สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2555 (มกราคม — มีนาคม) พ.ศ. 2555(อุตสาหกรรมพลาสติก)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 23, 2012 15:32 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ราคาต้นทุนวัตถุดิบของอุตสาหกรรมพลาสติกโดยรวมเพิ่มสูงขึ้น โดยมีราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยตลอดไตรมาสอยู่ที่ 105 เหรียญสหรัฐ/บาเรลล์ ปรับตัวสูงขึ้น 15 เหรียญสหรัฐ/บาเรลล์ จากไตรมาสที่ผ่านมา ตลอดจนราคาพอลิโอเลฟินส์และอะโรมาติกส์ที่ปรับตัวสูงขึ้นตลอดไตรมาสเช่นเดียวกัน

การตลาดและการจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ

เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ฟื้นตัวดีขึ้นประชาชนมีความเชื่อมั่นที่จะลงทุนและบริโภค รวมทั้งอุตสาหกรรมต่อเนื่องบางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มฟื้นตัวและกลับมาผลิตได้อีกครั้ง มีอัตราขยายตัวของการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีแนวโน้มการบริโภคผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมต่อเนื่องบางอุตสาหกรรม เช่นอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสแรกยังคงได้รับผลกระทบต่อเนื่องจากน้ำท่วมและยังไม่สามารถเดินเครื่องได้ตามปกติ และสามารถคาดการณ์ได้ว่าการบริโภคพลาสติกภายในประเทศโดยรวมในไตรมาสแรกนี้จะเพิ่มสูงขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่า นั้น

การค้าระหว่างประเทศ

ส่งออก

การส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติก (3916-3926) โดยในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2555 มีมูลค่ารวม 43.81 ล้านบาท ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 80.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว โดยมีปริมาณการส่งออกผลิตภัณฑ์พลาสติกเพิ่มสูงขึ้นรอ้ ยละ 60.24 อันเป็นผลมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น การมีคำสั่งซื้อที่เพิ่มมากขึ้นหลังจากเทศกาลหยุดยาวช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน และการที่ผู้ประกอบการต้อง

พยายามส่งสินค้าออกไปต่างประเทศเนื่องจากขาดคำสั่งซื้อจากอุตสาหกรรมในประเทศที่ต้องหยุดการผลิตเนื่องจากได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม นอกจากนี้การส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นมากในไตรมาสที่1นี้ยังอาจแสดงให้เห็นถึงสัญญานการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย อันได้แก่ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และจีน อีกด้วย โดยสินค้าที่ส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ พลาสติกในกลุ่มบรรจุภัณฑ์ (ร้อยละ 27) เส้นใย (ร้อยละ 23) และอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเลกทรอนิกส์ (ร้อยละ 16) ตามลำดับ

การนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติก (3916-3926) ไตรมาส 1 ปี 2555 มีมูลค่ารวม57,080 ล้านบาท โดยมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 133.53 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา และเพิ่มขึ้นร้อยละ 217.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากการที่บริษัทผู้ผลิตอุตสาหกรรมปลายน้ำจำเป็นต้องนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกมาทดแทนวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนพลาสติกที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ประกอบกับการที่รัฐได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวโดยการยกเว้นภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าบางประการ ยิ่งช่วยกระตุ้นให้ผู้ประกอบการนำเข้าสินค้ามาทดแทนมากขึ้น โดยประเทศไทยนำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกจากประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร์ จีน และมาเลเซียมากเป็นลำดับต้นๆ และสินค้าที่ไทยนำเข้าจะเป็นสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ (ร้อยละ 30) อิเลกทรอนิกส์ (ร้อยละ 19) และเส้นใย(ร้อยละ 18) ในหมวด 3926 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีการผลิตในไทยหรืออาจไม่ตรงกับความต้องการ และมูลค่าต่อหน่วยค่อนข้างสูง

ราคา

ราคาพอลิเมอร์ภายในประเทศเกรดทั่วไป (commodity) ทั้งแบบฟิล์ม (film) แบบฉีด (injection) และแบบเป่า (blow molding) ได้แก่ พอลีเอธิลีน (PE) และ พอลีพรอพิลีน ขยับตัวสูงขึ้น โดยราคาพอลีเอธิลีนขยับจากราคาสูงสุดของไตรมาส 4 ปี 2554 คือ 46 บาทต่อกิโลกรัม ไปอยู่ที่ 52 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อสิ้นสุดไตรมาส 1 ปี 2555 หรือปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 13.04 และมีราคาเฉลี่ยตลอดทั้งไตรมาสที่ 1 อยู่ที่ 48.45 บาทต่อกิโลกรัม และราคาพอลีพอพิลีน (PP) ขยับจากราคาสูงสุด 48 บาทต่อกิโลกรัมในไตรมาสก่อนหน้า ไปอยู่ที่ 54 บาทต่อกิโลกรัมเมื่อสิ้นสุดไตรมาส 1 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 12.5 ส่งผลให้มีราคาเฉลี่ยตลอดไตรมาสอยู่ที่ 51 บาทต่อกิโลกรัม

  • นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

นโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทุกจังหวัดร้อยละ 40 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 1 เมษายน 2555 ส่งผลให้ 7 จังหวัด มีค่าจ้างสูงเป็น 300 บาทต่อวัน มีการประเมินว่านโยบายดังกล่าวทำใหต้ นทุนค่าแรงของอุตสาหกรรมผู้ผลิต (manufacturing) ที่รวมถึงอุตสาหกรรมพลาสติกซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.13

  • สรุปและแนวโน้ม

ตัวเลขนำเข้าและส่งออกที่ปรับตัวสูงขึ้นแสดงให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจของทั้งในและต่างประเทศที่ดีขึ้น โดยอุตสาหกรรมพลาสติกไทยสามารถฟื้นตัวจากเหตุการณ์น้ำท่วมและกลับมาเร่งเดินเครื่องผลิตเพื่อชดเชยคำสั่งซื้อที่ยังคงค้างมาตั้งแต่ไตรมาสก่อนได้

อย่างไรก็ตามจากการประมาณการคาดว่าการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกในปี 2555 จะมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 เมื่อเทียบกับปี 2554 หรือเท่ากับปริมาณ 3,754 ตัน โดยการส่งออกและนำเข้าจะชะลอตัว กล่าวคือการส่งออกจะขยายตัวต่ำกว่าปีก่อนหน้า หรือขยายตัวเพียงร้อยละ 1 ในขณะที่การนำเข้าจะลดลงร้อยละ 1 ด้วยสาเหตุและปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • จากปัญหาหนี้สาธารณะในยุโรปที่ยังไม่มีท่าทีที่ดีขึ้น และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างต่ำของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักของอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทย ทำให้คาดการณ์ได้ว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออกจะอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ และส่งผลให้ความต้องการชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์พลาสติกไม่ขยายตัวมากนัก
  • เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเริ่มฟื้นตัวดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจและดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ทำให้คาดว่าอุปสงค์ในประเทศจะปรับตัวสูงขึ้น
  • ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ IMF คาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 รวมทั้งเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาที่ปรับตัวดีขึ้น
  • อุตสาหกรรมยานยนต์มีแผนเพิ่มปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 44 ประกอบกับความสามารถในการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่จะกลับมาผลิตได้เต็มกำลังการผลิตอีกครั้งในช่วงกลางปี

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ