเซีย ขยายตัวร้อยละ 20.3, 19.6, 21.8 และ 27.4 ตามลำดับ สำหรับในเดือนเมษายน 2554 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 16.4 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1       ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 86,259 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 21.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ      ปีก่อน สำหรับในเดือนเมษายน 2554 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 15.9

ด้านสถานการณ์การเงิน ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากในไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 ทั้งนี้ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนมิถุนายน 2554 ขยายตัวร้อยละ 5.2 จากราคาที่อยู่อาศัย ต้นทุนค่าขนส่ง และราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ

หมายเหตุ (8)- ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2554

  • ที่มา www.singstat.gov.sg, www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

เศรษฐกิจอินโดนีเซีย(9)

เศรษฐกิจประเทศอินโดนีเซียในไตรมาส 2 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 139.4 ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากในไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.7

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 1 ปี 2554 อินโดนีเซียมีมูลค่าการส่งออก 45,387 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 27.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 32.7 ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ ต่างปรับขยายตัวดีเช่นกัน สำหรับการส่งออกในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 37.6 และ 44.9 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2554 อินโดนีเซียมีมูลค่าการนำเข้า 38,795 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 29.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 32.5 และ 48.6 ตามลำดับ

ด้านการเงินการธนาคาร ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากในไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.8 ทั้งนี้ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้อยู่ที่ระดับร้อยละ 6.75 (เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2554) จากแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง

เศรษฐกิจมาเลเซีย(10)

          เศรษฐกิจประเทศมาเลเซียในไตรมาส 1 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการบริการ และภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว ขณะที่ทางฝั่งด้านอุปสงค์มีการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนของภาคเอกชนเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ                ด้านตลาดแรงงาน อัตราการว่างงานในเดือนพฤษภาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ของกำลังแรงงานรวม คงที่จากในเดือนมีนาคม และเมษายน 2554

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 114.3 ขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2554 ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 และ 0.6 ตามลำดับ

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 1 ปี 2554 มาเลเซียมีมูลค่าการส่งออก 55,316 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 17.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกไปตลาดหลักอย่างจีน สิงคโปร์ และญี่ปุ่น ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 16.1, 14.9 และ 27.2 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 18.3 และ 13.7 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2554 มาเลเซียมีมูลค่าการนำเข้า 44,190 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 24.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 16.5 และ 13.9 ตามลำดับ

ด้านสถานการณ์การเงิน ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 ทั้งนี้ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 2.75 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.0 (เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2554)

หมายเหตุ (9) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2554

  • ที่มา www.bi.go.id, apecthai.org, www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

(10) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2554

  • ที่มา www.statictics.gov.my, www.bnm.gov.my, www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์(11)

เศรษฐกิจประเทศฟิลิปปินส์ในไตรมาส 1 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนที่ขยายตัวดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่คงทน

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 90.2 ขยายตัวร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีผลผลิตในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 2.2 และ 0.9 ตามลำดับ

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 1 ปี 2554 ฟิลิปปินส์มีมูลค่าการส่งออก 12,219 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอันดับหนึ่งอย่างญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 5.5 การส่งออกไปยังจีน และสิงคโปร์ ขยายตัวร้อยละ 29.9 และ 33.7 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.2 สำหรับการส่งออกในเดือนเมษายน 2554 ขยายตัวร้อยละ 19.7 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2554 ฟิลิปปินส์มีมูลค่าการนำเข้า 15,612 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 22.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนเมษายน 2554 ขยายตัวร้อยละ 21.3

ด้านการเงินการธนาคาร ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.1 ทั้งนี้ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 6.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 6.5

เศรษฐกิจอินเดีย(12)

เศรษฐกิจประเทศอินเดียในไตรมาส 1 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากในไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 8.4 ทั้งนี้เนื่องมาจากภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เหมืองหิน ภาคอุตสาหกรรมการผลิต รวมถึงภาคบริการที่ชะลอตัว

ด้านดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 402.2 ขยายตัวร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตในเดือนเมษายน 2554 ขยายตัวร้อยละ 4.4

ด้านการค้าระหว่างประเทศ ในไตรมาส 2 ปี 2554 อินเดียมีมูลค่าการส่งออก 79,003.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 45.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2554 อินเดียมีมูลค่าการนำเข้า 110,613.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 36.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ด้านการเงินการธนาคาร ดัชนีราคาผู้บริโภคในไตรมาสในเดือนมิถุนายน 2554 ขยายตัวร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ธนาคารกลางอินเดียตั้งไว้ถึงสองเท่า และเพิ่มขึ้นจากในเดือนพฤษภาคม 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 ทั้งนี้ธนาคารกลางอินเดียมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 7.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 7.5 (ในเดือนมิถุนายน 2554)

หมายเหตุ (11) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2554 11

  • ที่มา www.nscb.gov.ph, www.bsp.gov.ph , www.ceicdata.com, www.gtis.com/gta

(12) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2554

  • ที่มา commerce.nic.in, apecthai.org, www.fpo.go.th, www.ceicdata.com

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ