สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม — ธันวาคม) 2554 (อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday March 1, 2012 13:59 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1.ภาวะทั่วไปของอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาส 4 ปี 2554 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 43.40 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 41.87 โดยลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ส่งผลให้มีการหยุดการผลิต หรือเลื่อนการผลิตออกไป และเกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบ

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่า 4,647.53 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 24.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 13.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สำหรับตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ได้แก่ ตลาดอาเซียน มีมูลค่าส่งออก 1,079.98 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.31 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าหลักที่ส่งออกไปตลาดอาเซียน ได้แก่ มอเตอร์เล็ก เครื่องปรับอากาศ และเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า เป็นต้น

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปรับตัวลดลงร้อยละ 58.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดย Semiconductor ปรับตัวลดลงร้อยละ 85.98 Monolithic IC ปรับลดลงร้อยละ 84.21ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 55.78

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่ารวม 5,259.72 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 43.54 เมื่อเทียบไตรมาสก่อน เนื่องจากตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2554 โรงงานหลายแห่งประสบภัยน้ำท่วมไม่สามารถผลิตสินค้าได้ปกติ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 37.26 ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกาและอียู เป็นต้น

จากการประมาณการดัชนีการส่งสินค้าประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2555 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 1/2555 คาดว่าจะปรับตัวลดลงร้อยละ 15.91 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการปรับตัวลดลงของเครื่องปรับอากาศร้อยละ 31.95 ตู้เย็นร้อยละ 4.19 และเครื่องคอมเพรสเซอร์ร้อยละ 11.58

ภาวะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 1/2555 คาดว่าปรับตัวลดลงร้อยละ 28.62 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย IC ปรับตัวลดลงร้อยละ 35.14 และ HDD ปรับตัวลดลงร้อยละ 23.87

2.อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า

2.1 การผลิต

ดัชนีผลผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 อยู่ที่ 69.37 ปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 43.40 และเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 41.87

เมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า (Household electrical machinary) ของประเทศญี่ปุ่นไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ซึ่งรายงานโดย Ministry of Economic, Trade and Industry ประเทศญี่ปุ่น พบว่าดัชนีผลผลิตมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 8.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 13.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านส่วนใหญ่จะปรับตัวลดลงเกือบทุกประเภท ได้แก่ แอลซีดีทีวี กล้องถ่ายวีดีโอ กล้องถ่ายรูปดิจิตอล เป็นต้น ยกเว้นบางรายการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ พัดลม

2.2 การตลาด

ดัชนีการส่งสินค้าในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ปรับตัวลดลงร้อยละ 33.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 34.59

ภาวะการตลาดของสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าโดยรวมปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตั้งแต่ในเดือนตุลาคม โรงงานหลายแห่งประสบภัยน้ำท่วมไม่สามารถผลิตสินค้าและส่งสินค้าได้ตามปกติ รวมถึงผู้ผลิตรายใหญ่ ที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ารวม ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่า 4,647.53 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 24.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 13.02 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด 3 อันดับแรกในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2553 ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ และมอเตอร์เล็ก โดยมีมูลค่าส่งออก 510.94 ล้านเหรียญสหรัฐ 496.85 ล้านเหรียญสหรัฐและ 374.22 ล้านเหรียญสหรัฐ

เครื่องปรับอากาศ มีการปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 30.07 ทั้งนี้เนื่องจากตลาดส่งออกหลัก คือ ตลาดอียู ตลาดญี่ปุ่น และจีน ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 51.83 ร้อยละ 63.91 และร้อยละ 34.39

ขณะที่เครื่องรับโทรทัศน์สีที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆในหลายปีที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 25.65 โดยมีมูลค่าส่งออก 260.42 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้เนื่องจากตลาดส่งออกหลักของเครื่องรับโทรทัศน์สี เช่น สหรัฐอเมริกา อาเซียน และญี่ปุ่น ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 97.92 95.27 และ17.06 ตามลำดับ ตารางที่ 6 มูลค่าส่งออกสินค้าเครื่องรับโทรทัศน์สีในตลาดต่างๆ

สำหรับตลาดส่งออกหลักและมีสัดส่วนมากที่สุดในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ได้แก่ ตลาดอาเซียน มีมูลค่าส่งออก 1,079.98 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.31 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สินค้าหลักที่ส่งออกไปตลาดอาเซียน ได้แก่ มอเตอร์เล็ก เครื่องปรับอากาศ และเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า เป็นต้น

ตลาดที่มีมูลค่าส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเป็นอันดับรองลงมา ได้แก่ ตลาดญี่ปุ่น มีมูลค่าส่งออก 680.04 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.31 สินค้าหลักที่ส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร เครื่องรับโทรทัศน์สี และสายไฟ ชุดสายไฟ เป็นต้น

3. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

3.1 การผลิต

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 4 ปรับตัวลดลงร้อยละ 58.02 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยสินค้าที่มีการปรับตัวลดลง คือ Semiconductor ลดลงร้อยละ 85.98 รองลงมาคือ Monolithic IC ลดลงร้อยละ 84.21 ขณะที่เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 55.78

3.2 การตลาด

ดัชนีการส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 56.47 และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวลดลงเช่นกัน ร้อยละ 53.99

การส่งออก

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่ารวม 5,259.72 ล้านเหรียญสหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 43.54 เมื่อเทียบไตรมาสก่อน เนื่องจากตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2554 เกิดอุทกภัยโรงงานหลายแห่งประสบภัยน้ำท่วมไม่สามารถผลิตสินค้าได้ปกติ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 37.26 ตลาดส่งออกที่สำคัญของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อาเซียน สหรัฐอเมริกา และอียู เป็นต้น

มูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกมากที่สุด ได้แก่ อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 43.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เนื่องจากได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 37.26 ตลาดที่มีมูลค่าส่งออกอิเล็กทรอนิกส์รวมปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ตลาดอาเซียน และสหรัฐอเมริกา โดยปรับตัวลดลงร้อยละ 21.33 และ 29.42 ตามลำดับ

แนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 1/2554

จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ พบว่าแนวโน้มเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงไตรมาสที่ 1/2555 จะปรับตัวลดลงร้อยละ 15.91 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุจากการปรับตัวลดลงของเครื่องคอมเพรสเซอร์ ตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศ ร้อยละ 31.95 4.19 และ 11.58 ตามลำดับ

ในขณะที่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ในไตรมาสที่ 1/2555 คาดว่าปรับตัวลดลงร้อยละ 28.62 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดย IC ปรับตัวลดลงร้อยละ 35.14 และ HDD ปรับตัวลดลงร้อยละ 23.87

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ