สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2555 (มกราคม — มีนาคม) พ.ศ. 2555(อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday May 24, 2012 15:48 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ในภาพรวมด้านการส่งออกมีการขยายตัว คือ ขยายตัวร้อยละ 38.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากการส่งออกอัญมณี ขยายตัวร้อยละ 35.06 เครื่องประดับแท้ขยายตัว19.18 รวมถึงการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.32 ซึ่งเป็นสาเหตุหลักต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกในไตรมาสนี้

การผลิตและการจำหน่าย

การผลิตเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณและของที่เกี่ยวข้องกัน ในไตรมาสที่ 1ปี 2555 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ดูตารางที่ 1 ประกอบ) ดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 12.78 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 8.58 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ3.00 หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.31 ดัชนีส่งสินค้าหรือดัชนีการจำหน่ายลดลงร้อยละ 3.46 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลังเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.30

การตลาด

การค้าระหว่างประเทศ

การส่งออก

ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 (ดูตารางที่ 2 ประกอบ) ไทยส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,351.22 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 5.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกอัญมณีที่มีมูลค่า 598.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.06 เครื่องประดับแท้ที่มีมูลค่า 982.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.18 นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการส่งออกทองคำยังไม่ขึ้นรูปซึ่งมีมูลค่าสูงถึง1,603.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.67 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่

1. อัญมณี ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 598.42 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 35.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.42, 14.72 และ 10.95 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์อัญมณีที่สำคัญมีดังนี้

1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 407.60 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.66 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง เบลเยี่ยม และอิสราเอล คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ37.92, 21.46 และ 15.93 ตามลำดับ

1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 187.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 75.98 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48.28, 14.09 และ 9.30 ตามลำดับ

2. เครื่องประดับแท้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 982.37 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 0.61 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ23.76, 19.85 และ 7.51 ตามลำดับ ซึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องประดับแท้ที่สำคัญมีดังนี้

2.1 ทำด้วยเงิน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 362.95 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 0.26 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 5.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และเดนมาร์ก คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 44.94, 12.95 และ 10.37 ตามลำดับ

2.2 ทำด้วยทอง ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 564.43 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นรอ้ ยละ 5.15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.85, 12.07 และ 10.79 ตามลำดับ

3. เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก95.74 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ14.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ลิกเตนสไตน์ สหรัฐอเมริกาและเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 46.15, 18.17 และ 7.59 ตามลำดับ

4. อัญมณีสังเคราะห์ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก 34.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.45 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.31 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง ออสเตรีย และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ55.24, 13.10 และ 7.78 ตามลำดับ

5. ทองคำที่ยังไม่ได้ขึ้นรูป ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออก1,603.74ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.32 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ15.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ ฮ่องกง และกัมพูชา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 58.01, 23.68 และ 1.83 ตามลำดับ

การนำเข้า

1. เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 (ดูตารางที่ 3 ประกอบ) มีมูลค่าการนำเข้า 4,581.85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 25.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน วัตถุดิบสำคัญได้แก่

1.1 เพชร ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการนำเข้า 445.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.24 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 1.06 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ อินเดีย อิสราเอล และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.82, 20.88และ 16.56 ตามลำดับ

1.2 พลอย ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการนำเข้า 90.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ 78.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง บราซิล และอินเดีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.49, 16.83 และ14.74 ตามลำดับ

1.3 ทองคำ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการนำเข้า 3,792.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 30.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ แอฟริกาใต้ และออสเตรเลีย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59.48, 17.40 และ 8.34 ตามลำดับ

1.4 เงิน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการนำเข้า 194.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯลดลงร้อยละ 20.30 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 15.77 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ เกาหลีใต้ จีน และสวิตเซอร์แลนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 29.69,24.55 และ 14.47 ตามลำดับ

1.5 โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการนำเข้า 13.40ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 48.89 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 43.79 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 49.53, 26.43 และ 10.65 ตามลำดับโดยการนำเข้าเพชร พลอย ทองคำ เงิน โลหะมีค่าและโลหะอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 98.99 ของการนำเข้าวัตถุดิบทั้งหมด

2. เครื่องประดับอัญมณี ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าทั้งสิ้น 251.21 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.80 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์สำคัญๆ ได้แก่

2.1 เครื่องประดับอัญมณีแท้ ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการนำเข้า241.54ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.93 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ27.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ฮ่องกง มาเลเซีย และสิงคโปร์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.93, 8.02 และ 6.37 ตามลำดับ

2.2 เครื่องประดับอัญมณีเทียม ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 มีมูลค่าการนำเข้า8.42ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 48.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.65 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แหล่งนำเข้าสำคัญ ได้แก่ จีน ฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 31.79, 15.97 และ 10.48 ตามลำดับ

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะขึ้นบัญชีดำกับร้านจิวเวลรี่ที่หลอกลวงนักท่องเที่ยว พร้อมกับให้ใบประกาศเกียรติคุณกับร้านจิวเวลรี่ชั้นดี ขณะเดียวกันจะขอความร่วมมือให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ช่วยสุ่มตรวจร้านจิวเวลรี่ด้วยเช่นกันโดยเชื่อว่าหากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาลงไปตรวจสอบเอง และขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะช่วยลดปัญหาร้านจิวเวลรี่หลอกลวงนักท่องเที่ยวได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของร้านค้าจิวเวลรี่ในไทยทำให้นักท่องเที่ยวมีความเชื่อมั่นและซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในขณะท่องเที่ยวในไทยเพิ่มมากขึ้น

สรุปและแนวโน้ม

สรุป

ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ด้านการผลิตหดตัวลดลงร้อยละ 12.78 และการจำหน่ายหดตัวลดลงร้อยละ 8.58 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกมีการขยายตัว คือ ขยายตัวร้อยละ 38.18 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากการส่งออกอัญมณี ขยายตัวร้อยละ 35.06 เครื่องประดับแท้ขยายตัว 19.18 รวมถึงการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 58.32 ซึ่งเป็นสาเหตุหลักต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าการส่งออกในไตรมาสนี้ โดยในภาพรวมการนำเข้าทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปในไตรมาสนี้มีมูลค่ามากกว่าการส่งออก เนื่องจากราคาทองคำโดยเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ระดับประมาณ 1,700 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ ซึ่งปรับตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 1,750 เหรียญสหรัฐฯ ต่อออนซ์ อย่างไรก็ดี พบว่าการส่งออกเพชร พลอย และเครื่องประดับแท้ทำด้วยทอง ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญมีมูลค่าการส่งออกขยายตัวร้อยละ 21.66 75.98 และ 31.29 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนด้านการนำเข้าสินค้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบในไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 25.93 เนื่องมาจากการนำเข้าทองคำยังไม่ขึ้นรูปลดลงร้อยละ 30.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

แนวโน้ม

แนวโน้มภาพรวมการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ปัจจัยด้านลบ คือ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัจจัยด้านบวก คือ ความสำเร็จจากการจัดงานบางกอกเจมส์แอนด์จิวเวลรี่แฟร์ ครั้งที่ 49 ที่เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2555 ถึง วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมาโดยจะมีคำสั่งซื้อเข้ามาซึ่งมีส่วนช่วยให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นได้ จากปัจจัยบวกและปัจจัยลบดังที่กล่าวมานั้น ปัจจัยบวกและปัจจัยลบจะส่งผลใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าแนวโน้มการส่งออกในไตรมาสที่ 2 ปี2555 จะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ