สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม — ธันวาคม) 2554 (อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 24, 2012 15:55 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

-เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัย และฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรม ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งประกอบด้วย มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ มาตรการช่วยเหลือของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมาตรการช่วยเหลือของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยในส่วนของอุตสาหกรรมยานยนต์มีมาตรการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1)มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ ในกรณีที่เกิดการขาดแคลนรถยนต์สำหรับผู้บริโภคในประเทศอันเนื่องมาจากโรงงานรถยนต์ประสบอุทกภัยและเพื่อเป็นการรักษาไว้ซึ่งอุตสาหกรรมรถยนต์ทั้งระบบ

2)มาตรการช่วยเหลือของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมาตรการเฉพาะประเภทกิจการสำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ สำหรับกิจการผลิตรถยนต์ทั่วไป เห็นควรให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี ทุกเขต โดยจำกัดวงเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นร้อยละ 100 ส่วนกิจการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (Eco Car) ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุดอยู่แล้ว จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์เดิมต่อไป สำหรับอุตสาหกรรมอื่น ให้คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาเป็นรายกรณี (ที่มา : www.thaigov.go.th)

-เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2554 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ ..) (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการประกอบรถยนต์ไฮบริดในประเทศเพิ่มเติม) ตามที่กระทรวงการคลัง เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยมีสาระสำคัญของร่างประกาศ ดังนี้

แก้ไขปรับปรุงบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากรตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 (ฉบับที่ 18) ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ดังนี้

1) เพิ่มเติมการยกเว้นอากรขาเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ที่นำเข้ามาเพื่อประกอบหรือผลิตเป็นการเฉพาะสำหรับรถยนต์ไฮบริดในประเทศจำนวน 1 รายการ คือ อุปกรณ์เก็บและจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฮบริดตามประเภท 85.07

2) เพิ่มเติมหน้าที่การทำงานของรายการชิ้นส่วนยานยนต์จำนวน 2 รายการ คือ ชุดเกียร์พร้อมมอเตอร์ไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฮบริดตามประเภท 87.08 และชุดสายไฟแรงดันสูง และชุดสายไฟสำหรับรถยนต์ไฮบริดตามประเภท 85.44 (ที่มา : www.thaigov.go.th)

-เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2554 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการภาษีศุลกากรเพื่อบรรเทาผลกระทบจากอุทกภัยและฟื้นฟูอุตสาหกรรมและเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้กระทรวงการคลังนำเรื่องนี้เสนอ คณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย (กฟย.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) เป็นประธานและคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และความเป็นอยู่ของประชาชน (กศอ.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) เป็นประธาน และคณะกรรมการเพื่อให้

ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ด้านฟื้นฟูคุณภาพชีวิต (กคช.) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก โกวิท วัฒนะ) เป็นประธาน และให้ดำเนินการต่อไปได้ (รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาได้ที่ www.thaigov.go.th)

-เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2555 กระทรวงการคลังได้ออกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.mof.go.th)

-เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2555 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมได้ออกประกาศสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขออนุมัตินำเข้ารถยนต์สำเร็จรูป เพื่อทดแทนรถยนต์รุ่นที่ผลิตในประเทศ สำหรับผู้ประกอบการผลิตรถยนต์ที่มีโรงงานผลิตรถยนต์ที่ประสบอุทกภัยโดยได้รับการยกเว้นอากรศุลกากร และประกาศสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขออนุมัตินำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อทดแทนชิ้นส่วนยานยนต์ที่ผลิตในประเทศ สำหรับผู้ประกอบการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่มีโรงงานประสบอุทกภัยโดยได้รับการยกเว้นอากรศุลกากร (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.oie.go.th)

-เมื่อวันที่ 20 มกราคม 255 กรมศุลกากรได้ออกประกาศกรมศุลกากร ที่ 29/2555 เรื่อง หลักเกณฑ์และพิธีการสำหรับการยกเว้นอากรศุลกากรตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากรศุลกากรในเขตพื้นที่ประสบอุทกภัย (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.customs.go.th)

          -สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วง ไตรมาสที่สี่ของปี 2554 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 25 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวมกว่า 18,384 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 6,296 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 3 โครงการ คือ        1) โครงการของบริษัท หลิงหลงยางรถยนต์ (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิต Radial Tyre มีเงินลงทุน 2,803 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 1,394 คน 2) โครงการของบริษัท จาโตโค (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตเกียร์อัตโนมัติแบบปรับเปลี่ยนอัตราทดต่อเนื่อง มีเงินลงทุน 9,000 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 1,307 คน และ 3) โครงการของ บริษัท เอ็มเอ็มทีเอช เอ็นจิ้น จำกัด ได้รับการส่งเสริมให้ผลิตเครื่องยนต์เบนซินสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล มีเงินลงทุน 1,302.10 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 275 คน (รายละเอียดเพิ่มเติมที่ www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์โลก (รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555)

          -อุตสาหกรรมรถยนต์โลกในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 55,814,118 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.60 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 41,288,742 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 14,525,376 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 2.90 และ 5.70 ตามลำดับ  เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ จีน และสหรัฐอเมริกา พบว่า จีนมีการผลิตรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) จำนวน 11,676,748 คัน คิดเป็นสัดส่วน          ร้อยละ 20.92 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ก.ย.) จำนวน 5,731,815 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.27 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก

สำหรับการจำหน่ายรถยนต์โลกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ต.ค.) มีการจำหน่ายรถยนต์ 59,590,351 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 4.00 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 43,649,772 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.00 และมีการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 15,940,579 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 6.90 เมื่อพิจารณาประเทศที่สำคัญ พบว่า จีนมีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ต.ค.) จำนวน 15,187,834 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.49 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-ต.ค.) จำนวน 10,748,616 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.04 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก

อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศจีน มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2554 จำนวน 18,431,831 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 1.00 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 14,512,673 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.50 และการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 3,919,158 คัน ลดลงร้อยละ 10.00 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2554 มีจำนวน 18,533,406 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 2.70 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 14,498,020 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.40 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 4,035,386 คัน ลดลงร้อยละ 6.00

อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกามีปริมาณการผลิตรถยนต์ในปี 2554 จำนวน 8,621,328 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 11.20 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 2,968,505 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.30 และการผลิตรถบรรทุก 5,652,823 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.90 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2554 มีจำนวน 13,039,204 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 10.80 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 6,089,631 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.10 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 6,949,573 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.20

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2554 มีจำนวน 1,457,795 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตปี 2553 ลดลงร้อยละ 11.40 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 2.96, 15.71 และ 14.69 ตามลำดับ ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 733,950 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.35 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์นั่ง เพื่อการส่งออก ร้อยละ 74.38 และ 25.62 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2554 มีการผลิตรถยนต์ จำนวน 172,560 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 61.49 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 62.41, 61.47 และ 42.61 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2554 ปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงร้อยละ 63.64 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 65.37, 63.42 และ 20.42 ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2554 มีจำนวน 794,081 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 ลดลงร้อยละ 0.78 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์ PPV รวม SUV ลดลงร้อยละ 5.72 และ 5.35 ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.98 และ 5.59 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2554 มีการจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 123,112 คัน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 49.55 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV ลดลงร้อยละ 44.40, 60.40, 20.46 และ 38.85 ตามลำดับ หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2554 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงร้อยละ 48.48 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV ลดลงร้อยละ 46.16, 57.76, 17.33 และ 34.09 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในปี 2554 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) โดยรวมจำนวน 735,627 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 ลดลงร้อยละ 17.89 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 343,383.92 ล้านบาท ลดลงจากปี 2553 ร้อยละ 15.14 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2554 มีปริมาณการส่งออกรถยนต์โดยรวม จำนวน 95,955 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 44,373.66 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 58.44 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 54.60 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2554 ปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงร้อยละ 59.79 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 63.81

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งในปี 2554 มีมูลค่า 182,000.03 ล้านบาท ลดลงจากปี 2553 ร้อยละ 15.00 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่งในปี 2554 ได้แก่ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 16.40, 15.39 และ 7.55 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปอินโดนีเซีย และญี่ปุ่น มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.48 และ 12.90 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลียมีมูลค่าลดลงร้อยละ 36.85 มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในปี 2554 มีมูลค่า 134,266.30 ล้านบาท ลดลงจากปี 2553 ร้อยละ 12.18 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพในปี 2554 ได้แก่ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และชิลี คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 29.74, 5.73 และ 4.85 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปออสเตรเลีย และชิลี มีมูลค่าลดลงร้อยละ 15.89 และ 19.48 ตามลำดับ แต่มีการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปอินโดนีเซีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.90 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในปี 2554 มีมูลค่า 26,608.85 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 15.30 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุกในปี 2554 ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 26.48, 13.00 และ 10.64 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 19.90, 7.29 และ 29.09 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในปี 2554 มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุกคิดเป็นมูลค่า 26,307.59 และ 24,739.09 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.07 และ 20.95 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 6,482.77 และ 8,170.52 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 2.15 แต่มีการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.72 เมื่อเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามปี 2554 มูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 2.88 แต่มีมูลค่า

การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.16 แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในปี 2554 ได้แก่ เยอรมนี อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 31.95, 21.97 และ 17.39 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนีเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.44 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากอินโดนีเซีย และญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 4.74 และ 25.09 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญในปี 2554 ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 64.98, 9.86 และ 6.94 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.58, 20.30 และ 303.02 ตามลำดับ

ภาพรวมอุตสาหกรรมรถยนต์ในปี 2554 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงต้นปี 2554 ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยพิบัติที่เกิดขึ้นใประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้โรงงานผลิตรถยนต์ในประเทศไทย มีการปรับลดการผลิตอันเนื่องมาจากการขาดแคลนชิ้นส่วน ได้แก่ ชิ้นส่วนสมองกล (Micro Computer Chip) ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ในเมืองเซนได และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น และปลายปี 2554 ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ โดยมีโรงงานประกอบรถยนต์ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง คือ โรงงานผลิตรถยนต์ของ บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด ที่ตั้งอยู่ในสวนนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีการหยุดการผลิตตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2554 และ คาดว่าจะกลับมาผลิตได้อีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 นอกจากนี้โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์หลายรายก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ส่งผลให้ไม่สามารถส่งชิ้นส่วนรถยนต์ให้กับผู้ผลิตรถยนต์ ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ขาดชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิต อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยบวกที่ช่วยสนับสนุนตลาดในประเทศ เช่น นโยบายการคืนเงินสำหรับรถยนต์คันแรก และกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดโดยการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด เป็นต้น จากข้อมูลแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถยนต์ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่หนึ่งปี 2555 จะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 497,000 คัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 49 และการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 51 สำหรับในปี 2555 คาดว่าจะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 2.0 ล้านคัน โดยเป็นการผลิตเพื่อการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50 และการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 50 เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากการเปิดตัวของรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ประกอบกับ ในช่วงปลายปี 2554 ผู้ประกอบการไม่สามารถผลิตรถยนต์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ดังนั้น เมื่อสถานการณ์คลี่คลาย จึงต้องเร่งดำเนินการผลิตเพื่อให้เพียงพอต่อการส่งมอบรถยนต์ให้ลูกค้า

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2554 มีจำนวน 2,043,039 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการผลิตปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.79 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว1,870,293 คัน ลดลงร้อยละ 2.68 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 172,746 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.46 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2554 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์จำนวน 250,978 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 51.74 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว ลดลงร้อยละ 55.47 แต่มีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.49 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามปี 2554 มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 59.81 โดยเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 62.24 และ 32.64 ตามลำดับ

          การจำหน่าย  ปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2554 มีจำนวน 2,007,284 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการจำหน่ายปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.74 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 962,888 คัน รถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 974,244 คัน รถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 70,252 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.65, 3.00 และ 32.84 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2554 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จำนวน 385,512 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 12.66 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 12.33 และ 17.38 ตามลำดับ แต่มีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 104.28 หากเปรียบเทียบ         ไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2554 มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 28.74 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต ลดลงร้อยละ 35.35, 22.87 และ 9.16 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในปี 2554 มีจำนวน 1,133,002 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 221,164 คัน และ CKD จำนวน 911,838 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.78 แต่คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 24,351.91 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.64 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2554 มีปริมาณการส่งออก 240,067 คัน คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 3,624.30 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลง ร้อยละ 8.99 และคิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 52.86 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2554 ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงร้อยละ 29.20 คิดเป็นมูลค่าลดลงร้อยละ 42.67 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ในปี 2554 ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.58, 17.18 และ 14.25 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.59 และ 32.54 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหราชอาณาจักร ลดลงร้อยละ 2.47

การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2554 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 1,301.46 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 112.34 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 337.22 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.73 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2554 มูลค่าการนำเข้าลดลงร้อยละ 0.40 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในปี 2554 ได้แก่ เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 25.96 และ 7.56 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถจักรยานยนต์จากเวียดนาม และสหรัฐอเมริกา เพิ่มขึ้นร้อยละ 158.25 และ 32.52 ตามลำดับ

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในปี 2554 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศยังมีการขยายตัว ซึ่งสอดคล้องกับกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่ภาคการเกษตรซึ่งเป็นตลาดหลักของรถจักรยานยนต์ แม้ว่า ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งผลต่อตลาดในประเทศ และกระทบต่อโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม ทำให้ไม่สามารถจัดส่งชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ได้ โรงงานประกอบรถจักรยานยนต์จึงต้องหยุดการผลิต แต่ก็สามารถฟื้นตัวได้เร็ว จากข้อมูลแผนการผลิตของผู้ประกอบการ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่หนึ่งปี 2555 จะมีการผลิต

รถจักรยานยนต์(CBU) ประมาณ 220,000 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ร้อยละ 79 และการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 21

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ในปี 2554 มีมูลค่า 136,450.30 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 ร้อยละ 3.52 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 26,669.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 ร้อยละ 23.41 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 16,438.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 ร้อยละ 13.75 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2554 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 30,397.16 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 18.56 การส่งออกเครื่องยนต์มีมูลค่า 6,613.39 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.19 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 4,540.75 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.23 หากเปรียบเทียบ ไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2554 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และเครื่องยนต์ ลดลงร้อยละ 22.51 และ 13.01 ตามลำดับ แต่มีมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.20 จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในปี 2554 มีมูลค่า 168,608.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 3.63 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ในปี 2554 ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 14.21, 13.46 และ 9.75 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.77 แต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น และมาเลเซีย ลดลงร้อยละ 6.07 และ 9.90 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยปี 2554 มีมูลค่า 198,668.85 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.06 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2554 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์มีมูลค่า 52,995.89 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.04 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับ ไตรมาสที่สามของปี 2554 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ลดลงร้อยละ 0.66 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในปี 2554 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 61.74, 5.61 และ 4.95 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.41 และ 33.63 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ 15.58

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) 2554 มีมูลค่า 14,263.23 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.69 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในปี 2554 มีมูลค่า 675.90 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.52 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สี่ของปี 2554 มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 4,215.49 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 23.45 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์มีมูลค่า 147.64 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 19.21 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2554 การ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในปี 2554 มีมูลค่า 14,985.54 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.58 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2554 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่านำเข้า 3,618.12 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 8.57 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2554 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.54 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงปี 2554 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 43.93, 15.75 และ 8.00 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.63 แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากจีน และอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 11.00 และ 5.65 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในปี 2554 มีมูลค่า 14,985.54 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.58 เมื่อพิจารณาไตรมาสที่สี่ของปี 2554 ส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ มีมูลค่านำเข้า 3,618.12 ล้านบาท เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ลดลงร้อยละ 8.57 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สี่กับไตรมาสที่สามของปี 2554 มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.54 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงปี 2554 ได้แก่ ญี่ปุ่น, จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 43.93, 15.75 และ 8.00 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.63 แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากจีน และอินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 11.00 และ 5.65 ตามลำดับ

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ