การผลิตและการจำหน่าย
การผลิตเครื่องเพชร พลอย และรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 หากเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชร พลอย และรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 15.37 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลง ร้อยละ 6.47 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.47 เนื่องจากผู้ผลิตได้รับคำสั่งซื้อลดลง หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 14.49 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 10.53 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.35
การตลาด
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,986.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากคำสั่งซื้อที่ลดลงเนื่องจากหมดช่วงฤดูท่องเที่ยว โดยการส่งออกพลอยมีมูลค่า 129.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงคิดเป็นร้อยละ 30.27 เครื่องประดับแท้ทำด้วยทองมีมูลค่า 430.88 ลดลงคิดเป็นร้อยละ 19.73 และทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปมีมูลค่า 1,518.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงคิดเป็นร้อยละ 19.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 31.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปลดลง เนื่องจากในช่วงไตรมาส 2 ปี 2553 ราคาทองคำได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจากที่ผ่านมาทำให้ฐานการส่งออกทองคำสูง ประกอบกับไตรมาสนี้มีการปรับสต๊อกสินค้าจากสองไตรมาสก่อนหน้าที่มีการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปไปมาก โดยผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 473.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.36 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.83 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.74, 16.86 และ 13.54 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 342.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.60 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.06, 23.10 และ 18.50 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 129.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 30.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.38 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.72, 18.07 และ 12.45 ตามลำดับ
2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 846.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.32 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และเดนมาร์ก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.75, 9.95 และ 9.58 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญ มีดังนี้
2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 369.70 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.51 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.61, 16.45 และ 7.66 ตามลำดับ
2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 430.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 19.73 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.42, 15.73 และ 9.26 ตามลำดับ
3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 86.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 70.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ลิกเตนสไตน์ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48.11, 18.15 และ 9.68 ตามลำดับ
4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 29.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 47.17, 12.15 และ 8.22 ตามลำดับ
5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 1,518.42ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 19.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 53.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72.47, 19.52 และ 2.00 ตามลำดับ
การนำเข้า
1.เพชร พลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 (ดูตารางที่ 3 ประกอบ) มีมูลค่าการนำเข้า 3,011.88 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27.61 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากการผลิตลดลง ประกอบกับเป็นผลจากการนำเข้าทองคำที่ลดลงถึงร้อยละ 33.09 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 192.19 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในช่วงไตรมาส 2 ปี 2553 เป็นช่วงที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวสูงจึงมีการนำเข้าทองคำยังไม่ขึ้นรูปน้อยมากทำให้ฐานการนำเข้าทองคำยังไม่ขึ้นรูปต่ำ ทั้งนี้การนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ได้แก่
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 446.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.83 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 121.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.02, 19.93 และ 19.18 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 64.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 9.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.06, 13.95 และ 9.88 ตามลำดับ
1.3 ทองคำ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 2,228.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 33.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 329.11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.67, 26.40 และ 8.33 ตามลำดับ
1.4 เงิน ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 202.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฮ่องกง และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.59, 24.93 และ 18.50 ตามลำดับ
1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 29.82ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.63, 16.50 และ 8.80 ตามลำดับ โดยการนำเข้าเพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.68 ของการนำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด
2. เครื่องประดับอัญมณี ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าทั้งสิ้น 184.27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 6.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.97 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 173.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.46 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.93 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ มาเลเซีย ฮ่องกง และอิตาลี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.30, 6.43 และ 5.02 ตามลำดับ
2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 11.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.61, 15.32 และ 12.72 ตามลำดับ นโยบายภาครัฐ
กระทรวงแรงงานได้ประกาศ เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 2) ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2554 ซึ่งประกาศฉบับนี้ได้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในแต่ละสาขาอาชีพและในแต่ละระดับ โดยสาขาอาชีพช่างเครื่องประดับ (ประดับอัญมณี) ระดับ 1 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 300 บาท ระดับ 2 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 400 บาท และระดับ 3 เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละ 550 บาท ซึ่งอัตราค่าจ้างที่ประกาศใหม่จะทำให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับมีมาตรฐานค่าจ้างเป็นที่ยอมรับทั้งฝ่ายผู้ประกอบการและฝ่ายทักษะฝีมือแรงงานสรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 2 ปี 2554 ด้านการผลิตลดลงร้อยละ 15.37 และการจำหน่ายลดลงร้อยละ 6.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกโดยภาพรวมมีการหดตัวร้อยละ 16.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากการได้รับคำสั่งซื้อลดลงซึ่งทำให้มูลค่าการส่งออกพลอยลดลงร้อยละ 30.27 เครื่องประดับแท้ทำด้วยทองลดลงร้อยละ 19.73 และทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป ลดลงร้อยละ 19.75 สำหรับสาเหตุที่การส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปมีการลดลงอย่างมาก เนื่องจากมีการปรับ สต๊อกสินค้าจากสองไตรมาสก่อนหน้านี้ที่มีการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปไปมาก สำหรับการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 27.61 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 192.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการนำเข้าทองคำยังไม่ขึ้นรูป
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ปัจจัยด้านบวก คือ ราคาทองคำในตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับมากกว่า 1,600 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ จะเป็นสาเหตุให้เกิดการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปเพิ่มขึ้นอย่างมากและนำเข้าทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปลดลง และการขยับเพดานหนี้ของสหรัฐอเมริกาทำให้หลายฝ่ายคลายความกังวล ปัจจัยด้านลบ คือ แนวโน้มค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากปัจจัยบวกและปัจจัยลบดังที่กล่าวมานั้น ปัจจัยบวกจะส่งผลดีมากกว่าปัจจัยลบ ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าแนวโน้มการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 จะขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--