สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 13, 2011 10:52 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2554 หดตัวหรือติดลบร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลง คือ เครื่องแต่งกาย ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก โทรทัศน์ เส้นใยสิ่งทอ สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2554 กลับมาขยายตัวดี โดยขยายตัวร้อยละ 38.1 แต่หากหักการส่งออกทองคำ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่รวมทองคำขยายตัวร้อยละ 29.98

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(1) เดือนกรกฎาคม 2554 หดตัวหรือติดลบร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน โดยอุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลง คือ เครื่องแต่งกาย ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติกโทรทัศน์ เส้นใยสิ่งทอ

สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต(2) เดือนกรกฎาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 63.01 จากร้อยละ64.55 ในเดือนกรกฎาคม 2553

เมื่อพิจารณาในด้านของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2554 กลับมาขยายตัวดี โดยขยายตัวร้อยละ 38.1 แต่หากหักการส่งออกทองคำ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่รวมทองคำขยายตัวร้อยละ 29.98 ---------------------------------------------------------------------------------------------------------

หมายเหตุ (1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งในภาพรวม รายสาขาอุตสาหกรรม และรายผลิตภัณฑ์

(2) อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็มศักยภาพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)

อุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ(กรกฎาคม 2554)

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอปรับตัวลดลง ได้แก่ เส้นใย สิ่งทอ ผ้าผืน เครื่องนอน เสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและผลิตจากผ้าทอ ลดลงร้อยละ 2.7, 7.9, 3.8, 0.6 และ13.7 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิต เช่นราคาวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงานในปีนี้เพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นและกระทบต่อการรับคำสั่งซื้อ ซึ่งอาจจะต่อเนื่องไปถึงปลายปีนี้ แต่ในด้านการส่งออกโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ9.3 ในผลิตภัณฑ์สิ่งทอหลักๆ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เส้นใยประดิษฐ์และสิ่งทออื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2, 5.0, 14.7 และ 22.4 ตามลำดับ

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตลดลง ร้อยละ 4.84 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 8.38 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 27.29 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยมลดลงร้อยละ 17.89 ในขณะเดียวกันเหล็กทรงยาวก็มีการผลิตที่ลดลงเช่นเดียวกัน ร้อยละ 0.79 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กลวด ลดลงร้อยละ 22.32 ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงในช่วงเดือนกรกฎาคม2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ดัชนีราคาเหล็กของเหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.73 เหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.36 ส่วนเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงร้อยละ 0.63 ส่วนเหล็กเส้นและเหล็กแท่งแบนดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะเห็นได้ว่าราคาเหล็กในช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเป็นผลมาจากสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกและความต้องการวัตถุดิบในการผลิตเหล็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชะลอตัวลง

อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิต จำนวน 147,236 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2553 งมีการผลิต 145,771 คัน ร้อยละ 1.01 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยของรถยนต์นั่งรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2554 ร้อยละ 4.17 ซึ่งเป็นการปรับลดลงของรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน หรับการส่งออกมีจำนวน 75,803 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2553 ซึ่งมีการส่งออก 87,605คัน ร้อยละ 13.47

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.55 เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ0.05 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.94

ในส่วนมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.46 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวม 5,172.50 ล้านเหรียญสหรัฐ

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ