สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม — ธันวาคม) พ.ศ. 2553(เศรษฐกิจโลก)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 22, 2012 15:43 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

เศรษฐกิจโลก(1)

ภาพรวมเศรษฐกิจโลก

ในไตรมาส 4 ปี 2554 เศรษฐกิจแต่ละประเทศยังคงขยายตัว ปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปและความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศในยุโรปยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูงในหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น รวมทั้งปัญหาเงินเฟ้อก็ยังเป็นปัจจัยกดดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเอเชีย

ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ 104.94 USD/Barrel เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี2553 อยู่ที่ 84.50 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงผันผวน โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมีนาคม (ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2555) เพิ่มขึ้น 1.50 USD/Barrel โดยมีราคาอยู่ที่ 98.41 USD/Barrel ราคาน้ำมันดิบที่ผันผวนเกิดจากหลายปัจจัย เช่น กรณีอิหร่านอาจระงับการส่งออกน้ำมันกับประเทศที่คว่ำบาตรอิหร่าน และอิสราเอลอาจจะใช้กำลังทางทหารกับอิหร่าน เพื่อยับยั้งอิหร่านจากการพัฒนานิวเคลียร์ ความหนาวเย็นในทวีปยุโรปส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันเพิ่มสูงขึ้น และปัญหาหนี้สินของกรีซสร้างความกังวลต่อนักลงทุน

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)

ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 4 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.1 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 1.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 7.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 14.0 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 4ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 53.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.0 อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า จากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การลงทุนของภาคเอกชนที่กลับมาขยายตัวเพิ่มขึ้น ตลาดอสังหาริมพทรัพย์ปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 4 แต่ยังมีปัจจัยกดดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจจากอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ยังคงอยู่ในระดับสูง

การผลิตภาคอุตสาหกรรม อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 75.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 73.3 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 91.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 88.1

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 10.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 14.7 การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 11.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 13.8

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.3 เนื่องจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานไตรมาส4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 8.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.1 อัตราว่างงานฟื้นตัวอย่างช้า ๆ แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง

สถานการณ์การด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2555 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ และมีแนวโน้มว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัวลงอีกครั้ง ซึ่งการไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเป็นนโยบายการเงินที่จะส่งเสริมให้เกิดการลงทุนมากยิ่งขึ้น

หมายเหตุ

(1) - ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2554

  • ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th

(2) - ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com

เศรษฐกิจจีน(3)

ภาวะเศรษฐกิจของจีน ในไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 8.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.8 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 17.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 18.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ99.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 102.4 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 24.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 24.6 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 4 ปี 2554 ยังคงขยายตัวแต่ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากรัฐบาลดำเนินนโยบายทางการเงินแบบเข้มงวดโดยการคุมเข้มการปล่อยกู้ ขณะที่ความต้องการสินค้าจีนจากฝั่งยุโรปและสหรัฐฯ ก็ลดน้อยลง ทำให้เศรษฐกิจจีนขยายตัวได้ไม่มากนัก

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 12.8ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 13.3

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 14.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 25.2 เนื่องจากเศรษฐกิจประเทศในยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของจีนกำลังมีปัญหา ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของจีน การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 21.3ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 29.7

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.7 เป็นผลมาจากราคาสินค้าในหมวดอาหารและพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ของปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.3สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปีตั้งแต่กรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา อยู่ที่ร้อยละ 6.56 นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนได้ผ่อนคลายมาตรการคุมเข้มทางการเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชะลอตัวจากผลกระทบของเศรษฐกิจต่างประเทศ

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)

ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในไตรมาส 3 ปี 2554 GDP หดตัวร้อยละ 0.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 3 ปี 2554 หดตัวร้อยละ 0.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ38.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 41.2 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 3 ปี 2554ขยายตัวร้อยละ 7.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ที่หดตัวร้อยละ 0.9 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 2554 คาดว่ายังคงหดตัว เนื่องจากภาคการผลิตและการส่งออกเริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบจากเหตุภัยพิบัติ แต่ภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย เกิดปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนทำให้การผลิตยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าได้รับผลกระทบ ปัญหาการแข็งค่าของเงินเยนก็ยังคงเป็นปัจจัยกดดันการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น

หมายเหตุ

(3) - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com

(4) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 3 ปี 2554

  • www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp www.ceicdata.com

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 92.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 94.2 เนื่องจากภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วน

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2554 หดตัวร้อยละ 5.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.9 อันเป็นผลมาจากการแข็งค่าของเงินเยน การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2554ขยายตัวร้อยละ 12.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.3

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2554 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.3 เท่ากับไตรมาส 4 ปี2553 อัตราการว่างงานไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.0

สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น(Bank of Japan) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 (เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2554) เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)

ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ในไตรมาส 3 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 การบริโภคไตรมาส 3 ปี 2554 หดตัวร้อยละ 0.04 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 4 ปี 2554คาดว่าชะลอตัวต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป รวมถึงปัญหาเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 100.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 96.7 และในเดือนตุลาคม พฤศจิกายน ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 99.6

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 9.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 27.4 สำหรับการส่งออกในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ8.3 และ 11.0 ตามลำดับ การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 7.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 31.2 สำหรับการนำเข้าในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน ขยายตัวร้อยละ 8.9 และ2.8 ตามลำดับ

หมายเหตุ

(5) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 3 ปี 2554

  • ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com

อัตราเงินเฟ้อ ในไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.0 อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาสินค้าอาหารและพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานในไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 10.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.5สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 1.0 (เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2555) นอกจากนี้ ECB ได้ประกาศปล่อยสินเชื่อให้ธนาคารพาณิชย์ในยุโรป และปล่อยกู้ให้ภาคธุรกิจ เพื่อกระตุ้นระบบเศรษฐกิจที่แท้จริง

เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมในเอเชีย

เศรษฐกิจฮ่องกง(6)

ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาส 4 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากความต้องการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวดี การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.4 ขณะที่การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 9.0

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 102.1ขยายตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2554 มีมูลค่า 123,330 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 16.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) ขยายตัวร้อยละ 28.4 อย่างไรก็ตามการส่งออกไปสหรัฐฯ หดตัวต่อเนื่องร้อยละ 2.2 ด้านการนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2554 มีมูลค่า 139,072ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 5.7 ลดลงจากในไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ6.4 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 5.7 จากราคาเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล ยาสูบ และราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในเดือนธันวาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ลดลงจากในเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.4 อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องตามความต้องการแรงงานของตลาดแรงงานภายในประเทศที่ปรับตัวดี รวมถึงภาคการท่องเที่ยวที่ยังคงแข็งแกร่ง

เศรษฐกิจเกาหลีใต้(7)

ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในไตรมาส 4 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคการส่งออกที่ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่องแม้จะอยู่ในอัตราที่ชะลอลง อย่างไรก็ตามการลงทุนในด้านการก่อสร้างลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2553เป็นต้นมา

หมายเหตุ

(6) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2554

  • ที่มา www.censtatd.gov.hk www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

(7) - ที่มา ecos.bok.or.kr www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 155.2ขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2554 มีมูลค่า 141,615 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวลดลงจากไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งขยายตัวร้อยละ21.4 โดยตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของเกาหลีใต้ยังคงเป็นตลาดจีนที่ในไตรมาสนี้การส่งออกไปจีนขยายตัวร้อยละ 8.5 ขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.6 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2554 มีมูลค่า131,258 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้าจากตลาดหลักอย่างจีนยังคงขยายตัว

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 ลดลงจากในไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ4.3 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 จากราคาอาหารแปรรูปและราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และมีแนวโน้มจะลดลงจากราคาที่อยู่อาศัยที่ลดลง อัตราการว่างงานในเดือนธันวาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 เพิ่มขึ้นจากในเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.9

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ยังประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 เนื่องจากธนาคารกลางเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศสำคัญยังคงซบเซาขณะที่เศรษฐกิจของประเทศในเอเชียขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง

เศรษฐกิจสิงคโปร์(8)

ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ในไตรมาส 4 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากในไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.9 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 13.4

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 128.2ขยายตัวร้อยละ 9.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2554 มีมูลค่า 106,862 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปยังมาเลเซีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย และจีนขยายตัวร้อยละ 14.6 2.4 38.4 และ 22.6 ตามลำดับ สำหรับในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน 2554 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 4.1 และ 9.1 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2554 มีมูลค่า 94,765 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 17.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน 2554 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 10.9 และ 17.9 ตามลำดับ

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 คงที่จากในไตรมาส 3 ปี 2554 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 จากราคาที่อยู่อาศัย และต้นทุนค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญอัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 คงที่จากในไตรมาส 3 ปี 2554

หมายเหตุ

(8) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2554

  • ที่มา www.singstat.gov.sg www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

เศรษฐกิจอินโดนีเซีย(9)

ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในไตรมาส 4 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 143.5ขยายตัวร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ4.9

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2554 มีมูลค่า 53,610 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 39.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกไปยังหลายตลาดปรับขยายตัวดี โดยการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น และจีน ขยายตัวร้อยละ 36.6 และ 74.5 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปยังเกาหลีใต้ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 110.5 สำหรับการส่งออกในเดือนตุลาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 17.8 ด้านการนำเข้าในไตรมาส3 ปี 2554 มีมูลค่า 46,452 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 34.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสำหรับการนำเข้าในเดือนตุลาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 28.2

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 ลดลงจากในไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ4.7 อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.8

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2555 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 6.0 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง รวมถึงความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก

เศรษฐกิจมาเลเซีย(10)

ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซีย ในไตรมาส 3 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากความต้องการภายในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุนที่ขยายตัว

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 119.4ขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน 2554ขยายตัวร้อยละ 6.3 และ 4.0 ตามลำดับ โดยการขยายตัวในเดือนพฤศจิกายน 2554 เป็นผลมาจากการผลิตสินค้าในกลุ่มปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ยาง และผลิตภัณฑ์พลาสติก รวมถึงสินค้าแร่นอกกลุ่มโลหะ โลหะขั้นพื้นฐาน และผลิตภัณฑ์โลหะที่ขยายตัวเป็นแรงเกื้อหนุน

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2554 มีมูลค่า 58,486 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 16.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปตลาดหลักอย่างจีน สิงคโปร์ และญี่ปุ่นขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 32.8 7.6 และ 24.9 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนตุลาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 14.1 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 3 ปี 2554 มีมูลค่า 48,517 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.2เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนตุลาคม 2554 ขยายตัวร้อยละ 2.9

หมายเหตุ (9) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2554

  • ที่มา www.bi.go.id www.bot.or.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
(10) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2554
  • ที่มา www.statistics.gov.my www.bnm.gov.my www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ลดลงจากในไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ3.4 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่ปรับตัวสูงขึ้น อัตราการว่างงานในเดือนพฤศจิกายน 2554 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากในเดือนตุลาคม 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.0 อัตราการว่างงานอยู่ในระดับที่ค่อนข้างคงตัว

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.0 จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความอ่อนแอ

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์11

ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 4 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการใช้จ่ายของภาครัฐที่ขยายตัว ขณะที่ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบจากความอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจโลก

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 97.2ขยายตัวร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน 2554หดตัวร้อยละ 10.9 และ 5.2 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2554 มีมูลค่า 12,449 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 14.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกหดตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554เป็นต้นมา ทั้งนี้ในไตรมาส 3 ปี 2554 การส่งออกไปยังหลายตลาดหดตัว โดยการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐตลาดสิงคโปร์ และตลาดฮ่องกง หดตัวร้อยละ 6.4 67.3 และ 24.9 ตามลำดับ สำหรับในเดือนตุลาคม 2554 การส่งออกหดตัวร้อยละ 14.4 จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ ตลาดสิงคโปร์ และตลาดฮ่องกง ที่หดตัวเป็นสำคัญ ด้านการนำเข้าในไตรมาส 3 ปี 2554 มีมูลค่า 15,001 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในเดือนตุลาคม 2554 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 2.6

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.5 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนธันวาคม 2554 อยู่ที่ร้อยละ 4.0

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2555 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.25 จากเดิมร้อยละ 4.5 จากแรงกดดันทางด้านเงินอยู่ในระดับที่ควบคุมได้และมีทิศทางชะลอตัวลง รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจอินเดีย(12)

ภาวะเศรษฐกิจของอินเดีย ในไตรมาส 3 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากในไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 7.7การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 175.1ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนตุลาคม 2554 หดตัวร้อยละ 5.7 และกลับมาขยายตัวในเดือนพฤศจิกายน 2554 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 6.6 จากการผลิตสินค้าในหมวดอุปโภคบริโภค สินค้าคงทน และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ขยายตัว

หมายเหตุ

(11) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2554

  • ที่มา www.nscb.gov.ph www.bsp.gov.ph www.fpo.go.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

(12) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 3 ปี 2554

  • ที่มา commerce.nic.in www.fpo.go.th www.bot.or.th www.ceicdata.com

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกเดือนธันวาคม 2554 มีมูลค่า 25,015.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯขยายตัวร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้าในเดือนธันวาคม 2554 มีมูลค่า37,753.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 19.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 9.2 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ8.9 สำหรับอัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคม และเดือนพฤศจิกายน 2554 อยู่ที่ร้อยละ 9.4 และ 9.3 ตามลำดับ

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2555 ธนาคารกลางอินเดียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Repo Rate ไว้ที่ร้อยละ 8.5 และคงระดับ Reverse Repo Rate ไว้ร้อยละ 7.5 นอกจากนี้ธนาคารกลางยังได้ปรับลดอัตราส่วนเงินสำรองต่อเงินฝากของธนาคารพาณิชย์มาอยู่ที่ร้อยละ 5.5 จากเดิมร้อยละ 6.0ทั้งนี้ธนาคารกลางอินเดียเริ่มดำเนินนโยบายด้านการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้นจากสภาพคล่องในระบบการเงินเริ่มตึงตัว และระดับเงินเฟ้อเริ่มทรงตัวในระดับสูง

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ