รายงานสถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกันยายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 12, 2012 13:55 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

สรุปประเด็นสำคัญ

ดัชนีอุตสาหกรรมของเดือนสิงหาคม 2555
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2555 ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2555 ร้อยละ 2.6 และลดลงร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน การผลิตลดลงในบางอุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป
  • อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในเดือนสิงหาคม 2555 อยู่ที่ระดับร้อยละ 65.4 ลดลงจากร้อยละ 66.5 ในเดือนกรกฎาคม 2555
ประเด็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมสำคัญในเดือนกันยายน 2555

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

  • แนวโน้มการผลิตในภาพรวมและการส่งออกของอุตสาหกรรมนี้ คาดว่าจะชะลอตัวต่อไป เนื่องจากปัญหาจากกลุ่มประเทศในแถบยุโรปมีการนำเข้าที่ลดลงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลกโดยรวม
  • ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง คือ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ ประกอบกับราคาฝ้ายในตลาดล่วงหน้าที่เป็นแนวโน้มขาขึ้น

อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

  • แนวโน้มการผลิต และการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศ คาดว่าจะขยายตัวได้ แม้จะอยู่ในช่วงฤดูฝน โดยปัจจัยสำคัญที่จะมีส่วนสนับสนุน คือการผลักดันให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และการขยายตัวของภาคธุรกิจการก่อสร้างต่าง ๆ รวมทั้งเป็นวัตถุดิบในการผลิตวัสดุทดแทนไม้
  • สำหรับการส่งออกคาดว่ายังคงขยายตัวได้เนื่องจากประเทศในแถบภูมิภาคนี้มีศักยภาพและมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ยังมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น และมีช่องทางในการขยายการส่งออกปูนซีเมนต์เข้าสู่ตลาดอื่น ๆ เช่นชิลี เป็นต้น
สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรม
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม

ก.ค. 55 = 178.7

ส.ค. 55 = 174.1

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้ดัชนีลดลง ได้แก่

  • Hard Disk Drive
  • เครื่องปรับอากาศ
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน
  • อัตราการใช้กำลังการผลิต

ก.ค. 55 = 66.5

ส.ค. 55 = 65.4

โดยอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลง ได้แก่

  • เครื่องปรับอากาศ
  • ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
  • ผลิตภัณฑ์ยาง

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในเดือนสิงหาคม 2555 มีค่า 174.1 ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2555 (178.7) ร้อยละ 2.6 และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนสิงหาคม 2554 (196.3) ร้อยละ 11.3

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม2555 ได้แก่ Hard Disk Drive เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน อัญมณีและเครื่องประดับ น้ำตาล เป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม อาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น

อัตราการใช้กำลังการผลิต ในเดือนสิงหาคม 2555 อยู่ที่ระดับร้อยละ 65.4 ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2555 (ร้อยละ 66.5) และลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน คือเดือนสิงหาคม 2554 (ร้อยละ 65.6)

  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2555 ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์เหล็ก เส้นใยสิ่งทอเป็นต้น
  • อุตสาหกรรมที่ส่งผลสำคัญให้อัตราการใช้กำลังการผลิตลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อนได้แก่ Hard Disk Drive ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์พลาสติกอาหารทะเลกระป๋องและแช่แข็ง เป็นต้น

สถานภาพการประกอบกิจการอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2555

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2555 มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการจำนวน 402 ราย เพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนกรกฎาคม 2555 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 382 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 5.24 มียอดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 14,777.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2555 ซึ่งมีการลงทุน 11,789.72 ล้านบาท ร้อยละ 25.35 และมีการจ้างงานจำนวน 9,685 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2555 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 8,357 คน ร้อยละ 15.89

ภาวะการประกอบกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการเพิ่มขึ้นในจำนวนที่มากกว่าเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งมีโรงงานเริ่มประกอบกิจการจำนวน 359 ราย หรือคิดเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 11.98 มียอดเงินลงทุนรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งมีการลงทุน 10,448.30 ล้านบาท ร้อยละ 41.44 และมีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554 ที่มีจำนวนการจ้างงาน 7,862 คน ร้อยละ 23.19

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเริ่มประกอบกิจการมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2555 คืออุตสาหกรรมทำเครื่องเรือนหรือเครื่องตบแต่งภายในอาคารจากไม้ จำนวน 44 โรงงานรองลงมาคือ อุตสาหกรรมขุดดิน ทรายและร่อนล้างหรือคัดกรวดทราย จำนวน 22 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการโดยมีการลงทุนสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2555 คืออุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวนเงินทุน 3,109 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรม ผลิต ประกอบ ดัดแปลง หรือซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าจำนวนเงินทุน 1,664.29 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เริ่มประกอบกิจการและมีการจ้างงานสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2555 คืออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนพิเศษ หรืออุปกรณ์สำหรับรถยนต์ จำนวนคนงาน 700 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิต ประกอบ ดัดแปลง หรือซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า จำนวนคนงาน 537 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2555 มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 75 ราย มากกว่าเดือนกรกฎาคม2555 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 73 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.74 แต่มีเงินทุนของการเลิกกิจการรวม 438.21 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2555 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,891.80 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงาน จำนวน 1,225 คน น้อยกว่าเดือนกรกฎาคม 2555 ซึ่งมีการเลิกจ้างงานจำนวน 2,236 คน

ภาวะการเลิกกิจการของโรงงานจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน มีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการน้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งมีโรงงานที่ปิดดำเนินกิจการจำนวน 80 ราย คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 6.25 มีเงินทุนของการเลิกกิจการน้อยกว่าเดือนสิงหาคม2554 ที่การเลิกกิจการคิดเป็นเงินทุน 1,060.32 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงานน้อยกว่าเดือนสิงหาคม 2554ที่การเลิกจ้างงานมีจำนวน 2,451 คน

  • อุตสาหกรรมที่มีจำนวนโรงงานเลิกกิจการมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2555 คือ อุตสาหกรรมขุดหรือลอก กรวด ทรายหรือดิน และอุตสาหกรรมซ่อมรถยนต์ ทั้งสองอุตสาหกรรมจำนวน 9โรงงานเท่ากัน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมดูดทราย จำนวน 6 โรงงาน
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการโดยที่มีเงินลงทุนสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2555 คืออุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือน ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น เงินทุน 90.1 ล้านบาท รองลงมาคือ อุตสาหกรรมทำขดสปริงเหล็ก สลัก แป้นเกลียว วงแหวน หมุดย้ำหลอดชนิดพับได้ เงินทุน 41.56 ล้านบาท
  • อุตสาหกรรมที่เลิกประกอบกิจการและจำนวนคนงานสูงสุดในเดือนสิงหาคม 2555 คือ อุตสาหกรรมถนอมผัก พืช หรือผลไม้โดยวิธีกวน ตากแห้ง ดอง เยือกแข็ง เหือดแห้งจำนวนคนงาน 258 คน รองลงมาคือ อุตสาหกรรมผลิตเสื่อ พรมด้วยวิธีทอ สาน ถัก ซึ่งมิได้ทำจากยาง พลาสติกหรือพรมน้ำมัน จำนวนคนงาน 215 คน

ภาวะการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) ในเดือนมกราคม - สิงหาคม 2555 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีจำนวนโครงการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก สกท. ทั้งสิ้น 1,491 โครงการ มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 1,073 โครงการ ร้อยละ 38.96 และมีเงินลงทุน 592,300 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 269,200 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 120.02

  • การกระจายหุ้นของโครงการที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมในเดือนมกราคม - สิงหาคม 2555
              การร่วมทุน             จำนวน(โครงการ)          มูลค่าเงินลงทุน(ล้านบาท)
          1.โครงการคนไทย 100%            598                     128,300
          2.โครงการต่างชาติ 100%           537                     175,200
          3.โครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ     356                     288,800
  • ประเภทกิจการที่ได้รับการอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนมากที่สุดในเดือนมกราคม — สิงหาคม 2555 คือ หมวดบริการและสาธารณูปโภค มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 227,900 ล้านบาท รองลงมา คือ หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าเงินลงทุนรวม 118,000 ล้านบาท
1.อุตสาหกรรมอาหาร

ภาวะการผลิตและการส่งออกของอุตสาหกรรมอาหาร คาดว่า จะปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศชะลอตัวลง ส่วนการจำหน่ายภายในประเทศจะปรับตัวลดลงเช่นกัน จากการปรับเพิ่มขึ้นของระดับราคาน้ำมันและราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ส่งผลให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง

1. การผลิต

ภาวะการผลิตกลุ่มสินค้าอาหารสำคัญ (ไม่รวมน้ำตาล) เดือนสิงหาคม 2555 ลดลงจากปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 8.3 และ 5.6 ตามลำดับ แบ่งเป็น กลุ่มสินค้าสำคัญที่อิงตลาดส่งออก เช่น สับปะรดกระป๋อง และแป้งมันสำปะหลัง มีปริมาณการผลิตลดลงจากปีก่อนร้อยละ 85.1 และ 32.8 ตามลำดับ เนื่องจากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่ชะลอตัวลง แต่หากพิจารณากลุ่มสินค้าสำคัญโดยเปรียบเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อน เช่น ผลิตภัณฑ์ไก่ มีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 และ 4.1 ตามลำดับ เป็นผลจากการที่สหภาพยุโรปยกเลิกประกาศห้ามนำเข้าไก่สดแช่แข็ง กลุ่มสินค้าที่อิงตลาดภายในประเทศ เช่น น้ำมันพืชทั้งน้ำมันปาล์มและน้ำมันถั่วเหลือง มีปริมาณการผลิตลดลงโดยเปรียบเทียบกับเดือนก่อน ร้อยละ 19.8 และ 49.0 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการอนุมัติให้นำเข้าน้ำมันปาล์มจากต่างประเทศเพื่อผลิตเพิ่มขึ้นในเดือนก่อน และการปรับราคาเพิ่มขึ้นของถั่วเหลืองในตลาดโลกจากสถานการณ์ความแห้งแล้งในสหรัฐอเมริกาที่ส่งผลให้ผลผลิตลดลง

2. การตลาด

1) ตลาดในประเทศ เดือนสิงหาคม 2555 ปริมาณการส่งสินค้าอาหารและเกษตรในประเทศ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีก่อนและเดือนก่อนร้อยละ 1.1 และ 0.5 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลสาร์ทจีน ภายหลังจากชะลอการจับจ่ายใช้สอยจากผลการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันและราคาสินค้าในช่วงเดือนก่อน

2) ตลาดต่างประเทศ ภาพรวมมูลค่าการส่งออกอุตสาหกรรมอาหาร(ไม่รวมน้ำตาล) เดือนสิงหาคม เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนร้อยละ 6.4และหากเปรียบเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ร้อยละ 10.9เนื่องจากระดับราคาสินค้าในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นตามระดับราคาน้ำมัน ประกอบกับปัญหาภัยแล้งในสหรัฐอเมริกาเริ่มส่งผลต่อระดับราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกที่มีแนวโน้มจะขยับเพิ่มขึ้นอีกครั้ง

3. แนวโน้ม

การผลิตและส่งออก คาดว่า จะปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน จากคำสั่งซื้อที่ชะลอตัวลง ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์การเงินในกลุ่มสหภาพยุโรปและสถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่เดิมเริ่มฟื้นตัวกลับมาชะลอตัว สำหรับการจำหน่ายสินค้าในประเทศ คาดว่า จะปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน จากสถานการณ์ราคาน้ำมันและราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอยลง

2. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม

“ แนวโน้มการผลิตในภาพรวมและการส่งออกของอุตสาหกรรมนี้ คาดว่าจะชะลอตัวต่อไป เนื่องจากปัญหาจากกลุ่มประเทศในแถบยุโรปมีการนำเข้าที่ลดลงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลกโดยรวม”

1. การผลิต

เดือนสิงหาคม 2555 ภาวะการผลิตผลิตภัณฑ์สิ่งทอเมื่อเทียบกับเดือนก่อนปรับตัวลดลงในผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผ้าลูกไม้ เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถัก และเส้นใย โดยลดลงร้อยละ 1.21, 4.91 และ 6.35 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องนอนและผ้าขนหนู เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ และผ้ายางยืด โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.78, 0.75, และ 0.18 ตามลำดับ ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตเพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผ้ายางยืดเครื่องนอนและผ้าขนหนู และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าทอ และผ้าผืน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.47, 7.81, 0.92 และ 0.31 ตามลำดับ โดยมีเส้นใย ผ้าลูกไม้และเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตจากผ้าถักที่มีการผลิตลดลงร้อยละ 8.07, 8.62 และ 17.27 ตามลำดับ

2. การจำหน่าย

การจำหน่ายในประเทศ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนการจำหน่ายส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผ้าลูกไม้ เสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าถักเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าทอ เครื่องนอนและผ้าขนหนู เส้นใย และผ้ายางยืด โดยลดลงร้อยละ 0.37, 0.88, 1.57, 3.64, 4.78 และ 11.39 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การจำหน่ายในประเทศส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นในผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าถัก ผ้ายางยืด ผ้าผืน และเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าทอ ร้อยละ 8.38, 8.00, 3.47 และ 3.07 ตามลำดับ

การส่งออก โดยรวมเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.29 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น ด้ายฝ้าย เคหะสิ่งทอ ผ้าผืน และด้ายเส้นใยประดิษฐ์ โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.20, 22.53, 8.16 และ 2.18 ตามลำดับ ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกลดลง เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องยกทรงฯ และเส้นใยประดิษฐ์ โดยลดลงร้อยละ 6.40, 2.87 และ 2.01 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการส่งออกโดยรวมลดลงร้อยละ 14.78 สำหรับตลาดส่งออก การส่งออกเมื่อเทียบกับเดือนก่อนตลาดส่งออกที่เพิ่มขึ้น คือ อาเซียน และญี่ปุ่น โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.74 และ 0.18 ตามลำดับ ส่วนตลาดส่งออกที่ลดลง คือ ตลาด สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปร้อยละ 4.25 และ 1.95 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนการส่งออกลดลงในทุกตลาด คือ อาเซียน ญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป โดยลดลงร้อยละ 2.58, 9.24, 16.48, และ 24.76 ตามลำดับ

3. แนวโน้ม

แนวโน้มการผลิตในภาพรวมและการส่งออกของอุตสาหกรรมนี้ คาดว่าจะชะลอตัวต่อไป เนื่องจากปัญหาจากกลุ่มประเทศในแถบยุโรปมีการนำเข้าที่ลดลงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนที่ส่งผลกระทบเศรษฐกิจโลกโดยรวมปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง คือ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ ประกอบกับราคาฝ้ายในตลาดล่วงหน้าที่เป็นแนวโน้มขาขึ้น

3. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า

สมาพันธ์เหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศมาเลเซียได้ร้องเรียนไปยังรัฐบาลมาเลเซียเพื่อให้มีการตรวจสอบ cargo สินค้าเหล็กรวมไปถึงส่วนประกอบของเหล็ก ณ ท่าเรือประเทศต้นทางก่อนจัดส่งมายังประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าเหล็กที่ต่ำกว่ามาตรฐานและป้องกันไม่ให้มีการแจ้งพิกัดผิดเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีนำเข้า

1.การผลิต

สถานการณ์การผลิตของอุตสาหกรรมเหล็กในเดือนสิงหาคม 2555 ชะลอตัวลง โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือนนี้มีค่า 114.5 มีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่ลดลง ร้อยละ 14.27 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เมื่อพิจารณาในกลุ่มเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 18.02 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก ลดลง ร้อยละ 57.15 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดม้วน ลดลง ร้อยละ 43.90 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศ โดยเหล็กที่นำเข้ามาส่วนใหญ่จะมีราคาต่ำกว่าเหล็กที่ขายในประเทศเนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่า สำหรับกลุ่มเหล็กทรงยาว พบว่ามีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 10.46 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุด ได้แก่เหล็กเส้นข้ออ้อย ลดลง ร้อยละ 21.14 เนื่องจากอุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งเป็นผู้ใช้ที่สำคัญได้ชะลอตัวลง เนื่องจากอยู่ในช่วงฤดูฝน นอกจากนี้เป็นผลมาจากการปรับลดปริมาณการผลิตลงของผู้ผลิตรายหนึ่งเพื่อเตรียมปรับปรุงประสิทธิภาพของเครื่องจักร รองลงมาคือ ลวดเหล็กแรงดึงสูง ลดลง ร้อยละ 12.01 ขณะเดียวกันเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลง ร้อยละ 14.56 โดยเหล็กทรงแบนมีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 22.87 เหล็กทรงยาว มีการผลิตที่ลดลง ร้อยละ 3.00

2.ราคาเหล็ก

จากข้อมูลดัชนีราคาเหล็กต่างประเทศของสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย พบว่า การเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาเหล็ก (FOB) โดยเฉลี่ยที่สำคัญในตลาด CIS ณ ท่าทะเลดำ (Black Sea) ในช่วงเดือนกันยายน 2555 เทียบกับเดือนก่อนพบว่า ผลิตภัณฑ์เหล็กทุกตัวมีดัชนีราคาเหล็กที่ลดลง ดังนี้ เหล็กแท่งเล็ก Billet ลดลงจาก 130.73 เป็น 124.70 ลดลง ร้อยละ 4.61 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลงจาก 113.64 เป็น 112.30 ลดลง ร้อยละ 1.18 เหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลงจาก 121.02เป็น 119.62 ลดลง ร้อยละ 1.16 เหล็กแท่งแบน ลดลงจาก 112.79 เป็น 111.62ลดลง ร้อยละ 1.04 เหล็กเส้น ลดลงจาก 130.31 เป็น 129.25 ลดลง ร้อยละ 0.81เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ในขณะที่ประเทศจีนซึ่งเป็นผู้ผลิตที่สำคัญของโลกมีการผลิตส่วนเกินเพิ่มมากขึ้นแต่ความต้องการใช้ในประเทศกลับลดลง

3. แนวโน้ม

สถานการณ์การผลิตเหล็กในเดือนกันยายน 2555 ในส่วนของเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าจะมีการผลิตที่ลดลงเนื่องจากแนวโน้มการนำเข้าเหล็กราคาถูกจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่สามารถแข่งขันทางด้านราคาได้ ในขณะที่เหล็กทรงยาวคาดการณ์ว่าจะมีการผลิตที่ทรงตัวเนื่องจากสถานการณ์อุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศที่ยังคงทรงตัวอยู่

4. อุตสาหกรรมยานยนต์

รถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม 2555 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 เนื่องจากผู้ประกอบการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้สามารถส่งมอบรถยนต์ให้กับลูกค้าได้มากขึ้น ประกอบกับนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนสิงหาคม ดังนี้

  • การผลิตรถยนต์ จำนวน 210,334 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม2554 ซึ่งมีการผลิต 153,180 คัน ร้อยละ 37.31 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และมีปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2555 ร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถยนต์กระบะ 1ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
  • การจำหน่ายรถยนต์ จำนวน 128,306 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม2554 ซึ่งมีการจำหน่าย 79,043 คัน ร้อยละ 62.32 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ 1 ตัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ และรถยนต์ PPV รวมกับ SUV แต่มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2555 ร้อยละ 2.54 ซึ่งเป็นการปรับลดลงของการจำหน่ายรถยนต์นั่ง และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
  • การส่งออกรถยนต์ จำนวน 85,279 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม2554 ซึ่งมีการส่งออก 72,270 คัน ร้อยละ 18.00 ซึ่งเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนีย และตะวันออกกลาง แต่มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2555 ร้อยละ 10.08 ซึ่งลดลงในประเทศแถบเอเชีย โอเชียเนีย ตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถยนต์ในเดือนกันยายน 2555 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2555 สำหรับการผลิตรถยนต์ในเดือนกันยายน 2555 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 55 และส่งออกร้อยละ 45

รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนสิงหาคม 2555 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2554 โดยมีข้อมูลสภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์เดือนสิงหาคม ดังนี้

  • การผลิตรถจักรยานยนต์ จำนวน 222,078 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งมีการผลิต 208,211 คัน ร้อยละ 6.66 โดยเป็นการปรับเพิ่มขึ้นของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต แต่มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2555 ร้อยละ 7.42 โดยเป็นการปรับลดลงของการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และแบบสปอร์ต
  • การจำหน่ายรถจักรยานยนต์ จำนวน 179,715 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งมีการจำหน่าย 190,720 คัน ร้อยละ 5.77โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม2555 ร้อยละ 4.29 โดยเป็นการปรับลดลงของรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แบบสกูตเตอร์ และแบบสปอร์ต
  • การส่งออกรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) จำนวน 18,578 คัน ลดลงจากเดือนสิงหาคม 2554 ซึ่งมีการส่งออก 28,736 คันร้อยละ 35.35 โดยเป็นการลดลงในประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและสหราชอาณาจักร และมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2555 ร้อยละ 28.42 โดยเป็นการลดลงในประเทศญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย
  • แนวโน้ม ภาวะอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน2555 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2555 สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์ในเดือนกันยายน 2555 ประมาณการว่าจะมีการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศร้อยละ 90 และส่งออกร้อยละ 10
5.อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์

“อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยายตัวได้ซึ่งปัจจัยที่สนับสนุน คือ การลงทุนโครงการพื้นฐานต่างๆ ของภาครัฐ และความต้องการใช้ในการก่อสร้างของทุกภาคส่วน สำหรับการส่งออกมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากตลาดส่งออกหลักยังคงมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในการก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง”

1.การผลิตและการจำหน่ายในประเทศ

ในเดือนสิงหาคม 2555 ปริมาณการผลิต เมื่อเทียบกับเดือนก่อน ลดลงร้อยละ 0.74 แต่ปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.78 และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและปริมาณการจำหน่ายในประเทศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.36 และ 14.55 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ยังคงขยาย ตัวได้ สำหรับปัจจัยที่สนับสนุนการใช้ปูนซีเมนต์ในประเทศ คือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ของภาครัฐ การสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมความต้องการใช้ในการก่อสร้างของทุกภาคส่วน

2.การส่งออก

มูลค่าการส่งออกปูนซีเมนต์ เดือนสิงหาคม 2555 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.57 แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.63

เมื่อพิจารณาในภาพรวมการส่งออกยังคงขยายตัวได้ ทั้งนี้เนื่องจากตลาดส่งออกหลักคือประเทศในแถบอาเซียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์ในการก่อสร้างเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะเมียนมาร์ ซึ่งมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่น และมีการขยายการลงทุนตามไปด้วย

3.แนวโน้ม

แนวโน้มการผลิต และการจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศคาดว่าจะขยายตัวได้ แม้จะอยู่ในช่วงฤดูฝน โดยปัจจัยสำคัญที่จะมีส่วนสนับสนุน คือการผลักดันให้เกิดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และการขยายตัวของภาคธุรกิจการก่อสร้างต่าง ๆ รวมทั้งเป็นวัตถุดิบในการผลิตวัสดุทดแทนไม้

สำหรับการส่งออกคาดว่ายังคงขยายตัวได้เนื่องจากประเทศในแถบภูมิภาคนี้มีศักยภาพและมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ยังมีความจำเป็นต้องใช้ปูนซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น และมีช่องทางในการขยายการส่งออกปูนซีเมนต์เข้าสู่ตลาดอื่น ๆเช่น ชิลี เป็นต้น

6. อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนสิงหาคม 2555 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 258.52 ลดลงร้อยละ 4.54 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 33.06 ซึ่งอยู่ระหว่างการฟื้นฟูให้ได้กลับมาผลิตได้เต็มกำลังการผลิต

ตารางที่ 1 สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์หลักที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ในเดือน ส.ค. 2555

          เครื่องใช้ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิกส์            มูลค่า (ล้านเหรียญฯ)       %MoM            %YoY
อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์                      1,624.6           3.7            -4.6
วงจรรวมและไมโครแอสแซมบลี                             580.8           7.4           -33.4
เครื่องปรับอากาศ                                      250.60         -14.9            -9.4
กล้องถ่าย TV , VDO                                   183.80         -26.5           -27.4
รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์                       4,587.0           1.0           -11.8

1.การผลิต

ภาพรวมภาวะการผลิตอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเดือนสิงหาคม 2555 มีดัชนีผลผลิตอยู่ที่ระดับ 258.52 ลดลงร้อยละ 4.54 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 33.06 เนื่องจากปัญหาอุทกภัยที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ไตรมาส 4 ของปีก่อน ทำให้สายการผลิตเสียหาย และไม่สามารถผลิตสินค้าได้เต็มกำลังการผลิต อย่างไรก็ตามในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและผู้ผลิตชิ้นส่วนในโซ่อุปทานเริ่มกลับมาผลิตได้แล้ว เมื่อพิจารณาในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 13.96 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 1.43 สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ลดลงร้อยละ 2.43 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 37.06

2. การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เดือนสิงหาคม 2555 มีมูลค่า 4,587 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 11.8 โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าการส่งออก 1,940.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนปรับตัวลดลงร้อยละ 5.5 เครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด ได้แก่เครื่องปรับอากาศ มีมูลค่าส่งออก 250.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และลดลงร้อย 9.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการปรับตัวลดลงในตลาดหลัก รองลงมาคือ กล้องถ่าย TV,VDO มีมูลค่าส่งออก 183.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 26.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 27.4

สำหรับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีมูลค่าการส่งออก 2,646.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการปรับตัวลดลงร้อยละ 16.0 สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีมูลค่าส่งออกสูงที่สุดได้แก่อุปกรณ์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีมูลค่าส่งออก 1,624.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนเนื่องจากการส่งออกไปตลาดหลักลดลง ยกเว้นสหรัฐอเมริกาที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนวงจรรวมและไมโครแอสแซมบลีมีมูลค่า 580.8ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากอยู่ระหว่างการฟื้นฟูโรงงาน

3. แนวโน้ม

ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เดือนกันยายน 2555 จากแบบจำลองดัชนีชี้นำภาวะอุตสาหกรรมสาขาเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดทำโดยสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณการแนวโน้มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า จะปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนส่วนการประมาณการอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 32 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ