สรุปประเด็นสำคัญ
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2554 ลดลงจากเดือนตุลาคม 2554 ร้อยละ 26.8 และลดลงร้อยละ 48.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตลดลงในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแต่งกาย เครื่องปรับอากาศ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนพฤศจิกายน 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 40.1 ลดลงจากร้อยละ 46.5 ในเดือนตุลาคม 2554
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
? สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนธันวาคม 2554 คาดว่าจะมีทิศทางที่หดตัวทั้งในส่วนเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลกระทบจากน้ำท่วมทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑลทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องบางอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ใช้ที่สำคัญประสบปัญหาต้องปิดโรงงาน ประกอบกับการขนส่งบางเส้นทางเป็นไปด้วยความลำบากจึงทำให้มีคำสั่งซื้อลดลง
อุตสาหกรรมรถยนต์
? ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนธันวาคม 2554 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2554 เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย อย่างไรก็ตาม การที่โรงงานผลิตรถยนต์กลับมาผลิตได้อีกครั้ง ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนธันวาคม 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 46 และส่งออกร้อยละ 54
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
? ภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้น คาดว่าความต้องการใช้ในประเทศจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงต้นปีหน้า เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง รวมทั้งจะมีการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังจากภาวะน้ำท่วม สำหรับการส่งออกคาดว่ายังขยายตัวได้ดี เนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
? ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวลดลงร้อยละ 14.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วน การประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลงร้อยละ27.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
ต.ค. 54 = 133.7
พ.ย. 54 = 97.9
โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่
- Hard Disk Drive
- ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
- ยานยนต์
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
ต.ค. 54 = 46.5
พ.ย. 54 = 40.1
โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่
- Hard Disk Drive
- ยานยนต์
- ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนพฤศจิกายน 2554 มีค่า 97.9 ลดลงจากเดือนตุลาคม2554 (133.7) ร้อยละ 26.8 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนพฤศจิกายน 2553(190.4) ร้อยละ 48.6
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนตุลาคม2554 ได้แก่ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแต่งกายเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนพฤศจิกายน 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 40.1 ลดลงจากเดือนตุลาคม 2554 (ร้อยละ 46.5) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนพฤศจิกายน2553 (ร้อยละ 63.6)
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนตุลาคม 2554ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เส้นใยสิ่งทอ เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เส้นใยสิ่งทอเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2554
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2554 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 286 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนตุลาคม 2554 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 305 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 6.23 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 10,814.08 ล้านบาท ลดลงจากเดือนตุลาคม2554 ซึ่งมีการลงทุน 17,091.72 ล้านบาท ร้อยละ 36.73 และมีการจ้างงานจำนวน 5,154 คน ลดลงจากเดือนตุลาคม 2554 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 5,904 คน ร้อยละ 12.70
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2554เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 333 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 14.11 มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งมีการลงทุน14,456.70 ล้านบาท ร้อยละ 25.20 และมีการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,793 คน ร้อยละ 41.39
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน2554 คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งภายในอาคารจากไม้ จำนวน31 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีตผสมเสร็จและผลิตภัณฑ์คอนกรีตจำนวน 21 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2554 คืออุตสาหกรรมผลิตพลังงานไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ และจากเซลล์แสงอาทิตย์ จำนวน3,391.68 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปจากแก้ว เช่น แก้วน้ำอิฐแก้ว จำนวน 1,551.00 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2554คือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 747 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมผลิตคอนกรีตผสมเสร็จและผลิตคอนกรีตสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 252 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2554 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 123 ราย มากกว่าเดือนตุลาคม 2554 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 77 ราย คิดเป็นร้อยละ 59.74 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 2,551.56 ล้านบาท มากกว่าเดือนตุลาคม 2554 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน568.13 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงาน จำนวน 1,985 คน มากกว่าเดือนตุลาคม 2554 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 1,860 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2553ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 102 ราย คิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 20.59 มีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 801.89 ล้านบาท แต่มีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2553 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,144 คน
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายน 2554 คืออุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน จำนวน 19 โรงงาน รองลงมาคืออุตสาหกรรมซ่อมยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์หรือส่วนประกอบ จำนวน 17โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2554คือ อุตสาหกรรมทำวงกบ ขอบประตู ขอบหน้าต่าง บานประตู บานหน้าต่าง เงินทุน1,002.39 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้ง เป็นเส้นเม็ด หรือชิ้น เงินทุน 305 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนพฤศจิกายน 2554คือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้ง เป็นเส้น เม็ด หรือชิ้น คนงาน 420 คนรองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์จากหนังสัตว์ หนังเทียม ซึ่งมิใช่เครื่องแต่งกายรองเท้า คนงาน 396 คน
ภาวะการผลิตและมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรม อาหาร คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นภายหลังสถานการณ์อุทกภัยคลี่คลาย ส่วนการจำ หน่ายภายในประเทศ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันเพื่อฟื้นฟูกิจการและที่อยู่อาศัยหลังน้ำลด และเข้าสู่เทศกาลจับจ่ายใช้สอยในช่วงปีใหม่
1. การผลิต
ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำ คัญ (ไม่รวมน้ำ ตาล) เดือนพฤศจิกายน 2554 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 11.7 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 3.2 แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลักกลุ่มสินค้าที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น แป้งมันสำปะหลัง สับปะรดกระป๋อง และไก่แปรรูป มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.166.1 และ 1.5 เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม และน้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.4 และ22.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในส่วนอาหารไก่ มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามการขยายตัวของการผลิตและเลี้ยงไก่เพื่อชดเชยการสูญเสียจากอุทกภัยในพื้นที่เลี้ยงบางส่วนใน จังหวัดลพบุรีสระบุรี และพระนครศรีอยุธยา
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ เดือนพฤศจิกายน 2554 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 8.2 และเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเล็กน้อยร้อยละ 0.8 เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตกทม. ปริมณฑล รวมถึงแหล่งกระจายสินค้าเริ่มกลับเป็นปกติภายหลังประสบอุทกภัย ประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้น
2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารในรูปเงินบาทลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 5.9 จากคำสั่งซื้อของต่างประเทศชะลอตัวลงในหลายสินค้า เช่น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ไก่แปรรูป และสับปะรดกระป๋อง แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 22.8เป็นผลจากมูลค่าการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้นในสินค้า เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และน้ำตาล ร้อยละ 10.1 24.0 และ181.2 ตามลำดับ จากระดับราคาที่เพิ่มขึ้นและค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลงลง
3. แนวโน้ม
การผลิต คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นภายหลังสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศคลี่คลาย ประกอบกับเป็นช่วงการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากประชาชนจะต้องเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยในสินค้าอุปโภคและบริโภคมากขึ้น เพื่อฟื้นฟูที่อยู่อาศัยหลังสถานการณ์น้ำลด ประกอบกับเข้าสู่ช่วงเทศกาลปีใหม่ส่งผลให้การจำหน่ายสินค้าในภาพรวมเพิ่มขึ้น
การผลิต คาดว่าจะชะลอตัวลงหรือขยายตัวในระดับต่ำเนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ส่งผลต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งระบบ ทั้งภาคการผลิต การส่งมอบสินค้า และการส่งออก
1. การผลิต
เดือนพฤศจิกายน 2554 ภาวะการผลิตปรับตัวลดลงในทุกผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน เครื่องนอนผ้าลูกไม้ เสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าถักและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ ลดลงร้อยละ 29.2, 6.7, 4.8, 34.8, 0.7 และ 13.4 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอลดลงในผลิตภัณฑ์เดียวกัน ร้อยละ 62.3, 29.0, 26.6, 15.2, 40.7 และ 22.0 ตามลำดับเนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นและกระทบต่อการรับคำสั่งซื้อทั้งระบบห่วงโซ่การผลิต
2. การจำหน่าย
การจำหน่ายในประเทศ เดือนพฤศจิกายน 2554 ส่วนใหญ่ปรับลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่ในบางผลิตภัณฑ์มีการจำหน่ายเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องนอน เสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 , 1.0 และ 5.9 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการจำหน่ายลดลงในทุกผลิตภัณฑ์การส่งออกโดยรวมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 11.3ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ ด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เส้นใยประดิษฐ์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 18.5, 31.9, 22.4 และ 3.1 ตามลำดับ และลดลงโดยรวมร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนในผลิตภัณฑ์เดียวกัน ลดลงร้อยละ 50.1, 40.1, 12.7 และ 13.7 ตามลำดับสำหรับตลาดส่งออกหลัก การส่งออกลดลงในทุกตลาดเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ทั้งในตลาดอาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ลดลงร้อยละ 15.6, 13.2, 1.0 และ 3.5 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การส่งออกลดลงในตลาดอาเซียนสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ร้อยละ 8.1, 20.1 และ 25.2 แต่ยังคงเพิ่มขึ้นในตลาดญี่ปุ่นร้อยละ 8.5
3. แนวโน้ม
การผลิต คาดว่าจะชะลอตัวลงหรือขยายตัวในระดับต่ำเนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ส่งผลต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งระบบ ทั้งภาคการผลิต การส่งมอบสินค้า และการส่งออก ซึ่งอาจจะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในปี 2555 มีมูลค่าใกล้เคียงกับปี 2554 ปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้แก่ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนยังมีความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก ปัจจัยจากต้นทุนของผู้ประกอบการมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งจากที่ต้องลงทุนเพิ่มเพื่อฟื้นฟูกิจการหลังน้ำท่วม ค่าจ้างขั้นต่ำที่มีแนวโน้มจะปรับเพิ่มขึ้นตามนโยบายของรัฐบาลอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในประเทศที่ยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงความเสี่ยงด้านวัตถุดิบ (ฝ้าย) ที่ยังมีความผันผวน เป็นต้น
ความต้องการใช้เหล็กที่ลดลงของประเทศจีนส่งผลกระทบต่อการผลิตและราคาเหล็กของตลาดโลก เนื่องจากประเทศจีนเป็นผู้ซื้อแร่เหล็กและทองแดงรายใหญ่ที่สุดของโลกเมื่อมีความต้องการใช้ในประเทศที่ลดลง ส่งผลให้การสั่งซื้อวัตถุดิบลงลงด้วย ซึ่งจากความต้องการซื้อที่ลดลงของจีนนั้นส่งผลทำให้ราคาเหล็กในตลาดโลกในปลายปี 2554 ลดลงด้วย
1.การผลิต
สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนพฤศจิกายน 2554 ลดลง โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 107.74 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 11.54 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงยาวพบว่ามีการผลิตลดลง ร้อยละ 20.27 โดยผลิตภัณฑ์ที่ลดลงมากที่สุดได้แก่เหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลง ร้อยละ 46.20 เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 4.31 และลวดเหล็กแรงดึงสูง ลดลง ร้อยละ 3.22 ตามลำดับเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่รายหนึ่งลดการผลิตลงเนื่องจากประสบปัญหาราคาวัตถุดิบผันผวน ประกอบกับความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศที่ยังคงทรงตัวอยู่ จึงทำให้ผู้ผลิตเร่งระบายสินค้าคงคลังที่มีอยู่ สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีการผลิตลดลง ร้อยละ 8.93 โดยผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 25.77 เนื่องจากโรงงานซึ่งเป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งเป็นผู้ใช้เหล็กแผ่นรีดเย็นที่สำคัญประสบปัญหาน้ำท่วมจึงทำให้คำสั่งซื้อลดลงรองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 9.66 เนื่องจากปัจจุบันประเทศจีนประสบปัญหาสต๊อกเหล็กจำนวนมากเนื่องจากความต้องการในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ของประเทศชะลอตัวลง จึงทำให้ส่งสินค้าเข้ามาขายในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก
ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงร้อยละ 7.09 โดยเหล็กทรงยาวมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 16.59 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลง ร้อยละ 43.47 รองลงมาคือ ลวดเหล็ก ลดลง ร้อยละ 26.84 ในขณะเดียวกันเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลงเช่นเดียวกัน ร้อยละ 3.90 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 39.95 และเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ23.84
2.ราคาเหล็ก (เนื่องจากข้อมูลราคาเหล็กในเดือนธันวาคมยังไม่เผยแพร่ จึงใช้ข้อมูลเดือนพฤศจิกายน)
จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนพบว่า ดัชนีราคาเหล็กปรับลดลงทุกผลิตภัณฑ์ โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 135.38 เป็น 121.17 ลดลง ร้อยละ 10.50 เหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 140.11 เป็น 127.90 ลดลง ร้อยละ 8.71 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก141.12 เป็น 130.37 ลดลงร้อยละ 7.62 เหล็กเส้น ลดลงจาก 144.68 เป็น138.29 ลดลง ร้อยละ 4.42 และเหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลงจาก 142.51 เป็น137.26 ลดลง ร้อยละ 3.68 เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจหลายประเทศของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป นอกจากนี้เป็นผลมาจากความต้องการของประเทศจีนที่ลดลง
3. แนวโน้ม
สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนธันวาคม 2554 คาดว่าจะมีทิศทางที่หดตัวทั้งในส่วนเหล็กทรงยาวและเหล็กทรงแบนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากผลกระทบจากน้ำท่วมทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลทำให้อุตสาหกรรมต่อเนื่องบางอุตสาหกรรมที่เป็นผู้ใช้ที่สำคัญประสบปัญหาต้องปิดโรงงาน ประกอบกับการขนส่งบางเส้นทางเป็นไปด้วยความลำบากจึงทำให้มีคำสั่งซื้อลดลง
รถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2554 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 เนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมภายในประเทศ ส่งผลให้โรงงานผลิตรถยนต์ไม่สามารถผลิตรถยนต์ได้ตามปกติ โดยส่วนใหญ่โรงงานผลิตรถยนต์เริ่มกลับมาผลิตได้อีกครั้งในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน 2554 แต่ก็เป็นการผลิตเพียงบางส่วน เพราะขาดแคลนชิ้นส่วนยานยนต์จากโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ถูกน้ำท่วม สำหรับ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำ กัด ที่ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คาดว่าจะกลับมาผลิตได้อีกครั้งในไตรมาสที่ 2ของปี 2555 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤศจิกายน ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ การผลิตรถยนต์ จำนวน 23,695 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งมีการผลิต 157,094 คัน ร้อยละ 84.92โดยเป็นการปรับลดลงของรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ) และมีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนตุลาคม 2554 ร้อยละ 52.07 ซึ่งเป็นการปรับลดลงของรถยนต์ทุกประเภทเช่นกัน
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 25,664 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 78,874 คัน ร้อยละ 67.46โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง, รถยนต์กระบะ 1 ตัน, รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV) และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนตุลาคม 2554 ร้อยละ 40.14 ซึ่งเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภทเช่นกัน
- การส่งออกรถยนต์ จำ นวน 6,258 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งมีการส่งออก 79,618 คัน ร้อยละ 92.14 โดยเป็นการปรับลดลงในตลาดเอเชีย, โอเชียเนีย, ตะวันออกกลาง,แอฟริกา ยุโรป และอเมริกากลางและอเมริกาใต้ และมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนตุลาคม 2554 ร้อยละ 88.56 ซึ่งเป็นการปรับลดลงในตลาดเอเชีย, โอเชียเนีย, ตะวันออกกลาง, แอฟริกา, ยุโรป และอเมริกากลางและอเมริกาใต้
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนธันวาคม 2554 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2554 เนื่องจากยังได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย อย่างไรก็ตาม การที่โรงงานผลิตรถยนต์กลับมาผลิตได้อีกครั้ง ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อสภาพเศรษฐกิจของประเทศ สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนธันวาคม 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 46 และส่งออกร้อยละ 54
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤศจิกายน 2554 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 เนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ทำให้โรงงานผลิตรถจักรยานยนต์ต้องหยุดการผลิตเป็นการชั่วคราว เนื่องจากมีโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมโดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนพฤศจิกายน ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 33,424 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งมีการผลิต 175,866 คัน ร้อยละ 80.99โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์ทุกประเภท(แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต) และมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนตุลาคม 2554 ร้อยละ 49.64โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์ทุกประเภทเช่นกัน
- การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 128,324 คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 144,220 คันร้อยละ 11.02 โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์ และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนตุลาคม 2554 ร้อยละ 4.81โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว
- การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 1,978คัน ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งมีการส่งออก 15,407คัน ร้อยละ 87.16 โดยเป็นการลดลงของการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นตามลำดับ และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนตุลาคม 2554 ร้อยละ 88.44
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม 2554 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2554 เนื่องจากโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์รายใหญ่ เริ่มกลับมาผลิตได้อีก สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม 2554 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 89 และส่งออกร้อยละ 11
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ชะลอตัวลง ถึงแม้ปัญหาน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่จะคลี่คลาย ระบบขนส่งจะกลับมาใช้ได้ตามปกติ แต่การก่อสร้าง หรือการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายยังชะลอออกไป สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ ตามความต้องการใช้ของตลาดส่งออกหลัก
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศในเดือนพฤศจิกายน 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ5.82 และ 1.76 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ10.71 และ 2.19 ตามลำดับ ถึงแม้ว่าปัญหาน้ำท่วมในหลายพื้นที่จะคลี่คลาย ระบบการขนส่งกลับมาใช้ได้ตามปกติ แต่การก่อสร้างหรือการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหาย ยังชะลอออกไป
2.การส่งออกมูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนพฤศจิกายน 2554เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.03 เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมคลี่คลาย ระบบขนส่งสามารถกลับมาใช้ได้ตามปกติแต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 21.48สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ เมียนมาร์ กัมพูชาบังคลาเทศ เวียดนาม และ โตโก ตามลำดับ
3.แนวโน้ม
ภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นคาดว่าความต้องการใช้ในประเทศจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงต้นปีหน้าเนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง รวมทั้งจะมีการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังจากภาวะน้ำท่วม สำหรับการส่งออกคาดว่ายังขยายตัวได้ดี เนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนพศจิกายน 2554 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 83.93 ปรับตัวลดลงร้อยละ 54.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ77.07 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาอุทกภัยส่งผลให้อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต้องหยุดการผลิต หรือเลื่อนการผลิตออกไป รวมถึงได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบในการผลิต
1.การผลิต
ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนพฤศจิกายน 2554 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 83.93 ปรับตัวลดลงร้อยละ 54.32เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 77.07 เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.68 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 52.68 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 61.15 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 80.58
2. การตลาด
มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนพฤศจิกายน2554 มูลค่า 2,801.51 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 21.37 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ38.46 โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนพฤศจิกายน 2554 มูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,384.37 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 9.98 และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 22.54 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร มีมูลค่าส่งออก 237.62 ล้านเหรียญสหรัฐ และเครื่องปรับอากาศ 107.11 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 41.12 และปรับตัวลดลงมากถึงร้อยละ 55.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 1,417.14 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 30.03 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนและเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 48.75ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สูงที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี โดยมีมูลค่าส่งออกคือ601.62 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 451.08 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ
3. แนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนธันวาคม 2554 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวลดลงร้อยละ14.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 27.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตารางที่1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มี มูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน พ.ย. 2554 เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า(ล้านเหรียญฯ) %MoM %YoY อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ 601.62 -46.66 -61.05 วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี 451.08 -18.02 -34.54 เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรปรับอากาศ 237.62 74.49 50.05 เครื่องปรับอากาศ 107.11 -41.12 -55.88 รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2,801.51 -21.37 -38.46 ที่มา กรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--