สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม — กันยายน) 2554 (อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday December 30, 2011 11:03 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

  • สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนรวม 20 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 1,148.40 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 1,538คน โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการลงทุนที่มีเงินลงทุนไม่เกิน 100 ล้านบาท (รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)อุตสาหกรรมรถยนต์โลก (รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554)
  • อุตสาหกรรมรถยนต์โลกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 37,282,833 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 2.70 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง27,570,975 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 9,711,858 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ1.70 และ 5.70 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ จีน และสหรัฐอเมริกา พบว่า จีนมีการผลิตรถยนต์ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-มิ.ย.) จำนวน 9,173,461 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ24.60 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554(ม.ค.-มิ.ย.) จำนวน 4,246,403 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.39 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก สำหรับการจำหน่ายรถยนต์โลกในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ค.) มีการจำหน่ายรถยนต์ 41,804,848 คันเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.90 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 11,139,231คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 6.90 และมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 30,667,828 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 2.80 เมื่อพิจารณาประเทศที่สำคัญ พบว่า จีนมีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง7 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ค.) จำนวน 10,635,845 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.44 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ค.)จำนวน 6,448,722 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.01 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก
  • อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศจีน มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี2554 (ม.ค.-ก.ย.) จำนวน 13,484,655 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.10 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 10,522,522 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.50 และการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2,962,133 คัน ลดลงร้อยละ 7.50 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 13,663,012คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 4.00 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 10,564,682 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.70 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 3,098,330 คัน ลดลงร้อยละ 4.40
  • อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) จำนวน 6,358,787 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 9.10 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 2,131,872 คัน ลดลงร้อยละ 1.20 และการผลิตรถบรรทุก 4,226,915 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ13.60 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ส.ค.) จำนวน 8,625,167 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 10.80 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 4,149,426 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ8.30 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 4,475,741 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.30

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 1,285,238 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.35 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง 476,892 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 792,159 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.70 และ 0.41 ตามลำดับ แต่มีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 16,187 คัน ลดลงร้อยละ 1.60 ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวมเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 656,196 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51.06 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพื่อการส่งออก ร้อยละ 74.01 และการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกร้อยละ 25.99 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซีซี รองลงมาคือ รถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (Eco Car) และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,501-1,800 ซีซี ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2554 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน474,628 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.83 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.03 และ 6.29 ตามลำดับ แต่มีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 6.29 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2554 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.93 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.18, 36.42 และ 42.65 ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 670,969 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.60 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 302,017 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 285,204 คัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 40,975 คันและรถยนต์ PPV รวม SUV 42,773 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.02, 18.55, 16.60 และ 9.54 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2554 มีการจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 238,957 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.68 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.89, 17.29, 17.40และ 16.00 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2554 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.56 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆและรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.29, 21.50, 20.99 และ 35.01 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 639,632 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี2553 ลดลงร้อยละ 3.79 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 299,001.42 ล้านบาท ลดลงจากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ร้อยละ 2.58 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2554 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ จำนวน238,727 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 122,628.01 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 3.22 แต่หากคิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.69 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2554 ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.38 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.36

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 มีมูลค่า 156,129.61 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 5.13 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ อินโดนีเซียออสเตรเลีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.60, 16.11 และ 7.45 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 25.14 แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปอินโดนีเซีย และญี่ปุ่นมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.38 และ 59.89 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 มีมูลค่า 116,824.67 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 3.01 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และชิลี คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 30.15, 5.73 และ 4.79 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลีย และชิลี มีมูลค่าลดลงร้อยละ 10.36 และ 11.12 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถแวนและปิกอัพไปอินโดนีเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.93 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วง 9 เดือนของแรกปี 2554 มีมูลค่า22,662.64 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 5.26 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 28.21, 13.83 และ 11.51 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและบรรทุกไปซาอุดิอาระเบีย และออสเตรเลียมีมูลค่าลดลงร้อยละ 9.32 และ 19.78 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.82

การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 19,824.82 และ 16,568.57 ล้านบาท ตามลำดับเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.28 และ 12.19 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 6,674.78 และ 5,956.77 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.55 แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 5.01 เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองปี 2554 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.29 และ 35.58 ตามลำดับ แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 ได้แก่ เยอรมนี อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 32.42, 20.60 และ 17.06 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนี เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.19 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากอินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 11.40 และ 27.44 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ62.44, 11.63 และ 5.06 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากเกาหลีใต้ และอินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.03 และ 97.09 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 1.06

อุตสาหกรรมรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี2553 เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนอีกทั้งผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้เร่งปริมาณการผลิตรถยนต์ เพื่อให้ทันการส่งมอบรถยนต์ที่มียอดค้างการจองอยู่เป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากการขาดแคลนชิ้นส่วน เช่น ชิ้นส่วนสมองกล (MicroComputer Chip) หรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น จากปัญหาภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น ประกอบกับมีการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่การส่งออกรถยนต์ไปในตลาดหลัก เช่น โอเชียเนียตะวันออกกลาง แอฟริกา อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ มีการชะลอตัว แต่การส่งออกรถยนต์ไปตลาดอาเซียนยังสามารถขยายตัวได้ สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สี่ ปี 2554 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 สาเหตุสำคัญอันเนื่องมาจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยมีโรงงานประกอบรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ โรงงานผลิตรถยนต์ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล(ประเทศไทย) จำกัด ที่ตั้งอยู่ในสวนนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการหยุดการผลิตตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2554 และในขณะนี้ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะเริ่มผลิตอีกครั้งเมื่อไร ส่วนโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลายรายก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ส่งผลให้ไม่สามารถส่งชิ้นส่วนรถยนต์ให้กับผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์รายอื่นขาดชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิต

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 1,792,061 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.93 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 1,653,815 คัน รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 138,246 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.18 และ 94.59 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2554 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน 624,469 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.80 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 573,252 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.07 และมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 51,217 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.80 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองปี 2554 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.14 โดยเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.07 และ 18.80 ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554(ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 1,621,870 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.47โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 784,688 คัน รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 784,717 คันรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 52,465 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.86, 9.52 และ 18.76 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2554 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน 540,965 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.76 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 275,650 คันรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 19,581 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.41 และ 117.18 ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 245,734 คัน ลดลงร้อยละ 0.81 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2554 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 3.37 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 12.17 แต่มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.84 และ 14.35 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 892,931 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 185,890 คัน และ CKDจำนวน 707,041 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.58 คิดเป็นมูลค่าการส่งออก มีมูลค่า 20,727.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 19.64 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2554 มีปริมาณการส่งออก 339,058 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 6,322.18 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 63.22 แต่คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 6.58 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2554 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.13 คิดเป็นมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.94 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่นคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.38, 16.29 และ 15.70 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์(CBU)ไปสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 97.74 และ 44.06 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์(CBU)ไปสหราชอาณาจักร ลดลงร้อยละ 8.78

การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.)มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 964.24 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553เพิ่มขึ้นร้อยละ 160.73 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 338.58ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 125.60 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2554 มูลค่าการนำ เข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.55 แหล่งนำ เข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 ได้แก่ เวียดนาม และเยอรมนี มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 19.83 และ 7.49 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 120.55 แต่การนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเยอรมนี ลดลงร้อยละ 28.06

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 อันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับภาคการเกษตรซึ่งเป็นตลาดหลักของรถจักรยานยนต์ รวมทั้งยังมีความต้องการรถจักรยานยนต์ของผู้บริโภคเพื่อใช้งานในหลายพื้นที่ สำหรับการส่งออกขยายตัวได้ในตลาดสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2554 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในประเทศเริ่มได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศ สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่สี่ของปี 2554 คาดว่าจะชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งผลให้มีโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ประสบปัญหาน้ำท่วม ส่งผลให้ไม่สามารถจัดส่งชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ได้ ทำให้โรงงานประกอบรถจักรยานยนต์ต้องหยุดการผลิต

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 ( ม.ค.-ก.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 106,053.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี2553 ร้อยละ 1.88 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 20,056.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9เดือนแรกของปี 2553 ร้อยละ 29.41 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 11,898.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ร้อยละ 10.51 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2554 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 39,229.63 ล้านบาท การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า7,602.11 ล้านบาท และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 4,083.25 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 2553 การส่งออกเครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.52 และ4.00 ตามลำดับ แต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ลดลงร้อยละ 0.80 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2554 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM)เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.62, 38.40 และ 1.41 ตามลำดับ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 มีมูลค่า 126,465.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 3.65 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่นอินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 13.53, 16.49 และ 9.96 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.34 แต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น และมาเลเซีย ลดลงร้อยละ 10.92 และ 9.60 ตามลำดับ

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM)และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า10,047.75 และ 528.26 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.49และ 10.85 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2554 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 3,875.87 และ 205.93 ล้านบาทตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.58 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 0.49 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2554 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์(OEM) และอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.41 และ 21.57 ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 มีมูลค่า 20,954.80ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 42.99 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.90, 18.21และ 9.84 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.67, 50.36 และ 42.34 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 145,672.96 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.69 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สามของปี 2554 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า53,349.25 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.33 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2554 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.04 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และจีน คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 61.39, 5.50และ 5.36 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.58และ 24.05 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 7.63

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่า 11,367.42 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.30 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สามของปี 2554 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่า 3,528.64 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 11.48 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2554 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.84แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 ได้แก่ ญี่ปุ่น,จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 43.83, 15.65 และ 7.63 ตามลำดับ โดยการนำเข้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.68 แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากจีน และอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 14.77 และ 11.35 ตามลำดับ

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ