สรุปประเด็นสำคัญ
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2555 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2555 ร้อยละ 13.8แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นในหลายอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เบียร์ เครื่องปรับอากาศ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
- อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนเมษายน 2555 อยู่ที่ระดับร้อยละ 62.24 ลดลงจากร้อยละ 68.27 ในเดือนมีนาคม 2555
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์
ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2555 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2555 เนื่องจากช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นฤดูการขาย ซึ่งเป็นช่วงเปิดภาคเรียนการศึกษาใหม่ ทำให้มีปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น โดยการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2555 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ร้อยละ 86 และส่งออกร้อยละ 14
อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์
ภาวะการผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในช่วงเดือนพฤษภาคม จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องจากในเดือนเมษายนตัวเลขจะลดลงต่ำกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนทำให้ภาวะการก่อสร้างเริ่มชะลอตัว รวมทั้งการส่งออกมีแนวโน้มลดลงด้วย เนื่องจากประเทศที่เป็นตลาดส่งออกหลักของไทยอยู่ในภูมิภาคนี้ ย่างเข้าสู่ฤดูฝนคล้าย ๆ กับไทยจึงเป็นอุปสรรคในการก่อสร้างและการคมนาคม ขนส่ง ทำให้ยอดการผลิต การจำหน่ายและการส่งออก มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม
มี.ค. 55 = 192.9
เม.ย. 55 = 166.2
โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่
- Hard Disk Drive
- ยานยนต์
- เบียร์
- อัตราการใช้กำลังการผลิต
มี.ค. 55 = 68.27
เม.ย. 55 = 62.24
โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่
- ยานยนต์
- Hard Disk Drive
- ผลิตภัณฑ์ยาง
ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน 2555 มีค่า 166.2 ลดลงจากเดือนมีนาคม 2555(192.9) ร้อยละ 13.8 แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนมีนาคม 2554 (165.3) ร้อยละ 0.5
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม2555 ได้แก่ Hard Disk Drive ยานยนต์ เบียร์ น้ำตาล ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เบียร์ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้นอัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนเมษายน 2555 อยู่ที่ระดับร้อยละ 62.24 ลดลงจากเดือนมีนาคม2555 (ร้อยละ 68.27) แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนเมษายน 2554 (ร้อยละ 54.43)
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนมีนาคม 2555 ได้แก่ยานยนต์ Hard Disk Drive ผลิตภัณฑ์ยาง เส้นใยสิ่งทอ น้ำตาล เป็นต้น
- อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ ยานยนต์ โทรทัศน์สี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ อาหารสัตว์สำเร็จรูป เป็นต้น
สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2555
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2555 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 298 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 354 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ15.8 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 5,384.80 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งมีการลงทุน 7,039.61ล้านบาท ร้อยละ 23.5 และมีการจ้างงานจำนวน 5,011 คน ลดลงจากเดือนมีนาคม 2555 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 6,914 คน ร้อยละ 27.5
ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่น้อยกว่าเดือนเมษายน 2554 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 354 ราย หรือคิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 15.8 มียอดเงินลงทุนรวมลดลงจากเดือนเมษายน 2554 ซึ่งมีการลงทุน 17,805.35 ล้านบาท ร้อยละ 69.8 และมีการจ้างงานรวมลดลงจากเดือนเมษายน 2554 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,613 คน ร้อยละ 34.2
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนเมษายน 2555 คืออุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งภายในอาคารจากไม้ จำนวน 30 โรงงานรองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต และจำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จ และอุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์เคาะพ่นสีรถยนต์ ประกอบและซ่อมตัวถังรถยนต์ ทั้งสองอุตสาหกรรม จำนวน 16 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2555 คืออุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายแป้งมันสำปะหลัง จำนวน 490 ล้านบาท รองลงมาคืออุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสีรถยนต์ ประกอบและซ่อมตัวถังรถยนต์ จำนวน 475.6ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนเมษายน 2555 คืออุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 524 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์โลหะสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า จำนวนคนงาน 259 คน
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2555 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 80 ราย น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2555ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 106 ราย คิดเป็นร้อยละ 24.5 มีการเลิกจ้างงาน จำนวน 2,388 คน น้อยกว่าเดือนมีนาคม 2555 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 4,123 คน แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 1,518.79ล้านบาท มากกว่าเดือนมีนาคม 2555 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 697.76 ล้านบาท
ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการมากกว่าเดือนเมษายน 2554 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 49 ราย คิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 63.3 มีการเลิกจ้างงานมากกว่าเดือนเมษายน 2554 ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 1,388 คน แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนเมษายน 2554 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,681.75 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนเมษายน 2555 คือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสีรถยนต์ ประกอบและซ่อมตัวถังรถยนต์ จำนวน 11 โรงงาน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน และอุตสาหกรรมผลิต และจำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จ ทั้งสองอุตสาหกรรม จำนวน 6 โรงงาน
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนเมษายน 2555 คืออุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ เงินทุน959.83 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ เคาะพ่นสีรถยนต์ ประกอบและซ่อมตัวถังรถยนต์ เงินทุน 79.49 ล้านบาท
- อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนเมษายน 2555คือ อุตสาหกรรมผลิต ซ่อมเครื่องรับวิทยุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องเรดาร์ คาปาซิเตอร์ จำนวนคนงาน 1,092 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จำนวนคนงาน 343 คน
ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม -เมษายน 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 659 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 495 โครงการร้อยละ 33.13 และมีเงินลงทุน 209,400 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 145,500 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.92
- การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม - เมษายน2555
การร่วมทุน จำนวน(โครงการ) มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท) 1.โครงการคนไทย 100% 313 50,600 2.โครงการต่างชาติ 100% 215 62,500 3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ 131 96,300
- ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — เมษายน2555 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 98,200 ล้านบาทรองลงมา คือ หมวดอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องไฟฟ้า มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 31,000 ล้านบาท
ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ชะลอตัวลง ส่วนการจำหน่ายภายในประเทศ จะปรับตัวลดลง จากราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอย
1. การผลิต
ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนเมษายน 2555 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 0.8 แต่ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 26.5 แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออกเป็นหลัก เช่น แป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 23.6 เนื่องจากปริมาณวัตถุดิบเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ หากพิจารณากลุ่มสินค้าสำคัญโดยเปรียบเทียบกับเดือนก่อน เช่น ไก่แปรรูป กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง ทูน่ากระป๋อง และสับปะรดกระป๋อง มีปริมาณการผลิตลดลง ตามภาวะเศรษฐกิจของตลาดนำเข้าหลักอย่างสหภาพยุโรปที่ซบเซา และอาจลุกลามไปยังตลาดอื่นๆ ส่งผลต่อปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าประเภทต่างๆ ปรับตัวลดลง กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น อาหารไก่ มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7เมื่อเทียบกับปีก่อน ตามการขยายตัวของการผลิตและเลี้ยงไก่ แต่หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อน ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.0
2. การตลาด
1) ตลาดในประเทศ เดือนเมษายน 2555 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 0.7แต่ปรับลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 24.6 ซึ่งเป็นการปรับลดลงตามจำนวนวันทำงานที่ลดลง ประกอบกับราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง
2) ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนเมษายน เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 12.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง แต่หากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 8.5 จากคำสั่งซื้อที่ชะลอตัวลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปที่ซบเซา ประกอบกับแนวโน้มราคาน้ำมันยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในต่างประเทศลดลง
3. แนวโน้ม
การผลิตและส่งออก คาดว่า จะชะลอตัวลงจากเดือนก่อน จากคำสั่งซื้อที่ชะลอตัวลง ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในกลุ่มสหภาพยุโรปและสถานการณ์เศรษฐกิจของญี่ปุ่นที่ชะลอตัวลง สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนจากสถานการณ์ราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง
1. การผลิต
เดือนเมษายน 2555 ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอเมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวลดลงในทุกผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของตลาดที่ลดลงตามฤดูกาล ได้แก่ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน เครื่องนอนและผ้าขนหนูผ้ายางยืด เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ โดยลดลงร้อยละ 10.90, 9.23, 15.83, 30.08, 16.38 และ 11.00 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตส่วนใหญ่ลดลงในผลิตภัณฑ์เดียวกัน โดยลดลงร้อยละ 33.22, 16.08, 2.31, 13.90,28.37 และ 5.09 ตามลำดับ
2. การจำหน่าย
การจำหน่ายในประเทศ เดือนเมษายน 2555 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนการจำหน่ายส่วนใหญ่ลดลงในผลิตภัณฑ์เส้นใยสิ่งทอฯ เครื่องนอนและผ้าขนหนู ผ้ายางยืด เสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าถัก และเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าทอ โดยลดลงร้อยละ 18.27, 17.30, 32.44, 17.54 และ 13.85 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายในประเทศส่วนใหญ่ลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ มีเพียงเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าทอที่เพิ่มขึ้นร้อยละ12.24
การส่งออกโดยรวมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนร้อยละ 22.01สอดคล้องกับการผลิตที่ลดลง ผลิตภัณฑ์ที่ลดลง เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูปเครื่องยกทรงฯ ผ้าผืน ด้ายฝ้าย ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เคหะสิ่งทอ และเส้นใยประดิษฐ์ โดยลดลงร้อยละ 22.07, 28.31, 18.23, 7.92, 8.95 22.53 และ16.79 ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการส่งออกลดลงโดยรวมร้อยละ 20.25 สำหรับตลาดส่งออก การส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนในทุกตลาด คือ อาเซียน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป โดยลดลงร้อยละ 28.07, 20.95, 24.39 และ 15.53ตามลำดับ และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการส่งออกลดลงทุกตลาดเช่นกัน คือ อาเซียน ญีปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป โดยลดลงร้อยละ 11.67, 1.38, 32.59 และ 32.26
3. แนวโน้ม
แนวโน้มการผลิตคาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน เนื่องจากราคาวัตถุดิบ เช่น ฝ้าย ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน และตามฤดูกาลแล้วเดือนเมษายนจะเป็นเดือนที่ฐานในการคำนวณต่ำที่สุดในรอบปี ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงของการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ต้องระมัดระวัง คือ ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในตลาดส่งออกหลักอย่างสหภาพยุโรปที่ปัญหาวิกฤตยังอยู่ระหว่างการแก้ไข ด้านปัจจัยสนับสนุน คือ ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ลดลงจากเดือนก่อน
ในเดือนเมษายน 2555 อินเดียมีปริมาณการผลิตและการนำเข้าเหล็กเพิ่มขึ้น ร้อยละ 5.3 และร้อยละ 64ตามลำดับ ในขณะที่การส่งออกกลับลดลง ร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตขยายตัวเนื่องจากได้รับแรงผลักดันจากภาคการก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน โดยทางสมาคมเหล็กโลก (WorldSteel Association) คาดการณ์ว่าปริมาณความต้องการใช้เหล็กของอินเดียจะฟื้นตัวและจะขยายตัว ร้อยละ 6.9 ไปสู่ระดับ 72.5 ล้านตัน
1.การผลิต
สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนเมษายน 2555 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 119.27 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่หดตัวหรือลดลงร้อยละ22.99 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงยาวพบว่ามีการผลิตที่หดตัวลง ร้อยละ 10.66 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กเส้นกลม ลดลงร้อยละ 35.65 เนื่องจากลูกค้ามีคำสั่งซื้อที่ลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่สต๊อกของลูกค้ายังคงมีอยู่ และนอกจากนี้เดือนนี้มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน จึงทำให้วันทำงานลดลง การผลิตจึงลดลงตามไปด้วย สำหรับกลุ่มเหล็กทรงแบน มีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 24.76 โดยผลิตภัณฑ์ที่ลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 87.77รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 34.42 เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดติดต่อหลายวัน ทำให้ลูกค้าชะลอการรับสินค้า ดังนั้น ผู้ผลิตจึงวางแผนการผลิตให้ชะลอตามคำสั่งซื้อที่ลดลง
ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิต ลดลง ร้อยละ4.19 เนื่องจากความต้องการใช้ยังไม่กลับเข้าสู่ปกติ ถึงแม้ว่าจะมีการซ่อมแซมบ้านเรือนหลังน้ำท่วม แต่ก็ยังไม่มากตามที่ได้คาดการณ์ไว้ โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 8.95 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด คือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 36.68 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 19.01 แต่เหล็กทรงยาวมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ร้อยละ 0.04 ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือเหล็กเส้นข้ออ้อย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 34.18 และลวดเหล็กแรงดึงสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.63
2.ราคาเหล็ก
จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนเมษายน 2555 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ เหล็กเส้น เพิ่มขึ้นจาก 138.29 เป็น 139.36เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.77 เหล็กแท่งเล็ก Billet เพิ่มขึ้นจาก 143.08 เป็น 143.71 เพิ่มขึ้น ร้อยละ0.44 ผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กทรงตัว คือ เหล็กแท่งแบน มีดัชนีราคาเหล็ก134.88 สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีดัชนีราคาเหล็กลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน คือ เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 132.30 เป็น 129.23 ลดลง ร้อยละ 2.32 และเหล็กแผ่นรีดเย็นลดลงจาก 146.07 เป็น 141.49 ลดลง ร้อยละ 3.14 สำหรับแนวโน้มราคาเหล็กคาดการณ์ว่าจะยังคงทรงตัวเนื่องจากความต้องการเหล็กโลกยังคงทรงตัวอยู่ โดยในส่วนของเหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าราคาคงไม่ปรับลดไปกว่านี้แล้วเนื่องจากราคาได้ปรับตัวต่ำแล้ว แต่สำหรับเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าราคาน่าจะปรับลงได้อีก
3. แนวโน้ม
สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนพฤษภาคม 2555 คาดว่าในส่วนของเหล็กทรงยาวจะยังคงทรงตัวอยู่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่เหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าจะมีการผลิตที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการใช้เหล็กของอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นมาก จากการขยายตัวในการผลิตของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง2 อุตสาหกรรมดังกล่าวเพื่อชดเชยการผลิตที่ลดลงในช่วงน้ำท่วม
รถยนต์
อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายน 2555 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 เนื่องจากฐานที่ค่อนข้างต่ำในปี 2554 อันเป็นผลจากการเกิดภัยพิบัติในประเทศญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบกับเดือนมีนาคม 2555 ชะลอตัวลง เนื่องจากโดยปกติในเดือนเมษายนจะมีเทศกาลวันหยุดยาวหลายวัน ทำให้โรงงานประกอบรถยนต์หยุดทำการผลิต โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนเมษายน ดังนี้
- การผลิตรถยนต์ จำนวน 142,298 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน2554 ซึ่งมีการผลิต 89,179 คัน ร้อยละ 59.56 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ แต่มีปริมาณการผลิตรถยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2555ร้อยละ 25.39 ซึ่งเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถยนต์นั่ง และรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
- การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 87,788 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน2554 ซึ่งมีการจำหน่าย 67,283 คัน ร้อยละ 30.48 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2555 ร้อยละ 20.86 ซึ่งเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV
- การส่งออกรถยนต์ จำนวน 55,433 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน2554 ซึ่งมีการส่งออก 52,191 คัน ร้อยละ 6.21 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2555 ร้อยละ 38.28 ซึ่งลดลงในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2555 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2555 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2555 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 56 และส่งออกร้อยละ 44
รถจักรยานยนต์
อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนเมษายน 2555 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 ตามสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศที่ดีขึ้น โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนเมษายน ดังนี้
- การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 189,475 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2554 ซึ่งมีการผลิต 164,523 คัน ร้อยละ 15.17 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2555 ร้อยละ 22.09 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต
- การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 157,513 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2554 ซึ่งมีการจำหน่าย 150,213 คัน ร้อยละ 4.86 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2555 ร้อยละ 17.51 โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต
- การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 23,737 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2554 ซึ่งมีการส่งออก 12,061 คันร้อยละ 96.81 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา แต่มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนมีนาคม 2555 ร้อยละ 13.97
- แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม2555 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 2555เนื่องจากช่วงเดือนพฤษภาคมเป็นฤดูการขาย ซึ่งเป็นช่วงเปิดภาคเรียนการศึกษาใหม่ ทำให้มีปริมาณความต้องการรถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนพฤษภาคม 2555ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ร้อยละ 86และส่งออกร้อยละ 14
“การผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศลดลงเนื่องจากเดือนเมษายน มีวันหยุดยาว จำนวนวันทำงานน้อยลง และมีแนวโน้มปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน”
1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ
การผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในเดือนเมษายน 2555 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงร้อยละ 11.04 และ 12.89 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาว ปริมาณการผลิตปูนซีเมนต์และปูนเม็ดจึงลดลงตามจำนวนวันทำงานที่น้อยลง สำหรับปริมาณการจำหน่ายก็ลดลงเนื่องจากสาเหตุเดียวกัน แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและการจำหน่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.89 และ 6.84 ตามลำดับ ทั้งนี้เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อการซ่อมแซมสิ่งก่อสร้างหลังน้ำลด และการก่อสร้างมีการขยายตัวตามเศรษฐกิจ โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลัก ทั้งการขยายการลงทุนในภาคเอกชน และการลงทุนในโครงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน รวมทั้งนโยบายกระตุ้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ
2.การส่งออก
การส่งออกปูนซีเมนต์เดือนเมษายน ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 28.56 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.75เนื่องจากความต้องการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศขยายตัวอย่างต่อเนื่องผู้ประกอบการจึงหันมาเน้นตลาดในประเทศมากขึ้น อีกทั้งปัจจุบันผู้ผลิตปูนซีเมนต์รายใหญ่ของไทยได้ขยายการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งสามารถรองรับความต้องการของแต่ละพื้นที่ได้ในระดับหนึ่ง สำหรับตลาดส่งออกปูนซีเมนต์ที่สำคัญ ได้แก่ สหภาพพม่า บังคลาเทศกัมพูชา ลาว เป็นต้น
3.แนวโน้ม
การผลิตและจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในช่วงเดือนพฤษภาคม จะปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากในเดือนเมษายนตัวเลขจะลดลงต่ำกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้ภาวะการก่อสร้างเริ่มชะลอตัว รวมทั้งการส่งออกมีแนวโน้มลดลงด้วย เนื่องจากประเทศที่เป็นตลาดส่งออกหลักของไทยอยู่ในภูมิภาคนี้ ย่างเข้าสู่ฤดูฝนคล้าย ๆ กับไทยจึงเป็นอุปสรรคในการก่อสร้างและการคมนาคม ขนส่งทำให้ยอดการผลิต การจำหน่ายและการส่งออก มีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกับช่วงต้นปี
6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า (ล้านเหรียญฯ) %MoM %YoY อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ 1,648.80 -19.3 18.5 วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี 524.89 -37.2 -20.8 เครื่องปรับอากาศ 311.60 -5.0 -1.3 กล้องถ่าย TV , VDO 200.84 17.2 1.1 รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 4,335.76 -18.2 2.2
ที่มา กรมศุลกากร
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--