รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมกราคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 22, 2012 13:48 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนธันวาคม 2554

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2554 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2554 ร้อยละ 39.1แต่ลดลงร้อยละ 25.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องแต่งกาย เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนธันวาคม 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 52.3 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 40.5 ในเดือนพฤศจิกายน 2554
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนมกราคม 2555

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

? สถานการณ์การผลิตคาดว่าจะยังชะลอตัวต่อเนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งระบบ และคาดว่าจะสามารถฟื้นฟูให้สามารถกลับมาผลิตได้เต็มที่ภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2555

? ปัจจัยเสี่ยงของอุตสาหกรรมการส่งออกสิ่งทอยังมีผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปที่ยังชะลอตัว สำหรับการจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนโดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่นอนและเครื่องนอน ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เนื่องจากความต้องการภาคประชาชนยังมีอยู่ ส่งผลให้การจำหน่ายสินค้าในภาพรวมเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมรถยนต์

? ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมกราคม 2555 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2554 เนื่องจากโรงงานผลิตรถยนต์เริ่มกลับมาผลิตได้เป็นปกติอีกครั้ง สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนมกราคม 2555 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 49และส่งออกร้อยละ 51

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

? ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวลดลงร้อยละ 9.96 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 30.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 ปี 2554

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ดัชนีอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 124.6 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (195.3) ร้อยละ 36.2 และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (190.0) ร้อยละ 34.4

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น

ในปี 2554 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีค่า 172.3 ลดลงจากปี 2553 (190.0) ร้อยละ 9.3 โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลงได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต เป็นตัวบ่งชี้สภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม โดยเปรียบเทียบระดับการผลิตที่เกิดขึ้นจริงกับระดับการผลิตที่ใช้กำลังการผลิตเต็มที่ ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.4 ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา (ร้อยละ 64.5) และลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 (ร้อยละ 63.3)

อุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมา ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2553 ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เส้นใยสิ่งทอ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น

ในปี 2554 อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 58.2 ลดลงจากปี 2553 (ร้อยละ 63.2) โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่ ยานยนต์ เส้นใยสิ่งทอ Hard Disk Drive โทรทัศน์สี ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นต้น

แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2555

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในปี 2555 คาดการณ์ว่า จะขยายตัวร้อยละ 5 — 6 โดยแนวโน้มอุตสาหกรรมไทยในปี 2555 ยังอยู่ในภาวะชะลอตัวในไตรมาสที่ 1 และในไตรมาสที่ 2 จะเริ่มอยู่ในภาวะขาขึ้นและอาจเติบโตในระดับปกติหรือทรงตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้เต็มที่ ส่วนแนวโน้มครึ่งปีหลังคาดว่าจะเติบโตได้ ภายใต้ปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ก็คือการใช้จ่ายหรือลงทุนของภาครัฐบาลในด้านต่างๆ แรงขับเคลื่อนจากการเร่งการผลิตในหลายสาขาอุตสาหกรรม และความต้องการซื้อที่ขยายตัวในกลุ่มของสินค้าซ่อมแซมบ้าน เฟอร์นิเจอร์ใหม่ รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อาทิ ทีวี ตู้เย็นเครื่องปรับอากาศ ที่เสียหายจากน้ำท่วม

อย่างไรก็ตาม ในด้านของปัจจัยเสี่ยง อาทิ แนวโน้มเศรษฐกิจโลกปี 2555 อยู่ในภาวะที่ชะลอตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไทยในด้านการส่งออก แนวโน้มกำลังซื้อของผู้บริโภคโดยรวมจะชะลอตัวลง จากความจำเป็นที่ต้องใช้จ่ายในการซ่อมแซมบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วม และการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานเป็น 300 บาทต่อวัน ในปี 2555จะกระทบอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานมาก

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

พ.ย. 54 = 100.5

ธ.ค. 54 = 139.8

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • ยานยนต์
  • ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

พ.ย. 54 = 40.5

ธ.ค. 54 = 52.3

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • ยานยนต์
  • ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
  • Hard Disk Drive

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนธันวาคม 2554 มีค่า 139.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2554 (100.5) ร้อยละ 39.1 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนธันวาคม2553 (188.4) ร้อยละ 25.8

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2554 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำตาลเบียร์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เครื่องปรับอากาศเครื่องแต่งกาย เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนธันวาคม 2554 อยู่ที่ระดับร้อยละ 52.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2554 (ร้อยละ 40.5) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนธันวาคม 2553(ร้อยละ 62.4)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน2554 ได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม Hard Disk Drive เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เส้นใยสิ่งทอ อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2554

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2554เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2554 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 276 ราย ลดลงในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 286 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 3.50 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 12,202.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งมีการลงทุน 10,814.08 ล้านบาท ร้อยละ 12.84 และมีการจ้างงานจำนวน 7,552 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2554 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 5,154 คน ร้อยละ46.53

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2554เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2553 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 308 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 10.39 มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนธันวาคม 2553 ซึ่งมีการลงทุน 18,342.64ล้านบาท ร้อยละ 33.48 แต่มีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2553 ที่มีจำนวนการจ้างงาน6,944 คน ร้อยละ 8.76

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนธันวาคม 2554คือ อุตสาหกรรมขุดดิน สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 25 โรงงาน รองลงมาคืออุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งภายในอาคารจากไม้ จำนวน 22โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2554 คืออุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3,458.50 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมผลิตถุงมือยางทางการแพทย์ จำนวน 1,700.00 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนธันวาคม 2554 คืออุตสาหกรรมผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ จำนวนคนงาน 1,407 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมผลิตน้ำดื่มบรรจุภัณฑ์ในภาชนะปิด จำนวนคนงาน 451 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2554 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 68 ราย น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 123 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.72 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 587.35 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน 2554 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 2,551.56 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงาน จำนวน 1,614 คน น้อยกว่าเดือนพฤศจิกายน2554 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 1,985 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนธันวาคม 2553 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 71 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 4.23 แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนธันวาคม 2553 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 400.36 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนธันวาคม 2553 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 1,519 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนธันวาคม 2554 คืออุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ จำนวน 13 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์คอนกรีต คอนกรีตผสม ผลิตภัณฑ์ยิปซั่ม ปูนปลาสเตอร์ จำนวน 6 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนธันวาคม 2554 คืออุตสาหกรรมทำวงกบ ขอบประตู ขอบหน้าต่าง บานประตู บานหน้าต่าง เงินทุน218.70 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ เงินทุน 92.85 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนธันวาคม 2554คือ อุตสาหกรรมทำวงกบ ขอบประตู ขอบหน้าต่าง บานประตู บานหน้าต่าง คนงาน372 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป คนงาน 329 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม —ธันวาคม 2554 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 1,652 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 1,566 โครงการ ร้อยละ 5.49 แต่มีเงินลงทุน 449,100 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 491,300 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.59

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม — ธันวาคม 2554
          การร่วมทุน                    จำนวน(โครงการ)          มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%              672                     147,000
          2.โครงการต่างชาติ 100%             608                     169,800
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ       372                     132,300
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — ธันวาคม 2554 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 106,400 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 94,100 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและมูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรม อาหาร คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงการส่งออกอาหารตามฤดูกาล ส่วนการจำหน่ายภายในประเทศ จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากเข้าสู่เทศกาลจับจ่ายใช้สอยในช่วงปีใหม่และตรุษจีน

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนธันวาคม2554 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 19.1 และ 6.7 แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น แป้งมันสำปะหลังสับปะรดกระป๋อง และไก่แปรรูป มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.2 26.3 และ 11.4 เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 125.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน ในส่วนอาหารไก่ มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามการขยายตัวของการผลิตและเลี้ยงไก่เพื่อชดเชยการสูญเสียจากอุทกภัยในพื้นที่เลี้ยงบางส่วนใน จังหวัดลพบุรี สระบุรี และพระนครศรีอยุธยารวมทั้งรองรับเทศกาลตรุษจีน

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนธันวาคม 2554 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 16.6 และ 2.1 เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขต กทม. ปริมณฑลรวมถึงแหล่งกระจายสินค้าเริ่มกลับสู่ภาวะปกติภายหลังประสบอุทกภัยประกอบกับความต้องการของผู้บริโภคสูงขึ้นในช่วงเทศกาล

2) ตลาดต่างประเทศ มูลค่าการส่งออกโดยรวมของอุตสาหกรรมอาหารในรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 15.7 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกสินค้า ยกเว้น กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ที่มีการแข่งขันด้านราคาสูง และเมื่อเทียบกับปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.7 เป็นผลจากมูลค่าการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในสินค้า เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไก่แปรรูป และน้ำตาล ร้อยละ 52.7 10.8 และ 379.4 ตามลำดับ จากระดับราคาที่เพิ่มขึ้นและค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง

3. แนวโน้ม

การผลิต คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นภายหลังสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศคลี่คลาย ประกอบกับเป็นช่วงการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหารที่เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน เนื่องจากประชาชนจะต้องเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยในสินค้าอุปโภคและบริโภคมากขึ้นในช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน ส่งผลให้การจำหน่ายสินค้าอาหารในภาพรวมเพิ่มขึ้น

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

การผลิตคาดว่าจะยังชะลอตัวต่อเนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งระบบ และคาดว่าจะสามารถฟื้นฟูให้สามารถกลับมาผลิตได้เต็มที่ภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2555

1. การผลิต

เดือนธันวาคม 2554 ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอเมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์หลัก ๆ ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืนเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าถักและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.7, 0.5, 23.7 และ 12.4 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงในผลิตภัณฑ์เดียวกัน ร้อยละ 49.7, 24.7, 24.8 และ8.8 ตามลำดับ สาเหตุหลักจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งกระทบต่อการรับคำสั่งซื้อทั้งระบบห่วงโซ่การผลิต

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนธันวาคม 2554 ในผลิตภัณฑ์หลักๆ ปรับเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเป็นการจำหน่ายเพิ่มในผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการจำหน่ายเส้นใยสิ่งทอและผ้าผืน ลดลงร้อยละ 48.7 และ 21.5 ในขณะที่เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักและผ้าทอ มีการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้นร้อยละ15.0 และ 10.9 ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเสื้อผ้าแฟชั่นนำเข้าจากจีนไต้หวัน และเกาหลีใต้

การส่งออกโดยรวมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 8.0ผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9, 15.2, 3.2 และ 14.6 ตามลำดับ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการส่งออกลดลงโดยรวมร้อยละ 16.8และลดลงในผลิตภัณฑ์เดียวกันร้อยละ 40.9, 17.4, 13.6 และ 10.8ตามลำดับ สำหรับตลาดส่งออกหลัก การส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนในตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ร้อยละ 7.4 และ 24.9 ตามลำดับ แต่ลดลงในตลาดญี่ปุ่นและอาเซียน ร้อยละ 5.1 และ 0.6 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การส่งออกลดลงในทุกตลาด ได้แก่ อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ร้อยละ12.7, 3.6, 19.9 และ 20.8 ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

การผลิตคาดว่าจะยังชะลอตัวต่อเนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้น ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งระบบ และคาดว่าจะสามารถฟื้นฟูให้สามารถกลับมาผลิตได้เต็มที่ภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงของอุตสาหกรรมการส่งออกสิ่งทอยังมีผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปที่ยังชะลอตัว สำหรับการจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนโดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูป ที่นอนและเครื่องนอน ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เนื่องจากความต้องการภาคประชาชนยังมีอยู่ ส่งผลให้การจำหน่ายสินค้าในภาพรวมเพิ่มขึ้น

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

นักวิเคราะห์อุตสาหกรรมจาก Bloomberg คาดการณ์ว่าอัตราการขยายตัวของเหล็กในปี 2012 จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.2 ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบ 3 ปี โดยเป็นผลมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว และปัญหาของยุโรป ซึ่งจะส่งผลให้คำสั่งซื้อสินค้าที่ใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบ เช่น บ้าน รถยนต์ และเครื่องจักรกล ต้องลดลงไปด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้ราคาผลิตภัณฑ์เหล็กไม่ดีด้วย

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนธันวาคม 2554ลดลง โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 102.25 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 4.87 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงยาวพบว่ามีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.21 โดยผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 68.34 ลวดเหล็ก เพิ่มขึ้น ร้อยละ17.38 และลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.07 เนื่องจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากความต้องการใช้เพื่อซ่อมแซมบ้านเรือนหลังจากน้ำลดของประชาชนที่ยังคงมีอยู่ สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีการผลิตลดลง ร้อยละ 13.98โดยผลิตภัณฑ์ที่ลดลง ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 51.95 เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ลดลง ร้อยละ 40.88 และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลงร้อยละ 27.03 เนื่องจากเป็นช่วงปลายปีลูกค้าส่วนใหญ่จะรักษาระดับปริมาณสินค้าคงคลังไม่ให้สูงมาก นอกจากนี้เป็นผลมาจากคำสั่งซื้อของอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศที่ลดลง

ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงร้อยละ 12.50 โดยเหล็กทรงยาวมีการผลิตที่ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 0.91ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม ลดลง ร้อยละ 32.38รองลงมาคือ เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 11.69 ในขณะเดียวกันเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลงเช่นเดียวกัน ร้อยละ 23.62 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดคือ เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม ลดลง ร้อยละ 50.04 และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 33.90

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนธันวาคม 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนพบว่า ดัชนีราคาเหล็กปรับลดลงแทบทุกผลิตภัณฑ์ โดยเหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 127.90 เป็น 121.50 ลดลง ร้อยละ 5.00 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 125.84 เป็น 120.51 ลดลง ร้อยละ 4.24 เหล็กเส้น ลดลงจาก 130.37 เป็น127.10 ลดลง ร้อยละ 2.51 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 130.37 เป็น 127.10ลดลงร้อยละ 7.62 แต่เหล็กแท่งเล็ก Billet เพิ่มขึ้นจาก 135.88 เป็น 138.08เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.62 จะเห็นได้ว่าราคาเหล็กโดยเฉลี่ยในช่วงนี้มีราคาที่ลดลงเนื่องจากความต้องการใช้ของประเทศในแถบเอเชียที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนมกราคม 2555 คาดว่าในส่วนของเหล็กทรงยาวจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศเพื่อมาซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยธรรมชาติ ในขณะที่เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าจะมีการผลิตที่ลดลงเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องซึ่งเป็นผู้ใช้เหล็กที่สำคัญได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม ทำให้ต้องหยุดการผลิตชั่วคราว ส่งผลให้คำสั่งซื้อในส่วนของเหล็กทรงแบนลดลง

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนธันวาคม 2554 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมภายในประเทศที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2554 มีอัตราการขยายตัวที่สูง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ภายหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนธันวาคม ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 96,426 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม2553 ซึ่งมีการผลิต 137,403 คัน ร้อยละ 29.82 โดยเป็นการปรับลดลงของรถยนต์ทุกประเภท (รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ) แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2554 ร้อยละ 319.61
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 54,575 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 93,122 คัน ร้อยละ 41.39 โดยเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตันและรถยนต์ PPV รวมกับ SUV แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2554 ร้อยละ 112.65 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตันรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 35,046 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม2553 ซึ่งมีการส่งออก 71,025 คัน ร้อยละ 50.66 แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2554 ร้อยละ 460.02
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมกราคม 2555 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2554 เนื่องจากโรงงานผลิตรถยนต์เริ่มกลับมาผลิตได้เป็นปกติอีกครั้ง สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนมกราคม 2555 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 49 และส่งออกร้อยละ 51

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนธันวาคม 2554 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2553 เนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นภายในประเทศที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีหากเปรียบเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2554 มีการขยายตัวที่สูง ซึ่งเป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เริ่มกลับมาฟื้นฟูได้อีก โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนธันวาคม ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 151,185 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2553 ซึ่งมีการผลิต 160,982 คัน ร้อยละ 6.09โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2554 ร้อยละ 352.32 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 122,377 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2553 ซึ่งมีการจำหน่าย 158,006 คัน ร้อยละ 22.55 โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์ และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน 2554 ร้อยละ4.63 โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและแบบสปอร์ต
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 16,173คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2553 ซึ่งมีการส่งออก 17,125คัน ร้อยละ 5.53 แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2554 ร้อยละ 717.90 โดยเป็นการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมกราคม 2555 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2554 เนื่องจากโรงงานผลิตรถจักรยานยนต์เริ่มกลับมาผลิตได้อีกครั้ง สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนมกราคม 2555 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 75 และส่งออกร้อยละ 25
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เริ่มขยายตัว เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลก่อสร้าง และมีการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ตามความต้องการใช้ของตลาดส่งออกหลัก

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนธันวาคม 2554 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.45 และ 11.66 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศลดลงร้อยละ 0.32 และ 2.47 ตามลำดับ เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลก่อสร้าง ประกอบกับมีการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนธันวาคม 2554เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.87 เนื่องจากหลังภาวะน้ำ ท่วมคลี่คลาย ระบบขนส่งสามารถกลับมาใช้ได้ตามปกติ แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อย12.24 สำหรับตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย คือ เมียนมาร์กัมพูชา บังคลาเทศ เวียดนาม และ โตโก ตามลำดับ

3.แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นคาดว่าความต้องการใช้ในประเทศจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 1ปี 2555 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง รวมทั้งจะมีการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยหลังจากภาวะน้ำท่วม สำหรับการส่งออกคาดว่ายังขยายตัวได้ เนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนธันวาคม 2554 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ171.31 เพิ่มขึ้นร้อยละ 81.60 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 52.57ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาอุทกภัยส่งผลให้อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต้องหยุดการผลิตหรือชะลอการผลิตออกไป รวมถึงได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบในการผลิต อย่างไรก็ตามหลายบริษัทได้เริ่มกลับมาผลิตแล้วในช่วงเดือนธันวาคม 2554

ตารางที่ 1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ธ.ค. 2554
 เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์          มูลค่า(ล้านเหรียญฯ)       %MoM             %YoY
 อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์       1,071.06           78.03           -31.30
 วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี              416.21           -7.73           -44.52
 มอเตอร์เล็ก(กำลังไม่เกิน 750 W)           284.94          532.88           226.26
 เครื่องปรับอากาศ                        207.83           94.04           -13.61
 รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์        3,542.68           26.46           -21.94

ที่มา กรมศุลกากร

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนธันวาคม 2554 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 171.31 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.60เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน จากการที่มีบางบริษัทสามารถเริ่มกลับมาผลิตได้บ้างแล้วในช่วงเดือนธันวาคม แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 52.57 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยส่งผลให้อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต้องฟื้นฟูกิจการ ทำให้ต้องหยุดการผลิต หรือชะลอการผลิตออกไป เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.89 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 22.97สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 89.80 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 56.28

2. การตลาด

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนธันวาคม2554 มีมูลค่า 3,542.68 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 26.46 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ21.94 โดยมูลค่าการส่งออกรวมเครื่องใช้ไฟฟ้า เดือนธันวาคม 2554 มูลค่าการส่งออกรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้าคือ 1,725.39 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 24.63 แต่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.97 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุดได้แก่ มอเตอร์เล็ก มีมูลค่าส่งออก 284.94 ล้านเหรียญสหรัฐ และเครื่องปรับอากาศ 207.83 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน สำหรับมูลค่าการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่า 1,817.29ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.24 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงถึงร้อยละ 35.77 ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สูงที่สุดได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี โดยมีมูลค่าส่งออกคือ 1,071.06ล้านเหรียญสหรัฐ และ 416.21 ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ ซึ่งปรับตัวลดลงมาอย่างมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลกระทบอุทกภัยตามลำดับ

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนธันวาคม 2554 จากแบบจำ ลองดัชนีชี้นำ ภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวลดลงร้อยละ 9.96เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 30.21 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ