สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม — กันยายน) 2554 (เศรษฐกิจโลก)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 30, 2011 10:39 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เศรษฐกิจโลก(1)

ภาพรวมเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 3 ปี 2554 เศรษฐกิจแต่ละประเทศยังคงขยายตัวแต่ชะลอตัวจากไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลจากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปและความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศในยุโรป และอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูงในหลาย ๆ ประเทศ เช่น สหรัฐฯ สเปนและกรีซ รวมทั้งปัญหาเงินเฟ้อก็ยังเป็นปัจจัยกดดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเอเชีย

ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ 106.86 USD/Barrel เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี2553 อยู่ที่ 73.82 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงแกว่งตัวขึ้นลง โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนธันวาคม (ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2554) เพิ่มขึ้น 0.19 USD/Barrelโดยมีราคาอยู่ที่ 94.26 USD/Barrel เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่อาจเข้าสู่ภาวะถดถอย และปัญหาหนี้ในกลุ่มประเทศยุโรปที่ไม่มีความชัดเจนในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งจีนเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันดีเซลในประเทศ โรงกลั่นจึงเพิ่มกำลังการผลิตทำให้จีนต้องการน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)

ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.5 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เท่ากับไตรมาส 3 ปี 2553 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 1.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 25.5 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 50.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 50.9 อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 3 ปี2554 อยู่ที่ร้อยละ 74.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 72.6 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 90.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ87.4

การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 15.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 17.5 การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 12.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 20.4

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.2 เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและโภคภัณฑ์ปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี2554 อยู่ที่ร้อยละ 9.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.5 อัตราว่างงานฟื้นตัวอย่างช้าๆ แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงเนื่องจากเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว

ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ(Fed) เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 และเมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศใช้มาตรการ “Operation Twist” โดยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลที่มีอายุการไถ่ถอน 6-30 ปี พร้อมกับขายพันธบัตรอายุ 3 ปีหรือต่ำกว่า ซึ่งมีเป้าหมายที่จะดึงอัตราดอกเบี้ยระยะยาวให้ต่ำลง เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยและกิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวม

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2554 ยังคงขยายตัวแต่มีแนวโน้มชะลอตัวเนื่องจากอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูง

หมายเหตุ (1) - ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 2 ปี 2554

  • ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th

(2) - ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com

เศรษฐกิจจีน(3)

เศรษฐกิจประเทศจีนในไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 9.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.6 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 17.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 18.4 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ104.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 106.4 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 25.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 24.7 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 13.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553ที่ขยายตัวร้อยละ 13.5

การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 20.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 32.5 เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่สำคัญของจีนกำลังชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตของจีน การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 24.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 27.7

ภาวะเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 6.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.5 เป็นผลมาจากราคาสินค้าในหมวดอาหารที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เท่ากับไตรมาส 3 ปี 2553

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1ปี ตั้งแต่กรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา อยู่ที่ร้อยละ 6.56 นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนได้ผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มทางการเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากผลกระทบของเศรษฐกิจต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3 ปี 2554 ยังคงขยายตัวแต่ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าอันเป็นผลมาจากรัฐบาลดำเนินนโยบายทางการเงินแบบเข้มงวดโดยการคุมเข้มการปล่อยกู้ ขณะที่ความต้องการสินค้าจีนจากฝั่งยุโรปและสหรัฐฯ ก็ลดน้อยลง ทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้ไม่มากนัก

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2554 GDP หดตัวร้อยละ 1.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 ปี 2554 หดตัวร้อยละ 0.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 38.6ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 41.0 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 2 ปี 2554ขยายตัวร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่หดตัวร้อยละ 10.4 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 92.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ94.3 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แสดงถึงการฟื้นตัวของภาคการผลิตหลังจากถูกกระทบอย่างหนักจากเหตุภัยพิบัติในเดือนมีนาคม แม้จะยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ

หมายเหตุ (3) - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com

(4) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 2 ปี 2554

  • www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp www.ceicdata.com

การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 0.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 17.8 อันเป็นผลมาจากภัยพิบัติและการแข็งค่าของเงินเยน การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 13.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 15.0

ภาวะเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2554 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -1.0 เป็นผลมาจากราคาสินค้าหมวดอาหารที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.0

ทางด้านสถานการณ์การเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น(Bank of Japan) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 (เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2554) นอกจากนี้ธนาคารกลางญี่ปุ่นดำเนินนโยบายทางการเงินแบบผ่อนคลาย โดยขยายโครงการซื้อสินทรัพย์เพิ่ม เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อการฟื้นตัวที่เปราะบางของเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 3 ปี 2554 คาดว่าจะหดตัวต่อเนื่อง จากเหตุภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการส่งออก รวมทั้งปัญหาการแข็งค่าของเงินเยน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)

เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 2 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.1 ในส่วนของ GDP ภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ3.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.1 การบริโภคไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 0.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส2 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 101.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 97.0 และในเดือนกรกฎาคม สิงหาคม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 101.8 และ 102.6 ตามลำดับ

การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 12.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 24.6 สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 4.3 และ 13.9ตามลำดับ การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 11.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 30.3 สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 5.2 และ 10.6ตามลำดับ

ภาวะเงินเฟ้อทั่วไปในไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.7 อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานในไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 9.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.4 โดยประเทศที่มีอัตราการว่างงานสูงสุด 2 อันดับแรก ได้แก่ สเปน และ กรีซ

หมายเหตุ(5) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 2 ปี 2554

  • ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายจากร้อยละ 1.50 เป็นร้อยละ 1.25 (เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2554) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจยุโรป เนื่องจากเป็นกังวลต่อวิกฤติหนี้ในยุโรป

อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 3 ปี 2554 คาดว่าชะลอตัวต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปที่รุนแรงเพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมในเอเชีย

เศรษฐกิจฮ่องกง(6)

ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาส 2 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากความต้องการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวดี การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 9.2 จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รวมถึงรายได้ที่ปรับตัวดี ขณะที่การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 8.1 จากการลงทุนในด้านการก่อสร้าง รวมถึงการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์ที่ขยายตัวดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 94.9 ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2554 มีมูลค่า 120,139 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.2 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) ขยายตัวร้อยละ 11.6 อย่างไรก็ตามการส่งออกไปสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.8 ด้านการนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2554 มีมูลค่า 132,018 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 6.4 ลดลงจากในไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.1ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2554 อยู่ที่ร้อยละ 5.8 จากราคาค่าเช่าบ้านที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ

อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในเดือนกันยายน 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 คงที่จากในเดือนสิงหาคม2554 และลดลงจากในเดือนกรกฎาคม 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.4 อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องตามความต้องการแรงงานของตลาดที่ปรับตัวดีต่อเนื่อง

เศรษฐกิจเกาหลีใต้(7)

ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในไตรมาส 3 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องแม้จะอยู่ในอัตราที่ชะลอลง รวมถึงการบริโภคภาคเอกชนที่ยังขยายตัวได้ดี

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 147.5 ขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

หมายเหตุ(6) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 2 ปี 2554

  • www.censtatd.gov.hk www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

(7) - ที่มา www.ecos.bok.or.kr www.fpo.go.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2554 มีมูลค่า 141,574 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกไปยังตลาดสำคัญขยายตัวได้ดี โดยตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของเกาหลีใต้ยังคงเป็นตลาดจีนที่ในไตรมาสนี้การส่งออกไปจีนขยายตัวร้อยละ 20.5 ขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐฯขยายตัวร้อยละ 8.1 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 3 ปี 2554 มีมูลค่า 134,973 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 27.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าจากตลาดหลักอย่างจีนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.8 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ4.2 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.3 ลดลงจากในเดือนสิงหาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ5.3 จากราคาอาหารและน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง อัตราเงินเฟ้อเริ่มกลับมาอยู่ในระดับที่ควบคุมได้อัตราการว่างงานในเดือนกันยายน 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 คงที่จากในเดือนสิงหาคม 2554 และลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.3

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ในไตรมาส 3 ปี 2554 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ยังประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้อยู่ที่ร้อยละ 3.25

เศรษฐกิจสิงคโปร์(8)

ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ในไตรมาส 3 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตในไตรมาส 3 ปี 2554 กลับมาขยายตัวร้อยละ 13.2 จากที่ในไตรมาส 2 ปี2554 หดตัวร้อยละ 5.8 ทั้งนี้เนื่องมาจากการผลิตสินค้าในกลุ่มไบโอเมดิคอลที่ขยายตัวเป็นสำคัญ

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 133.9 ขยายตัวร้อยละ 14.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2554 มีมูลค่า 103,452 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 19.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งการส่งออกไปยังตลาดหลักต่างขยายตัวดี โดยการส่งออกไปยังมาเลเซีย ฮ่องกงอินโดนีเซีย และจีน ขยายตัวร้อยละ 21.5 18.6 33.7 และ 17.4 ตามลำดับ สำหรับในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2554 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 16.7 และ 17.2 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2554 มีมูลค่า 93,787 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 21.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2554 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.5 และ 31.1 ตามลำดับ

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ4.7 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2554 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 จากราคาที่อยู่อาศัย ต้นทุนค่าขนส่งภาคเอกชนและราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ลดลงจากในไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.1

หมายเหตุ (8) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 2 ปี 2554

  • ที่มา www.singstat.gov.sg www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

เศรษฐกิจอินโดนีเซีย(9)

ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในไตรมาส 3 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 143.5 ขยายตัวร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.9

การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2554 มีมูลค่า 53,229 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 43.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างญี่ปุ่นขยายตัวถึงร้อยละ 55.8 ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ ต่างปรับขยายตัวดีเช่นกัน สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ39.5 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2554 มีมูลค่า 44,786 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 35.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 28.4

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 ลดลงจากในไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.9ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 โดยราคาอาหารยังเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทางด้านสถานการณ์การเงิน เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2554 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย จากร้อยละ 6.75 เป็นร้อยละ 6.50 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ชะลอตัว รวมถึงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก

เศรษฐกิจมาเลเซีย(10)

ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซีย ในไตรมาส 2 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากในไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.9 จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอทั้งนี้การขยายตัวในไตรมาส 2 ปี 2554 มีปัจจัยสนับสนุนหลักจากความต้องการบริโภคภายในประเทศที่ยังขยายตัวได้ดี การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 6.4

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 116.0 ขยายตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 1.7 และ4.8 ตามลำดับ

การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2554 มีมูลค่า 56,602 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 16.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปตลาดหลักอย่างสิงคโปร์ จีน และญี่ปุ่น ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ12.4 17.8 และ 29.1 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการส่งไปยังตลาดสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.2 สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 14.6 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2554 มีมูลค่า 47,522ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 10.2

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 คงที่จากในไตรมาส 2 ปี 2554 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 จากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอลล์ที่ปรับตัวสูงขึ้น อัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 เพิ่มขึ้นจากในเดือนกรกฎาคม 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.0

หมายเหตุ (9) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 2 ปี 2554

  • ที่มา www.bot.or.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

(10) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 2 ปี 2554

  • ที่มา www.statistics.gov.my www.bnm.gov.my www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

ทางด้านสถานการณ์การเงิน ไตรมาส 3 ปี 2554 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์(11)

ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 2 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการใช้จ่ายในการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนด้านการก่อสร้าง

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 92.7 ขยายตัวร้อยละ 2.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 4.5 และ 2.1ตามลำดับ

การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2554 มีมูลค่า 12,538 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอันดับหนึ่งอย่างญี่ปุ่นขยายตัวร้อยละ 21.3 ตลาดจีนขยายตัวร้อยละ 29.6 อย่างไรก็ตามการส่งออกของฟิลิปปินส์หดตัวในหลายตลาด เช่น ตลาดสหรัฐฯตลาดสิงคโปร์ และตลาดฮ่องกง ที่หดตัวร้อยละ 7.1 18.2 และ 8.0 ตามลำดับ สำหรับในเดือนกรกฎาคม2554 การส่งออกหดตัวร้อยละ 1.7 จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ตลาดสิงคโปร์ และตลาดฮ่องกง ที่หดตัวเป็นสำคัญ ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2554 มีมูลค่า 14,889 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.3เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในเดือนกรกฎาคม 2554 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 6.8

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน คงที่จากในไตรมาส 2 ปี 2554 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 อัตราการว่างงาน ในเดือนกันยายน 2554 อยู่ที่ร้อยละ 7.1 ลดลงเล็กน้อยจากในเดือนมิถุนายน 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 7.2

ทางด้านสถานการณ์การเงิน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2554 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.5 จากแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อเริ่มส่งสัญญาณชะลอลง รวมถึงความเสี่ยงจากความอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจโลก

เศรษฐกิจอินเดีย(12)

ภาวะเศรษฐกิจของอินเดีย ในไตรมาส 2 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 177.7 ขยายตัวร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 3.1 และ4.5 ตามลำดับ

การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2554 มีมูลค่า 79,003.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 45.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 81.8และ 44.3 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2554 มีมูลค่า 110,613.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 36.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2554ขยายตัวร้อยละ 51.5 และ 41.8 ตามลำดับ

หมายเหตุ (11) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 2 ปี 2554

  • ที่มา www.nscb.gov.ph www.bsp.gov.ph www.fpo.go.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

(12) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 2 ปี 2554

  • ที่มา commerce.nic.in www.fpo.go.th www.bot.or.th www.ceicdata.com

อัตราเงินเฟ้อไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 9.6 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ9.1 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อเดือนกันยายน 2554 อยู่ที่ร้อยละ 9.7 อินเดียมีอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง โดยระดับอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 9.0 ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 10 เดือน

ทางด้านสถานการณ์การเงิน เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2554 ธนาคารกลางอินเดียประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยปรับขึ้น Repo Rate จากร้อยละ 8.25 เป็นร้อยละ 8.50 และปรับขึ้น Reverse RepoRate จากร้อยละ 7.25 เป็นร้อยละ 7.50 จากการที่อัตราเงินเฟ้อและอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ที่ยังอยู่ในระดับสูง

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ