รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤศจิกายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 14, 2011 13:44 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนตุลาคม 2554
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2554 ลดลงจากเดือนกันยายน 2554 ร้อยละ 38.9 และลดลงร้อยละ 35.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนตุลาคม 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 46.4 ลดลงจากร้อยละ 65.5 ในเดือนกันยายน 2554
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนพฤศจิกายน 2554

อุตสาหกรรมอาหาร

? การผลิต คาดว่า จะชะลอตัวลง จากอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศได้สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรม ต้องหยุดกิจการ และอาจส่งผลต่อการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งอยู่ในช่วงการผลิตสูงสุดของปี สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศประกอบกับผลทางจิตวิทยาตามข่าวการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

? การผลิต คาดว่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยกลุ่มสิ่งทอ เป็นโรงงานผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นสิ่งทอต้นน้ำที่ได้รับความเสียหายค่อนข้างมากในจังหวัดลพบุรี ขณะนี้ได้หยุดการผลิตแล้ว นอกจากนี้ยังมีโรงงานทอผ้าในจังหวัดพื้นที่ภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่ม ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดที่ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม ถ.พุทธมณฑล ถ. เอกชัย-บางบอน ซึ่งล้วนได้รับผลกระทบและหยุดกิจการแล้ว ซึ่งอาจจะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกทั้งปี จะขยายตัวลดลงจากเดิมที่ตั้งเป้าไว้

อุตสาหกรรมยานยนต์

? ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2554 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2554 เนื่องจากยังคงมีปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ก.ย. 54 = 200.8

ต.ค. 54 = 122.8

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • ยานยนต์
  • ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ก.ย. 54 = 65.5

ต.ค. 54 = 46.4

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • ยานยนต์
  • Hard Disk Drive
  • ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนตุลาคม 2554 มีค่า 122.8 ลดลงจากเดือนกันยายน2554 (200.8) ร้อยละ 38.9 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนตุลาคม 2553 (191.2) ร้อยละ 35.8

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกันยายน 2554 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เบียร์เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแต่งกายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนตุลาคม 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 46.4 ลดลงจากเดือนกันยายน 2554 (ร้อยละ 65.5) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนตุลาคม 2553 (ร้อยละ 63.9)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนกันยายน 2554 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เส้นใยสิ่งทอผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2554

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2554 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 305 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนกันยายน 2554 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 429 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 28.9 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 17,091.72 ล้านบาท ลดลงจากเดือนกันยายน 2554 ซึ่งมีการลงทุน 17,915.47 ล้านบาท ร้อยละ 4.60 และมีการจ้างงานจำนวน 5,904คน ลดลงจากเดือนกันยายน 2554 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 12,069 คน ร้อยละ 51.08

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนตุลาคม 2553 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 345 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 11.59 มีการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนตุลาคม 2553 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,538 คน ร้อยละ19.76 แต่มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2553 ซึ่งมีการลงทุน 13,365.18 ล้านบาทร้อยละ 27.88

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนตุลาคม 2554 คืออุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งภายในอาคารจากไม้ จำนวน 26โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จและผลิตภัณฑ์คอนกรีตจำนวน 21 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2554 คืออุตสาหกรรมผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ และจากเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน7,404.99 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม สีข้าวและอบข้าวเปลือก จำนวน1,911.40 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนตุลาคม 2554 คืออุตสาหกรรมทำภาชนะพลาสติก จำนวนคนงาน 567 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 511 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกันยายน 2554 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 77 ราย มากกว่าเดือนกันยายน 2554 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 66 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.67 มีการเลิกจ้างงาน จำนวน 1,860 คน มากกว่าเดือนกันยายน 2554 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 1,375 คน แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 568.13 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนกันยายน 2554 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,096.87 ล้านบาท

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนตุลาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนตุลาคม 2553 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 136 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 43.38 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนตุลาคม 2553 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,361.08 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนตุลาคม 2553 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,559 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนตุลาคม 2554 คืออุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 8 โรงงานรองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 7 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนตุลาคม 2554 คืออุตสาหกรรมทอหรือเตรียมเส้นด้ายยืนสำหรับการทอ เงินทุน 94.19 ล้านบาทรองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องประดับโดยใช้เพชร พลอย ไข่มุก ทองคำ ทองขาวเงิน นาก หรืออัญมณี เงินทุน 79.34 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนตุลาคม 2554คือ อุตสาหกรรมถักผ้า ผ้าลูกไม้ เครื่องนุ่งห่มด้วยด้ายหรือเส้นใย คนงาน 417 คนรองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องประดับโดยใช้เพชร พลอย ไข่มุก ทองคำ ทองขาวเงิน นาก หรืออัญมณี คนงาน 207 คน
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรม อาหาร คาดว่า จะชะลอตัวจากอุทกภัย ที่สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ส่วนการจำ หน่ายภายในประเทศ อาจปรับตัวลดลงจากการที่ประชาชนได้รับความเสียหายอาจปรับลดค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคลง ประกอบกับผลด้านจิตวิทยาต่อข่าวการปรับขึ้นของราคาสินค้า

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนตุลาคม2554 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 9.5 และ 0.6 แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น แป้งมันสำปะหลังสับปะรดกระป๋อง และไก่แปรรูป มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 42.2 120.6 และ 3.4 เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้น และโรงงานผลิตสินค้าดังกล่าวไม่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 25.4 และ 71.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน และลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 28.9 และ 78.5 เนื่องจากความต้องการบริโภคลดลง ในส่วนอาหารไก่ มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.8เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามการขยายตัวของการผลิตและเลี้ยงไก่ เพื่อชดเชยการสูญเสียจากอุทกภัยในพื้นที่เลี้ยงบางส่วน ใน จ.ลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยา

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนตุลาคม 2554 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 4.1 แต่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.6 เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขต กทม.ปริมณฑล รวมถึงแหล่งกระจายสินค้าประสบอุทกภัย ส่งผลกระทบต่อระบบการขนส่งสินค้าทั่วประเทศ ในขณะที่ความต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้น

2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารในรูปเงินบาทลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.8 จากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศชะลอตัวลงในหลายสินค้า เช่น น้ำตาล ไก่แปรรูป และสับปะรดกระป๋อง แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 37.4 เป็นผลจากมูลค่าการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นในสินค้า เช่น ปลาทูน่ากระป๋องผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และน้ำตาล ร้อยละ 40.2 43.2 และ 300ตามลำดับ จากระดับราคาที่เพิ่มขึ้นและค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง

3. แนวโน้ม

การผลิต คาดว่า จะชะลอตัวลง จากอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศได้สร้างความเสียหายให้กับผลผลิตทางการเกษตรและโรงงานอุตสาหกรรม ต้องหยุดกิจการ และอาจส่งผลต่อการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งอยู่ในช่วงการผลิตสูงสุดของปี สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ของประเทศ ประกอบกับผลทางจิตวิทยาตามข่าวการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้า

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

“…โรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่ม ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดที่ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม ถ.พุทธมณฑล ถ. เอกชัย-บางบอนล้วนได้รับผลกระทบและหยุดกิจการแล้ว ซึ่งอาจจะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกทั้งปี จะขยายตัวลดลงจากเดิมที่ตั้งเป้าไว้...”

1. การผลิต

เดือนตุลาคม 2554 ภาวะการผลิตส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอ เสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าถักและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ ลดลงร้อยละ 24.1, 9.1 และ 13.4 ตามลำดับและเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอลดลงในผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ ร้อยละ 46.3, 20.7, 32.6 และ 16.8 ตามลำดับ เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในขณะนี้กระทบต่อการรับคำสั่งซื้ออย่างมาก โรงงานสิ่งทอที่ได้รับความเสียหายมีกำลังการผลิตกว่าร้อยละ 40 ของกำลังการผลิตทั้งหมด ขณะที่มีโรงงานที่ได้รับผลกระทบคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51 ของจำนวนโรงงานทั้งหมด ประกอบกับความผันผวนของราคาวัตถุดิบที่ยังมีผลกระทบต่อเนื่อง

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนตุลาคม 2554 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ในผลิตภัณฑ์เดียวกันและสอดคล้องกับการผลิตที่ลดลงในลักษณะลูกโซ่ตั้งแต่สิ่งทอต้นน้ำถึงปลายน้ำ ซึ่งไม่สามารถผลิตและส่งมอบสินค้าได้ทันในระยะเวลาที่กำหนดส่งมอบ เนื่องจากพื้นที่ภาคกลางที่ถูกน้ำ ท่วมถือเป็นฐานการผลิตที่สำ คัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

การส่งออก โดยรวมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 9.9ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ ด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ เส้นใยประดิษฐ์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 10.4, 14.9, 14.5, 14.8 และ12.3 ตามลำดับ และลดลงโดยรวมร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ ด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 29.8, 21.1, 31.9 และ 10.2ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออกหลัก การส่งออกลดลงในทุกตลาดเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ทั้งในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปลดลงร้อยละ 4.3, 12.0, 15.8 และ 17.0 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การส่งออกลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ร้อยละ 24.0 และ 22.0 แต่ยังเพิ่มขึ้นในตลาดอาเซียนและญี่ปุ่น ร้อยละ 10.9 และ 3.3 ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

การผลิต คาดว่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในขณะนี้ โดยกลุ่มสิ่งทอ เป็นโรงงานผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งถือเป็นสิ่งทอต้นน้ำที่ได้รับความเสียหายค่อนข้างมากในจังหวัดลพบุรีขณะนี้ได้หยุดการผลิตแล้ว นอกจากนี้ยังมีโรงงานทอผ้าในจังหวัด พื้นที่ภาคกลาง กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมถึงโรงงานผลิตเครื่องนุ่งห่ม ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดที่ตั้งอยู่บนถนนเพชรเกษม ถ.พุทธมณฑล ถ. เอกชัย-บางบอน ซึ่งล้วนได้รับผลกระทบและหยุดกิจการแล้ว ซึ่งอาจจะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกทั้งปี จะขยายตัวลดลงจากเดิมที่ตั้งเป้าไว้

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

จากเหตุการณ์ภาวะอุทกภัยในประเทศไทยส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเหล็กดิบของประเทศญี่ปุ่นในปี 2554 ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์หลายค่ายของญี่ปุ่นลดความต้องการใช้เหล็กลง นอกจากนี้เป็นผลมาจากการเพิ่มกำลังการผลิตอย่างรวดเร็วของโรงงานเหล็กในประเทศเกาหลีใต้และไต้หวัน

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนตุลาคม 2554ลดลงโดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 121.94 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 3.66 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงยาวพบว่ามีการผลิตลดลง ร้อยละ 3.50 โดยผลิตภัณฑ์ที่ลดลงมากที่สุด ได้แก่ ลวดเหล็กลดลง ร้อยละ 19.30 ลวดเหล็กแรงดึงสูงลดลงร้อยละ 9.42 และเหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลงร้อยละ 3.44 ตามลำดับเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากเมื่อเดือนที่แล้วผู้ผลิตมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นประกอบกับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมทำให้ประสบปัญหาในการขนส่งสินค้า จึงทำให้คำสั่งซื้อลดลง ผู้ผลิตจึงต้องลดการผลิตลง สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีการผลิตลดลง ร้อยละ 2.19 โดยผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ 52.85 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ลดลง ร้อยละ 31.89 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 29.67 เนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เป็นผู้ใช้ที่สำคัญ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า บรรจุภัณฑ์กระป๋อง ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมทำให้คำสั่งซื้อลดลง

ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลง ร้อยละ 7.47 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 17.99ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ 45.93 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 25.54 ในขณะเดียวกันเหล็กทรงยาวมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.57 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กเส้นข้ออ้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.15 และลวดเหล็กแรงดึงสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.61

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนพบว่า ดัชนีราคาเหล็กปรับลดลงทุกผลิตภัณฑ์ โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 135.38 เป็น 121.17 ลดลง ร้อยละ 10.50 เหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 140.11 เป็น 127.90 ลดลง ร้อยละ 8.71 เหล็กแผ่นรีดเย็นลดลงจาก 141.12 เป็น 130.37 ลดลงร้อยละ 7.62 เหล็กเส้น ลดลงจาก 144.68 เป็น 138.29 ลดลง ร้อยละ 4.42 และเหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลงจาก 142.51 เป็น 137.26 ลดลง ร้อยละ 3.68 เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจหลายประเทศของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป นอกจากนี้เป็นผลมาจากความต้องการของประเทศจีนที่ลดลง

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนพฤศจิกายน 2554 คาดว่าจะมีทิศทางที่หดตัวทั้งในส่วนเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลกระทบจากน้ำท่วมทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลทำให้การขนส่งสินค้าเป็นได้ด้วยความลำบาก จึงทำให้คำสั่งซื้อลดลง อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าพอหลังน้ำลดผลิตภัณฑ์เหล็กทรงยาวจะกลับมาขยายการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและโครงสร้างพื้นฐาน

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนตุลาคม 2554 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ ทำให้โรงงานผลิตรถยนต์ต้องหยุดการผลิต โดยมีโรงงานผลิตรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบทางตรง คือบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ที่ตั้งอยู่ในสวนนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการหยุดการผลิตตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2554 ส่วนโรงงานผลิตรถยนต์รายอื่นๆ ได้รับผลกระทบทางอ้อม จากการขาดชิ้นส่วนยานยนต์ โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนตุลาคม ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 49,439 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม2553 ซึ่งมีการผลิต 152,689 คัน ร้อยละ 67.62 โดยเป็นการปรับลดลงของรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ) และมีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนกันยายน 2554 ร้อยละ 71.62 ซึ่งเป็นการปรับลดลงของรถยนต์ทุกประเภทเช่นกัน
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 42,873 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 72,012 คัน ร้อยละ 40.46 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1 ตัน, รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV) และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนกันยายน 2554 ร้อยละ 50.73 ซึ่งเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภทเช่นกัน
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 54,691 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม2553 ซึ่งมีการส่งออก 80,359 คัน ร้อยละ 31.94 โดยเป็นการปรับลดลงในตลาดเอเชีย, โอเชียเนีย, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา และยุโรป และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนกันยายน2554 ร้อยละ 39.67 โดยเป็นการปรับลดลงในตลาดเอเชีย, โอเชียเนีย, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา, ยุโรป และอเมริกากลางและอเมริกาใต้
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2554คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2554 เนื่องจากยังคงมีปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50 และส่งออกร้อยละ 50

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนตุลาคม 2554 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ทำ ให้โรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ต้องหยุดการผลิต เนื่องจากโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ประสบปัญหาน้ำท่วม ทำให้ไม่สามารถจัดส่งชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ได้ โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนตุลาคม ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 66,369 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2553 ซึ่งมีการผลิต 183,242 คัน ร้อยละ 63.78 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกันยายน2554 ร้อยละ 68.02 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 134,811 คัน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 139,750 คัน ร้อยละ 3.53 โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกันยายน 2554 ร้อยละ 21.70 โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 17,114คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2553 ซึ่งมีการส่งออก 15,552คัน ร้อยละ 10.04 โดยเป็นการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ตามลำดับ แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกันยายน 2554 ร้อยละ 41.22
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2554 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2554 เนื่องจากโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมยังไม่สามารถดำเนินการผลิตตามปกติสำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2554ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ93 และส่งออกร้อยละ 7
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ชะลอตัวลง เนื่องจากเกิดปัญหาน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ทำให้การก่อสร้างชะลอตัวลง สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ ตามความต้องการใช้ของตลาดส่งออกหลัก”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนตุลาคม 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 0.34 แต่ปริมาณการจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ 8.10 เนื่องจากเกิดปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ถึงแม้ว่าโรงงานปูนซีเมนต์จะไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมโดยตรง แต่ทำให้เกิดข้อจำกัดในการขนส่ง นอกจากนี้ภาวะน้ำท่วมขังยังส่งผลให้การก่อสร้างชะลอตัวลง การจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศจึงลดลงตามไปด้วย แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำ หน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.10 และ 10.19 ตามลำดับ

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนตุลาคม 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ40.05 และ 28.41 ตามลำดับ เนื่องจากภาวะน้ำท่วมทำให้เกิดอุปสรรคในการขนส่ง สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือเมียนมาร์ บังคลาเทศ กัมพูชา เวียดนาม และลาว ตามลำดับ

3.แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มจะชะลอตัวลง จากปัญหาน้ำท่วมขังเป็นเวลานานในหลายพื้นที่ ซึ่งคาดว่าความต้องการใช้ในประเทศจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงต้นปีหน้าเนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง รวมทั้งจะมีการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังจากภาวะน้ำท่วม สำหรับการส่งออกคาดว่ายังขยายตัวได้ เมื่อระบบการขนส่งสามารถกลับมาใช้ได้เป็นปกติอีกครั้งเนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนตุลาคม 2554 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ183.74 ปรับตัวลดลงร้อยละ 54.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อนและเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ50.46 เนื่องจากผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม น้ำได้ท่วมนิคมอุตสาหกรรมและเขตอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ต้องหยุดการผลิต หรือเลื่อนการผลิตออกไป อาจจะกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบในการผลิต
ตารางที่ 1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ต.ค. 2554
  เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์            มูลค่า(ล้านเหรียญฯ)        %MoM             %YoY
อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์           1,127.80           -33.86           -27.29
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี                  550.26           -29.54           -21.30
เครื่องปรับอากาศ                            181.92           -35.97           -19.90
เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร   136.18           -29.16           -17.60
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์            3,563.05           -30.40           -23.15
          ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนตุลาคม 2554 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 183.74 ปรับตัวลดลงร้อยละ 54.10เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 50.46 เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 43.91 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 44.41 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 55.31เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 51.25

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนตุลาคม 2554ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 30.40 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 23.15 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 3,563.05 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนตุลาคม 2554 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 24.98 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 16.74 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,537.77 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 181.92ล้านเหรียญสหรัฐ และ 136.18 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 34.02 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 27.39 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คือ 2,025.28 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สูงที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 1,127.80ล้านเหรียญสหรัฐ และ 550.26 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนพฤศจิกายน 2554 จากแบบจำ ลองดัชนีชี้นำ ภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวลดลงร้อยละ13.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 29.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ