สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2555 (เมษายน — มิถุนายน 2555)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 27, 2012 13:33 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ไตรมาส 2 ปี 2555 เศรษฐกิจแต่ละประเทศยังคงชะลอตัว ปัญหาเศรษฐกิจยุโรปและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวยังคงกดดันให้การส่งออกของแต่ละประเทศขยายตัวลดลง อัตราการว่างงานของยุโรปยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ 106.11 USD/Barrel ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ 110.25 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นยังคงผันผวน โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนกันยายน (ณวันที่ 6 สิงหาคม 2555) อยู่ที่ 91.40 USD/Barrel การที่ราคาน้ำมันดิบยังคงผันผวนเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ความกังวลต่อปัญหาหนี้ในยุโรปและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมทั้งสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศซีเรียและอิหร่าน

เศรษฐกิจไทยปี 2555 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในไตรมาสที่ 1 ของปี2555 ขยายตัวร้อยละ 0.3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ซึ่งหดตัวที่ร้อยละ8.9 แต่ชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 โดยปัจจัยที่ทำให้อัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 คือ อุปสงค์ในประเทศโดยรวมเริ่มดีขึ้น ในขณะที่อุปสงค์ต่างประเทศยังคงหดตัวแต่เริ่มปรับตัวดีขึ้น การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนขยายตัว เป็นผลมาจากการใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทนและสินค้ากึ่งคงทนที่ขยายตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะกำลังซื้อภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากการชดเชยผลกระทบของอุทกภัยจากรัฐบาล ส่วนสินค้าคงทนยังคงหดตัว อัตราเงินเฟ้อ ชะลอตัวเล็กน้อย ขณะที่อัตราการว่างงานสูงขึ้นเล็กน้อยแต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ และราคาน้ำมันเชื้อแพลิงและไฟฟ้าเริ่มขยับตัวสูงขึ้น การลงทุนรวมขยายตัวโดยการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน ขณะที่ลงทุนภาครัฐยังคงหดตัว การส่งออกสินค้าและบริการยังคงหดตัวแต่ปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การนำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวในส่วนของ GDP สาขาอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 หดตัวร้อยละ 4.2 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ 21.6 แต่หดตัวจากไตรมาสที่ 1 ของปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.7 การที่ GDP สาขาอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่ 4 ของปี 2554เนื่องจากโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเริ่มฟื้นตัวกลับมาผลิตใหม่ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนในบางอุตสาหกรรมการผลิตคลี่คลาย โดยอุตสาหกรรมสิ่งทอเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่มหนังและผลิตภัณฑ์จากหนังหดตัว เนื่องจากปัญหาความผันผวนของราคาวัตถุดิบ อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์และการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ยังคงหดตัว เนื่องจากนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยอยู่ในระหว่างฟื้นฟูโรงงานทำให้ยังไม่สามารถดำเนินการผลิตได้เต็มประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมยานยนต์เริ่มมีการใช้กำลังการผลิตมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อคำสั่งซื้อที่ตกค้างจากช่วงอุทกภัย

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2555 จะขยายตัวร้อยละ 5.5-6.5 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.1

สถานการณ์การค้าในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 การส่งออกมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2555 จากภาคการผลิตฟื้นตัวหลังเหตุการณ์อุทกภัย และเร่งส่งมอบสินค้าตามคำสั่งซื้อที่ค้างอยู่ โดยในไตรมาสที่ 2 การค้าต่างประเทศของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 120,399.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นมูลค่าการส่งออกเท่ากับ 57,622.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่าการนำเข้าเท่ากับ 62,776.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 นั้นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.46 และมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.93 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ของปี2555 ดุลการค้าขาดดุล 5,153.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนพบว่ามูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.00 สำหรับมูลค่าการนำเข้านั้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.49

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 จากข้อมูลเบื้องต้นของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนสุทธิในเดือนเมษายนและพฤษภาคมมีมูลค่ารวม 61,799.77 ล้านบาท ซึ่งการลงทุนโดยตรงสุทธิในเดือนเมษายนมีมูลค่า 22,567.86 ล้านบาทสำหรับเดือนพฤษภาคมมีมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ 39,231.91 ล้านบาท เมื่อพิจารณาการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมตลอดทั้ง 2 เดือน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 นั้นพบว่ามูลค่าการลงทุนในเดือนเมษายนมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 10,466.18 ล้านบาท และในเดือนพฤษภาคมมีมูลค่าการลงทุนสุทธิ 20,371.78 ล้านบาท โดยการลงทุนในเดือนเมษายนและพฤษภาคมของสาขาอุตสาหกรรมมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

สำหรับการลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พบว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 การลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI มีจำนวนทั้งสิ้น 502 โครงการ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวนโครงการ 446 โครงการ โดยในไตรมาสที่ 2 นี้การลงทุนในกิจการต่างๆ มีมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 155,400 ล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.37 โดยโครงการลงทุนนั้นประกอบด้วยโครงการที่ลงทุนจากต่างประเทศ 100% จำนวน 195 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุน 44,800 ล้านบาท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างไทยและต่างประเทศ 115 โครงการ เป็นเงินลงทุน 64,600 ล้านบาท และโครงการที่ลงทุนจากไทย 100% จำนวน 192 โครงการ เป็นเงินลงทุน45,900 ล้านบาท

เมื่อพิจารณาตามหมวดของการเข้ามาลงทุนในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 พบว่าประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภคมีเงินลงทุน 59,900 ล้านบาท รองลงมาคือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่งมีเงินลงทุน 29,000 ล้านบาท และหมวดเกษตรกรรม และผลิตผลจากการเกษตรมีเงินลงทุน 20,600ล้านบาท

สำหรับแหล่งทุนในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 พบว่านักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นยังคงมีมูลค่าการลงทุนมากที่สุด โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนทั้งสิ้น 160 โครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 58,776 ล้านบาท รองลงมาคือ ประเทศสิงคโปร์ได้รับการอนุมัติลงทุนจำนวน 22 โครงการมีเงินลงทุน 6,862 ล้านบาท ประเทศสหรัฐอเมริกามีจำนวน 13 โครงการที่ได้รับอนุมัติ ซึ่งมีเงินลงทุน 4,125 ล้านบาท และประเทศอินเดียมีจำนวนโครงการได้รับอนุมัติ 5 โครงการ โดยคิดเป็นเงินลงทุน 3,738 ล้านบาท

ภาวะอุตสาหกรรมในแต่ละสาขา

เหล็กและเหล็กกล้า ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 มีประมาณ 1,559,500 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ลดลง ร้อยละ 9.74 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป รองลงมาคือ เหล็กแผ่นรีดร้อน และเหล็กทรงยาว และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า การผลิตโดยรวมลดลง ร้อยละ 17.18 โดยผลิตภัณฑ์ที่ลดลงมากที่สุด ได้แก่เหล็กแผ่นรีดร้อน ซึ่งสาเหตุที่เหล็กแผ่นรีดร้อนมีการผลิตที่ลดลงเป็นผลมาจากการที่ผู้ผลิตภายในประเทศต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศจีนและเกาหลีใต้โดยมียอดการนำเข้าขยายตัวสูงมากสำหรับกลุ่มที่เป็นเหล็กกล้าเจือ (Alloyed product) ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเหล็กกล้าเจือที่นำเข้านั้นเป็นผลิตภัณฑ์เหล็กที่มีลักษณะของการนำไปใช้งานที่เหมือนกับกลุ่มเหล็กกล้าคาร์บอน แต่ผู้นำเข้าระบุว่าเป็นกลุ่มเหล็กกล้าเจือจึงไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า จากที่ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 5% ถ้าระบุว่าเป็นเหล็กกล้าคาร์บอน ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตรองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป และเหล็กทรงยาว

สถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กในช่วงครึ่งหลังของปี 2555 ในส่วนของเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตและความต้องการใช้ในประเทศจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลายอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์ มีการเร่งการผลิตเพื่อให้เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ สำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ ที่เป็นผู้ใช้เหล็กที่สำคัญ ได้แก่ ไฟฟ้า เครื่องจักรกล บรรจุภัณฑ์ ยังคงมีแนวโน้มการขยายตัวจึงส่งผลให้แนวโน้มของความต้องการใช้ในประเทศจะขยายตัวขึ้น แต่ในขณะเดียวกันยังมีปัจจัยที่ต้องระวังจากการขยายตัวของการนำเข้าเหล็กประเภทกลุ่มที่เป็นเหล็กกล้าเจือ (Alloyed product) ที่มีลักษณะของการนำไปใช้งานที่เหมือนกับกลุ่มเหล็กกล้าคาร์บอน แต่ผู้นำเข้าระบุว่าเป็นกลุ่มเหล็กกล้าเจือจึงไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า จากที่ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 5% ซึ่งช่วงนี้มีแนวโน้มการนำเข้าเหล็กประเภทนี้มากขึ้นทั้งในกลุ่มเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กลวดซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมในประเทศไม่สามารถแข่งขันกับเหล็กที่นำเข้าได้และส่งผลให้การผลิตในประเทศลดลงด้วย ขณะเดียวกันในภาคอสังหาริมทรัพย์พบว่าโครงการต่างๆของภาครัฐและเอกชนยังคงทรงตัวอยู่จึงมีผลทำให้แนวโน้มสถานการณ์การผลิตและความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กในกลุ่มทรงยาวทรงตัวด้วย

ยานยนต์ เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่สองของปี 2555 (เม.ย.-มิ.ย.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 558,277 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 341,629 คัน ร้อยละ 63.42 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 216,870 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 331,828 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 9,557 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.01 , 54.69 และ 145.24 สาเหตุสำคัญเนื่องจากผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ส่วนใหญ่และโรงงานประกอบรถยนต์ได้ฟื้นตัวจากภัยพิบัติสามารถดำเนินการผลิตได้ตามปกติ สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในไตรมาสที่สองของปี2555 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 236,148 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 42.55ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยเป็นรถยนต์นั่ง 53,921 คัน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 22.83 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) 182,227 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77.17 หากพิจารณาในไตรมาสที่สองของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.80 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.44 แต่ปริมาณการผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน ลดลงร้อยละ 4.67และ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ ลดลงร้อยละ 1.62

สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่ 3/2555 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถยนต์ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่สามปี 2555 จะมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 6 แสนคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศประมาณร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 45-50 เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์มีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าภายในประเทศเป็นหลักรวมทั้งยังมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายระยะเวลาของนโยบายรถยนต์คันแรก อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบสภาวะเศรษฐกิจยุโรปและความผันผวนของราคาพลังงาน

เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ไตรมาสที่ 2 ปี 2555 อุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.73 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และปรับตัวลดลงร้อยละ 19.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวลดลงค่อนข้างสูง ในอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ19.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 9.80 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก สินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และสายไฟฟ้า เป็นต้น สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.82 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และ ปรับตัวลดลงร้อยละ 23.58 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากสินค้ากลุ่มนี้มีการฟื้นตัวแต่ยังไม่เต็มที่ ได้แก่ HDD และMonolithic IC เป็นต้น

ประมาณการอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาสที่ 3/2555ประมาณการว่า อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการผลิตเพื่อการส่งออกในตลาดเอเชีย โดยเฉพาะตลาดอาเซียน และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จะปรับตัวลดลง ร้อยละ 8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากการปรับลดลงของสินค้า IC และ เซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งยังคงเป็นระยะที่ปรับตัวฟื้นจากเมื่อปีก่อน

เคมีภัณฑ์ ไตรมาส 2 ปี 2555 การส่งออกเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีมูลค่าการส่งออกร้อยละ 52.14 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 0.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอุตสาหกรรมสีมีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.37 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ27.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออกลดลงร้อยละ 4.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.57 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 คาดว่าน่าจะอยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากนโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาท ทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ประกอบกับวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหภาพยุโรป โดยเฉพาะประเทศกรีก สเปน อิตาลี และฝรั่งเศส รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ก็น่าจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยต้องชะลอตัวลงเช่นกัน

พลาสติก การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ดัชนีผลผลิตเพิ่มขึ้นไม่มากนักเพียงร้อยละ 1.04 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 เนื่องจากมีโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกบางแห่งเริ่มฟื้นตัวจากปัญหาอุทกภัย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อนดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกลดลง 0.53

แนวโน้มอุตสาหกรรมพลาสติก คาดการณ์ว่าการบริโภคในประเทศจะมีมากขึ้น จะส่งผลให้อุตสาหกรรมพลาสติกมีแนวโน้มขยายตัว โดยประเด็นสำคัญในอุตสาหกรรมที่ต้องติดตามได้แก่ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศคู่แข่ง เช่น ประเทศมาเลเซีย และสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มีต้นทุนการผลิตที่ได้เปรียบมากกว่าประเทศไทย ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป และแนวโน้มราคาน้ำมันที่คาดว่าจะสูงขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ทำให้ผู้ประกอบการต้องเริ่มกักตุนวัตถุดิบ(เม็ดพลาสติก)เพื่อที่จะไม่ต้องแบกรับภาระต้นทุนวัตถุดิบที่คาดว่าจะสูงขึ้นในช่วงปลายปี

ปิโตรเคมี การส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ทั้งระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำมีมูลค่า 72,702.59 ล้านบาท มีอัตราการขยายตัวโดยรวมลดลงร้อยละ 26.47 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.56 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2555โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลายส่งออกลดลงร้อยละ 30.62 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2554 ทั้งนี้เนื่องจากอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นตลาดส่งออกหลักของไทยโดยเฉพาะจีนและสหรัฐอเมริกาที่มีอัตราการขยายตัวในระดับต่ำ ประกอบกับการที่ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกของไทย เช่น ประเทศจีนและเวียดนามมีแผนการขยายกำลังการผลิตเป็นจำนวนมากในช่วงปี 2556-2560 และบางแห่งเริ่มทยอยเดินเครื่องการผลิต ส่งผลให้ตลาดมีความตึงตัวและลดการพึ่งพิงการนำเข้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจากไทย

แนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีไทยทั้งปี 2555 คาดว่าอัตราการขยายตัวจะค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2554 ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญน่าจะมาจากภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศที่เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย ได้แก่ ประเทศจีน และประเทศญี่ปุ่นมีอัตราการขยายตัวที่ทรงตัว จึงส่งผลให้การส่งออกและนำเข้าของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีไทยมีอัตราการขยายตัวที่ต่ำตามไปด้วย อย่างไรก็ตามคาดว่าปัจจัยหนุนจากภายในประเทศ คือ การที่อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยานยนต์อุตสาหกรรมพลาสติก เริ่มกลับมาทำการผลิตได้อีกครั้งในช่วง ครึ่งหลังของปี 2555 หลังจากวิกฤตอุทกภัยในปลายปีที่ผ่านมา

เยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์โดยรวมในไตรมาส 2 ปี 2555 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนและไตรมาสเดียวกันของปีก่อน โดยกระดาษพิมพ์เขียนในประเทศมีแนวโน้มการเติบโตชะลอตัว เนื่องจากสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ก เข้ามาแทนที่ โดยเฉพาะกระดาษที่นำไปผลิตเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ วารสารต่างๆ มีความต้องการใช้ลดลง แต่ในขณะเดียวกันกระดาษลูกฟูกสำหรับผลิตกล่องบรรจุสินค้า มีแนวโน้มขยายตัวตามภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าโภคภัณฑ์ เครื่องสำอางค์ และยา เป็นต้น

แนวโน้มของภาวะอุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ในไตรมาส 3 ปี 2555คาดว่า จะเพิ่มขึ้นทั้งภาคการผลิต การส่งออก และการนำเข้า ทั้งนี้มีปัจจัยบวกในประเทศโดยเฉพาะกระดาษพิมพ์เขียน ซึ่งยังมีกลุ่มผู้บริโภคข่าวสารผ่านสื่อสิ่งพิมพ์อยู่จำนวนมากอุตสาหกรรมหลักที่ต้องใช้กระดาษสำหรับผลิตกล่องกระดาษและบรรจุภัณฑ์รวมทั้งสิ่งพิมพ์ ได้แก่อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ผลิตภัณฑ์อาหาร เป็นต้น สำหรับปัจจัยบวกจากภายนอก ได้แก่ แนวโน้มตลาดคู่ค้าที่สำคัญของไทยในภูมิภาคเอเชีย อาทิ ฮ่องกง จีน ยังคงมีการขยายตัวในการส่งออกเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ ไปยังประเทศเหล่านี้สูงกว่ากลุ่มประเทศอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง สำหรับปัจจัยลบอาจส่งผลกระทบการผลิตจากวิกฤตเศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรป อาจทำให้ทั้งการผลิต การบริโภค การส่งออก และการนำเข้าเกิดการชะลอตัว

เซรามิก การผลิตเซรามิก ไตรมาส 2 ปี 2555 กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ เติบโตเพิ่มขึ้นจากผลิตเพื่อรองรับความต้องการของตลาดปรับปรุงซ่อมแซมบ้านหลังน้ำลด และตลาดส่งออก ในขณะที่การจำหน่ายเซรามิก ทั้งกระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ลดลงเนื่องจาก ตลาดมีการแข่งขันที่รุนแรงกับสินค้านำเข้าจากจีนและเวียดนาม ประกอบกับเป็นช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดต่อเนื่องหลายวัน และเริ่มเข้าสู่ฤดูฝน

การผลิตและจำหน่ายเซรามิก ไตรมาส 3 ปี 2555 มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝน สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก ไตรมาส 3 ปี 2555 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของตลาดอาเซียนเป็นสำคัญ

ปูนซีเมนต์ ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 ชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝนเป็นอุปสรรคในการก่อสร้างและเป็นช่วงซ่อมบำรุงของโรงงานปูนซีเมนต์ แต่หากพิจารณาในภาพรวมในช่วงครึ่งปีแรกของปี2555 เมื่อเทียบกับปีก่อน การผลิตและจำ หน่ายปูนซีเมนต์ขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหายจากอุทกภัย และเตรียมรับมือกับภัยธรรมชาติต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นอีก อีกทั้งความต้องการใช้เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจทั้งภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายเร่งรัดพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคมออกสู่ชานเมือง และนโยบายบ้านหลังแรก

แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 คาดว่าความต้องการใช้ปูนซีเมนต์จะยังคงชะลอตัว เนื่องจากเป็นไปตามฤดูกาล ทั้งนี้ การผลิตและการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศจะขยายตัวอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 4 ตามวัฏจักรของการก่อสร้างโดยมีปัจจัยสนับสนุนหลัก คือ นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ

สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 การผลิตและการจำหน่ายของผ้าที่ได้จากการถักนิตติ้งและโครเชท์และเครื่องแต่งกายที่ผลิตจากขนสัตว์ยังคงชะลอตัว เนื่องจากโรงงานผลิตบางส่วนยังผลิตได้ไม่เต็มกำลังการผลิตและวิกฤตหนี้สาธาณะยุโรปมีส่วนส่งผลต่อคำสั่งซื้อที่ลดลง สำหรับการส่งออกในไตรมาสนี้ ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 3.29 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ลดลงร้อยละ15.96 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

แนวโน้มการผลิตและการส่งออกในไตรมาส 3 ปี 2555 คาดว่าจะหดตัวจากไตรมาสที่ 2 ปี 2555 จากราคาฝ้ายปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า ประกอบกับปัจจัยเสี่ยงของการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากภาวะเศรษฐกิจในตลาดส่งออกหลักอย่างสหภาพยุโรปที่ยังมีปัญหาอยู่ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจในตลาดส่งออกหลักอย่างสหรัฐอเมริกาที่ยังชะลอตัว ซึ่งผู้ประกอบการไทยคงต้องหาแนวทางขยายการส่งออกไปยังตลาดอื่นๆ

ไม้และเครื่องเรือน การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับตลาดการปรับเปลี่ยนเครื่องเรือนใหม่เพื่อทดแทนของเดิมที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยไตรมาส 2 ปี 2555 การผลิตเครื่องเรือนทำด้วยไม้ มีปริมาณ 2.17 ล้านชิ้น เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน และเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.40 และ 9.05 ตามลำดับ

การผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ ไตรมาส 3 ปี 2555 มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากปัญหาวัตถุดิบไม้ยางพาราที่ยังขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้น รวมทั้งต้นทุนการผลิตอื่นที่เพิ่มขึ้นนอกจากนี้ การผลิตเพื่อการส่งออกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้การผลิตและจำหน่ายเครื่องเรือนทำด้วยไม้ไม่สามารถเติบโตได้

ยา ไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 การผลิตยาในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสก่อน ร้อยละ 2.52 และร้อยละ 7.60 ตามลำดับ สำหรับ ช่วงครึ่งปีแรกของปี2555 มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.28 โดยปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากช่วงปลายปีก่อนต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกของปีนี้ มีผู้ผลิตยาและ Supplier ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากปัญหาอุทกภัย ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าหรือต้องลดปริมาณการผลิตลง และเมื่อเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ จึงเร่งดำเนินการผลิตมากขึ้น นอกจากนี้ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ยังเป็นผลจากคำสั่งซื้อที่จะเริ่มเข้ามาจำนวนมากในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปี

ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงปลายปีงบประมาณซึ่งโรงพยาบาลของรัฐจะเร่งการใช้จ่ายงบประมาณ ประกอบกับผู้ผลิตรายใหญ่ที่ประสบอุทกภัยจะสามารถฟื้นตัวและกลับมาผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังมีการขึ้นทะเบียนยาสามัญรายการใหม่หลายรายการ ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงยาที่มีคุณภาพและราคาถูกลงได้มากขึ้น

ยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนชะลอตัวลง เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาเริ่มส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวม ส่งผลให้ความต้องการใช้ยางพาราเพื่อนำไปผลิตผลิตภัณฑ์ยางลดลง อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อนและในภาพรวมช่วงครึ่งปีแรกแล้ว อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยางยังขยายตัวได้เนื่องจากยังมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ประเทศที่อุตสาหกรรมรถยนต์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ได้แก่อินเดีย เวียดนาม และบราซิล ยังมีความต้องการใช้ยางพาราอยู่มาก จึงทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกยางและผลิตภัณฑ์ยางในภาพรวมมากนัก

อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง ในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีแนวโน้มชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลก เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและผลกระทบของวิกฤติหนี้สินของกลุ่มสหภาพยุโรปเริ่มส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวม อย่างไรก็ตาม ประเทศที่อุตสาหกรรมรถยนต์ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อินเดีย เวียดนาม และบราซิล ยังมีความต้องการใช้ยางพาราอยู่มาก ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนสำคัญที่จะไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมมากเกินไป

รองเท้าและผลิตภัณฑ์หนัง ดัชนีผลผลิตการฟอกและตกแต่งหนังฟอก ดัชนีผลผลิตการผลิตกระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือและสิ่งที่คล้ายกัน อานม้าและเครื่องเทียมลาก ไตรมาสที่ 2 ปี 2555ลดลงร้อยละ 1.06 และ 9.89 และดัชนีผลผลิตการผลิตรองเท้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.10 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ปี 2555 เนื่องจากโรงงานรองเท้าที่ถูกน้ำท่วมเริ่มฟื้นตัวมาผลิตได้ตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ที่ผ่านมา

สำหรับแนวโน้มปี 2555 คาดว่าอุตสาหกรรมรองเท้าจะมีแนวโน้มขยายตัวลดลงถึงทรงตัวเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่สำคัญอย่างสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปชะลอตัว แต่สำหรับอุตสาหกรรมเครื่องหนัง คาดว่าจะมีแนวโน้มเติบโตขึ้น โดยหากผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยช่วงปลายปี สามารถฟื้นตัวและกลับมาผลิตได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวกับรถยนต์คันแรก บ้านหลังแรก รวมทั้งการฟื้นฟูบ้านหลังจากประสบอุทกภัยน้ำท่วม ที่ต้องใช้สินค้าต่อเนื่องจากผลิตภัณฑ์หนัง เช่น เบาะรถยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น คาดว่าในภาพรวมอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง ในปี 2555 จะสามารถเติบโตขึ้นได้

อัญมณีและเครื่องประดับ ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 2 ปี2555 ด้านการผลิตลดลงร้อยละ 19.70 และการจำหน่ายลดลงร้อยละ 9.76 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ด้านการส่งออกลดลงร้อยละ 25.94 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลจากการส่งออกในส่วนของอัญมณีลดลงร้อยละ 17.94 และเครื่องประดับแท้ลดลง 14.08 รวมถึงการส่งออกทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูปที่ลดลงร้อยละ 38.17

แนวโน้มภาพรวมการผลิตและส่งออกในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 จะเปลี่ยนแปลงไม่มากเนื่องจากผู้ผลิตและส่งออกได้ติดตามสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจในสหภาพยุโรปอย่างใกล้ชิดและร่วมกันกับบริษัทคู่ค้าในการการคลี่คลายปัญหาและผลกระทบ นอกจากนี้ยังเตรียมการหาตลาดอื่นทดแทน เช่น ตะวันออกกลาง อีกทั้งคาดว่าค่าเงินบาทยังเป็นปัจจัยบวกสำหรับการส่งออก วึ่งจะทำให้ภาพรวมอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 จะทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา

อาหาร ในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ภาวะการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร ลดลงร้อยละ 53.17จากไตรมาสก่อน เนื่องจากการผลิตในกลุ่มสำคัญ เช่น สินค้าธัญพืชและแป้ง และน้ำตาล ปรับตัวลดลง เป็นผลจากปริมาณวัตถุดิบ เช่น อ้อย และมันสำปะหลัง ลดลงตามฤดูกาล แต่หากเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน พบว่าการผลิตของอุตสาหกรรมอาหารลดลงร้อยละ 21.34 เป็นผลจากการชะลอตัวของคำสั่งซื้อจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่เป็นผลสืบเนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัว ประกอบกับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยทำให้โรงงานอุตสาหกรรมอาหารต้องหยุดการผลิต และเริ่มกลับมาผลิตได้ช่วงต้นไตรมาส

การผลิตและการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 คาดว่าทิศทางการผลิต และการส่งออกจะปรับตัวลดลงตามฤดูกาล จากการลดลงของวัตถุดิบในพื้นที่เพาะปลูกประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ทั้งอุทกภัยในภาคใต้และภัยแล้งในภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะส่งผลกระทบต่อสินค้าประมง สับปะรด มันสำปะหลัง และพืชผักต่างๆและจากปัจจัยลบ เช่น ภัยธรรมชาติที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ รวมถึงการเคลื่อนไหวของระดับราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ภาวะเศรษฐกิจของประเทศผู้นำเข้าที่ชะลอตัว จากวิกฤตหนี้สาธารณะในสหภาพยุโรปที่เริ่มส่งผลกระทบไปยังตลาดอื่น ๆ ตลอดจนมาตรการกีดกันทางการค้าต่าง ๆ

เศรษฐกิจโลก(1)

ภาพรวมเศรษฐกิจโลก

ในไตรมาส 2 ปี 2555 เศรษฐกิจแต่ละประเทศยังคงชะลอตัว ปัญหาเศรษฐกิจยุโรปและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวยังคงกดดันให้การส่งออกของแต่ละประเทศขยายตัวลดลง อัตราการว่างงานของยุโรปยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ 106.11 USD/Barrel ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 อยู่ที่ 110.25 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นยังคงผันผวน โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนกันยายน (ณวันที่ 6 สิงหาคม 2555) อยู่ที่ 91.40 USD/Barrel การที่ราคาน้ำมันดิบยังคงผันผวนเกิดจากหลายปัจจัย เช่น ความกังวลต่อปัญหาหนี้ในยุโรปและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว รวมทั้งสถานการณ์ความไม่สงบในประเทศซีเรียและอิหร่าน

เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)

"...เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 ปี 2555 ยังคงขยายตัว อันเนื่องมาจากการลงทุนภาคเอกชนและภาคการผลิตที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น..."

ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 2 ปี 2555ขยายตัวร้อยละ 1.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 13.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 65.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 61.8การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 94.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 89.6

หมายเหตุ

(1) - ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2555

  • ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th

(2) - ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 2 ปี 2555 ยังคงขยาย

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 16.0 การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 4.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 14.9

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.4 เนื่องจากอุปสงค์ที่ปรับตัวลดลง อัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 8.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.9 อัตราว่างงานมีการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ

สถานการณ์การด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจจีน(3)

"...เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 ปี 2555 ยังคงขยายตัวแต่ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากภาคการผลิต การส่งออก และอุปสงค์ภายในประเทศที่ชะลอตัวลง ทำให้เศรษฐกิจจีนชะลอตัว..."

ภาวะเศรษฐกิจของจีน ในไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 7.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.5 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ13.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 17.2 การชะลอตัวทางเศรษฐกิจส่งผลให้การบริโภคของประชาชนที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจหนึ่งที่สำคัญของจีนชะลอตัว ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 102.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 106.8 ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 20.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 25.6

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 9.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 13.9การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 10.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 22.3 เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศในยุโรปซึ่งเป็น

หมายเหตุ

(3) - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com

ตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของจีนมีปัญหา ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของจีน การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 6.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 23.1อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ของปี2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.7 เป็นผลมาจากราคาอาหารปรับตัวลดลง อัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เท่ากับไตรมาส 2 ของปี 2554

สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี จากร้อยละ 6.56 เป็นร้อยละ 6.00 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2555 ธนาคารกลางจีนยังคงใช้นโยบายผ่อนคลายทางการเงิน เพื่อกระตุ้นการบริโภคและการลงทุน

เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)

"...เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 1 ปี 2555 กลับมาขยายตัวจากไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากภาคการผลิตเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติหลังจากได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย รวมทั้งการบริโภคของภาคเอกชนก็เพิ่มขึ้น และในไตรมาส 2 ปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะขยายตัวต่อเนื่อง..."

ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในไตรมาส 1 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.7 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ 0.1 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 1 ปี 2555ขยายตัวร้อยละ 3.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ 2.0 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 40.4 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ35.5 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 1 ปี 2555 หดตัวร้อยละ 0.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 7.9

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 93.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 88.8

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ 8.1 การส่งออกเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าจากการฟื้นตัวของภาคการผลิต การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 10.5

หมายเหตุ

(4) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2555

  • www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp www.ceicdata.com

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 2 ปี 2555 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 0.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ -0.4 อัตราการว่างงานไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ4.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.6

สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 (เมื่อวันที่ 12กรกฎาคม 2555) พร้อมทั้งได้เพิ่มการซื้อสินทรัพย์ระยะสั้น และคงขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาเงินฝืด

เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)

"...เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 1 ปี 2555 ชะลอตัวต่อเนื่อง เนื่องจากปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป และอัตราการว่างงานที่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในไตรมาส 2 ปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจสหภาพยุโรปจะเข้าสู่ภาวะหดตัว..."

ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ในไตรมาส 1 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 0.1ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 การบริโภคไตรมาส 1 ปี 2555 หดตัวร้อยละ 0.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.6

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 98.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.0 และในเดือนเมษายนพฤษภาคม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 79.4 และ 98.6 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 8.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 28.0 สำหรับการส่งออกในเดือนเมษายน และพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 7.4 และ 9.4 ตามลำดับ การนำเข้าไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 25.7 สำหรับการนำเข้าในเดือนเมษายน และพฤษภาคม ขยายตัวร้อยละ 3.3 และ 1.1 ตามลำดับ

อัตราเงินเฟ้อ ในไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.7 อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเป็นผลจากอุปสงค์ที่ลดลง อัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 10.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.3 เป็นการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ

(5) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 1 ปี 2555

  • ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com

สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.75 (เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2555) เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายที่ธนาคารกลางยุโรปกำหนดไว้

เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมในเอเชีย

เศรษฐกิจฮ่องกง(6)

"...เศรษฐกิจฮ่องกงในไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากในไตรมาส 4 ปี 2554 จากการส่งออกที่ชะลอตัว ขณะที่การบริโภคภายในประเทศยังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ..."

ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาส 1 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอตัวจากในไตรมาส 4 ปี 2554 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 3.0 จากการส่งออกที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ตามการบริโภคในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดี ถือเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 1 ปี2555 อยู่ที่ระดับ 86.0 หดตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2555 มีมูลค่า 122,051 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57.7 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด)ขยายตัวร้อยละ 23.0 ด้านการนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2555 มีมูลค่า 138,921 ล้านเหรียญสหรัฐฯขยายตัวร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ลดลงจากในไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.2 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ลดลงจากในเดือนพฤษภาคม 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.2 จากราคาพลังงานที่ชะลอตัวลง ระดับอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ไม่น่ากังวล โดยราคาอาหาร และราคาค่าเช่าบ้านเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ขณะที่อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในเดือนมิถุนายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ทรงตัวจากในเดือนพฤษภาคม 2555

หมายเหตุ

(6) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2555

  • ที่มา www.censtatd.gov.hk www.fpo.go.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

เศรษฐกิจเกาหลีใต้(7)

"...เศรษฐกิจเกาหลีใต้ ในไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากการส่งออกและการบริโภคในประเทศที่ชะลอตัว ขณะที่ระดับอัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่องและอัตราการว่างงานทรงตัวอยู่ในระดับที่ไม่สูงมากนัก..."

ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในไตรมาส 2 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจเกาหลีใต้ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศที่ชะลอตัวลง ขณะที่การลงทุนภายในประเทศหดตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 2 ปี2555 อยู่ที่ระดับ 155.3 ขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2555 มีมูลค่า 140,333 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของเกาหลีใต้ (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.9 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด) หดตัวร้อยละ 3.5 ขณะที่การส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ และตลาดสหภาพยุโรป(27) หดตัวร้อยละ 1.5 และ14.4 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2555 มีมูลค่า 131,113 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.4 ลดลงจากในไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2555 ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.2 อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำและลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในเดือนมิถุนายน 2555อยู่ที่ร้อยละ 3.2 ทรงตัวจากในเดือนพฤษภาคม 2555 ภาพรวมเกาหลีใต้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากภาคบริการที่ให้อัตราค่าจ้างต่ำ อย่างไรก็ตามการจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมที่มีอัตราค่าจ้างค่อนข้างสูงยังลดลงยังต่อเนื่อง สะท้อนถึงอำนาจซื้อของประชาชนที่อาจมีแนวโน้มลดลง

หมายเหตุ

(7) - ที่มา ecos.bok.or.kr www.fpo.go.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2555 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.0 จากเดิมร้อยละ 3.25 จากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของเกาหลีใต้

เศรษฐกิจสิงคโปร์(8)

เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ขยายตัวชะลอลงเป็นสำคัญ

ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ในไตรมาส 2 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวในอัตราที่ต่ำ จากภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 3.0 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงแม้จะมีฐานเปรียบเทียบที่ต่ำในไตรมาส 2ปี 2554 ขณะที่อุตสาหกรรมการบริการขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 ขยายตัวชะลอลงเช่นเดียวกัน

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ103.8 ขยายตัวร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากหดตัวในไตรมาส 1 ปี 2555

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2555 มีมูลค่า 102,930 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปยังฮ่องกง และสหภาพยุโรป(27) หดตัวร้อยละ 5.2 และ 0.4 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2555 มีมูลค่า 96,201 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.9 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 5.3 จากราคาที่อยู่อาศัยและต้นทุนค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ไตรมาส 2 ปี2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 ลดลงจากในไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.1

หมายเหตุ

(8) - ที่มา www.singstat.gov.sg www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

เศรษฐกิจอินโดนีเซีย(9)

"...เศรษฐกิจอินโดนีเซียในไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวจากการลงทุน และการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวเป็นสำคัญ..."

ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในไตรมาส 2 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการลงทุนและการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัว

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ103.6 ขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากในไตรมาส 4 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 ขณะที่ดัชนีในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.3 และ3.9 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2555 มีมูลค่า 48,517 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นและจีน ขยายตัวร้อยละ 9.6 และ 28.9 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกในเดือนเมษายน 2555 หดตัวร้อยละ 2.3 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2555 มีมูลค่า 45,747 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 17.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนเมษายน 2555ขยายตัวร้อยละ 13.8

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.5

เศรษฐกิจมาเลเซีย(10)

"...เศรษฐกิจมาเลเซียในไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวจากความต้องภายในประเทศที่ขยายตัวเป็นสำคัญ..."

ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซีย ในไตรมาส 1 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคการบริการและภาคการผลิต ขณะที่ทางฝั่งด้านอุปสงค์มีความต้องการภายในประเทศ ทั้งการบริโภคและการลงทุนเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญ

หมายเหตุ

(9) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2555

  • ที่มา www.bi.go.id www.bot.or.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
(10) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2555
  • ที่มา www.statistics.gov.my www.bnm.gov.my www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 1 ปี2555 อยู่ที่ระดับ 119.5 ขยายตัวร้อยละ 4.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.7 และ 6.5 ตามลำดับ โดยการขยายตัวในเดือนพฤษภาคม 2555 เป็นผลมาจากการผลิตสินค้าในกลุ่มปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ ยาง และผลิตภัณฑ์พลาสติก และการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวเป็นแรงเกื้อหนุน

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2555 มีมูลค่า 56,824 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 4.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการส่งออกในเดือนเมษายน 2555 หดตัวร้อยละ 1.7 จากการส่งออกไปตลาดสำคัญอย่างญี่ปุ่น สหภาพยุโรป(27)และสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 4.9 15.4 และ 3.2 ตามลำดับ ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2555 มีมูลค่า 47,076 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสำหรับการนำเข้าในเดือนเมษายน 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.7

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ลดลงจากในไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.3 อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตราการว่างงานในเดือนพฤษภาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.0 คงที่จากในเดือนมกราคม 2555

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2555 ธนาคารกลางมาเลเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 3.0 จากภาวะเศรษฐกิจและการเงินของโลกยังมีความไม่แน่นอน

เศรษฐกิจฟิลิปปินส์(11)

"...เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ในไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวจากการส่งออก และการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนที่ขยายตัว..."

ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 1 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคการบริการโดยเฉพาะภาคการค้าและการบริการอื่นๆ ที่ขยายตัว ภาคการผลิตปรับฟื้นตัวดีขึ้น ขณะที่ทางฝั่งด้านอุปสงค์มีการส่งออก และการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนที่ขยายตัวเป็นตัวสนับสนุนหลัก

หมายเหตุ

(11) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2555

  • ที่มา www.nscb.gov.ph www.bsp.gov.ph www.fpo.go.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 1 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 95.2 ขยายตัวร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากในไตรมาส 4 ปี 2554หดตัวร้อยละ 8.9 ทั้งนี้ดัชนีในเดือนเมษายน และพฤษภาคม 2555ขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 และ 3.1 ตามลำดับ

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 1 ปี 2555 มีมูลค่า 12,876 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การส่งออกกลับมาขยายตัวอีกครั้งหลังจากหดตัวต่อเนื่องสองไตรมาส โดยการส่งออกไปตลาดหลักอย่างญี่ปุ่น สหรัฐฯ จีน และสหภาพยุโรป(27) ขยายตัว สำหรับในเดือนเมษายน 2555 การส่งออกขยายตัวร้อยละ 7.7 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 1 ปี 2555 มีมูลค่า 15,501 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในเดือนเมษายน 2555 การนำเข้าหดตัวร้อยละ 13.2

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงจากไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.1 อัตราเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.8

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2555 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.75 จากเดิมร้อยละ 4.0 ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติศาสตร์เนื่องจากธนาคารกลางมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในสหภาพยุโรป

เศรษฐกิจอินเดีย(12)

"...เศรษฐกิจอินเดียในไตรมาส 1 ปี 2555 ขยายตัวต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ จากการลงทุนภายประเทศที่ชะลอตัว รวมถึงภาคการส่งออกที่มีอัตราการขยายตัวต่ำ..."

ภาวะเศรษฐกิจของอินเดีย ในไตรมาส 1 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ จากการลงทุนภายในประเทศที่ชะลอตัวเป็นสำคัญ ขณะที่ภาคการส่งออกมีอัตราการขยายตัวต่ำ โดยสาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องมาจากตลาดสหภาพยุโรป(27) ซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของอินเดียกำลังเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย

หมายเหตุ

(12) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2555

  • ที่มา commerce.nic.in www.fpo.go.th www.ceicdata.com

การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 1 ปี2555 อยู่ที่ระดับ 191.1 ขยายตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีในเดือนเมษายน 2555 หดตัวร้อยละ 1.2 อย่างไรก็ตามในเดือนพฤษภาคม 2555 ดัชนีกลับมาขยายตัวร้อยละ 2.5

การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2555 มีมูลค่า 75,204.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2555มีมูลค่า 115,259.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 10.2 เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 8.6 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 10.0 อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง

สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2555 ธนาคารกลางอินเดียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย Repo Rate ไว้ที่ร้อยละ 8.0 เนื่องจากเศรษฐกิจมีการชะลอตัวลง

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ