รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกันยายน 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 12, 2011 15:04 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนสิงหาคม 2554
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2554 เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2554 ร้อยละ 4.0 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive ยานยนต์ เบียร์ รถจักรยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนสิงหาคม 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 64.7 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 63.1 ในเดือนกรกฎาคม 2554
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนกันยายน 2554

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

  • ปัจจัยเสี่ยงจากภาวะน้ำท่วมซึ่งถึงแม้โรงงานเหล็กจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงเนื่องจากโรงงานไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง (เช่น จ.อยุธยา,จ.ปทุมธานี) แต่ก็จะได้รับผลกระทบโดยอ้อมเนื่องจากเหล็กเป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งจะมีผลให้คำสั่งซื้อในส่วนของเหล็กทรงแบนลดลง แต่เมื่อมองในแง่บวกการบริโภคเหล็กเส้นจะมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วงหลังน้ำลดเนื่องจากจะต้องมีการเร่งซ่อมแซมอาคาร บ้านเรือนถนน รวมทั้งสะพานที่เสียหายไป

อุตสาหกรรมยานยนต์

  • ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ หากมีการขยายพื้นที่ภัยพิบัติดังกล่าว มายังที่ตั้งโรงงานประกอบยานยนต์ จะส่งผลให้ต้องหยุดการผลิตทั้งในส่วนรถยนต์ และรถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมยานยนต์

  • ผลกระทบจากน้ำท่วมต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นั้น นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจ้างแรงงานในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 92,318 คน สำหรับโรงงานที่น้ำยังไม่ท่วม ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องการขนส่งชิ้นส่วนและวัตถุดิบในการผลิต
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ก.ค. 54 = 188.9

ส.ค. 54 = 196.5

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • ยานยนต์
  • เครื่องประดับเพชรพลอย
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ก.ค. 54 = 63.1

ส.ค. 54 = 64.7

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • ยานยนต์
  • Hard Disk Drive
  • ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนสิงหาคม 2554 มีค่า 196.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม2554 (188.9) ร้อยละ 4.0 และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนสิงหาคม 2553 (183.7)ร้อยละ 7.0

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2554 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ เครื่องประดับเพชรพลอยผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องแต่งกาย เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ เบียร์ รถจักรยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนสิงหาคม 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 64.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2554 (ร้อยละ 63.1) และเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนสิงหาคม 2553(ร้อยละ 63.6)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม2554 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ยาสูบ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ยางผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2554

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2554 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 359 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนกรกฎาคม 2554 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 326 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 10.12 มีการจ้างงานจำนวน 7,862 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2554 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,798 คน ร้อยละ 0.82 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 10,448.30 ล้านบาทลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2554 ซึ่งมีการลงทุน 13,006.93 ล้านบาท ร้อยละ 19.67

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนสิงหาคม 2553 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 306 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 17.32 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553 ซึ่งมีการลงทุน 8,672.99ล้านบาท ร้อยละ 20.47 และมีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 6,951 คน ร้อยละ 13.11

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2554 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ ส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือน จากไม้จำนวน 29 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ผลิตอิฐมอญ อิฐแดง จำนวน 26โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2554 คือ อุตสาหกรรม สีข้าว สีข้าวนึ่ง และอบข้าวเปลือก เงินลงทุน จำนวน 1,549.71 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ และพลังงานชีวมวลเงินลงทุน จำนวน 646 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2554 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 1,028 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรม ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ รถจักรยานยนต์ จำนวนคนงาน 389 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2554 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 80 ราย มากกว่าเดือนกรกฎาคม 2554 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 50 ราย คิดเป็นร้อยละ 60.00 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 1,060.32 ล้านบาท มากกว่าเดือนกรกฎาคม 2554 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 248.31 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,451 คน มากกว่าเดือนกรกฎาคม 2554ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 509 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2553 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 117 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 31.62 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2553 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 4,391.05 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2553 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 4,243 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2554 คือ อุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 12 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวน 6 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2554 คือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เงินทุน 196.35 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมอบ ชุบผลิตภัณฑ์ด้วยความร้อน โดยไม่มีการผลิต เงินทุน 175.45 ล้านบาทท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2554 คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป คนงาน 938 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ คนงาน 524 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม — สิงหาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 1,073 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 942โครงการ ร้อยละ 13.91 แต่มีเงินลงทุน 269,200 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 333,700 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19.33

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม — สิงหาคม 2554
            การร่วมทุน                               จำนวน(โครงการ)          มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%                           438                      97,800
          2.โครงการต่างชาติ 100%                          389                      93,900
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ                    246                      77,600
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — สิงหาคม 2554 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 60,200 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 57,100 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารคาดว่า จะปรับตัวลดลงตามฤดูกาล ประกอบกับปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป อาจทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกชะลอตัวลง สำหรับการจำหน่ายภายในประเทศอาจชะลอตัว จากปัญหาอุทกภัยที่ส่งผลต่อการส่งสินค้าและการบริโภคสินค้าและบริการ

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนสิงหาคม2554 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 23.2 และ 2.8 แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น แป้งมันสำปะหลัง และสับปะรดกระป๋อง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 104.1และ 99.8 ตามลำดับ เนื่องจากวัตถุดิบมีปริมาณเพิ่มขึ้น หลังจากประสบปัญหาการระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง และภัยแล้งเมื่อปีก่อนกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น 20.8 และ 8.5 เมื่อเทียบกับปีก่อนสำหรับการผลิตอาหารไก่ มีการผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนสิงหาคม 2554 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศเพิ่มขึ้นจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ17.4 และ 2.0ตามลำดับ ภายหลังการเลือกตั้งและมีข่าวการปรับเพิ่มรายได้ของแรงงาน ประกอบกับราคาน้ำมันเริ่มชะลอลง ทำให้ประชาชนจับจ่ายใช้สอยในการบริโภคสินค้าอาหารดีขึ้นจากเดือนก่อน2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหาร(ไม่รวมน้ำตาล) ในรูปเงินบาท ปรับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 31.0 และ 8.9 แต่หากรวมการส่งออกน้ำตาล มูลค่าการส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 56.1 จากปริมาณและมูลค่าการส่งออกน้ำตาลเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ประกอบกับราคาสินค้าได้ปรับตัวสูงขึ้นในเกือบทุกสินค้า

3. แนวโน้ม

การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะชะลอตัวลงจาก เดือนก่อน ตามปริมาณคำสั่งซื้อที่ลดลงตามฤดูกาล ประกอบกับความวิตกกังวลในสถานการณ์เศรษฐกิจของยุโรปที่เริ่มส่อเค้ามีปัญหาในเรื่องหนี้สาธารณะที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อการค้าและการลงทุนของเศรษฐกิจโลกในภาพรวม สำหรับการจำหน่ายในประเทศได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ซึ่งอาจส่งผลต่อส่งสินค้าและการบริโภคสินค้าและบริการ

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

“...ผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและปัญหาหนี้สาธารณะยุโรป ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อลดลงโดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป......”

1. การผลิต

ภาวการณ์ผลิต เดือนสิงหาคม 2554 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอ และผ้าผืน ลดลงร้อยละ 20.9 และ 7.3ตามลำดับ ในขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและทอมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.0 และ 2.1 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตผลิตภัณฑ์ สิ่งทอลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯผ้าผืน เครื่องนอน เสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ ร้อยละ27.3, 17.7, 21.2, 24.9 และ 14.0 ตามลำดับ เนื่องจากต้นทุนการผลิตเช่น ราคาวัตถุดิบ ค่าจ้างแรงงานในปีนี้เพิ่มสูงกว่าปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาสินค้าเพิ่มสูงขึ้นและกระทบต่อการรับคำสั่งซื้อ ซึ่งอาจจะต่อเนื่องไปถึงปลายปีนี้ รวมถึงปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนสิงหาคม 2554 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.0, 4.0, 4.2 และ 11.6 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ลดลง ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน และเครื่องนอน ร้อยละ 17.1, 13.5 และ 3.2 ตามลำดับเนื่องจากราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ ส่งผลให้การจำหน่ายลดลง ในขณะที่กลุ่มเสื้อผ้าสำ เร็จรูปทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอโดยเฉพาะเสื้อผ้าแฟชั่น ยังมีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.5 และ 8.3 ตามลำดับการส่งออก มูลค่าการส่งออกโดยรวมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 0.6 ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ ด้ายฝ้าย ผ้าผืน เคหะสิ่งทอ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 15.4, 8.2, 0.6 และ 8.5 ตามลำดับ แต่เพิ่มขึ้นโดยรวมร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ในผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ร้อยละ 28.8, 64.6, 3.7 และ 3.8 ตามลำดับ ตลาดหลักสำหรับการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ได้แก่อาเซียน สหรัฐอเมริกาสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 17.8, 17.6, 17.3 และ 9.0ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

การผลิตในภาพรวมและการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม คาดว่าจะชะลอตัวลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและปัญหาหนี้สาธารณะยุโรป ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อลดลงโดยเฉพาะจากสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งการส่งออกในเดือนนี้ลดลงร้อยละ 3.2 และ 11.1 ตามลำดับ รวมถึงการย้ายฐานไปต่างประเทศและปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในขณะนี้ แต่อย่างไรก็ตาม การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มควรจะมีการส่งออกไปสู่ตลาดเอเชีย อาเซียน จีนและอินเดียมากขึ้น เพื่อทดแทนตลาดหลักที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติดังกล่าว

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ประเทศอินเดียจะกลายเป็นผู้ผลิตเหล็กอันดับสองของโลกภายในปี ค.ศ. 2013 ด้วยกำลังการผลิต 120 ล้านตันและจะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นถึง 150 ล้านตันภายในปี ค.ศ. 2020ความต้องการในสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจำนวนมากของประเทศอินเดียส่งผลให้เกิดการขยายตัวของกำลังการผลิตเหล็กอย่างรวดเร็ว อัตราการเติบโตที่สูงขึ้นของสิ่งก่อสร้าง บ้านเรือนรถยนต์และเกษตรกรรมจะส่งผลให้อุปสงค์ของเหล็กเพิ่มขึ้นถึง12% ในอนาคตอันใกล้

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือน สิงหาคม 2554 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 133.89 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ3.73 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงยาวพบว่ามีการผลิตลดลงร้อยละ 2.89 โดยผลิตภัณฑ์ที่ลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นกลมลดลงร้อยละ 63.79ลวดเหล็กลดลงร้อยละ 7.77 และ เหล็กเส้นข้ออ้อยลดลงร้อยละ 0.87 ตามลำดับเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากมีบางบริษัทลดการผลิตลงจากคำสั่งซื้อที่ลดลงเนื่องจากอยู่ในช่วงอุทกภัย เกิดความยากลำบากในการจัดส่งสินค้า ประกอบกับการชะลอตัวของตลาดก่อสร้าง และผู้ผลิตมีการระบายสินค้าคงคลังที่ยังมีอยู่ สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.99 โดยผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.41 เหล็กแผ่นรีดเย็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.49 และ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.81 โดยเป็นการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากคำสั่งซื้อเพื่อผลิตอาหารกระป๋องเพื่อให้ทันต่อตามความต้องการของตลาดในภาวะอุทกภัย ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.29 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.26 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.43 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.74 ในขณะเดียวกันเหล็กทรงยาวกลับมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 0.30 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม ลดลงร้อยละ62.71 และเหล็กลวด ลดลงร้อยละ22.79

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยพบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนกันยายน 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยดัชนีราคาเหล็กที่เพิ่มขึ้น ได้แก่เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 148.59 เป็น 155.14 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.41 เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 148.93 เป็น 151.59 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.79 และเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นจาก 143.07 เป็น 145.12 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.43 เนื่องจากผู้ผลิตเหล็กในตลาดสำคัญมีการขอปรับเพิ่มราคาจากเดิม เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่วนผลิตภัณฑ์เหล็กดัชนีราคาเหล็กลดลงได้แก่ เหล็กแท่งเล็กบิลเล็ต ลดลงจาก 160.11เป็น 157.35 ลดลง ร้อยละ 1.72 และ เหล็กแท่งแบนลดลงจาก 146.51 เป็น 144.76ลดลงร้อยละ 1.19

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือน กันยายน 2554 คาดว่าจะมีทิศทางที่ขยายตัวขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเหล็กทรงยาวมีแนวโน้มการผลิตที่ชะลอตัวจากข้อมูลของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พบว่าการลงทุนในหมวดอสังหาริมทรัพย์ พบว่ามีทั้งปัจจัยด้านบวกและด้านลบ โดยปัจจัยด้านบวก เกิดจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังมีความเติบโต กำลังซื้อที่อาจเพิ่มขึ้นจากการขึ้นค่าแรงและเงินเดือนข้าราชการ และมาตรการด้านที่อยู่อาศัย ในส่วนด้านปัจจัยลบ เกิดจากต้นทุนการพัฒนาโครงการและราคาที่อยู่อาศัยที่อาจปรับเพิ่มขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ ราคาวัสดุ สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนมีการปรับตัวที่ดีขึ้น เพื่อเร่งการผลิตให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้เพื่อชดเชยในช่วงที่ผ่านมา ในส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ยังมีความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากภาวะน้ำท่วมซึ่งถึงแม้โรงงานเหล็กจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงเนื่องจากโรงงานไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง (เช่น จ.อยุธยา,จ.ปทุมธานี) แต่ก็จะได้รับผลกระทบโดยอ้อมเนื่องจากเหล็กเป็นวัตถุดิบให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะมีผลให้คำสั่งซื้อในส่วนของเหล็กทรงแบนลดลง แต่เมื่อมองในแง่บวกการบริโภคเหล็กเส้นจะมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วงหลังน้ำลดเนื่องจากจะต้องมีการเร่งซ่อมแซมอาคาร บ้านเรือน ถนน รวมทั้งสะพานที่เสียหายไป

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 เนื่องจากผู้ประกอบการเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ เพื่อเร่งส่งมอบรถยนต์ที่มีการค้างการจองอีกทั้งมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 157,680 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม2553 ซึ่งมีการผลิต 141,043 คัน ร้อยละ 11.80 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2554 ร้อยละ 7.09 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 79,043 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 65,724 คัน ร้อยละ 20.27 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1ตัน, รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUVและมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2554ร้อยละ 8.42 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1 ตัน, รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 72,270 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม2553 ซึ่งมีการส่งออก 77,750 คัน ร้อยละ 7.05 โดยเป็นการปรับลดลงในตลาดเอเชีย, โอเชียเนีย, ยุโรป, อเมริกากลางและอเมริกาใต้ และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม2554 ร้อยละ 4.66 โดยเป็นการปรับลดลงในตลาดเอเชีย, โอเชียเนีย, ยุโรป, อเมริกากลางและอเมริกาใต้
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกันยายน 2554 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2554 ส่วนหนึ่งเนื่องจากการเพิ่มกำลังการผลิตรถยนต์ และนโยบายรถยนต์คันแรกอย่างไรก็ตาม ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศหากมีการขยายพื้นที่ภัยพิบัติดังกล่าว มายังที่ตั้งโรงงานประกอบยานยนต์ จะส่งผลให้ต้องหยุดการผลิตรถยนต์ สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนกันยายน 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 51 และส่งออกร้อยละ 49

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนสิงหาคม ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 208,211 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553 ซึ่งมีการผลิต 166,178 คัน ร้อยละ25.29 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์ทุกประเภท(รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต) แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2554 ร้อยละ 0.23 โดยเป็นการปรับลดลงเพียงเล็กน้อยของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 190,718 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 162,516 คัน ร้อยละ 17.35 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์ทุกประเภท(รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต) และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2554 ร้อยละ 7.11 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์ทุกประเภทเช่นกัน
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 28,736คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2553 ซึ่งมีการส่งออก 16,319คัน ร้อยละ 76.09 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกเช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2554 ร้อยละ34.10
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน 2554 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2554 สำหรับปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ หากมีการขยายพื้นที่ภัยพิบัติดังกล่าว มายังที่ตั้งโรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ จะส่งผลให้ต้องหยุดการผลิตรถจักรยานยนต์ สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 89 และส่งออกร้อยละ 11
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุน คือ การลงทุนโครงการพื้นฐานต่างๆของภาครัฐ สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีตามตลาดส่งออกหลักที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศในเดือนสิงหาคม 2554 ปริมาณการผลิต เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงร้อยละ 2.88 แต่ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.51 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำ หน่ายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.96 และ 11.84 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศ คือการลงทุนโครงการพื้นฐานต่างๆ ของภาครัฐ

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนสิงหาคม 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.99 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงเพียงเล็กน้อย คิดเป็นร้อยละ 1.90 เมื่อพิจารณาในภาพรวมการส่งออกยังคงขยายตัวได้ดี ทั้งนี้เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของประเทศในแถบอาเซียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะเมียนมาร์ หลังจากที่ได้ผ่านการเลือกตั้งภายในประเทศเป็นครั้งแรก โดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรง ทำให้นักลงทุนและผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศที่ดีขึ้น

3.แนวโน้ม

แนวโน้มภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศ คาดว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูฝน หลายพื้นที่ประสบกับปัญหาอุทกภัย ทั้งนี้ คาดว่าความต้องการใช้ในประเทศจะเริ่มขยายตัวในช่วงไตรมาสที่ 4 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง โดยปัจจัยสำคัญที่จะมีส่วนสนับสนุนคือ การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ รวมทั้งคาดว่าจะมีการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังจากภาวะน้ำท่วมด้วย สำหรับการส่งออกคาดว่ายังขยายตัวได้ เนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกันยายน 2554จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวลดลงร้อยละ 3.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ส.ค. 2554

           เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์         มูลค่า(ล้านเหรียญฯ)       %MoM           %YoY
          อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์       1,702.96           8.78           9.60
          วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี              871.86           3.65          16.35
          เครื่องปรับอากาศ                        276.55         -12.16          24.71
          กล้องถ่าย TV,VDO                       253.00           2.74          51.05
          รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์        5,203.52           0.60           5.66

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนสิงหาคม 2554 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 386.18 ปรับตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.98เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.62 เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.03 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 0.32 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ5.89 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.34

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนสิงหาคม2554 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 0.60 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.66 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมคือ 5,203.52 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนสิงหาคม 2554 ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ1.03 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.62โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 2,054.50 ล้านเหรียญสหรัฐผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องปรับอากาศ และกล้องถ่าย TV, VDO โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 276.55 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 253ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.69 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.42 โดยมีมูลค่าการส่งออกรวมของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์คือ 3,149.02 ล้านเหรียญสหรัฐ ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สูงที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 1,702.96 ล้านเหรียญสหรัฐ และ871.86 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนกันยายน 2554 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวลดลงร้อยละ 3.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามผลกระทบจากน้ำท่วมต่ออุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นั้น นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการจ้างแรงงานในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 92,318 คน สำหรับโรงงานที่น้ำยังไม่ท่วม ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องการขนส่งชิ้นส่วนและวัตถุดิบในการผลิต

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ