สศอ.เผยปี 54 ภาคอุตฯสำลักน้ำทั่วหน้า ดัชนีอุตฯ ลดลง 9-10% กำลังการผลิตแผ่วเหลือเพียง 56-58% คาดเริ่มฟื้นในครึ่งหลังของปี 55 ขณะที่เดือน พ.ย. -48.6%
นายอภิวัฒน์ อสมาภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ.ได้สรุปภาพรวมภาคอุตสาหกรรมประจำปี 2554 คาดการณ์แนวโน้มในปี 2555 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ปี 2554 จะหดตัวในช่วง -9,-10% และอัตราการใช้กำลังการผลิตในปี 2554 จะอยู่ที่ 56-58% โดยข้อมูลล่าสุด 11 เดือนแรก MPI -7.9% อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 58.6% ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อ MPIเนื่อง จากมหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ทั่วประเทศทำให้การผลิตหยุดชะงักเป็นการชั่วคราว โดยเฉพาะในเขตนิคมอุตสาหกรรมของจังหวัดอยุธยาและปทุมธานี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า จะกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ในการผลิตสินค้าที่ เกี่ยวเนื่อง และจะส่งผลให้การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบโดยตรงจากการหยุดการผลิต
ภาคการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ภาพรวม 11 เดือนแรกของปี 2554 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไม่รวมทองคำแท่งขยายตัว 14.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยได้รับอานิสงค์จากการขยายตัวที่ดีในช่วงครึ่งปีแรก ขณะที่ เดือนพฤศจิกายน 2554 หดตัว -19.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการได้รับผลกระทบจากการเกิดอุทกภัย โรงงานหลายแห่งได้รับความเสียหาย ยังไม่สามารถกลับมาทำ การผลิตได้เต็มที่ สินค้าสำคัญที่มีการส่งออกหดตัวได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
นายอภิวัฒน์ กล่าวถึงแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมปี 2555 ว่า GDP อุตสาหกรรมจะขยายตัวในช่วงระหว่าง 3.5 — 4.5% และ MPI จะ ขยายตัวในช่วงระหว่าง 5—6% โดยแนวโน้มอุตสาหกรรมไทยในปี 2555 ยังอยู่ในภาวะชะลอตัวในไตรมาสที่ 1 และในไตรมาสที่ 2 จะเริ่มอยู่ใน ภาวะขาขึ้นและอาจเติบโตในระดับปกติหรือทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ยังไม่สามารถฟื้นตัว ได้เต็มที่ ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่าจะเติบโตได้ ภายใต้ปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ก็คือการใช้จ่ายหรือลงทุนของภาครัฐบาลในด้านต่างๆ รวมไปถึงแรง ขับเคลื่อนจากการเร่งการผลิตในหลายสาขาอุตสาหกรรมหลังจากที่ได้รับการฟื้นฟูโรงงานและกลับมาผลิตอีกครั้ง จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนการขยาย ตัวให้กลับคืนมาอีกครั้ง
สรุปรายสาขา
อาหาร เมื่อเทียบกับปีก่อน ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น 20% เนื่องจากการผลิตในหลายสินค้า ได้รับผลดีจากการที่ประเทศผู้ผลิตสำคัญหลาย ประเทศประสบปัญหาด้านวัตถุดิบจากภัยธรรมชาติ ส่งผลต่อระดับราคาสินค้าเกษตรและอาหารในตลาดโลกมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นในเกือบทุกสินค้า ส่ง ผลให้การผลิตอุตสาหกรรมอาหารของไทยได้รับผลดี
แนวโน้มปี 2555 คาดว่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 0.1% โดยยังต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เช่น การประกาศลดค่าเงินของประเทศคู่ แข่งและการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาท ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจในประเทศของผู้บริโภคที่ยังชะลอการจับจ่ายใช้สอย ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาด การณ์ได้ และมาตรการกีดกันทางการค้ารูปแบบต่างๆ ที่ประเทศผู้นำเข้าจะประกาศใช้ในอนาคต นอกจากนี้ยังต้องเฝ้าระวังการประกาศมาตรการกีด กันรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การวิเคราะห์ร่องรอยคาร์บอนและการใช้น้ำ และความปลอดภัยของแรงงาน ซึ่งจะทะยอยประกาศ ใช้เพื่อส่งเสริมการผลิตในกลุ่มประเทศสมาชิก นอกจากนี้การที่สหรัฐฯ กำลังพิจารณายกเลิกการ คว่ำบาตรการค้ากับพม่า อาจส่งผลต่อการแข่งขัน กับสินค้าไทยได้ในอนาคต
สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเทียบกับปีก่อน MPI ของการผลิตเส้นใยสิ่งทอฯ และการผลิตเครื่องแต่งกายฯ (เสื้อผ้าสำเร็จรูป) ลดลง - 12.6 %และ -15.7% ตามลำดับ เนื่องจากต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐ อเมริกา และสหภาพยุโรป ในขณะที่ตลาดส่งออกมีการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่แข่งที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า ประกอบกับความ ผันผวนของราคาฝ้ายซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ปัจจัยเหล่านี้ล้วนกระทบต่อคำสั่งซื้อสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่มีแนวโน้มกระทบต่อการผลิตที่จะ ปรับลดลง
แนวโน้มปี 2555 คาดว่าทั้งปริมาณการผลิตเส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน เครื่องนุ่งห่มโดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูป จะมีการผลิตที่ปรับตัวลดลง เนื่องจากอุทกภัย หากสถานการณ์คลี่คลายและโรงงานที่ได้รับความเสียหายสามารถฟื้นตัว และกลับมาผลิตได้ในระยะเวลาอันสั้น (ไม่เกิน 6 เดือน) จะช่วยลดผลกระทบในอุตสาหกรรมได้ ทั้งนี้ปริมาณการผลิตและมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจะสามารถฟื้นตัวได้ภายในไตรมาสที่ 2 แต่หาก โรงงานจะต้องใช้เวลาฟื้นฟูนาน (เกินกว่า 6 เดือน) ผู้ประกอบการอาจจะต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิต ทั้งผ้าผืน เส้นใย เส้นด้าย และ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แต่อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยหนุนที่สำคัญจากกลุ่มสินค้าที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก ซึ่งมีการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีมูลค่าต่อ หน่วยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการส่งออกผ้าผืนเส้นใย และเส้นด้าย ซึ่งจากปี 2554 ที่ผ่านมามีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นคิดเป็นมูลค่าการส่งออกประมาณ 5,141.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 15% ดังนั้นจึงคาดว่าปี 2555 จะมีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
เหล็กและเหล็กกล้า เมื่อเทียบกับปีก่อนการผลิตโดยรวมลดลง -6.04 เนื่องจากการชะลอตัวลงของภาคการก่อสร้าง ประกอบกับปริมา ณสต๊อกที่เหลือค้างจากการเร่งผลิตในปีก่อน นอกจากนี้เป็นผลมาจากการนำเข้าเหล็กชนิดที่เติมธาตุโบรอนทั้งในกลุ่มของเหล็กเส้นและเหล็กแผ่นจาก ประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น ส่วนสถานการณ์ราคาเหล็กในตลาดโลก พบว่าจากการที่ราคาวัตถุดิบ เช่น เศษเหล็กที่ปรับลดลงทำให้แนวโน้มราคาผลิตภัณฑ์ เหล็กปรับลดลงด้วย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์เศรษฐกิจของหลายประเทศของโลก เช่น ประเทศในแถบยุโรป จีน ที่ยังคงชะลอตัวอยู่ทำให้ ความต้องการเหล็กของโลกลดลง
แนวโน้ม ปี 2555 คาดว่า ในส่วนของกลุ่มเหล็กทรงยาวซึ่งใช้ในภาคการก่อสร้างจะขยายตัวขึ้นส่วนหนึ่งเพื่อเร่งซ่อมแซมสาธารณูปโภค และบ้านเรือนที่เสียหายจากภาวะอุทกภัยในประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นการผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาระดับสต๊อกที่ลดลงในช่วงปลายปี 2554 สำหรับในส่วน ของเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตและความต้องการใช้ในประเทศจะลดลงเนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมหลายนิคมซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงาน อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ส่งผลให้ความต้องการใช้เหล็กลดลงด้วย
ปูนซีเมนต์ เมื่อเทียบกับปีก่อน การผลิตปูนซีเมนต์ (ไม่รวมปูนเม็ด) ประมาณ 36.42 ล้านตัน ลดลงเล็กน้อย -0.22% เนื่องจากในปี 2554 อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เติบโตขึ้น โดยเฉพาะช่วงครึ่งปีแรก ภาคอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวตามภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในที่อยู่อาศัย ประเภทบ้านจัดสรร เนื่องจากมีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนออกสู่ชานเมือง และปัจจัยสำคัญที่มีส่วนสนับสนุนต่ออุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ คือ การลงทุนใน โครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาล ซึ่งมีส่วนช่วยผลักดันให้มีการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศมากขึ้น อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ก็ไม่ขยายตัวอย่างที่ คาดไว้ในช่วงต้นปี เนื่องจากเกิดปัญหาอุทกภัยทำให้มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานในหลายพื้นที่ ซึ่งถึงแม้ว่าอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์จะไม่ได้รับผลกระทบโดย ตรงจากภาวะน้ำท่วม แต่ทำให้เกิดอุปสรรคในการขนส่ง รวมทั้งการก่อสร้างต่างๆ ต้องชะลอออกไป ส่งผลให้การใช้ปูนซีเมนต์ลดลงตามไปด้วย
แนวโน้มปี 2555 คาดว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์จะเพิ่มขึ้นหลังจากที่ภาวะน้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย เนื่องจากการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย พื้นที่ ภาคอุตสาหกรรม รวมถึงเส้นทางการขนส่งที่เสียหายจากน้ำท่วม ทั้งนี้ผู้ประกอบการได้เตรียมการผลิตเพื่อรองรับความต้องการที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ซึ่ง จะเห็นผลอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 1-ไตรมาสที่ 2 ปี 2555
ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเทียบกับปีก่อนการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลง -5% เนื่องจากความผันผวนของตลาดส่งออก และผลกระทบ จากอุทกภัยภายในประเทศ คาดว่าจะทำให้การผลิตลดลงต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 ก่อนจะเริ่มฟื้นตัวในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 โดยการผลิตในส่วนของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเริ่มมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ประกอบกับได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทำให้คาดว่าการผลิตสินค้า เครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 จะลดลงประมาณ -15% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่ทั้งปีคาดว่ายังสามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นได้เล็กน้อย ระหว่าง 2-3% เนื่องจากสินค้าเครื่องทำความเย็น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เป็นต้น ยังขยายตัวได้ ประกอบกับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาด เล็กเริ่มฟื้นตัวมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น
ขณะที่การผลิตอิเล็กทรอนิกส์โดยเฉพาะ HDD ค่อนข้างผันผวน ตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำเร็จรูปรุ่นใหม่ไม่ใช้ HDD เช่นที่ใช้ในคอมพิวเตอร์และคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค โดยเปลี่ยนไปใช้อุปกรณ์ที่เร็วและราคาสูง แบบ Solid State Drive มากกว่า ทำให้การผลิตมี แนวโน้มลดลง นอกจากนี้ผลกระทบจากอุทกภัย ทำให้คาดว่าใน ไตรมาส 4 นี้ การผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 24 เมื่อ เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิต HDD และ IC ซึ่งเป็นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์หลักของไทยต้องหยุดการผลิต และทั้งปี 2554 คาด ว่าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จะมีการผลิตลดลงประมาณ -8-9%
แนวโน้มปี 2555 คาดว่าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ยังคงขยายตัวได้ แต่มีอัตราการขยายตัวที่ไม่สูงมากนัก โดย อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5-7 เนื่องจากจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ส่วน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 10-12% เนื่องจากความต้องการสินค้าไอทีใหม่ๆ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยง ทางด้านการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ที่มีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง ซึ่งจะส่งผลให้การซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ลดลงได้
รถยนต์ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีมีการผลิตชะลอตัวเล็กน้อย โดยมีการผลิตประมาณ 1.5 ล้านคัน เนื่องจากในช่วงต้น ได้ รับผลกระทบจากปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นใประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้โรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศไทย มีการปรับลดการผลิตอันเนื่องมาจากการขาดแคลน ชิ้นส่วน ได้แก่ ชิ้นส่วนสมองกล (Micro Computer Chip) ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ในเมืองเซนได และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และปลายปี 2554 ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยมีโรงงานประกอบรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ โรงงานผลิตรถ ยนต์ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ที่ตั้งอยู่ในสวนนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีการหยุดการผลิตตั้งแต่วัน ที่ 4 ตุลาคม 2554 และคาดว่าจะกลับมาผลิตได้อีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ส่วนโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลายรายก็ได้รับผลกระทบ เช่นกัน ส่งผลให้ไม่สามารถส่งชิ้นส่วนรถยนต์ให้กับผู้ผลิตรถยนต์ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ขาดชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิต อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกที่ช่วยสนับ สนุนตลาดในประเทศ เช่น นโยบายการคืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรก และกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดโดยการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด เป็น ต้น
แนวโน้มปี 2555 คาดว่าจะมีผลิตรถยนต์ประมาณ 2,000,000 คัน เพิ่มขึ้น 33% เนื่องจากการลงทุนผลิตรถยนต์รุ่นใหม่และรถยนต์ยี่ห้อ ใหม่ที่เริ่มผลิตในประเทศ เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังประเทศสำคัญในเอเชีย ตลอดจนการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ภายหลังจาก ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ และการกระตุ้นยอดจำหน่ายจากนโยบายรถยนต์คันแรก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องของ อัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมัน ที่อาจส่งผลต่อการเลือกซื้อรถยนต์ของผู้
นอกจากนี้ นายอภิวัฒน์ ได้สรุปตัวเลข MPI เดือนพฤศจิกายน 2554 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ว่าดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ระดับ 97.90 ลดลง -48.59% จากระดับ 190.43 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 100.42 ลดลง -48.40% จากระดับ 194.60 ดัชนีสินค้า สำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 179.00 ลดลง -7.33% จากระดับ 193.15 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 98.36 ลดลง -19.39% จากระดับ 122.02 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 112.63 ลดลง -19.36% จากระดับ 139.67 และ อัตราการใช้กำลังการ ผลิตอยู่ที่ 40.14%
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต
Index 2553 ------------------------------------------2554------------------------------------------------ พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 190.43 188.38 186.93 177.79 198.24 165.31 178.14 201.60 188.87 196.13 200.81 133.70 97.90 อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) % -0.4 -1.1 -0.8 -4. 9 11.5 -16.6 7.8 13.2 -6.3 3.8 2.4 -33.4 -26.8 อัตราการเปลี่ยนแปลง (YOY) % 5.6 -3.4 4.1 -3.0 -6.7 -8.1 -3.7 3.8 -0.7 6.8 -0.3 -30.1 -48.6 อัตราการใช้กำลังการผลิต % 63.60 62.35 62.32 62.32 66.08 54.43 58.81 64.12 63.08 65.02 65.52 46.45 40.14
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--