ในช่วงไตรมาสที่ 2 ภาวะอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในช่วงฟื้นฟูหลังประสบกับวิกฤตการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ ส่งผลให้มีความต้องการเคมีภัณฑ์ในการอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น แต่ปัจจัยสำคัญที่ควรจับตามอง ได้แก่ วิกฤตเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปโดยเฉพาะประเทศกรีก สเปน อิตาลี และฝรั่งเศส ที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อประเทศคู่ค้าของไทย รวมทั้งประเทศไทย และภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่ยังคงเปราะบาง รวมทั้ง ความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทย
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ได้สำรวจข้อมูลการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์โซดาไฟซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานที่สำคัญ โดยมีรายละเอียดดังนี้
การผลิต
โซดาไฟ
การผลิตโซดาไฟในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 มีปริมาณ 201,587.1 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.42 และการจำหน่ายโซดาไฟในไตรมาสที่ 2 ปี 2555 มีปริมาณ 190,112.2 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 0.75
หมายเหตุ : โซดาไฟเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และยังใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น ในการผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะอุตสาหกรรมอาหาร เส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น ๆ
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 2 ปี 2555 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 13,229 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.01 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.39 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่านำเข้า 34,340 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.79เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 8.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีมูลค่านำเข้า 25,813 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 42.12 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่ลดลงร้อยละ 2.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมสีมีการนำเข้า 12,528 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.31 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.01 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 8,887 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.18เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.14 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก
ไตรมาส 2 ปี 2555 การส่งออกเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 5,367 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ16.08 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 21,040 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.52 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีมูลค่าการส่งออก 1,278 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.14 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่
ลดลงร้อยละ 0.69 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมสีมีมูลค่าส่งออก 4,513 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.37 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 15,016 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 4.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.57 มื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้ม
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในไตรมาสถัดไป คาดว่าน่าจะอยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากนโยบายขึ้นค่าแรง 300 บาท ทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ประกอบกับวิกฤตการณ์ทางการเงินของสหภาพยุโรป โดยเฉพาะประเทศกรีก สเปน อิตาลี และฝรั่งเศส รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ก็น่าจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้เศรษฐกิจของไทยต้องชะลอตัวลงเช่นกัน
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--