สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม — กันยายน) 2554 (อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 5, 2012 10:49 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

การผลิตและการจำหน่าย

การผลิตเครื่องเพชร พลอย และรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554(ดูตารางที่ 1 ประกอบ) หากเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อพิจารณาจากดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชร พลอย และรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.52 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.63 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.67 เนื่องจากผู้ผลิตได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.65 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.02และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.54 ทั้งนี้เป็นผลจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น ซึ่งการที่ดัชนีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นนั้นแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ค่อนข้างเติบโตดีกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเฉพาะสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่เป็นสินค้าฟุ่มเฟือยด้วยแล้ว

การตลาด

การส่งออก

ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,330.01 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนเป็นผลจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นในเกือบทุกหมวดสินค้า เนื่องจากการเตรียมสินค้าเพื่อจำหน่ายในปลายปีที่จะเข้าสู่ช่วงเทศกาลคริสต์มาส ซึ่งสินค้าที่มีการส่งออกเพิ่มขึ้นที่สำคัญ เช่น พลอยมีมูลค่า 182.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 40.93 เครื่องประดับแท้ทำด้วยเงินมีมูลค่า 423.65 เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 14.59 และเครื่องประดับแท้ทำด้วยทองมีมูลค่า 571.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 32.61 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยมูลค่าการส่งออกทั้งอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นผลจากการส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบทุกหมวดสินค้า โดยผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่

1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 650.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 37.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 43.30, 17.77 และ 9.27ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้

1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 463.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.35 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.05 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.21, 24.91และ 12.87 ตามลำดับ

1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 182.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60.33, 9.24 และ8.81 ตามลำดับ

2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 1,033.11ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.49 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และเดนมาร์ก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ28.91, 19.10 และ 7.58 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญ มีดังนี้

2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 423.65 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.33 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.51, 14.78 และ7.66 ตามลำดับ

2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 571.40 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.61 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.47,18.67 และ 11.75 ตามลำดับ

3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 101.67ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.91 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 11.18 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำ คัญ ได้แก่ ลิกเตนสไตน์ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.22, 21.44 และ 9.36 ตามลำดับ

4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 29.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 1.11 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เยอรมนี และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.56, 10.37 และ 10.07ตามลำดับ

5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 1,473.85ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 2.94 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และสิงคโปร์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 54.60, 19.91 และ 1.67 ตามลำดับ

การนำเข้า

1.เพชร พลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 (ดูตารางที่ 3 ประกอบ)มีมูลค่าการนำเข้า 6,559.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 117.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากการผลิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับเป็นผลจากการนำเข้าทองคำที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 144.13 ทั้งนี้มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 114.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในช่วงปลายไตรมาส 3 มีการนำเข้าทองคำยังไม่ขึ้นรูปสูงมาก เพราะเป็นช่วงที่ราคาทองคำในตลาดโลกปรับตัวลดลง ทั้งนี้การนำเข้าสินค้าส่วนใหญ่เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าสำเร็จรูป ได้แก่

1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 592.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 202.68 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.97, 18.19และ 17.52 ตามลำดับ

1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 113.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.16 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.46 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนแหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.63, 13.45และ 12.34 ตามลำดับ

1.3 ทองคำ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 5,441.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 144.13 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 114.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 45.32, 15.25และ 12.85 ตามลำดับ

1.4 เงิน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 320.15 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.34 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฮ่องกง และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.28, 18.64 และ 12.14ตามลำดับ

1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 45.27ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.81 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 96.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ67.41, 15.81 และ 6.51 ตามลำดับ

โดยการนำเข้าเพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ99.29 ของการนำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด

2. เครื่องประดับอัญมณี ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าทั้งสิ้น 252.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.17 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่

2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 239.74ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.39 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.77,6.20 และ 5.50 ตามลำดับ

2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 12.94ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.21 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.77,15.09 และ 9.51 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ปี 2554 ด้านการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.52 และการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกโดยภาพรวมมีการขยายตัวร้อยละ 11.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากการได้รับคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้มูลค่าการส่งออกพลอยเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.93 เครื่องประดับแท้ทำด้วยเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.59 และเครื่องประดับแท้ทำด้วยทองเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.61 สำหรับการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ117.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 114.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการนำเข้าทองคำยังไม่ขึ้นรูป เนื่องจากในปลายไตรมาสที่ 3 มีการปรับลดลงของราคาทองคำในตลาดโลกจากระดับสูงสุด 1,900 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ มาอยู่ระดับต่ำกว่า 1,700 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ปัจจัยด้านบวก คือ ความสำเร็จของการจัดงานบางกอกเจมส์แอนด์ จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 48 ที่ผู้ประกอบได้รับคำสั่งซื้ออย่างมาก และราคาทองคำใน133

ตลาดโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นสู่ระดับมากกว่า 1,800 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ อีกครั้งจะเป็นสาเหตุให้เกิดการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปเพิ่มขึ้นอย่างมาก ปัจจัยด้านลบ คือ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งนี้หากการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปมีความชัดเจนยิ่งขึ้นจะเป็นปัจจัยช่วยสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับได้มากกว่านี้ อย่างไรก็ดีในภาพรวมคาดการณ์ว่าแนวโน้มการส่งออกในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 จะขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ