สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2555 (มกราคม — มีนาคม) พ.ศ. 2555(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 23, 2012 15:19 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2555 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มฟื้นตัวจากเหตุการณ์น้ำท่วม อีกทั้งมีการเร่งการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการในประเทศมากขึ้น ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุน เช่น นโยบายรถยนต์คันแรก การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ผู้ผลิตรถยนต์ทุกรายจะสามารถกลับมาเดินสายการผลิตได้เป็นปกติอีกครั้ง

  • งานแสดงรถยนต์ รถจักรยานยนต์นานาชาติ “The 33nd Bangkok International Motor Show” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 8 เมษายน 2555 ณ อิมแพ็คเมืองทองธานี ภายใต้คอนเซ็ปต์งาน “ยนตรกรรมสรรสร้างเทคโนโลยี” (Technology Difference)โดยภายในงานมีการแนะนำรถยนต์ รถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาด และมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายจากหลากหลายยี่ห้อ ส่งผลให้มียอดจองรถยนต์ทั้งสิ้น 57,058 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 67.08 (ที่มา : หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 10 เมษายน 2555)
  • สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 30 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 10,955 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2554 ร้อยละ 262.32 ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 2,951 คนในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 4 โครงการคือ 1) โครงการผลิตคอมเพรสเซอร์สำหรับยานพาหนะ ของบริษัท เอ็มเอชไอ ออโตโมทีฟ ไคลเมทคอนโทรล (ไทยแลนด์) จำกัด เงินลงทุน 1,309.60 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 192 คน2) โครงการผลิตโคมไฟสำหรับรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล ของบริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) เงินลงทุน 2,504.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 324 คน3) โครงการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เบาะรถยนต์ แผงบังแดด แผ่นฉนวนกันความร้อนและเสียงชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับยานพาหนะ ของบริษัท ซัมมิท โอโตซีท อินดัสตรี จำกัด เงินลงทุน1,067.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 413 คน และ 4) โครงการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เช่น Torque Converter Assy, Pack Assy และ Plate Driven ของบริษัท เอ็กเซดี้(ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 1,891.60 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 248 คน(รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์โลก (รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 30 เมษายน 2555 จาก FOURIN)

  • อุตสาหกรรมรถยนต์โลกในปี 2554 มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 69,015,643 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.20 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 51,394,548 คันและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 17,621,095 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.20และ 3.20 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ จีน และสหรัฐอเมริกาพบว่า จีนมีการผลิตรถยนต์ในปี 2554 จำนวน 18,431,831 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 26.71 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในปี 2554 จำนวน 8,624,025 คันคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.50 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก สำหรับการจำหน่ายรถยนต์โลกในปี 2554 มีการจำหน่ายรถยนต์ 71,991,254 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ3.70 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 52,667,529 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 19,323,725คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 2.90 และ 6.10 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ พบว่า จีนมีการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2554 จำนวน 18,533,406 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25.74 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการจำหน่ายรถยนต์ในปี 2554 จำนวน 13,039,204 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18.11 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก
  • อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศจีน มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วง 2 เดือนของปี 2555 (ม.ค.-ก.พ.) จำนวน 2,908,355 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 4.90แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 2,315,003 คัน ลดลงร้อยละ 2.20 และการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 593,352 ลดลงร้อยละ 14.10 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2555(ม.ค.-ก.พ.) มีจำนวน 2,956,849 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 6.50 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 2,373,713 คัน ลดลงร้อยละ 4.90 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์583,136 คัน ลดลงร้อยละ 12.30
  • อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วง 2 เดือนของปี 2555 (ม.ค.-ก.พ.) จำนวน 1,686,797 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 26.90 โดยเป็นการผลิตรถบรรทุก 1,042,954 เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.30 และมีการผลิตรถยนต์นั่ง643,843 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.80 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนแรกของปี 2555 (ม.ค.)มีจำนวน 934,740 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 11.90 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 457,705 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.30 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 477,035 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.90

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 499,560 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 468,978 คัน ร้อยละ 6.52 โดยเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 348,085คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 11,050 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.14 และ 64.17 ตามลำดับ แต่มีการผลิตรถยนต์นั่ง 140,425 คัน ลดลงร้อยละ 20.78 สาเหตุสำคัญเนื่องจากมีโรงงานประกอบรถยนต์นั่งรายใหญ่ที่ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม ทำให้ไม่สามารถดำเนินการผลิตได้ สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในไตรมาสแรกของปี 2555 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 220,720 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 44.18 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยเป็นรถยนต์นั่ง 44,150 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.00 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) 176,570 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ80.00 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 189.50 โดยเป็นการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 225.19, 149.77 และ 129.58 ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 278,408 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 238,619 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.67 หากแยกตามประเภทรถยนต์ มีการจำหน่ายรถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) 20,139 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 139,490 คันและรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 17,127 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.60, 35.70 และ 15.15 ตามลำดับแต่การจำหน่ายรถยนต์นั่ง 101,652 คัน ลดลงร้อยละ 4.29 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 126.14 โดยมีการจำหน่าย รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) รถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 230.08, 89.74, 73.99 และ 44.97 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 220,720 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 234,407 คัน ร้อยละ 5.84 ถ้าหากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 102,764.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 102,215.48 ล้านบาท ร้อยละ 0.54 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2555เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 130.02 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 131.59

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 มีมูลค่า25,745.75 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 53.86 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ32.47, 16.03 และ 9.76 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปมาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ มีมูลค่าลดลงร้อยละ 37.06, 11.94 และ 1.63 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 มีมูลค่า 5,388.57 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 87.70 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถแวนและปิกอัพ ได้แก่ ญี่ปุ่นคูเวต และสิงคโปร์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 88.84, 3.50 และ 1.71 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถแวนและปิกอัพไปญี่ปุ่น สิงคโปร์ และคูเวต มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 11,061.74 และ1,573.19 และ 230.23 ตามลำดับ มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วง ไตรมาสแรกของปี 2555 มีมูลค่า 70,546.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ556.48 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลียซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 20.86, 11.17 และ6.98 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และซาอุดิอาระเบีย มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1,291.05, 341.29 และ 149.63 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555(ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถโดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 11,218.39 และ7,518.34 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.34 และ 20.91 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 73.05 แต่การนำเข้ารถโดยสารและรถบรรทุกลดลง ร้อยละ 7.98 แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 35.82, 29.79 และ 17.06 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 180.46 และ167.28 ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนีลดลงร้อยละ 0.36 ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่นเกาหลีใต้ และสิงคโปร์ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 59.06, 11.75 และ 9.81 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากสิงคโปร์ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.16,23.55 และ 9.54 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มรถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2555 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มฟื้นตัวจากเหตุการณ์น้ำท่วมภายในประเทศ โดยมีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการรถยนต์ภายในประเทศ อีกทั้งผู้ประกอบการรถยนต์จากหลากหลายค่ายมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การผลิตและจำหน่ายรถยนต์นั่งในประเทศ ชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีโรงงานประกอบรถยนต์นั่งรายใหญ่ที่ตั้งอยู่ในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม ทำให้ไม่สามารถดำเนินการผลิตได้ สำหรับการส่งออกชะลอตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเป็นการลดลงในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนีย แอฟริกา และยุโรป อุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่ 2/2555 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่าน โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถยนต์ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่สองปี 2555 จะมีการผลิตรถยนต์กว่า 5 แสนคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 45-50 เนื่องจากมีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าทั้งลูกค้าเก่าที่มียอดตกค้างจากเหตุการณ์น้ำท่วม และลูกค้าใหม่ที่มีความต้องการรถยนต์เพิ่มขึ้นรวมทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุน ซึ่งได้แก่ นโยบายรถยนต์คันแรก การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น และโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย สามารถกลับมาดำเนินการผลิตได้เป็นปกติอีกครั้ง นอกจากนี้ผู้ผลิตรถยนต์นั่งรายใหญ่ของประเทศไทยได้ฟื้นฟูสายการผลิตรถยนต์จนในขณะนี้สามารถกลับมาเดินสายการผลิตรถยนต์นั่งได้เป็นปกติแล้วอย่างไรก็ตาม คงต้องมีการติดตามเรื่องของราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจส่งผลต่อการเลือกซื้อรถของผู้บริโภค

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 685,022 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 573,658 คัน ร้อยละ 19.11 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 620,530 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 64,492 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.05และ 43.36 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมามีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 172.94 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 186.65 และ 86.93 ตามลำดับ

การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2555(ม.ค.-มี.ค.) มีจำนวน 519,597 คัน ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 521,078 คัน ร้อยละ 0.28 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 242,209 คัน ลดลงร้อยละ 1.59 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 259,072คัน ลดลงร้อยละ 0.05 และการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 18,316 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ16.21 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2555 เปรียบเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.78 โดยมีการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.92, 36.70 และ2.97 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในไตรมาสแรกของปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) จำนวน 228,380 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 89,892คัน และ CKD จำนวน 138,488 ชุด) ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 259,375 คัน ร้อยละ 11.95 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ 7,761.77 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 8,380.41 ล้านบาท ร้อยละ 7.38 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อยละ 4.87 แต่คิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 114.16

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2554 มีมูลค่า9,481.96 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 72.35 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 27.18, 18.73 และ 10.82 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์สหรัฐอเมริกาสหราชอาณาจักร และญี่ปุ่น มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 249.03, 46.12 และ 116.44 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้าจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555(ม.ค.-มี.ค.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า 671.89 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 324.83 ล้านบาท ร้อยละ106.84 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 99.24 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 ได้แก่ แอฟริกาใต้ และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 23.83 และ22.21 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์เวียดนาม เพิ่มขึ้นร้อยละ 252.15

สรุปและแนวโน้ม รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในไตรมาสแรกของปี 2555 การผลิตขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ต้องเร่งการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหลังจากเหตุการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ ประกอบกับภาคการเกษตร ซึ่งเป็นตลาดหลักของรถจักรยานยนต์ มีผลผลิตและราคาพืชผลทางการเกษตรปรับตัวสูงขึ้น ทำให้รายได้ของเกษตรกรดีขึ้น อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่ 2/2555 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่าน โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่สองปี 2555 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 6.5 แสนคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 85-90และการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 10-15

  • อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 36,862.68 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 0.82 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า 6,881.46ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 1.15 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 4,654.40 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ22.86 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) เครื่องยนต์ และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.27, 4.05 และ 2.50 ตามลำดับ

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 มีมูลค่า 49,647.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 15.32 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 15.17, 14.04 และ 9.56 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.03, 14.82 และ 4.47ตามลำดับ

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า3,118.87 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 4.68 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 171.08 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 11.86 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2555 เปรียบเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ลดลง ร้อยละ 26.01แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.88

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี2555 มีมูลค่า 6,277.02 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.66 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 23.50, 13.74 และ 13.69 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปอินโดนีเซีย และกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.40 และ 56.90 ตามลำดับ แต่การ

ส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปเวียดนาม ลดลงร้อยละ 28.71การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 57,558.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 13.62 หากพิจารณาในไตรมาสแรกของปี 2555เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.61 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 62.55, 7.04 และ 4.76 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น จีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.96 และ 70.63 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ6.04

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 (ม.ค.-มี.ค.) มีมูลค่า 4,131.82ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ลดลงร้อยละ 16.80 หากพิจารณาใน ไตรมาสแรกของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.20 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ที่สำคัญในช่วงไตรมาสแรกของปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 41.56, 15.37 และ 10.22 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากจีน และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.46 และ 42.86 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น ลดลง ร้อยละ 32.24

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

  • เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ปรับปรุงประเภทของหน่วยงานราชการที่ได้รับการยกเว้นภาษีประจำปีและนิรโทษกรรมภาษีประจำปีที่ค้างชำระของหน่วยงานราชการ) และร่างพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ปรับปรุงประเภทของหน่วยงานราชการที่ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมและภาษีประจำปีและนิรโทษกรรมค่าธรรมเนียมและภาษีประจำปีค้างชำระของหน่วยงานราชการ) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaigov.go.th)
  • เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2555 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ปรับปรุงน้ำหนักของรถที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง ส่วนบุคคล) และร่างพระราชบัญญัติรถยนต์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดน้ำหนักรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป(สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaigov.go.th)

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ