สาธารณรัฐชิลี (Republic of Chile) ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ ระหว่างแนวเทือกเขาแอนดีสกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวยาวเลียบฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในแนวตั้ง มีพื้นที่ใช้ประโยชน์ประมาณ 750,000 ตารางกิโลเมตร ประชากรราว 17 ล้านคน โดยอาศัยอยู่ในเขตเมืองหลวงกรุงซานติเอโก ประมาณ 6 ล้านคน และตามหัวเมืองต่างๆคิดเป็นร้อยละ 89 ของประชากรที่อาศัยอยู่พื้นที่เขตเมือง ในด้านความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทยและชิลี ในปี พ.ศ. 2554 (2011) ชิลีเป็นประเทศคู่ค้าที่สาคัญอันดับ 5 ของไทยในภูมิภาคลาตินอเมริกา ยอดการค้ารวมระหว่างไทยและชิลี มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 870.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยส่งออกไปยังชิลีคิดเป็นมูลค่า 511.92 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และนาเข้าจากชิลี คิดเป็นมูลค่า 358.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้ากับชิลี คิดเป็นมูลค่า 153.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สาคัญของไทย ได้แก่ รถยนต์ปิคอัพ หรือ รถกระบะ ซึ่งชิลีนาเข้าจากไทยมากที่สุด คิดเป็นประมาณร้อยละ 60 ของสินค้าที่ชิลีนาเข้าทั้งหมดจากไทย โดยนาไปใช้ในการขนส่งสาหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ การเกษตร และการประมง ซึ่งมีอยู่เป็นจานวนมากทั่วประเทศ และ โดยที่ไทยได้เริ่มเจรจาจัดทาความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับชิลีแล้ว ตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 จะส่งผลให้สินค้าไทยได้รับสิทธิประโยชน์จากความตกลง FTA โดยตรง ดังนั้น อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยจะมีโอกาสในการขยายตลาดสินค้าไปยังภูมิภาคลาตินอเมริกาเพิ่มขึ้นได้อีกมาก
ภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ชิลี
ชิลีเป็นประเทศที่ไม่มีอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ แต่จะเป็นการนาเข้ารถยนต์สาเร็จรูปประเภทต่างๆจากต่างประเทศโดยตรง เนื่องจากชิลีดาเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเปิดเสรี (Liberal Economy Policy) โดยใช้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) เป็นหัวใจในการดาเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จากข้อมูลการนาเข้ารถยนต์ในปี พ.ศ. 2554 (2011) พบว่า ชิลีมีการนาเข้ารถยนต์จานวนทั้งสิ้น 340,801 คัน โดยส่วนแบ่งตลาดรถยนต์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ครองส่วนแบ่งมากที่สุด (55%) รองลงมาคือ รถยนต์ขนาดใหญ่ (20%) รถยนต์ปิคอัพ (19%) และ รถตู้ (6%) ตามลาดับ โดยรถยนต์นาเข้าแบรนด์ต่างๆ 10 อันดับแรก ได้แก่ Chevrolet (16.8%) Nissan (12.2%) Hyundai (10.0%) Kia (8.1%) Toyota (6.8%) Suzuki (6.3%) Ford (3.0%) Mazda (2.9%) Mitsubishi (2.7%) และ Renault Samsung (2.6%) ตามลาดับ
สถานะอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในตลาดชิลี
ในปี พ.ศ. 2554 (2011) ชิลีนาเข้ารถยนต์จากเกาหลีใต้มากที่สุดเป็นอันดับที่ 1 จานวน 110,986 คัน (33%) รองลงมา คือ ญี่ปุ่น จานวน 49,570 คัน (14%) จีน จานวน 44,208 คัน (13%) เม็กซิโก จานวน 32,916 คัน (10%) และไทยเป็นอันดับที่ 5 จานวน 22,972 คัน (7%) ตามด้วย อินเดียจานวน 19,280 คัน (6%) และ สหรัฐอเมริกา จานวน 14,268 คัน (4%) โดยรถยนต์แบรนด์ต่างๆที่ไทยส่งออกไปยังชิลี ได้แก่ Mitsubishi (27.9%) Toyota (21.3%) Chevrolet (15.6%) Nissan (15.4%) Mazda (11.5%) และ Ford (8.1%) คิดเป็นยอดการส่งออกของไทยมูลค่ารวม 346.23 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เมื่อแบ่งเป็นรถยนต์ประเภทต่างๆที่ไทยสามารถครองตลาดอยู่ในชิลี พบว่า รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ได้แก่ Mazda 2 และ Mitsubishi Mirage และ รถยนต์ขนาดใหญ่ ได้แก่ Mitsubishi Montero Sportสามารถครองส่วนแบ่งตลาดในชิลีได้เพียงประเภทละ 1.0% เท่านั้น โดยเกาหลีใต้และญี่ปุ่นยังคงครองส่วนแบ่งตลาดหลักของรถยนต์ทั้งสองประเภทนี้ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น ในขณะที่รถยนต์ประเภทรถตู้ ไทยยังไม่สามารถครองส่วนแบ่งตลาดในชิลีได้เลย อย่างไรก็ดี โอกาสของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในชิลีขณะนี้ ได้แก่รถยนต์ปิคอัพ ที่ไทยสามารถครองส่วนแบ่งตลาดในชิลีได้สูงสุด 32% ครองแชมป์เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือเม็กซิโก เกาหลีใต้ จีน สหรัฐฯ และ ญี่ปุ่น (18% 15% 11% 6% และ 5%) ตามลาดับ โดยรถยนต์ปิคอัพแบรนด์ต่างๆของไทยที่ส่งออกไปขายยังชิลี ได้แก่ Mitsubishi, Nissan, Mazda, Ford และ Chevrolet ซึ่งมียอดขายรวมกันเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดจากร้อยละ 2 ในปี พ.ศ. 2549 (2006) จนถึงร้อยละ 7ในปัจจุบัน
จากการดาเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบเปิดเสรี (Liberal Economy Policy) โดยใช้ความ ตกลงการค้าเสรี (FTA) เป็นหัวใจในการดาเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ส่งผลให้ชิลีเป็นประเทศที่มีการจัดทา FTA มากที่สุดประเทศหนึ่งในลาตินอเมริกา โดยได้ลงนาม FTA แล้วจานวน 19 ฉบับ กับ 57 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก โคลัมเบีย สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ (เอเชียประเทศแรกที่ชิลีทา FTA) จีน (ชิลีเป็นลาตินอเมริกาประเทศแรกที่จีนทา FTA) อินเดีย และ มาเลเซีย ซึ่งเป็น FTA ฉบับแรกที่ชิลีทากับประเทศสมาชิกอาเซียน สาหรับไทยที่ได้เริ่มเจรจาจัดทาความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับชิลีแล้วตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 หากเมื่อความตกลง FTA มีผลบังคับใช้ จะเป็นโอกาสของไทยในการขยายการค้าไปยังภูมิภาคลาตินอเมริกาได้อีกช่องทางหนึ่ง นอกเหนือจากความตกลง FTA ไทย-เปรู ที่ได้นาร่องเปิดทางไว้ล่วงหน้าแล้ว โดยชิลีจัดเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ ที่จะช่วยให้สินค้าไทยได้รับประโยชน์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะสินค้ารถยนต์ปิคอัพ ที่ครองแชมป์อยู่แล้วในตลาดชิลี และเป็นโอกาสสาหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ไทยได้ส่งออกไปยังชิลีบ้างแล้ว อีกทั้งชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ ซึ่งไทยมีศักยภาพการผลิตสินค้าเหล่านี้ รวมถึงธุรกิจการบริการต่างๆ เช่น ศูนย์จัดจาหน่ายรถยนต์ และ ศูนย์การให้บริการซ่อมบารุง เป็นต้น เนื่องจากชิลีเป็นประเทศที่มีกาลังซื้อสูงและมีการใช้รถยนต์ปิคอัพ ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ การเกษตรและการประมงเป็นจานวนมาก ดังจะเห็นได้จากความตกลง FTA ชิลี-เกาหลีใต้ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 (2003) ส่งผลให้รถยนต์ของเกาหลีใต้ สามารถส่งออกไปยังชิลีมากขึ้นจาก 18.8% เพิ่มขึ้นเป็น 35.1% อย่างไรก็ตาม ชิลียังคงมีมาตรการที่มิใช่ภาษีที่อาจเป็นอุปสรรรคอยู่บ้าง เช่น ระบบภาษีสรรพากร และพิธีการทางศุลกากร รวมถึงระยะทางในการขนส่ง ซึ่งหากได้รับการปรับปรุงให้มีความสะดวกและรวดเร็ว จะช่วยทาให้สินค้าไทยประเภทอื่นๆ สามารถขยายไปยังตลาดชิลีได้เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--