เศรษฐกิจโลก (1)
ภาพรวมเศรษฐกิจโลก
ในไตรมาส 1 ปี 2555 เศรษฐกิจแต่ละประเทศยังคงขยายตัว ปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรปและความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศในยุโรปยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก อัตราการว่างงานของสหภาพยุโรปยังคงอยู่ในระดับสูง
ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ 116.00 USD/Barrel เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 อยู่ที่ 100.44 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันยังคงผันผวน โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนมิถุนายน (ณ วันที่ 8 พฤษภาคม2555) อยู่ที่ 97.99 USD/Barrel สำนักงานข้อมูลสารสนเทศด้านพลังงานรายงานสถานการณ์น้ำมันดิบคงคลังของโลกว่าอยู่ในระดับสูงกว่าความต้องการบริโภคที่ 5 แสนบาร์เรลต่อวัน การที่ราคาน้ำมันดิบยังคงผันผวนเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ปัญหาหนี้ยุโรปและสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบในตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 2555 ยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าจากภาคการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 1 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 1 ปี 2555ขยายตัวร้อยละ 1.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 8.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.4 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 67.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 66.9
หมายเหตุ
(1) - ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2554
- ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th
(2) - ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com
การผลิตภาคอุตสาหกรรม อัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม ไตรมาส 1 ปี2555 อยู่ที่ร้อยละ 77.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 74.3 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 94.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 89.6
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 8.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 16.3 การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 8.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 16.3อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.8 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.1 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบและน้ำมันเบนซินที่ปรับขึ้นส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นชั่วคราว อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 8.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.5 อัตราว่างงานมีการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ
สถานการณ์การด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2555 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 โดยมีเป้าหมายในการกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจจีน(3)
เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 1 ปี 2555 ยังคงขยายตัวแต่ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีปัญหา และภาคการส่งออกที่ขยายตัวลดลงทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัว
ภาวะเศรษฐกิจของจีน ในไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 8.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.7 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ15.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 16.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 103.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 102.4ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 21.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 24.9
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 16.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 14.9
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 8.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 25.3 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศในยุโรปซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของจีนกำลังมีปัญหา ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของจีน การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 10.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ32.8
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ของปี2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.1 เป็นผลมาจากราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เท่ากับไตรมาส 1 ของปี 2554
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) คงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี ตั้งแต่กรกฎาคม 2554 เป็นต้นมา อยู่ที่ร้อยละ 6.56 นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนได้ผ่อนคลายความเข้มงวดในการควบคุมตลาดเงิน เพื่อให้ตลาดมีเสรีภาพมากขึ้น
หมายเหตุ
(3) - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 4 ปี 2554 หดตัว อันเป็นผลมาจากภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย เกิดปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนในการผลิต รวมทั้งการบริโภคของภาคเอกชนก็ลดลง และในไตรมาส 1 ปี 2555คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะเริ่มฟื้นตัวกลับมาขยายตัวได้
ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในไตรมาส 4 ปี 2554 GDP หดตัวร้อยละ 0.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 4 ปี 2554 หดตัวร้อยละ 0.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่หดตัวร้อยละ 0.1 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 40.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ38.9 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 2.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.0
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 95.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 92.8 อันเป็นผลมาจากการขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในภาคอุตสาหกรรมเคมี
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2555 หดตัวร้อยละ 2.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 การส่งออกเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยมีการส่งออกรถยนต์ไปสหรัฐฯ ได้เพิ่มขึ้น การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2555ขยายตัวร้อยละ 9.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.7
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2555 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -0.6 เนื่องจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น อัตราการว่างงานไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ4.7
หมายเหตุ
4 - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2554
- www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp www.ceicdata.com
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 (เมื่อวันที่ 13 มีนาคม2555) พร้อมทั้งขยายโครงการปล่อยกู้เพื่อกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจแก่ภาคธุรกิจ
เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)
เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2555 คาดว่าชะลอตัวต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป และอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ในไตรมาส 4 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 0.8ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 การบริโภคไตรมาส 4 ปี 2554 หดตัวร้อยละ 0.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.9
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 99.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 98.4 และในเดือนมกราคมกุมภาพันธ์ ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 98.9 และ 98.0 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 10.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 24.3 สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 12.5 และ 10.0 ตามลำดับ การนำเข้าไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวร้อยละ 4.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2553 ที่ขยายตัวร้อยละ 29.2 สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ ขยายตัวร้อยละ 4.1 และ 8.3 ตามลำดับ
หมายเหตุ
(5) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 4 ปี 2554
- ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com
อัตราเงินเฟ้อ ในไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.5 อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้นมาก อัตราการว่างงานในไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 10.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.8 เป็นการว่างงานที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 1.0 (เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2555) เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยูโรโซนที่ยังอยู่ในภาวะเปราะบาง และควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายที่ธนาคารกลางยุโรปตั้งไว้
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมในเอเชีย
เศรษฐกิจฮ่องกง(6)
เศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวจากความต้องการภายในประเทศที่ขยายตัว
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาส 4 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากความต้องการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวดี การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 7.1 ขณะที่การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 8.8การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 4 ปี2554 อยู่ที่ระดับ 98.2 หดตัวร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2553
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2555 มีมูลค่า 109,217 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.1 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) ขยายตัวร้อยละ 9.9 ขยายตัวลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 16.6 ด้านการนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2555 มีมูลค่า 122,343 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
หมายเหตุ
(6) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2554
- ที่มา www.censtatd.gov.hk www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 5.2 ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.7 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 จากราคาอาหาร และราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในเดือนมีนาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ทรงตัวจากในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องตามความต้องการแรงงานของตลาดแรงงานภายในประเทศที่ปรับตัวดี
เศรษฐกิจเกาหลีใต้(7)
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ ในไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวจากการลงทุนในภาคการก่อสร้างที่กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2553
ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในไตรมาส 1 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการลงทุนในภาคการก่อสร้างที่กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2553
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 1 ปี2555 อยู่ที่ระดับ 149.3 ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2555 มีมูลค่า 134,934 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวลดลงจากไตรมาส 4 ปี2554 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 10.0 โดยตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของเกาหลีใต้ยังคงเป็นตลาดจีนที่ในไตรมาสนี้การส่งออกไปจีนขยายตัว ร้อยละ 0.7 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2555 มีมูลค่า 133,264 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
หมายเหตุ
(7) - ที่มา ecos.bok.or.kr www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2555 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6 จากการที่รัฐบาลให้เงินสนับสนุนด้าน childcare fees และ free school meals อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในเดือนมีนาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.4 ลดลงจากในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ3.7
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2555 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ยังประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 3.25 คงระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องเป็นเดือนที่สิบ เนื่องจากธนาคารกลางเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศสำคัญอย่างสหภาพยุโรปยังคงมีปัญหา รวมถึงปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลาง สะท้อนถึงความเสี่ยงจากเศรษฐกิจภายนอกประเทศ
เศรษฐกิจสิงคโปร์(8)
เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวจากภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่ขยายตัว ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตหดตัว
ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ในไตรมาส 1 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.6 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 6.2 ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการผลิตหดตัวร้อยละ 2.0 จากฐานเปรียบเทียบที่สูงในไตรมาส 1 ปี 2554
หมายเหตุ
(8) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2554
- ที่มา www.singstat.gov.sg www.bot.or.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ100.2 หดตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2554 มีมูลค่า 101,776 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปยังมาเลเซียฮ่องกง จีน และอินโดนีเซียขยายตัวร้อยละ 21.2 0.5 9.0 และ 19.4 ตามลำดับ สำหรับในเดือนมกราคม 2555 การส่งออกหดตัวร้อยละ 3.6 และกลับมาขยายตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 27.4 โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานเปรียบเทียบที่สูงในเดือนมกราคม 2554ขณะที่ฐานเปรียบเทียบต่ำในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 จากเทศกาลตรุษจีน 2555 อยู่ในเดือนมกราคมทำให้วันทำงานน้อยลงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้าไตรมาส 4 ปี2554 มีมูลค่า 91,166 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2555 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 9.2 และ 28.8 ตามลำดับ
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.9 ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.5 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 จากราคาที่อยู่อาศัย และต้นทุนค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ไตรมาส 1 ปี2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.1 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.0
เศรษฐกิจอินโดนีเซีย(9)
เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวจากความต้องการภายในประเทศที่ปรับขยายตัวได้ดี
ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในไตรมาส 1 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการบริโภคของภาคเอกชน รวมถึงการลงทุนที่ขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ148.0 ขยายตัวร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 3 ปี 2554ที่ขยายตัวร้อยละ 5.7
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2554 มีมูลค่า 51,271 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นและจีน ขยายตัวร้อยละ 4.0 และ 30.0 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม 2555ขยายตัวร้อยละ 6.6 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2554 มีมูลค่า 47,403 ล้านเหรียญสหรัฐฯขยายตัวร้อยละ 23.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม2555 ขยายตัวร้อยละ 15.9
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.1 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.0 อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 5.75 จากเดิมร้อยละ 6.0 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่กรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้
หมายเหตุ
(9) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2554
เศรษฐกิจมาเลเซีย(10)
เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวจากความต้องภายในประเทศที่ขยายตัว
ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซีย ในไตรมาส 4 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากความต้องการภายในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุนที่ขยายตัว
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 4 ปี2554 อยู่ที่ระดับ 120.1 ขยายตัวร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.2 และ 9.5 ตามลำดับ โดยการขยายตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 เป็นผลมาจากการผลิตสินค้าในกลุ่มปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ยาง และผลิตภัณฑ์พลาสติก การผลิตอาหารและยาสูบ รวมถึงการผลิตในกลุ่มเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารที่ขยายตัวเป็นแรงเกื้อหนุน
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2554 มีมูลค่า 57,485 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกในเดือนมกราคม 2555 หดตัวร้อยละ 1.2 จากการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างสิงคโปร์ จีน และสหภาพยุโรป(27) ที่หดตัวร้อยละ 8.8 13.6 และ 15.9 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามการส่งออกที่หดตัวในเดือนมกราคม 2555 นี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานเปรียบเทียบที่สูง เนื่องจากเทศกาลตรุษจีนในปี2555 อยู่ในเดือนมกราคม ทำให้วันทำงานน้อยกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2554 มีมูลค่า 47,599 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนมกราคม 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.6
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.2 จากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับที่พักอาศัย ค่าน้ำค่าไฟฟ้า รวมถึงค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น อัตราการว่างงานในเดือนกุมภาพันธ์ 2555 อยู่ที่ร้อยละ3.2 เพิ่มขึ้นจากในเดือนมกราคม 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.0
หมายเหตุ
(10) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2554
- ที่มา www.statistics.gov.my www.bnm.gov.my www.bot.or.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์(11)
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวจากใช้จ่ายของภาครัฐที่ขยายตัวขณะที่ภาคการส่งออกหดตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว
ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 4 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการใช้จ่ายของภาครัฐที่ขยายตัวขณะที่ภาคการส่งออกได้รับผลกระทบจากความอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจโลก
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ระดับ 93.0 หดตัวร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2555 กลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 และ 5.2 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 4 ปี 2554 มีมูลค่า 10,837 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัว ร้อยละ 17.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกหดตัวต่อเนื่องนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 เป็นต้นมา ทั้งนี้ในไตรมาส 4 ปี 2554 การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐ และตลาดจีน หดตัวร้อยละ 6.3 และ 17.7 ตามลำดับ สำหรับในเดือนมกราคม 2555 การส่งออกกลับมาขยายตัวที่ร้อยละ 3.1 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 4 ปี 2554 มีมูลค่า 14,642 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในเดือนมกราคม2555 การนำเข้าหดตัวร้อยละ 3.2
หมายเหตุ
(11) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2554
- ที่มา www.nscb.gov.ph www.bsp.gov.ph www.fpo.go.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงจากไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.6 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมีนาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.6
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2555 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.0 จากเดิมร้อยละ 4.25 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่กรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้
เศรษฐกิจอินเดีย(12)
เศรษฐกิจอินเดียในไตรมาส 4 ปี 2554 ขยายตัวชะลอลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากต้นทุนอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง
ภาวะเศรษฐกิจของอินเดีย ในไตรมาส 4 ปี 2554 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากในไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 6.9
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 4 ปี2554 อยู่ที่ระดับ 178.6 ขยายตัวร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีในเดือนมกราคม และกุมภาพันธ์ 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.4 และ 4.0 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกเดือนมีนาคม 2555 มีมูลค่า 28,682.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้าในเดือนมีนาคม2555 มีมูลค่า 42,587.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 24.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 4 ปี 2554 อยู่ที่ร้อยละ 8.7 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมกราคม2555 อยู่ที่ร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
หมายเหตุ
(12)- ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 4 ปี 2554
- ที่มา commerce.nic.in www.fpo.go.th www.bot.or.th www.ceicdata.com
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--