สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 20, 2012 14:36 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2555 ลดลงร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแต่งกาย เครื่องปรับอากาศ เส้นใยสิ่งทอ อย่างไรก็ตาม อัตราการลดลงดีขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 ที่ลดลงถึงร้อยละ 25.3 ซึ่งถือเป็นเป็นสัญญาณที่ดีของการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม สำหรับการส่งออกสินค้าเนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงสถิติตามระบบพิกัดศุลกากรใหม่ ซึ่งทางกรมศุลกากรแจ้งว่าต้องใช้เวลาปรับปรุงประมาณ 2 เดือน คาดว่าจะกลับมารายงานได้อีกครั้งในเดือนมีนาคม 2555

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(1) เดือนมกราคม 2555 ลดลงร้อยละ15.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Driveชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแต่งกาย เครื่องปรับอากาศเส้นใยสิ่งทอ อย่างไรก็ตาม อัตราการลดลงดีขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 ที่ลดลงถึงร้อยละ 25.3 ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีของการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม

สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต(2) เดือนมกราคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 58.48 จากร้อยละ 51.94 ในเดือนธันวาคม 2554 และร้อยละ 62.32 ในเดือนมกราคม2554

ผลจากการฟื้นฟูการผลิตของผู้ประกอบการตั้งแต่เดือนธันวาคมปีก่อน ทำให้อุตสาหกรรมที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูงและใช้เครื่องจักรไม่ซับซ้อนกลับมาดำ เนินการได้ตามปกติ อย่างไรก็ตามในอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีในการผลิตสูง เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ หลายโรงงานยังคงอยู่ในขั้นตอนการฟื้นฟู ซ่อมแซม ติดตั้งเครื่องจักรใหม่ หรือรอการนำเข้าเครื่องจักร จึงอาจจะต้องใช้เวลาในการทยอยกลับมาเริ่มการผลิตได้อีกครั้ง

สำหรับการส่งออกสินค้าเนื่องจากอยู่ระหว่างการปรับปรุงสถิติตามระบบพิกัดศุลกากรใหม่ ซึ่งทางกรมศุลกากรแจ้งว่าต้องใช้เวลาปรับปรุงประมาณ 2 เดือน คาดว่าจะกลับมารายงานได้อีกครั้งในเดือนมีนาคม 2555

(1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งในภาพรวม รายสาขาอุตสาหกรรม และรายผลิตภัณฑ์

(2)อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็มศักยภาพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)

อุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ(มกราคม2555)

อุตสาหกรรมอาหาร การผลิต (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนมกราคม 2555 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.1 กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น แป้งมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.9 เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศเช่น น้ำมันปาล์ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 135.2 เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบขาดแคลนในปีก่อน

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอลดลงในผลิตภัณฑ์ ผ้าผืน เครื่องนอนและผ้าขนหนูเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าถักและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ ร้อยละ 3.3, 3.5,19.2 และ 0.3 ตามลำดับ เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมส่งผลให้ยังไม่สามารถกลับมาเดินเครื่องการผลิตได้เหมือนปกติ แต่อย่างไรก็ตามการผลิตเส้นใยสิ่งทอเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 โดยเฉพาะโพลีเอสเตอร์เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตลดลง ร้อยละ 22.56 โดยเหล็กทรงยาวมีการผลิตที่ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 9.61 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม ลดลงร้อยละ 24.93 รองลงมาคือ เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 24.40 ในขณะเดียวกันเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลงเช่นเดียวกัน ร้อยละ 34.19 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 49.29 และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 40.14 ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CISณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมกราคม2555 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ดัชนีราคาเหล็กปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกผลิตภัณฑ์

อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิต จำนวน 140,404 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2554 ซึ่งมีการผลิต 146,231 คัน ร้อยละ 3.98 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง สาเหตุสำคัญเนื่องจากโรงงานประกอบรถยนต์ Honda ซึ่งตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังไม่สามารถดำเนินการผลิตได้แต่เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2554 ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.21 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ สำหรับการส่งออกมีจำนวน 53,591 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2554 ซึ่งมีการส่งออก 68,082 คัน ร้อยละ 21.28

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์การผลิตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 32.52 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยส่งผลให้อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ต้องฟื้นฟูกิจการ ทำให้ต้องหยุดการผลิต หรือชะลอการผลิตออกไป เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 19.70 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงร้อยละ34.58

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ