สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 2, 2012 14:05 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เดือนกรกฎาคม 2555 อยู่ที่ระดับ 178.07 หดตัวหรือลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.82 ทั้งนี้การผลิตเพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะในหมวดอุตสาหกรรมหลักๆ ได้แก่ ยานยนต์ และอาหาร ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี จากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลกโดยรวม ส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังลดลงต่อเนื่อง ประกอบกับการฟื้นตัวในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ยังมีการฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้า อาจจะยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการกลับมาทำการผลิตเต็มกำลังการผลิต สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมกลับมาหดตัวอีกครั้ง โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ4.8 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งหดตัวร้อยละ 2.1

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม(1) หรือ MPI เดือนกรกฎาคม 2555 อยู่ที่ระดับ 178.07 หดตัวหรือลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.82 ทั้งนี้การผลิตเพื่อรองรับการบริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะในหมวดอุตสาหกรรมหลักๆ ได้แก่ ยานยนต์ และอาหาร ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี จากปัญหาวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรปและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลกโดยรวม ส่งผลให้ยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศยังลดลงต่อเนื่อง ประกอบกับการฟื้นตัวในอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ยังมีการฟื้นตัวได้ค่อนข้างช้า อาจจะยังคงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการกลับมาทำการผลิตเต็มกำลังการผลิต

สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต(2) เดือนกรกฎาคม 2555 อยู่ที่ร้อยละ 66.77 จากร้อยละ 66.26 ในเดือนมิถุนายน 2555 และร้อยละ 63.58 ในเดือนกรกฎาคม2554

เมื่อพิจารณาในด้าน ของ การส่ง ออ ก สิน ค้าอุตสาหกรรมกลับมาหดตัวอีกครั้ง โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 4.8 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งหดตัวร้อยละ 2.10

อุตสาหกรรมรายสาขาสำ คัญ(กรกฎาคม2555)

อุตสาหกรรมอาหาร การผลิต (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนกรกฎาคม 2555 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.3 ในรายการสินค้าสำคัญ อาทิ สับปะรดกระป๋อง ผลิตภัณฑ์ไก่ และแป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตลดลงจากปีก่อนร้อยละ 45.8 24.2 และ 12.9 ตามลำ ดับเนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ชะลอตัวลง แต่ทูน่ากระป๋อง มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้น จากปริมาณวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลงในผลิตภัณฑ์ เส้นใยสิ่งทอฯ ผ้าผืน เครื่องนอนและผ้าขนหนู และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก โดยลดลงร้อยละ 25.03, 6.82, 17.58, และ 11.61ตามลำดับ โดยมีผ้าลูกไม้ ผ้ายางยืด และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ3.66, 5.30 และ 5.53 ตามลำดับ

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.07 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 0.29 ในขณะที่เหล็กทรงยาวกลับมีการผลิตที่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.22 ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนกรกฎาคม2555 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กมีดัชนีราคาลดลงทุกตัว

อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิต จำนวนจำนวน 209,917 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม2554 ซึ่งมีการผลิต 147,236 คัน ร้อยละ 42.57 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน2555 ร้อยละ 2.10 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง สำหรับการส่งออก มีจำนวน 94,838คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2554 ซึ่งมีการส่งออก 75,803 คัน ร้อยละ 25.11 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลางแอฟริกา ยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การผลิต เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 26.67 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีก่อน ทำให้สายการผลิตเสียหาย และไม่สามารถผลิตสินค้าได้เต็มกำ ลังการผลิต อย่างไรก็ตามในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและผู้ผลิตชิ้นส่วนในโซ่อุปทานเริ่มกลับมาผลิตได้แล้ว เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 31.70 แต่สำหรับอุตสาหกรรมครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.07

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ