สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday April 23, 2012 14:49 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ลดลงร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนการผลิตลดลงในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแต่งกายเครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์สี อย่างไรก็ตาม อัตราการลดลงดีขึ้นจากเดือนมกราคม 2554 ที่ลดลงร้อยละ 15.0 ซึ่งถือเป็นเป็นสัญญาณที่ดีของการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 4.8 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งจะหดตัวเพียงร้อยละ 2.4

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(1) เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ลดลงร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตลดลงในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องแต่งกาย เครื่องปรับอากาศ โทรทัศน์สีอย่างไรก็ตาม อัตราการลดลงดีขึ้นจากเดือนมกราคม 2554 ที่ลดลงร้อยละ 15.0 ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีของการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม

สำหรับอัตราการใช้กำ ลังการผลิต(2) เดือนกุมภาพันธ์ 2555 อยู่ที่ร้อยละ 62.27 จากร้อยละ 58.46 ในเดือนมกราคม 2555 และร้อยละ 59.46 ในเดือนกุมภาพันธ์2554 เดือนกุมภาพันธ์นับเป็นเดือนที่ 2 หลังจากผ่านอุทกภัยครั้งใหญ่ ภาวะการผลิตภาคอุตสาหกรรมสามารถฟื้นฟูให้กลับมาสู่ระดับปกติได้เป็นส่วนใหญ่ อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ หลังจากการฟื้นฟูของโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ประกอบกับผู้ผลิตรถยนต์สามารถหาชิ้นส่วนจากแหล่งผลิตอื่นในประเทศรวมถึงมีการนำเข้ามาใช้ทดแทนได้แล้ว ยกเว้น

หมายเหตุ

(1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งในภาพรวม รายสาขาอุตสาหกรรม และรายผลิตภัณฑ์

(2) อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็มศักยภาพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)

เมื่อพิจารณาในด้านของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ลดลงหรือหดตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่หากหักการส่งออกทองคำการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่รวมทองคำหดตัวที่ร้อยละ 2.4

อุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ(กุมภาพันธ์2555)

อุตสาหกรรมอาหาร การผลิต (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนกุมภาพันธ์ 2555 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 20.5 กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น แป้งมันสำปะหลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้นกลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันปาล์ม เพิ่มขึ้นร้อยละ30.8 เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบขาดแคลนในปีก่อน

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอลดลงในผลิตภัณฑ์ เส้นใยสิ่งทอฯผ้าผืน เครื่องนอนและผ้าขนหนูเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าถัก และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ ร้อยละ 35.2, 21.4, 6.0, 24.7 และ 3.3 ตามลำดับเนื่องจากยังได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากปัญหาน้ำท่วมที่ผ่านมา แต่อย่างไรก็ตามความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์สิ่งทอจากไทย โดยเฉพาะตลาดอาเซียนยังมีอยู่มาก ซึ่งจะเป็นโอกาสให้มีการผลิตเพิ่มมากขึ้น

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.50 โดยเหล็กทรงยาวมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.38 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ ลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.03 ลวดเหล็ก เพิ่มขึ้น ร้อยละ7.01 ในขณะเดียวกันเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.10 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.60 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.51 ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก(FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนมีนาคม 2555 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ดัชนีราคาเหล็กปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกผลิตภัณฑ์

อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิตจำนวน 168,221 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกุมภาพันธ์2554 ซึ่งมีการผลิต 150,743 คัน ร้อยละ 11.59โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม2555 ร้อยละ 19.81 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ สำหรับการส่งออกมีจำนวน 77,314คัน ลดลงจากเดือนกุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งมีการส่งออก 80,699 คัน ร้อยละ 4.19 ซึ่งลดลงในประเทศแถบตะวันออกกลาง อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 21.88 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยส่งผลให้อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ต้องฟื้นฟูกิจการ ทำให้ต้องหยุดการผลิต หรือชะลอการผลิตออกไป เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ14.52 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 23.13

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ