ในช่วงไตรมาสที่ 3 ภาวะอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงที่ผู้ประกอบการต้องผลิตสินค้าเพื่อสต๊อกไว้ขายในช่วงเทศกาลหยุดยาว จึงส่งผลให้อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในไตรมาสนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้สำรวจข้อมูลการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซดาไฟซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานที่สำคัญ โดยในไตรมาสที่ 3 ปริมาณการผลิต และการจำหน่ายมีปริมาณเพิ่มขึ้นซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
การผลิต
โซดาไฟ
การผลิตโซดาไฟในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีปริมาณ 265,582.1 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ3.77 และการจำหน่ายโซดาไฟในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีปริมาณ 200,253.6 ตัน เพิ่มขึ้นจาก ไตรมาสก่อนร้อยละ 0.22
หมายเหตุ : โซดาไฟเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรา และยังใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น ในการผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร เส้นใยเรยอน สิ่งทอและอื่น ๆ
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 3 ปี 2554 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 13,131 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ2.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 30,530 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีมูลค่านำเข้า 25,324 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.15 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 70.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอุตสาหกรรมสีมีการนำเข้า 11,937 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.91 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 7,763 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.20 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.64 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก
ไตรมาส 3 ปี 2554 การส่งออกเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 5,534 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 14,504 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ57.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีมูลค่าการส่งออก 1,155 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.25 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมสีมีมูลค่าส่งออก3,564 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.42 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 15,582 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.07 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในไตรมาสหน้าคาดว่าจะมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้เนื่องจากปัญญาอุทกภัยที่ลุกลามไปหลายนิคมอุตสาหกรรม ทำให้หลายโรงงานไม่สามารถทำการผลิตต่อได้ จึงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ประกอบกับ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นชะลอตัว เพราะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สึนามิ และปัญหาหนี้ที่ลุกลามไปหลายประเทศในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะประเทศกรีก ส่งผลให้การค้าขายกับประเทศเหล่านี้ลดลง รวมทั้งเทศกาลหยุดยาวที่กำลังจะมาถึงด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--