สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤษภาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 14, 2012 14:53 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2555 กลับมาขยายตัวเป็นบวกได้เป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือนหลังเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ที่ผ่านมา โดยดัชนีฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้การผลิตเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เบียร์เครื่องปรับอากาศ สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมแม้จะยังคงติดลบอยู่ แต่ก็ทยอยปรับตัวดีขึ้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับการผลิต โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 5.8 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งจะหดตัวร้อยละ 1.9 จากเดือนมีนาคมที่หดตัวร้อยละ 2.0

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(1) เดือนเมษายน 2555 กลับมาขยายตัวเป็นบวกได้เป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือนหลังเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ที่ผ่านมา โดยดัชนีฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้การผลิตเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ อาทิ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเบียร์ เครื่องปรับอากาศ

สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต(2) เดือนเมษายน2555 อยู่ที่ร้อยละ 62.24 จากร้อยละ 68.27 ในเดือนมีนาคม2555 และร้อยละ 54.43 ในเดือนมีนาคม 2554

เมื่อพิจารณาในด้าน ของ การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2555 ลดลงหรือหดตัวร้อยละ 5.8เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่หากหักการส่งออกทองคำการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ไม่รวมทองคำหดตัวที่ร้อยละ 1.9

หมายเหตุ

(1) ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งในภาพรวม รายสาขาอุตสาหกรรม และรายผลิตภัณฑ์

(2) อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็มศักยภาพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)

อุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ(เมษายน 2555)

อุตสาหกรรมอาหาร การผลิต (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนเมษายน 2555 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 0.8 สินค้าสำคัญที่เพิ่มขึ้นได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง ปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 23.6 เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอลดลงในผลิตภัณฑ์ เส้นใยสิ่งทอฯผ้าผืน เครื่องนอนและผ้าขนหนู ผ้ายางยืด เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ โดยลดลงร้อยละ 33.22, 16.08, 2.31,13.90, 28.37 และ 5.09 ตามลำดับ

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิต ลดลง ร้อยละ 4.19 เนื่องจากความต้องการใช้ยังไม่กลับเข้าสู่ปกติ ถึงแม้ว่าจะมีการซ่อมแซมบ้านเรือนหลังน้ำ ท่วม แต่ก็ยังไม่มากตามที่ได้คาดการณ์ไว้ โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลงร้อยละ 8.95 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดคือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 36.68รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ19.01 แต่เหล็กทรงยาวมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.04 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ34.18 และลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.63 ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea)ในช่วงเดือนเมษายน 2555 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กเส้น เหล็กแท่งเล็ก Billetผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กทรงตัว คือ เหล็กแท่งแบน สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน คือ เหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กแผ่นรีดเย็น

อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิต จำนวน142,298 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2554 ซึ่งมีการผลิต 89,179 คัน ร้อยละ 59.56 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2555 ร้อยละ25.39 ซึ่งเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่งและรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ สำหรับการส่งออกมีจำนวน 55,433 คันเพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2554 ซึ่งมีการส่งออก52,191 คัน ร้อยละ 6.21 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกากลางและอเมริกาใต้

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การผลิต เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 14.46 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีก่อน ทำให้สายการผลิตเสียหาย และไม่สามารถผลิตสินค้าได้เต็มกำลังการผลิต เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ18.28 แต่สำหรับอุตสาหกรรมครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.02

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ