*สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 47 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 14,998.60 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 229.54 ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 5,438 คน สำหรับไตรมาสนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย 1) โครงการผลิตชิ้นส่วนตัวถังสำหรับยานพาหนะ ของบริษัท เอ็มเอ็มทีเอช เอ็นจิ้น จำกัด เงินลงทุน 1,126.70 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 107 คน 2) โครงการผลิตชิ้นส่วนโลหะสำหรับ Eco car ของบริษัท เอช-วัน พาร์ทส์ ศรีราชา จำกัด เงินลงทุน 1,245.10 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 182 คน และ 3) โครงการผลิตโคมไฟสำหรับยานพาหนะ ของ บริษัท ไทย โคะอิโท จำกัด เงินลงทุน 1,119.10 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 537 คน (รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th) อุตสาหกรรมรถยนต์โลก (รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2554)
*อุตสาหกรรมรถยนต์โลกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 19,194,170 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 6.80 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 14,173,712 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 5,020,458 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 4.90 และ 12.80 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ จีน และสหรัฐอเมริกา พบว่า จีนมีการผลิตรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 4,885,487 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.45 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 2,188,193 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.40 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก สำหรับการจำหน่ายรถยนต์โลกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) มีการจำหน่ายรถยนต์ 24,284,618 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 6.40 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 6,435,881 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 11.80 และมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 17,849,897 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 4.60 เมื่อพิจารณาประเทศที่สำคัญ พบว่า จีนมีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 4,647,493 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.14 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 3,453,979 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 14.22 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก
*อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศจีน มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2554 (ม.ค.มิ.ย.) จำนวน 9,173,461 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 2.80 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 7,070,240 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.80 และการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2,103,221 คัน ลดลงร้อยละ 6.30 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 9,360,543 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.80 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 7,138,168 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.20 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2,222,375 คัน ลดลงร้อยละ 3.20
*อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกามีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงครึ่งปีแรก 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) จำนวน 4,246,403 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 9.20 แบ่งเป็นการผลิต
รถยนต์นั่ง 1,404,709 คันลดลงร้อยละ 3.10 และการผลิตรถบรรทุก 2,841,694 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.50 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-พ.ค.) จำนวน 5,372,036 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 14.20 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 2,639,145 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.20 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2,732,891 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.20
อุตสาหกรรมรถยนต์ไทย
การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 810,610 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.41 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.70 และ1.05 ตามลำดับ แต่มีการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 2.74 ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 424,820 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.24 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) เพื่อการส่งออกร้อยละ 74 และการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกร้อยละ 26 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซี.ซี. รองลงมาคือ รถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,501-1,800 ซี.ซี. ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2554 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 341,629 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 11.53 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 6.21, 14.01 และ 26.40 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2554 ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 27.16 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 30.49, 24.73 และ 42.10 ตามลำดับ
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 432,012 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.12 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.25, 19.23, 16.17 และ 5.98 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2554 มีการจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 193,393 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.84 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และ รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.32 และ 6.26 ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV ลดลงร้อยละ 3.20 และ 9.40 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2554 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 18.95 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV ลดลงร้อยละ 17.80, 19.89, 20.59 และ 19.10 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 400,905 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2553 ลดลงร้อยละ 4.13 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 176,373.41 ล้านบาท ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรก 2553 ร้อยละ 9.61 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2554 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 166,498 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 74,157.93 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 17.36 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 20.26 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2554 ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 28.97 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 27.45
จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2554 มีมูลค่า 95,988.01 ล้านบาท ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 ร้อยละ 9.02 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.38, 15.89 และ 7.28 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปอินโดนีเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.87 แต่มีการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ มีมูลค่าลดลง 35.77 และ 29.53 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2554 มีมูลค่า 73,888.48 ล้านบาท ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 ร้อยละ 3.38 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 32.39, 4.69 และ 4.65 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลีย และมาเลเซีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 14.33 และ 5.57 ตามลำดับ แต่มีการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปอินโดนีเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2554 มีมูลค่า 15,555.71 ล้านบาท ลดลงจากช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553 ร้อยละ 4.62 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 31.66, 13.83 และ 11.41 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและบรรทุกไปซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.56 และ 35.91 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 30.04
การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 13,150.04 และ 10,611.80 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2553 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.79 และ 24.87 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 6,525.09 และ 4,393.69 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.32 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 6.63 เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี 2554 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 1.51 และ 29.34 ตามลำดับ แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2554 ได้แก่ เยอรมนี อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 30.27, 20.17 และ 18.54 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 109.92 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากอินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 22.53 และ 27.59 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2554 ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 56.91, 12.89 และ 6.68 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.46, 24.23 และ 846.01 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมรถยนต์ครึ่งปีแรกปี 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดภายในประเทศยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่การส่งออกรถยนต์ชะลอตัวลงเล็กน้อย หากพิจารณาอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่สองปี 2554 เปรียบเทียบกับไตรมาแรกของปี 2554 ชะลอตัว เนื่องจากได้เกิดภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้โรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศญี่ปุ่น และฐานการผลิตทั่วโลก ต้องปรับลดการผลิตลง ผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศญี่ปุ่นจะต้องบริหาร Supply Chain ชิ้นส่วนไปยังทั่วโลก (Global Sourcing) รวมทั้งโรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศไทย โดยทั้งนี้มีการปรับลดการผลิตรถยนต์ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2554 จนถึงเดือนมิถุนายน 2554
สาเหตุหลักเนื่องจาก ปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วน ได้แก่ ชิ้นส่วนสมองกล (Micro Computer Chip) ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ในเมืองเซนได หรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ในไตรมาสที่สาม ปี 2554 ประมาณ 487,000 คัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 49 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 51
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 1,170,117 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.80 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต 1,081,566 และ 88,551 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.45 และ 84.82 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2554 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน 594,994 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.13 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.18 และ 163.32 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกปี 2554 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.46 โดยเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.02 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 3.16
การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 1,080,627 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.80 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 508,844 คัน รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 538,904 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.54 และ 14.96 ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 32,879 คัน ลดลง ร้อยละ 6.49 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2554 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 599,633คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.89 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.78, 13.52 และ 30.56 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2554 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.42 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.79, 7.94 และ 8.65 ตามลำดับ
การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มีจำนวน 553,873 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 106,609 คัน และ CKD จำนวน 447,264 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.58 คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) มีมูลค่า 14,405.30 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 36.45 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2553 มีปริมาณการส่งออก 294,494 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 6,024.71 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.88 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.37 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2554 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.54 แต่คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 28.11 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์(CBU) ในช่วงครึ่งปีแรก 2554 ได้แก่ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 18.29, 13.84 และ 13.68 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหราชอาณาจักร ลดลงร้อยละ 2.82 แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 80.91 และ 105.90 ตามลำดับ
การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 625.66 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 184.71 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 300.83 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 142.27 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2554 มูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 7.39 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2554 ได้แก่ เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 17.94 และ 7.41 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเวียดนาม และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 171.79 และ 49.23 ตามลำดับ
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ครึ่งปีแรกปี 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจภายในประเทศ ประกอบกับมีความต้องการรถจักรยานยนต์จากต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น สำหรับการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ภายในประเทศมีการขยายตัว ซึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้นส่งผลให้ผู้บริโภคมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน สำหรับตลาดส่งออกที่มีการขยายตัว ส่วนใหญ่เป็นการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น สำหรับกรณีภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อการผลิตรถจักรยานยนต์ เนื่องจากส่วนใหญ่ใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ จากข้อมูลที่ได้จากการสอบถามผู้ประกอบการ คาดว่าจะมีการผลิตรถจักรยานยนต์ (CBU) ในไตรมาสที่สาม ปี 2554 ประมาณ 621,000 คัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 90 และผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 10
อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2554 ( ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 66,826.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2553 ร้อยละ 3.51 การส่งออกเครื่องยนต์มีมูลค่า12,454.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2553 ร้อยละ 34.01 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์มีมูลค่า 7,814.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2553 ร้อยละ 14.24 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2554 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 30,262.00 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 5,492.77 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 4,026.50 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การส่งออกเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.56 และ 12.01 ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ลดลงร้อยละ 8.85 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2554 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และเครื่องยนต์ ลดลงร้อยละ 17.24 และ 21.10 ตามลำดับ แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.29 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2554 มีมูลค่า 77,831.95 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 1.34 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 13.15, 12.84 และ 10.03 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.55 แต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น และมาเลเซีย ลดลงร้อยละ 21.86 และ 14.21 ตามลำดับ
การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ในช่วงครึ่งปีแรก 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 6,171.88 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2553 ลดลงร้อยละ 5.72 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 322.33 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.55 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2554 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 3,192.35 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 5.71 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 169.39 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.80 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2554 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.14 และ 10.76 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 18.86, 18.28 และ 10.93 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย เวียดนาม และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.53, 51.57 และ 225.38 ตามลำดับ
การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 92,323.71 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.72 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2554 มีการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ มีมูลค่า 41,666.70 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 4.53 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2554 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 17.75 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2554 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และจีน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 61.23, 5.39 และ 5.38 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และ 2.31 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 14.61
การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีแรก 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มีมูลค่า 7,838.78 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงครึ่งปีแรก 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.12 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สองของปี 2554 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่า 2,872.45 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 14.02 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สองกับไตรมาสแรกของปี 2554 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 42.16 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงครึ่งปีแรก 2554 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 45.31, 14.25 และ 6.90 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.95 แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากจีน และอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 14.06 และ 15.84 ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--