รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday September 13, 2011 11:20 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนกรกฎาคม 2554

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2554 ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2554 ร้อยละ6.7 และลดลงร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน อุตสาหกรรมที่มีการผลิตลดลงคือ เครื่องแต่งกาย ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก โทรทัศน์ เส้นใยสิ่งทอ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนกรกฎาคม 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 63.0 ลดลงจากร้อยละ 64.1 ในเดือนมิถุนายน 2554
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญ

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

  • สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนสิงหาคม 2554 คาดว่าจะมีทิศทางที่ขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • โดยเหล็กทรงยาวมีแนวโน้มการผลิตที่เพิ่มขึ้นซึ่งข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่าการลงทุนในหมวดก่อสร้างยังขยายตัวได้ดีจำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นและยังมีผลบวกจากมาตรการกระตุ้นอุปสงค์ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส) ตามโครงการบ้านหลังแรก ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการใช้เหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น
  • สำหรับเหล็กทรงแบน คาดการณ์ว่าความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนมีการปรับตัวที่ดีขึ้นตามลำดับ รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยังมีความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

มิ.ย. 54 = 201.6

ก.ค. 54 = 188.0

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • เครื่องแต่งกาย
  • ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

มิ.ย. 54 = 64.1

ก.ค. 54 = 63.0

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • ยานยนต์
  • ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนกรกฎาคม 2554 มีค่า 188.0 ลดลงจากเดือนมิถุนายน2554 (201.6) ร้อยละ 6.7 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนกรกฎาคม 2553 (190.1)ร้อยละ 1.1

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2554 ได้แก่ Hard Disk Drive เครื่องแต่งกาย ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เบียร์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เครื่องแต่งกาย ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก โทรทัศน์ เส้นใย สิ่งทอ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนกรกฎาคม 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 63.0 ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2554 (ร้อยละ 64.0) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนกรกฎาคม 2553(ร้อยละ 64.6)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนมิถุนายน 2554 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ น้ำโซดาและน้ำดื่ม เครื่องแต่งกาย เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอ เครื่องแต่งกาย เม็ดพลาสติก โทรทัศน์ ยานยนต์ เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2554

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2554 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 326 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2554 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 344 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 5.23 มีการจ้างงานจำนวน 7,798 คน ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2554 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 9,186 คน ร้อยละ 15.11 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 13,006.93 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2554 ซึ่งมีการลงทุน 9,633.21 ล้านบาท ร้อยละ 35.02

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2553 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 339 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 3.83 มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2553 ซึ่งมีการลงทุน 31,065.15 ล้านบาท ร้อยละ 58.13 แต่มีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2553 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 6,772 คน ร้อยละ 15.15

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม 2554 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ ส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือน จากไม้จำนวน 28 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ผลิตคอนกรีตผสมเสร็จและทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต แผ่นพื้นสำเร็จรูป จำนวน 21 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2554 คือ อุตสาหกรรม ผลิตกระแสไฟฟ้า เงินลงทุน จำนวน 5,319.19 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมการทำยางแผ่นรมควัน การทำยางเครป ยางแท่ง ยางน้ำ เงินลงทุนจำนวน 1,271.82 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2554 คือ อุตสาหกรรมผลิต ผลิตภัณฑ์พลาสติก ชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนคนงาน 1,602 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนคนงาน 531 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมิถุนายน 2554 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 50 ราย น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2554 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 73 ราย คิดเป็นร้อยละ 31.51 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 248.31 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2554 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 714.38 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานมีจำนวน 509 คน น้อยกว่าเดือนมิถุนายน 2554 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 2,080 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนกรกฎาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2553ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 142 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 64.79 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2553 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,391.14 ล้านบาทและมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2553 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,436 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม 2554 คืออุตสาหกรรมดูดทราย จำนวน 9 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวดทรายหรือดิน และอุตสาหกรรมปอกหัวพืช หรือทำหัวพืชให้เป็นเส้น แว่น หรือแท่งจำนวน 4 โรงงานเท่ากัน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2554 คืออุตสาหกรรมทำน้ำดื่ม เงินทุน 62 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมดูดทรายเงินทุน 45.38 ล้านบาทท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนกรกฎาคม 2554คือ อุตสาหกรรมทำน้ำดื่ม คนงาน 72 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมกลึง เจาะ คว้านกัด ไส เจียน เชื่อมโลหะทั่วไป คนงาน 51 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม — กรกฎาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 972 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน799 โครงการ ร้อยละ 21.62 แต่มีเงินลงทุน 265,000 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 303,200 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.6

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม — กรกฎาคม 2554
          การร่วมทุน                     จำนวน(โครงการ)          มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%                402                     96,500
          2.โครงการต่างชาติ 100%               349                     92,300
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ         221                     76,200
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — กรกฎาคม 2554 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 59,500ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 55,800 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารคาดว่า จะปรับตัวลดลงตามฤดูกาล ประกอบกับปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป อาจทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกชะลอตัวลง สำหรับการจำหน่ายภายในประเทศอาจชะลอตัว จากระดับราคาสินค้าและบริการที่ปรับสูงขึ้น

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำ คัญ (ไม่รวมน้ำ ตาล) เดือนกรกฎาคม 2554 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 18.6 และ 10.2 แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น แป้งมันสำปะหลัง และสับปะรดกระป๋อง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 102.6 และ 90.8 ตามลำดับ เนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้นหลังจากประสบปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง และภัยแล้งเมื่อปีก่อน กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น 11.3 และ 1.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับการผลิตอาหารไก่ มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ตามปริมาณการเลี้ยงไก่ที่เพิ่มขึ้น ภายหลังเกิดการตายของไก่ในฟาร์มหลายแห่ง จากความผันผวนของสภาพดินฟ้าอากาศ

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนกรกฎาคม 2554 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศชะลอลงจากปีก่อนร้อยละ 5.6 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ8.1 ภายหลังการเลือกตั้งและมีข่าวการปรับเพิ่มรายได้ของแรงงาน ประกอบกับราคาน้ำมันเริ่มชะลอลง ทำให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยในการบริโภคสินค้าอาหารดีขึ้นจากเดือนก่อน

2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร(ไม่รวมน้ำตาล) ในรูปเงินบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 19.8 และ 3.6 แต่หากรวมการส่งออกน้ำตาล มูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 27.6 จากปริมาณและมูลค่าการส่งออกน้ำตาลเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ประกอบกับราคาสินค้าได้ปรับตัวสูงขึ้นในเกือบทุกสินค้า

3. แนวโน้ม

การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะชะลอตัวลงจาก เดือนก่อน ตามปริมาณคำสั่งซื้อที่ลดลงตามฤดูกาล ประกอบกับความวิตกกังวลในสถานการณ์เศรษฐกิจของยุโรปที่เริ่มส่อเค้ามีปัญหาในเรื่องหนี้สาธารณะที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนของเศรษฐกิจโลกในภาพรวม สำหรับการจำหน่ายในประเทศได้รับผลกระทบจากระดับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อการชะลอตัวของการบริโภคสินค้าและบริการ

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

“...การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไปยังสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา......”

1. การผลิต

ภาวะการผลิตปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใย สิ่งทอ ผ้าผืน เครื่องนอน เสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและผลิตจากผ้าทอ ลดลงร้อยละ 2.7, 7.9, 3.8, 0.6 และ 13.7 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอปรับตัวลดลงในผลิตภัณฑ์เดียวกันร้อยละ 13.4, 13.4, 22.2, 27.1 และ 21.6 ตามลำดับเนื่องจากต้นทุนการผลิต เช่น ราคาวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงานในปีนี้เพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นและกระทบต่อการรับคำสั่งซื้อ ซึ่งอาจจะต่อเนื่องไปถึงปลายปีนี้

2. การจำหน่าย

          การจำหน่ายในประเทศ ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนสอดคล้องกับการผลิตที่ลดลง ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก ลดลงร้อยละ 3.4, 14.9, และ 8.9 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอลดลงในผลิตภัณฑ์เดียวกันร้อยละ 22.2, 13.9 และ 6.2 ตามลำดับ เนื่องจากราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ ส่งผลให้การจำหน่ายลดลง ในขณะที่กลุ่มเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ โดยเฉพาะเสื้อผ้าแฟชั่น ยังมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.0          การส่งออก มูลค่าการส่งออกรวมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 2.1 โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูป ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ เส้นใยประดิษฐ์ และสิ่งทออื่นๆ ลดลงร้อยละ 0.4, 4.8, 12.4 และ 1.1 ตามลำดับ แต่เพิ่มขึ้นโดยรวมร้อยละ 9.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนในผลิตภัณฑ์เดียวกันเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2, 5.0, 14.7 และ 22.4ตามลำดับ ยกเว้นเพียงผ้าผืนยังมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 0.7 และ 20.6ตามลำดับ ตลาดหลักสำหรับการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่สภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา อาเซียน และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ19.3, 18.1, 16.0 และ 9.5 ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

การผลิตในภาพรวมและการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอคำสั่งซื้อทั้งในประเทศและต่างประเทศ และการย้ายฐานไปต่าง ประเทศ และอาจรวมถึงมาตรการทางเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่โดย เฉพาะค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในแนวทางปฏิบัติ อย่างไรก็ดี เนื่องจากอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น จึงมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากมาตรการนี้ สำหรับการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไปยังสหรัฐอเมริกาคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา ซึ่งในเดือนที่ผ่านมาการส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาปรับตัวลดลงร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ประเทศแอฟริกาจะกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตแร่โลหะและถ่านหินแห่งใหม่ ซึ่งจะตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศแอฟริกา โดยโครงการดังกล่าวคาดว่าจะสามารถดำเนินการผลิตได้ในไตรมาส 3 ของปี 2011 และสามารถส่งออกแร่เหล็กและถ่านหินได้ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2011

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือน กรกฎาคม ๒๕๕๔ โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 129.18 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.27 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงยาวพบว่ามีการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 1.35 โดยผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่เหล็กเส้นกลมเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.15 ลวดเหล็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.28 และเหล็กเส้นข้ออ้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.12 ตามลำดับเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเนื่องจากผู้ผลิตจะไม่มีการสต๊อกสินค้าไว้โดยจะเป็นการผลิตตามคำสั่งซื้อเท่านั้นเพื่อเป็นการลดต้นทุนสินค้าคงคลัง สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีการผลิตเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.96 โดยผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 115.78 โดยเป็นการผลิตที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ในการซ่อมแซมหลังคาบ้านในช่วงฤดูฝน เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 44.15 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.34 ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลง ร้อยละ 4.84 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 8.38 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 27.29 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ลดลงร้อยละ 17.89 ในขณะเดียวกันเหล็กทรงยาวก็มีการผลิตที่ลดลงเช่นเดียวกัน ร้อยละ 0.79 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กลวด ลดลงร้อยละ 22.32

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนสิงหาคม 2554เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้น ได้แก่เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต เพิ่มขึ้นจาก 157.50 เป็น 160.23 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.73 เหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 142.56 เป็น 143.07 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.36 ส่วนผลิตภัณฑ์เหล็กที่ดัชนีราคาเหล็กลดลงได้แก่เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 149.53 เป็น 148.59ลดลง ร้อยละ 0.63 ในส่วนดัชนีราคาเหล็กที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงได้แก่เหล็กเส้น มีดัชนีราคาเหล็ก 148.93 และ เหล็กแท่งแบนมีดัชนีราคาเหล็ก146.51 ซึ่งจะเห็นได้ว่าราคาเหล็กในช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมากเป็นผลมาจากสถานการณ์ความไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจของโลกและความต้องการวัตถุดิบในการผลิตเหล็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชะลอตัวลง

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนสิงหาคม 2554 คาดว่าจะมีทิศทางที่ขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเหล็กทรงยาวมีแนวโน้มการผลิตที่เพิ่มขึ้นซึ่งข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่าการลงทุนในหมวดก่อสร้างยังขยายตัวได้ดีจำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์ที่เพิ่มขึ้นและยังมีผลบวกจากมาตรการกระตุ้นอุปสงค์ผ่านธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส) ตามโครงการบ้านหลังแรก ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการใช้เหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น สำหรับเหล็กทรงแบน คาดการณ์ว่าความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนมีการปรับตัวที่ดีขึ้นตามลำดับ ในส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยังมีความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกรกฎาคม ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำ นวน 147,236 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2553 ซึ่งมีการผลิต 145,771 คัน ร้อยละ 1.01 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยของรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตันและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2554 ร้อยละ 4.17 ซึ่งเป็นการปรับลดลงของรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 72,902 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 65,672 คัน ร้อยละ 11.01 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2554 ร้อยละ 3.76 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์กระบะ 1 ตัน, รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV
  • การส่งออกรถยนต์ จำ นวน 75,803 คัน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2553 ซึ่งมีการส่งออก 87,605 คัน ร้อยละ 13.47 โดยเป็นการปรับลดลงในทุกตลาดส่งออก (เอเชีย, โอเชียเนีย,ตะวันออกกลาง, แอฟริกา, ยุโรป และอเมริกากลางและอเมริกาใต้)แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2554ร้อยละ 0.20 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย และอเมริกากลางและอเมริกาใต้)
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2554 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2554 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50 และส่งออกร้อยละ 50

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2554ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนกรกฎาคม ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 208,694 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2553 ซึ่งมีการผลิต 186,349 คัน ร้อยละ11.99 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์ทุกประเภท(รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต) แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2554 ร้อยละ 6.06 โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์ทุกประเภทเช่นกัน
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 178,050 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 156,525 คันร้อยละ 13.75 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2554 ร้อยละ 19.73เนื่องจากปัญหาสภาพภูมิอากาศ ทำให้มีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ผู้บริโภคจึงมีการชะลอการซื้อรถจักรยานยนต์ โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์ทุกประเภท(รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต)
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 21,428คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2553 ซึ่งมีการส่งออก 17,323คัน ร้อยละ 23.70 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกเช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมิถุนายน 2554 ร้อยละ 0.68
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม 2554 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2554 เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยสำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกรกฎาคม 2554ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ90 และส่งออกร้อยละ 10
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุน คือ การลงทุนโครงการพื้นฐานต่างๆ ของภาครัฐ สำ หรับการส่งออกมีแนวโน้มทรงตัวเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีความผันผวน”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนกรกฎาคม 2554 ปริมาณการผลิต เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.62 แต่ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ ลดลงร้อยละ 3.56 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำ หน่ายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.96 และ 7.02 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศ คือการลงทุนโครงการพื้นฐานต่างๆ ของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยลบคือต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจะส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคด้วย

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนกรกฎาคม 2554เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 13.31 และ 7.05 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดภายในประเทศขยายตัวทำให้ผู้ประกอบการหันมาเน้นตลาดภายในประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การส่งออกปูนซีเมนต์มีเพียงร้อยละ 20 ต่อปีเท่านั้น ซึ่งเดิมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไม่ได้เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก เป้าหมายของการส่งออกคือเพื่อให้การผลิตเกิดการประหยัดจากขนาดเท่านั้น อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงทำให้เศรษฐกิจของประเทศในแถบอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของไทยชะลอตัวลงตามไปด้วย

3.แนวโน้ม

แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศ คาดว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูฝน ทำให้เป็นอุปสรรคในการก่อสร้าง ทั้งนี้ คาดว่าความต้องการใช้ในประเทศจะเริ่มขยายตัวอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 4 โดยปัจจัยสำคัญที่จะมีส่วนสนับสนุนคือ การผลักดันให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ

สำหรับการส่งออกคาดว่ายังทรงตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกยังมีความผันผวน

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกรกฎาคม 2554จากแบบจำ ลองดัชนีชี้นำ ภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ก.ค. 2554

 เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์             มูลค่า(ล้านเหรียญฯ)        %MoM            %YoY
 อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์           1,565.45           -3.06           9.27
 วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี                  841.12            3.03          16.43
 เครื่องปรับอากาศ                            314.83          -24.27          23.73
 กล้องถ่าย TV,VDO                           246.77           29.88          83.21
 รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์            5,172.50            0.96          14.46

ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมิถุนายน 2554 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 371.40 ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.45เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.55 เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.06 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างทรงตัวร้อยละ 0.05 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ13.44 กับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.94 อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีการผลิตลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อนได้แก่ ประเภท Other IC, Hard Disk Drive และSemiconductor devices เป็นต้น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ มีการชะลอการผลิตเนื่องจากสินค้าคงคลังยังอยู่ระดับสูง

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกรกฎาคม2554 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 0.96 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.46 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 5,172.50 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนกรกฎาคม 2554 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 1.00 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ12.94 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 2,075.92 ล้านเหรียญสหรัฐผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่เครื่องปรับอากาศ และกล้องถ่าย TV, VDO โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 314.83 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 246.77 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.32 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ15.50 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คือ 3,096.58 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สูงที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 1,565.45ล้านเหรียญสหรัฐ และ 841.12 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนกรกฎาคม 2554 จากแบบจำ ลองดัชนีชี้นำ ภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ0.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.66 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ