รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday March 20, 2012 15:03 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนมกราคม 2555

  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2555 เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 ร้อยละ12.7 แต่ลดลงร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแต่งกายเครื่องปรับอากาศ เส้นใยสิ่งทอ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนมกราคม 2555 อยู่ที่ระดับร้อยละ 58.5 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 51.9 ในเดือนธันวาคม 2554

ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนกุมภาพันธ์ 2555

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

-สถานการณ์การผลิตคาดว่าจะยังชะลอตัวต่อเนื่องจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นและส่งผลต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งระบบ และคาดว่าจะสามารถฟื้นฟูให้สามารถกลับมาผลิตได้เต็มที่ภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2555

-การจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปแนวแฟชั่นที่เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นในขณะนี้ แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงของอุตสาหกรรมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยังมีผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปที่ยังชะลอตัว รวมถึงตลาดส่งออกที่มีการแข่งขันมากขึ้น

อุตสาหกรรมรถยนต์

-ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2555 เนื่องจากโรงงานผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่เริ่มกลับมาผลิตได้เป็นปกติ สำหรับโรงงานประกอบรถยนต์ Honda ได้เร่งการฟื้นฟูโรงงานและปรับสายการผลิตรถยนต์ให้เร็วขึ้น ดังนั้น จึงคาดว่าจะกลับมาผลิตได้อีกครั้งในเดือนมีนาคม 2555

สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ธ.ค. 54 = 140.7

ม.ค. 55 = 158.6

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • ยานยนต์
  • ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ธ.ค. 54 = 51.9

ม.ค. 55 = 58.5

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่

  • ยานยนต์
  • ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  • เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนมกราคม 2555 มีค่า 158.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม2554 (140.7) ร้อยละ 12.7 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนมกราคม 2554 (186.9)ร้อยละ 15.2

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2554 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ น้ำตาลเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแต่งกายเครื่องปรับอากาศ เส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนมกราคม 2555 อยู่ที่ระดับร้อยละ 58.5 เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 (ร้อยละ 51.9) แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนมกราคม 2554(ร้อยละ 62.3)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม2554 ได้แก่ ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ขั้นมูลฐาน Hard Disk Driveเส้นใยสิ่งทอ เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โทรทัศน์สี อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนมกราคม 2555

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2555เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2554 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 244 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2554 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 276 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 11.59 มีการจ้างงานจำนวน 5,477 คน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2554 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,552 คน ร้อยละ 27.48 แต่มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 13,836.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 ซึ่งมีการลงทุน 12,202.15 ล้านบาท ร้อยละ 13.40

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2555เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมกราคม 2554 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 296 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 17.57 มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนมกราคม 2554 ซึ่งมีการลงทุน 43,488.90ล้านบาท ร้อยละ 68.18 และมีการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนมกราคม 2554 ที่มีจำนวนการจ้างงาน5,778 คน ร้อยละ 5.21

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนมกราคม 2555คือ อุตสาหกรรมขุดดิน สำหรับใช้ในการก่อสร้าง จำนวน 16 โรงงาน รองลงมาคืออุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสีรถยนต์ ประกอบและซ่อมตัวถังรถยนต์ จำนวน13 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2555 คืออุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้า ผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ จำนวน 2,307.75 ล้านบาทรองลงมาคือ อุตสาหกรรมสีข้าวชนิดแยกแกลบแยกรำ จำนวน 2,050.30 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนมกราคม 2555 คืออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำ เร็จรูป จำ นวนคนงาน 749 คน รองลงมาคืออุตสาหกรรมผลิตและรับจ้างผลิตรองเท้าเพื่อจำหน่ายยังต่างประเทศ จำนวนคนงาน386 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2554 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 93 ราย มากกว่าเดือนธันวาคม 2554 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 68 ราย คิดเป็นร้อยละ 36.76 มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 737.29 ล้านบาท มากกว่าเดือนธันวาคม 2554 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน587.35 ล้านบาท แต่มีการเลิกจ้างงาน จำนวน 1,522 คน น้อยกว่าเดือนธันวาคม 2554 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 1,614 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนมกราคม 2554 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 109 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 14.68 แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการมากกว่าเดือนมกราคม 2554 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 661.99 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนมกราคม 2554 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 1,274 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนมกราคม 2555 คืออุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูปและอุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ จำนวนเท่ากัน 11 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมกลึง เจาะ คว้าน กัด ไส เจียน เชื่อมโลหะทั่วไป จำนวน 6 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนมกราคม 2555 คืออุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์เงินทุน 190.30 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำผลิตภัณฑ์ยางที่มิใช่ยางยานพาหนะ เงินทุน 80.0 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนมกราคม 2555คือ อุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนจากไม้ ยาง อโลหะอื่น ซึ่งมิได้ทำจากพลาสติกอัดเข้ารูป คนงาน 392 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ คนงาน 260 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม2555 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 119 โครงการ น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 139 โครงการร้อยละ 5.49 และมีเงินลงทุน 21,200 ล้านบาท น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน22,300 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.93

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม 2555
          การร่วมทุน                 จำนวน(โครงการ)         มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%            44                      4,200
          2.โครงการต่างชาติ 100%           51                     13,600
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ     24                      3,400
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม2555 คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 8,900 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 3,600 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าจะปรับชะลอตัวลง เนื่องจากคำสั่งซื้อที่ลดลงภายหลังเทศกาลปีใหม่ ส่วนการจำหน่ายภายในประเทศ จะปรับตัวลดลง จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นทำให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล)เดือนมกราคม 2555 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 14.1 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 5.1 แบ่งเป็นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น แป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.9เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 135.2 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบขาดแคลนในปีก่อน ในส่วนอาหารไก่ มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามการขยายตัวของการผลิตและเลี้ยงไก่เพื่อชดเชยการสูญเสียจากอุทกภัยในพื้นที่เลี้ยงบางแห่ง

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนมกราคม 2555 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 14.1 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.9เนื่องจากระดับราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อการบริโภคของประชาชนที่ชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง

2) ตลาดต่างประเทศ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรหัสศุลกากรตามระบบฮาร์โมไนซ์ ซึ่งทางกรมศุลกากรแจ้งว่าต้องใช้เวลาปรับปรุงประมาณ 2 เดือน คาดว่าจะกลับมารายงานได้อีกครั้งในเดือนมีนาคม 2555

3. แนวโน้ม

การผลิต คาดว่า จะปรับชะลอตัวลง จากจำนวนวันทำงานที่น้อยลง และคำสั่งซื้อที่ลดลงภายหลังเทศกาลปีใหม่ สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

การผลิตคาดว่าจะยังชะลอตัวต่อเนื่องจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นและส่งผลต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งระบบ

1. การผลิต

เดือนมกราคม 2555 ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอเมื่อเทียบกับเดือนก่อนส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ผ้าผืน เครื่องนอนและผ้าขนหนูเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าถักและเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ ลดลงร้อยละ 3.3, 3.5, 19.2 และ 0.3 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงในผลิตภัณฑ์เดียวกัน ร้อยละ 33.8, 23.5, 43.6 และ 12.8 ตามลำดับ เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมส่งผลให้ยังไม่สามารถกลับมาเดินเครื่องการผลิตได้เหมือนปกติ แต่อย่างไรก็ตามการผลิตเส้นใยสิ่งทอ เพิ่มขึ้นร้อยละ11.9 โดยเฉพาะโพลีเอสเตอร์ เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้น

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เดือนมกราคม 2555 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอ ผ้าผืน และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก ร้อยละ 16.3 , 6.8 และ 7.7 ตามลำดับแต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการจำหน่ายลดลงในผลิตภัณฑ์เดียวกันร้อยละ 45.8, 20.3 และ 7.2

3. แนวโน้ม

การผลิตคาดว่าจะยังชะลอตัวต่อเนื่องจากปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นและส่งผลต่ออุตสาหกรรมสิ่งทอทั้งระบบ และคาดว่าจะสามารถฟื้นฟูให้สามารถกลับมาผลิตได้เต็มที่ภายในไตรมาสที่ 2 ปี2555 สำหรับการจำหน่ายในประเทศคาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะเสื้อผ้าสำเร็จรูปแนวแฟชั่นที่เป็นที่นิยมในกลุ่มวัยรุ่นในขณะนี้ แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยเสี่ยงของอุตสาหกรรมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มยังมีผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปที่ยังชะลอตัว รวมถึงตลาดส่งออกที่มีการแข่งขันมากขึ้น

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

ผู้ผลิตเหล็กของประเทศเวียดนามได้มีการคาดการณ์ว่าปี 2556 จะเป็นปีที่ลำบากของอุตสาหกรรมเหล็กในประเทศเนื่องจากต้องเผชิญกับปัญหาการผลิตส่วนเกินและความต้องการใช้เหล็กทั้งในและนอกประเทศที่ลดลง

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนมกราคม 2555 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 105.29 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.66 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงยาวพบว่ามีการผลิตที่ทรงตัว คือ เพิ่มขึ้นเพียง ร้อยละ 0.41 โดยผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดได้แก่ เหล็กเส้นกลม เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.50 ลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ11.16 และเหล็กลวด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.57 เนื่องจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นอันเป็นผลมาจากความต้องการใช้เพื่อซ่อมแซมบ้านเรือนหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีการผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.90 โดยผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้น ร้อยละ 87.11 เหล็กแผ่นเคลือบโครเมี่ยม เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.27 โดยเป็นการเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อชดเชยกับปริมาณสินค้าคงคลังที่ลดลง นอกจากนี้เป็นผลมาจากกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ขายกล่าวคือมีการลดราคาลงเนื่องจากที่ผ่านมาไม่สามารถแข่งขันสู้ราคาเหล็กที่นำเข้าจากประเทศจีนได้

ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงร้อยละ 22.56 โดยเหล็กทรงยาวมีการผลิตที่ลดลงเล็กน้อย ร้อยละ 9.61ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กเส้นกลม ลดลง ร้อยละ 24.93รองลงมาคือ เหล็กลวด ลดลง ร้อยละ 24.40 ในขณะเดียวกันเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลงเช่นเดียวกัน ร้อยละ 34.19 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดคือ เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 49.29 และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลงร้อยละ 40.14

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมกราคม 2555 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ดัชนีราคาเหล็กปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกผลิตภัณฑ์ โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนเพิ่มขึ้นจาก 120.50 เป็น 127.48 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.79 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้นจาก 127.10 เป็น 133.17 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.78 เหล็กแท่งเล็ก Billet เพิ่มขึ้นจาก138.10 เป็น 140.18 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.51 เหล็กแท่งแบน เพิ่มขึ้นจาก 121.50เป็น 123.25 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.44 และเหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 133.00 เป็น134.04 เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.78 โดยสาเหตุที่ราคาเหล็กแผ่นเพิ่มขึ้นนั้นเนื่องมาจากผู้ใช้กลับมาซื้อเหล็กเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากเล็งเห็นว่าราคาเหล็กได้ลงมาอยู่ ณ จุดต่ำสุดแล้ว

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 คาดว่าในส่วนของเหล็กทรงยาวจะเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการใช้ในประเทศเพื่อมาซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยธรรมชาติยังคงมีอยู่ ในขณะที่เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าจะมีการผลิตที่ลดลงเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องซึ่งเป็นผู้ใช้เหล็กที่สำคัญได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมทำให้ต้องหยุดการผลิตชั่วคราว ส่งผลให้คำสั่งซื้อในส่วนของเหล็กทรงแบนลดลง

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมกราคม 2555 ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 เนื่องจากเหตุการณ์น้ำท่วมภายในประเทศในปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี หากเปรียบเทียบกับเดือนธันวาคม 2554 มีการขยายตัวที่สูง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีของการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนมกราคม ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 140,404 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม2554 ซึ่งมีการผลิต 146,231 คัน ร้อยละ 3.98 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง สาเหตุสำ คัญเนื่องจากโรงงานประกอบรถยนต์ Honda ซึ่งตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ยังไม่สามารถดำเนินการผลิตได้ แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 ร้อยละ41.21 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 77,006 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2554 ซึ่งมีการจำหน่าย 68,398 คัน ร้อยละ 12.59 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์PPV รวมกับ SUV และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 ร้อยละ 41.10 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1ตัน และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 53,591 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม2554 ซึ่งมีการส่งออก 68,082 คัน ร้อยละ 21.28 แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 ร้อยละ 52.92
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2555เนื่องจากโรงงานผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่เริ่มกลับมาผลิตได้เป็นปกติสำหรับโรงงานประกอบรถยนต์ Honda ได้เร่งการฟื้นฟูโรงงานและปรับสายการผลิตรถยนต์ให้เร็วขึ้น ดังนั้น จึงคาดว่าจะกลับมาผลิตได้อีกครั้งในเดือนมีนาคม 2555 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 50 และส่งออกร้อยละ 50

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนมกราคม 2555 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ซึ่งเป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์กลับมาดำเนินการผลิตได้เป็นปกติอีกครั้ง ภายหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นภายในประเทศในปีที่ผ่านมา โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 216,850 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2554 ซึ่งมีการผลิต 178,276 คัน ร้อยละ21.64 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต และมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 ร้อยละ 43.43โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 150,033 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม 2554 ซึ่งมีการจำหน่าย 161,623 คัน ร้อยละ 7.17 โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสกูตเตอร์ แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 ร้อยละ22.60 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 25,682คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม 2554 ซึ่งมีการส่งออก 15,648คัน ร้อยละ 64.12 และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2554 ร้อยละ 58.75
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม 2555 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 88 และส่งออกร้อยละ 12
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์เริ่มขยายตัว เนื่องจากเข้าสู่ฤดูกาลก่อสร้าง และมีการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวได้ตามความต้องการใช้ของตลาดส่งออกหลัก

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนมกราคม 2555 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.45 และ 6.43 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.47 และ 7.72 ตามลำดับ เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูกาลก่อสร้าง ประกอบกับมีการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ระบบขนส่ง รวมทั้งพื้นที่ภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม

2.แนวโน้ม

ภาวะอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นคาดว่าความต้องการใช้ในประเทศจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2555 เนื่องจากเป็นช่วงฤดูกาลก่อสร้าง รวมทั้งจะมีการซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ระบบขนส่ง รวมทั้งพื้นที่ภาคอุตสาหกรรม ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม สำหรับการส่งออกคาดว่ายังขยายตัวได้ เนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังมีความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในกิจกรรมการก่อสร้าง เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมกราคม 2555 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 230.93 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 32.52 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องเนื่องจากปัญหาอุทกภัยส่งผลให้อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต้องหยุดการผลิต หรือชะลอการผลิตออกไปรวมถึงได้ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่การผลิตของอุตสาหกรรมทำให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนและวัตถุดิบในการผลิตอย่างไรก็ตามหลายบริษัทได้เริ่มกลับมาผลิตแล้วในช่วงเดือนธันวาคม 2554 ทำให้การผลิตในเดือนมกราคม ปรับตัวดีขึ้น

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนมกราคม 2555 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ30.93 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อนจากการที่มีบางบริษัทสามารถเริ่มกลับมาผลิตได้บ้างแล้วในช่วงเดือนธันวาคม แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 32.52 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยส่งผลให้อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ต้องฟื้นฟูกิจการ ทำให้ต้องหยุดการผลิต หรือชะลอการผลิตออกไป เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.61 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 19.70 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.50เมื่อเทียบกับเดือนก่อน แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ34.58

2. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนกุมภาพันธ์ 2555 จากแบบจำ ลองดัชนีชี้นำ ภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ