ภาวะอุตสาหกรรมพลาสติกค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา แม้ว่าประเทศคู่ค้าหลัก เช่นญี่ปุ่นเริ่มมีทิศทางการกลับเข้ามาสู่การผลิตอีกครั้ง ส่งผลดีกับไทยก็ตาม แต่ยังคงมีประเด็นสำคัญเกี่ยวกับเศรษฐกิจในยุโรป เนื่องจากการแก้ปัญหาของประเทศกรีซยังไม่มีความชัดเจน อาจจะส่งผลต่อภาพรวมกับทวีปยุโรป อีกทั้งรัฐบาลยังได้มีการออกนโยบายที่ช่วยส่งเสริม กระตุ้นให้เกิดการลงทุนมากขึ้น เช่น รถยนต์คันแรกบ้านหลังแรก การเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งหวังว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยมากขึ้น หากได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากหลายฝ่าย
การนำเข้าส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกของไทยยังต่อมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านปริมาณและมูลค่า แสดงให้เห็นถึงความสามารถของการค้าด้านพลาสติกของไทยที่ยังเติบโตได้ การนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น 3% และปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นประมาณ 1% ส่วนมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 10% และปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณ 5% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา
ตลาดปิโตรเคมีซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักของการผลิตเม็ดพลาสติก ยังคงได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจโลก ทำให้ราคามีความผันผวน ทำให้ความต้องการเม็ดพลาสติกที่ลดลง ผู้ซื้อรอดูทิศทางของตลาด และความไม่มั่นใจเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ด้านราคาน้ำมันดิบดูไบมีการปรับตัวเฉลี่ยไตรมาสที่ 3 อยู่ที่ 105 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงจาก109 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากราคาเฉลี่ยไตรมาสก่อนหน้านี้ ราคาที่ปรับลดลงเนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับวิกฤติการณ์การเงินของยุโรป รวมถึงการประท้วงในสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น
การผลิตของอุตสาหกรรมพลาสติกไทย
จากปัญหาเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรป ส่งผลต่อการราคาเม็ดพลาสติก ส่งผลให้ปริมาณการผลิตเม็ดพลาสติก รวมถึงปัญหาของวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตที่ลดลง จึงทำให้ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกบางหลายลดปริมาณการผลิตลงในช่วงเดือนกรกฎาคมและมิถุนายน
การค้า
ในไตรมาสนี้การนำเข้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ที่มีมูลค่านำเข้า 27,413 ล้านบาทมาที่ 28,293 ล้านบาท โดยสินค้าของไทยที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุดยังคงอยู่ที่หมวด 3926 คือผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ มีมูลค่าสูงถึง 11,890 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42 ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด โดยประเทศที่มีการนำเข้ามากที่สุดได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกงและสิงคโปร์ หมวดสินค้าที่รองลงมาเป็น3923 ผลิตภัณฑ์ ของใช้ลำเลียงสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ มีมูลค่าการนำเข้า 4,180 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15ของมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด โดยมีการนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น มาเลเซียและจีนมากที่สุด
และปริมาณการนำเข้าอยู่ที่ 117,423 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ประมาณ 1% โดยสินค้าของไทยที่มีปริมาณการนำเข้าสูงสุดอยู่ที่หมวด 3920 ผลิตภัณฑ์ แผ่น แผ่นบาง ฟิล์ม ฟอยล์ และแถบอื่นๆ ที่ไม่เป็นแบบเซลลูลาร์ มีปริมาณสูงถึง 27,570 ตัน คิดเป็นร้อยละ 23 ของปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งหมดรองลงมาเป็นหมวด 3926 คือผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ มีปริมาณสูงถึง 26,325 ตัน คิดเป็นร้อยละ 22 ของปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด และหมวด 3923 คือของที่ใช้ลำเลียงสินค้าหรือบรรจุสินค้ามีปริมาณ 23,282 ตัน คิดเป็นร้อยละ 20 ของปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด
ส่วนมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 มูลค่าส่งออกเท่ากับ 27,076 ล้านบาท โดยสินค้าของไทยที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดอยู่ที่หมวด 3923 ของที่ใช้ลำเลียงสินค้าหรือบรรจุสินค้ามีมูลค่า 8,337ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 30 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด โดยส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกามากที่สุด รองลงมาได้แก่หมวด 3926 คือผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ มีมูลค่าส่งออก 6,734ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 25 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด ทั้งนี้ได้ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นและจีนมากที่สุด
และปริมาณส่งออก เท่ากับ 254,400 ตัน เพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 โดยสินค้าของไทยที่มีปริมาณการส่งออกสูงสุดอยู่ที่หมวด 3923 ของที่ใช้ลำเลียงสินค้าหรือบรรจุสินค้ามีมูลค่า 90,782 ตัน คิดเป็นร้อยละ 36 ของปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด หมวดสินค้าที่รองลงมาได้แก่หมวด 3926 คือผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ มีมูลค่าส่งออก 26,539 ตัน คิดเป็นร้อยละ 10 ของมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกทั้งหมด
การขยายตัวของการส่งออกในไตรมาสนี้ยังคงดี ทั้งนี้ยังคงสถานะภาพการเป็นผู้นำเข้าสุทธิด้านมูลค่าและยังเป็นผู้ส่งออกสุทธิด้านปริมาณ ด้านดุลการค้าจะเห็นได้ว่าไทยก็ยังคงขาดดุลการค้าในผลิตภัณฑ์พลาสติกอย่างต่อเนื่อง และสินค้าที่ทำการค้ายังคงเป็นหมวดสินค้าเดิมที่มีมูลค่าและปริมาณสูงสุด ประเทศที่เป็นคู่ค้ากับไทย ยังไม่เกิดวิกฤติทางการเงินตามสหรัฐอเมริกาและยุโรป แต่ยังคงต้องจับตามองสถานการณ์ต่อไป
แนวโน้ม
- สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่ยังคงต้องติดตาม ประเด็นวิกฤติการณ์เงินของกรีซ ที่อาจจะลุกลามไปทั่วทวีปยุโรป จะส่งผลต่อเนื่องไปยังประเทศที่เป็นคู่ค้ากับไทย
- ผลกระทบจากอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัด รวมถึงกรุงเทพมหานคร ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งได้รับผลกระทบ คงต้องรอการฟื้นฟูภายหลังน้ำลด จากการคาดการณ์น่าจะกลับมาเดินเครื่องได้ตามปกติ ปลายไตรมาส 4
- ผู้บริโภคที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย มีการจับจ่ายใช้สอยน้อยลง เนื่องจากไม่สะดวกต่อการเดินทาง ขาดรายได้ จึงส่งผลต่อความต้องการสินค้าบางประเภทที่ลดลง แต่สินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในขณะที่น้ำท่วมจะมีความต้องการมากขึ้น เช่น ถุงพลาสติก กระสอบทราบ เรือพลาสติก
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร-- -พห-