สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนตุลาคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 8, 2011 08:28 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2554 ลดลงร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงในอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เส้นใยสิ่งทอสำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2554 ชะลอตัวลงจากเดือนที่ผ่านมา โดยขยายตัวร้อยละ 10.45 จากเดือนสิงหาคมที่ขยายตัวร้อยละ 21.30 แต่หากหักการส่งออกทองคำ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่รวมทองคำขยายตัวร้อยละ 15.52 ทั้งนี้จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบค่อนข้างมากกับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอุตสาหกรรมต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(1) เดือนกันยายน 2554 ลดลงร้อยละ0.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงในอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เส้นใยสิ่งทอ

จากสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบค่อนข้างมากกับภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอุตสาหกรรมต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับทั้งต้นน้ำและปลายน้ำอาทิ โรงงานผลิตรถยนต์ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล(ประเทศไทย) จำกัด ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการหยุดการผลิตตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2554 และในขณะนี้ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะเริ่มผลิตได้อีกครั้งเมื่อไร ส่วนโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลายรายก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ส่งผลให้ไม่สามารถส่งชิ้นส่วนรถยนต์ให้กับผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นขาดชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิต

หมายเหตุ (1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งในภาพรวม รายสาขาอุตสาหกรรม และรายผลิตภัณฑ์

สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต(2) เดือนกันยายน 2554 อยู่ที่ร้อยละ 65.35 จากร้อยละ 64.36 ในเดือนกันยายน 2553 เมื่อพิจารณาในด้านของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน 2554 ชะลอตัวลงจากเดือนที่ผ่านมา โดยขยายตัวร้อยละ 10.45 จากเดือนสิงหาคมที่ขยายตัวร้อยละ 21.30 แต่หากหักการส่งออกทองคำ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่รวมทองคำขยายตัวร้อยละ 15.52

หมายเหตุ (2) อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็มศักยภาพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)

อุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ(กันยายน2554)

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน เครื่องนอน เสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ ร้อยละ 26.5, 27.3,22.9, 32.6 และ 14.2 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิต เช่น ราคาวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงานในปีนี้เพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นและกระทบต่อการรับคำสั่งซื้อ ซึ่งอาจจะต่อเนื่องไปถึงปลายปีนี้ รวมถึงปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในขณะนี้ แต่ในด้านการส่งออกโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นโดยรวมร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน และสิ่งทออื่นๆ ร้อยละ 7.4, 43.9, 7.4 และ 22.7 ตามลำดับ ในขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งออกลดลงร้อยละ 5.8 จากการหดตัวของตลาดหลัก คือสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.61 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.05 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือเหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 108.87 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.29 ในขณะเดียวกันเหล็กทรงยาวมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.09 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กข้ออ้อยเพิ่มขึ้นร้อยละ45.18 และลวดเหล็กแรงดึงสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.80 ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea)ในช่วงเดือนตุลาคม 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าพบว่า โดยดัชนีราคาเหล็กปรับลดลงทุกผลิตภัณฑ์

อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิต จำนวน 174,212 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2553 ซึ่งมีการผลิต 141,416 คัน ร้อยละ 23.19 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554 ร้อยละ 13.73 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน สำ หรับการส่งออกมีจำ นวน 90,654 คันเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายน 2553 ซึ่งมีการส่งออก81,320 คัน ร้อยละ 11.48

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์การผลิตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 6.40 เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.31 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.97

ในส่วนมูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.12 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 5,119.52 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเครื่องใช้ไฟฟ้ามูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.61 แต่มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ 3.34

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ