การผลิตและการจำหน่าย
การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ดัชนีอุตสาหกรรมเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และของที่เกี่ยวข้องกัน ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 3.60 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 11.12 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 1.31 เนื่องจากเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ประสบปัญหา ซึ่งเป็นผลจากวิกฤตเศรษฐกิจในแถบยุโรป และสหรัฐอเมริกา ประกอบกับไทยเองประสบปัญหา อุทกภัยครั้งใหญ่ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 11.56 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 20.41 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังลดลงร้อยละ 59.39
การตลาด
การส่งออก
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและ เครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,425.32 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27.17 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 29.22 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการส่งออกอัญมณีมีมูลค่า 443.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปมีมูลค่า 1,012.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจากการส่งออกเครื่องประดับแท้มีมูลค่า 824.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งลดลงคิดเป็นร้อยละ 31.88 31.27 และ 20.21 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 443.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 31.88 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.07, 20.93 และ 12.26 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 335.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27.68 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ เบลเยี่ยม ฮ่องกง และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 27.61, 23.25 และ 15.88 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 106.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 41.63 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.33, 14.02 และ 13.54 ตามลำดับ
2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 824.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.21 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 8.52 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.65, 7.93 และ 7.20 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญ มีดังนี้
2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 363.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 14.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เดนมาร์ก และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.14, 13.79 และ 9.46 ตามลำดับ
2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 429.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 24.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.28 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.98, 13.56 และ 9.70 ตามลำดับ
3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 82.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ลิกเตนสไตน์ สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 32.95, 24.00 และ 10.16 ตามลำดับ
4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 33.46 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 46.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง ออสเตรีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.38, 9.38 และ 6.93 ตามลำดับ
5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการส่งออก 1,012.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 31.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 49.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 63.83, 18.82 และ 7.33 ตามลำดับ
การนำเข้า
1. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 (ดูตารางที่ 3 ประกอบ) มีมูลค่าการนำเข้า 6,185.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 226.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน วัตถุดิบสำคัญ ได้แก่
1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 367.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 38.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 151.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.74, 22.03 และ 14.25 ตามลำดับ
1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 50.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 55.48 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.73, 13.29 และ 7.32 ตามลำดับ
1.3 ทองคำ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 5,464.02 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.42 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 289.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ แอฟริกาใต้ และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.25, 8.97 และ 8.24 ตามลำดับ
1.4 เงิน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 243.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 23.90 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.35 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของ ปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 55.97, 18.35 และ 10.11 ตามลำดับ
1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 26.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 42.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 11.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 53.71, 18.78 และ 16.12 ตามลำดับ
โดยการนำเข้าเพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.45 ของการนำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด
2. เครื่องประดับอัญมณี ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 159.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 37.00 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่
2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 149.16 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 37.78 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ มาเลเซีย อิตาลี และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.48, 5.54 และ 3.65 ตามลำดับ
2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 มีมูลค่าการนำเข้า 10.04ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.41 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 38.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 28.85, 17.84 และ 8.82 ตามลำดับ
นโยบายของภาครัฐ
ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2554 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ และนิคมอุตสาหกรรมอัญธานี ร่วมมือกับสถาบัน Domus Academy ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำด้านออกแบบจากประเทศอิตาลี เพื่อลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) โดยสถาบัน Domus Academy จะส่งผู้เชี่ยวชาญอิตาลีมาประเทศไทยเพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการออกแบบในสาขาอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งเน้นการพัฒนาทักษะของบุคลากร การส่งเสริมการผลิตสินค้าที่มี Design ควบคู่ไปกับการสร้างความร่วมมือในลักษณะ Production Value Chain เพื่อลดต้นทุนการผลิต และการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรในอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยความร่วมมือในครั้งนี้ ตั้งเป้าเพื่อยกระดับตราสินค้าไทยครองใจลูกค้าในระดับโลก และรองรับการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน เนื่องจากในปี 2558 อาเซียนจะมีการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
สรุปและแนวโน้ม
ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 4 ปี 2554 ด้านการผลิต ลดลงร้อยละ 3.60 และการจำหน่ายลดลงร้อยละ 11.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกลดลงร้อยละ 27.17 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากการส่งออกอัญมณี ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป และเครื่องประดับแท้
ลดลงคิดเป็นร้อยละ 31.88 31.27 และ 20.21 ตามลำดับ สำหรับสาเหตุที่การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับแท้มีมูลค่าการส่งออกลดลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ประสบปัญหาจากวิกฤตเศรษฐกิจแถบยุโรป และสหรัฐอเมริกา ด้านทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปมีการส่งออกลดลง เนื่องจากราคาทองคำในตลาดโลกในไตรมาสนี้ลดต่ำลงจากไตรมาสก่อน จากระดับ 1,800 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ มาอยู่ที่ระดับ 1,700 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ ส่วนการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 5.69 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 226.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ปัจจัยด้านบวก ได้แก่ แนวโน้มการ อ่อนค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ และงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลลี่แฟร์ ครั้งที่ 49 ที่คาดว่าจะได้คำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ปัจจัยด้านลบ ได้แก่ แนวโน้มราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจยุโรป และสหรัฐอเมริกาที่แนวทางการแก้ไขปัญหายังไม่ชัดเจนพอ จากปัจจัยบวกและปัจจัยลบดังที่กล่าวมานั้น ปัจจัยบวกและปัจจัยลบจะส่งผลเท่าๆ กัน ดังนั้นจึงคาดว่ามูลค่าการส่งออกในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 จะมีแนวโน้มทรงตัว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--