สรุปสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกันยายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 12, 2012 11:46 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมหรือ MPI เดือนสิงหาคม 2555 อยู่ที่ระดับ 174.1 หดตัวหรือลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.3 สาเหตุหลักมาจากการลดลงของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออก ที่ถูกกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจของตลาดคู่ค้าไทยที่ชะลอตัวเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในประเทศในเดือนสิงหาคมยังคงเติบโตต่อเนื่อง จากการบริโภคที่เร่งตัวจากนโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรก ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยจะมีการขยายตัวต่อไป และมีการลงทุนจากเอกชนไหลเข้าสู่อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง รวมถึงกับการลงทุนด้านการบริหารจัดการน้ำตาม พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท และการลงทุนตามแผนยุทธศาสตร์ฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ ที่จะใช้เงินลงทุนอีกกว่า 2.27 ล้านล้านบาท ทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อไป สำหรับการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงหดตัว โดยการส่งออกสินค้าอุตส หกรรมหดตัวร้อยละ 2.3 และเมื่อไม่รวมกรส่งออกทองคำแท่งหดตัวร้อยล 7.6

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมซึ่งวัดจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (1) หรือ MPI เดือนสิงหาคม 2555 อยู่ที่ระดับ 174.1 หดตัวหรือลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 11.3 สาเหตุหลักมาจากการลดลงของกลุ่มอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออก ที่ถูกกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจของตลาดคู่ค้าไทยที่ชะลอตัวเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจในประเทศในเดือนสิงหาคมยังคงเติบโตต่อเนื่อง จากนโยบายคืนภาษีรถยนต์คันแรก ซึ่งทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยจะมีการขยายตัวต่อไป รวมถึงกับการลงทุนด้านการบริหารจัดการน้ำตาม และการลงทุนตามแผนยุทธศาสตร์ฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ ทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างยังมีแนวโน้มขยายตัวต่อไป

สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิต(2) เดือนสิงหาคม2555 อยู่ที่ร้อยละ 65.36 จากร้อยละ 66.49 ในเดือนกรกฎาคม2555 และร้อยละ 65.61 ในเดือนสิงหาคม 2554

หมายเหตุ

1 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เป็นดัชนีที่แสดงทิศทางการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งในภาพรวม รายสาขาอุตสาหกรรม และรายผลิตภัณฑ์

2 อัตราการใช้กำลังการผลิต หมายถึง ค่าร้อยละของการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเมื่อเทียบกับความสามารถในการผลิตสูงสุดเต็มศักยภาพ หรือเต็มกำลังการผลิต (capacity)

เมื่อพิจารณาในด้านของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงหดตัว โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหดตัวร้อยละ 2.3 และเมื่อไม่รวมการส่งออกทองคำแท่งหดตัวร้อยละ 7.6

อุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ(สิงหาคม 2555)

อุตสาหกรรมอาหาร การผลิต (ไม่รวมน้ำ ตาล) เดือนสิงหาคม 2555 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 8.3 ในรายการสินค้าสำ คัญ อาทิ สับปะรดกระป๋อง และแป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตลดลงจากปีก่อนร้อยละ 85.1 และ 32.8 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ชะลอตัวลง แต่ผลิตภัณฑ์ไก่ มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 เป็นผลจากการที่สหภาพยุโรปยกเลิกประกาศห้ามนำเข้าไก่สดแช่แข็ง

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผ้ายางยืด เครื่องนอนและผ้าขนหนู และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอและผ้าผืน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.47, 7.81, 0.92 และ 0.31 ตามลำดับ โดยมีเส้นใย ผ้าลูกไม้ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักที่มีการผลิตลดลงร้อยละ 8.07, 8.62 และ 17.27 ตามลำดับ

อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า การผลิตลดลง ร้อยละ 14.56 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 22.87 เหล็กทรงยาว มีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 3.00 ในส่วนของดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศ การเปลี่ยนแปลงของราคาเหล็ก (FOB)โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ(Black Sea) ในช่วงเดือนกันยายน 2555 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กทุกตัวมีดัชนีราคาเหล็กที่ลดลง เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ในขณะที่ประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตที่สำคัญของโลกมีการผลิตส่วนเกินเพิ่มมากขึ้นแต่ความต้องการใช้ในประเทศกลับลดลง

อุตสาหกรรมรถยนต์ มีการผลิต จำนวน 210,334 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งมีการผลิต 153,180 คัน ร้อยละ 37.31 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2555 ร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ สำหรับการส่งออก มีจำนวน 85,279 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งมีการส่งออก 72,270 คัน ร้อยละ18.00 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนียและตะวันออกกลาง

อุตสหกรรมไฟและอิเล็กทรอนิกส์ การผลิต เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 33.06 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีก่อน ทำให้สายการผลิตเสียหาย และไม่สามารถผลิตสินค้าได้เต็มกำ ลังการผลิต อย่างไรก็ตามในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและผู้ผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องเริ่มกลับมาผลิตได้แล้ว เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวลดลงร้อยละ 37.06 สำหรับอุตสาหกรรมครื่องใช้ไฟฟ้า ปรับตัวลดลงร้อยละ1.43

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ