ภาพรวมเศรษฐกิจโลก
ในไตรมาส 3 ปี 2555 เศรษฐกิจแต่ละประเทศยังคงชะลอตัว ปัญหาเศรษฐกิจยุโรปและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวยังคงกดดันให้การส่งออกของแต่ละประเทศขยายตัวลดลง อัตราการว่างงานของยุโรปยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง
ราคาน้ำมันดิบดูไบในไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ 106.14 USD/Barrel ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 อยู่ที่ 106.90 USD/Barrel สำหรับสถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกราคาน้ำมันดิบในระยะสั้นยังคงปรับตัวสูงขึ้น โดยล่าสุดราคาน้ำมันดิบ NYMEX ส่งมอบเดือนธันวาคม (ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555) อยู่ที่ 88.71 USD/Barrel ราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นผลมาจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์และความกังวลต่ออุปทานน้ำมันในสหรัฐฯ ที่โรงกลั่นยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติจากผลกระทบของเฮอร์ริเคนแซนดี้ ทำให้ไม่สามารถขนส่งน้ำมันดิบไปโรงกลั่นได้ รวมทั้งสต๊อกน้ำมันดิบลดลง
เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา(2)
"...เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2555 ยังคงขยายตัว อันเนื่องมาจากการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น..."
ภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในไตรมาส 3 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 2.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 การบริโภคภาคเอกชนไตรมาส 3 ปี 2555ขยายตัวร้อยละ 2.0 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.5 การลงทุนภาคเอกชนไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 9.5 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 65.0 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 50.3
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 94.2 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.7
หมายเหตุ
(1) - ข้อมูลบางส่วนของบางประเทศล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 1 ปี 2555
- ที่มา www.eia.doe.gov www.thaioil.co.th
(2) - ที่มา www.worldbank.org www.imf.org www.bea.gov www.ceicdata.com
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 2.6 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 15.4 การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 13.1
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.8 เนื่องจากราคาพลังงานปรับตัวลดลง อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 8.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.1 อัตราว่างงานมีการฟื้นดีขึ้น
สถานการณ์การด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2555 ให้คงอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ร้อยละ 0.25 และดำเนินมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณรอบ 3 (QE3) ด้วยการเข้าซื้อหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากสัญญาจำนอง เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจและลดอัตราว่างงาน
เศรษฐกิจจีน(3)
เศรษฐกิจจีนในไตรมาส 3 ปี 2555 ยังคงขยายตัวแต่ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากภาคการผลิต และการส่งออก ที่ชะลอตัว
ภาวะเศรษฐกิจของจีน ในไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 7.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 9.1 มูลค่าการค้าปลีกในไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ13.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งขยายตัวร้อยละ 17.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 99.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 104.7ขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรในไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 20.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 25.1
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 9.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 13.8
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 4.5 ลดลงเมื่อเทียบกับ ไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 20.6 การนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ1.7 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 24.8
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ของปี2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 6.3 อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.1 เท่ากับไตรมาส 3ของปี 2554
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางจีน (People’s Bank of China) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 1 ปี จากร้อยละ 6.56 เป็นร้อยละ 6.00 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2555 นอกจากนี้ธนาคารกลางจีนได้ชะลอการซื้อขายพันธบัตรของทางการ (Open market operation) ในเดือนตุลาคม เนื่องจากสภาพคล่องที่มีอยู่มากในตลาดอินเตอร์แบงค์
หมายเหตุ
(3) - ที่มา www.stats.gov.cn, www.pbc.gov.cn, www.ceicdata.com
เศรษฐกิจประเทศญี่ปุ่น(4)
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากการบริโภค เนื่องจากนโยบายให้เงินสนับสนุนในการซื้อ Eco — car และการลงทุน จากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในพื้นที่ภัยพิบัติ
ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ในไตรมาส 2 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 3.3 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ 1.7 การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาส 2 ปี 2555ขยายตัวร้อยละ 2.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่หดตัวร้อยละ 1.8 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 40.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ38.1 การลงทุนในภาคก่อสร้างไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 2.8 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.5
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 89.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 93.7
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2555 หดตัวร้อยละ 8.1 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.6 การส่งออกหดตัวจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจยุโรปที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และการส่งออกเครื่องจักรไปประเทศจีนก็ลดลง การนำเข้าไตรมาส3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 0.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 13.8
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2555 มีอัตราเงินเฟ้อโดยทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ -0.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.2 อัตราการว่างงานไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ4.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.4
หมายเหตุ
(4) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 2 ปี 2555
- www.cao.go.jp www.boj.or.jp www.stat.go.jp www.ceicdata.com
สถานการณ์ด้านการเงิน มติที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan) ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.1 (เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม2555) และยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย โดยขยายขนาดโครงการซื้อสินทรัพย์เพิ่มขึ้น
เศรษฐกิจสหภาพยุโรป(5)
เศรษฐกิจสหภาพยุโรปในไตรมาส 2 ปี 2555 เริ่มเข้าสู่ภาวะหดตัว เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ในยุโรป อัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง และในไตรมาส 3 ปี 2555 คาดว่าเศรษฐกิจสหภาพยโรปยังคงหดตัวต่อเนื่อง
ภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป ในไตรมาส 2 ปี 2555 GDP หดตัวร้อยละ 0.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 การบริโภคไตรมาส 2 ปี 2555 หดตัวร้อยละ0.4 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.5
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 97.9 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 100.6 และในเดือนกรกฎาคมสิงหาคม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 99.0 และ 99.2 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 11.3 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 13.7 สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 13.9 และ 13.2 ตามลำดับ การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 3.2 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2554 ที่ขยายตัวร้อยละ 11.3 สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ขยายตัวร้อยละ 3.2 และ 4.6 ตามลำดับ
อัตราเงินเฟ้อ ในไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.7 อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงเป็นผลจากอุปสงค์ที่ลดลง อัตราการว่างงานในไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 10.6 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2554 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 9.5 เป็นการว่างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์ด้านการเงิน ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ร้อยละ 0.75 (เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2555) เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายที่ธนาคารกลางยุโรปกำหนดไว้ และลดต้นทุนการกู้ยืมของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคให้ลดลงอีกด้วย
หมายเหตุ
(5) - ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาสที่ 2 ปี 2555
- ที่มา eurostat, www.ecb.int www.ceicdata.com
เศรษฐกิจของประเทศอุตสาหกรรมสำคัญในเอเชีย
เศรษฐกิจฮ่องกง(6)
"...เศรษฐกิจฮ่องกง ในไตรมาส 2 ปี 2555 ยังคงขยายตัว อย่างไรก็ตามดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิตหดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม..."
ภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง ในไตรมาส 2 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับ ช่วงเดียวกันของปีก่อน
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 2 ปี2555 อยู่ที่ระดับ 92.1 หดตัวร้อยละ 3.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สาม
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2555 มีมูลค่า 128,677 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของฮ่องกง (คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 57.4 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของฮ่องกง) ขยายตัวร้อยละ 15.6 ด้านการนำเข้าไตรมาส 3 ปี 2555 มีมูลค่า 143,672 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 8.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ลดลงจากในไตรมาส 2 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.8 จากราคาค่าเช่าบ้านที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ในเดือนกันยายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.3เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากในเดือนสิงหาคม 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.2
หมายเหตุ
(6) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 2 ปี 2555
- ที่มา www.censtatd.gov.hk www.fpo.go.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
เศรษฐกิจเกาหลีใต้(7)
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ ในไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
ภาวะเศรษฐกิจของเกาหลีใต้ ในไตรมาส 3 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวชะลอลงจากในไตรมาส 2 ปี 2555 ซึ่งขยายตัวร้อยละ2.3 โดยมีปัจจัยหลักจากภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 3 ปี2555 อยู่ที่ระดับ 148.1 ขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีในไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.6
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 3 ปี 2555 มีมูลค่า 133,309 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 5.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องจากในไตรมาส 2 ปี2555 ซึ่งหดตัวร้อยละ 1.7การส่งออกไปในหลายตลาดหดตัว โดยตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของเกาหลีใต้ยังคงเป็นตลาดจีนที่ในไตรมาสนี้การส่งออกไปจีนหดตัวร้อยละ 2.9 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 3 ปี 2555 มีมูลค่า 125,374 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 7.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หดตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สองเช่นเดียวกับการส่งออก
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.6 ลดลงจากในไตรมาส 2 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 2.0 อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาลในเดือนกันยายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ทรงตัวจากในเดือนสิงหาคม 2555
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2555 ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมาอยู่ที่ร้อยละ 2.75 จากเดิมร้อยละ 3.0 เนื่องจากภาคการส่งออกยังมีความไม่แน่นอน การบริโภคภายในประเทศยังมีความอ่อนแอ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้
หมายเหตุ
(7) - ที่มา ecos.bok.or.kr www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
เศรษฐกิจสิงคโปร์(8)
เศรษฐกิจสิงคโปร์ ในไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวในอัตราที่ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้างที่ขยายตัวชะลอลง
ภาวะเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ในไตรมาส 3 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากในไตรมาส 2 ปี 2555 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.3 โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ0.7 และ 8.6 ตามลำดับ ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากในไตรมาส 2 ปี 2555 ซึ่งขยาตัวร้อยละ4.6 และ 10.1 ตามลำดับ
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ98.6 หดตัวร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ดัชนีในเดือนกันยายน 2555 หดตัวร้อยละ 2.5 จากการผลิตสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์หดตัวร้อยละ 12.2 ทั้งนี้ตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์โลกยังคงมีความอ่อนแอ ขณะที่การผลิตสินค้าในกลุ่มไบโอเมดิคอล หดตัวร้อยละ6.9
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2555 มีมูลค่า 102,867 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปยังตลาดสำคัญอย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย และจีนยังคงขยายตัว ขณะที่การส่งออกไปยังฮ่องกง สหภาพยุโรป(27)และสหรัฐฯ หดตัว สำหรับในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2555 การส่งออกหดตัวร้อยละ 3.3และ 8.9 ตามลำดับ ด้าน การนำเข้าไตรมาส 2 ปี 2555 มีมูลค่า 96,169 ล้านเหรียญสหรัฐฯขยายตัวร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในเดือนกรกฎาคม 2555 การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 2.3 แต่ในเดือนสิงหาคม 2555 หดตัวร้อยละ 11.2
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ลดลงจากในไตรมาส 2 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.3 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.7 จากราคาที่อยู่อาศัย และต้นทุนค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ อัตราการว่างงานหลังจากปรับฤดูกาล ไตรมาส 3 ปี2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.9 ลดลงจากในไตรมาส 2 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.0 สะท้อนความต้องการในตลาดแรงงานที่ยังคงมีความแข็งแกร่ง
หมายเหตุ
(8) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 2 ปี 2555
- ที่มา www.singstat.gov.sg www.bot.or.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
เศรษฐกิจอินโดนีเซีย(9)
"...เศรษฐกิจอินโดนีเซีย ในไตรมาส 3 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน..."
ภาวะเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ในไตรมาส 3 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 6.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ106.9 ขยายตัวร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2555 ขยายตัวร้อยละ 1.3 และ 6.1 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2555 มีมูลค่า 48,444 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ 20.3 สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2555 หดตัวร้อยละ 7.6 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2555 มีมูลค่า 50,702 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2555 ขยายตัวร้อยละ 0.9
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.5 ทรงตัวจากในไตรมาส 2 ปี 2555 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 4.3
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2555 ธนาคารกลางอินโดนีเซียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 5.75 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่กรอบเป้าหมายที่ตั้งไว้
เศรษฐกิจมาเลเซีย(10)
"...เศรษฐกิจมาเลเซีย ในไตรมาส 2 ปี 2555 ยังคงขยายตัวจากภาคการบริการและภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ด้านอุปสงค์ การลงทุนรวมเป็นตัวแปรสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ..."
หมายเหตุ
(9) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 2 ปี 2555
- ที่มา www.bi.go.id www.bot.or.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
(10) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 2 ปี 2555
- ที่มา www.statistics.gov.my www.bnm.gov.my www.fpo.go.th www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
ภาวะเศรษฐกิจของมาเลเซีย ในไตรมาส 2 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 1 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.9 จากภาคการบริการและภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ทางด้านอุปสงค์ การลงทุนรวมเป็นตัวแปรสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 2 ปี2555 อยู่ที่ระดับ 122.6 ขยายตัวร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนกรกฎาคม 2555 ขยายตัวร้อยละ 6.0 ขณะที่ดัชนีในเดือนสิงหาคม 2555 หดตัวร้อยละ 1.8 จากการผลิตสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มผลิตภัณฑ์ไม้ เฟอร์นิเจอร์ผลิตภัณฑ์กระดาษและสิ่งพิมพ์ รวมถึงกลุ่มปิโตรเลียม เคมีภัณฑ์ยาง และผลิตภัณฑ์ยางหดตัว
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2555 มีมูลค่า 57,036 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการส่งออกไปสหภาพยุโรป(27)หดตัวร้อยละ 11.9 ขณะที่การส่งออกไปไทยหดตัวร้อยละ 1.1 สำหรับการส่งออกในเดือนกรกฎาคม 2555 หดตัวร้อยละ 7.9 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2555 มีมูลค่า 50,202 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับการนำเข้าในเดือนกรกฎาคม 2555 ขยายตัวร้อยละ 3.5
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.4 ลดลงจากในไตรมาส 2 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 1.3 จากราคาอาหารที่ชะลอตัวลงตามาตรการควบคุมราคาสินค้าจำเป็นของรัฐบาล อัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคม 2555อยู่ที่ร้อยละ 2.7 ลดลงจากในเดือนกรกฎาคม 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 3.1
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์(11)
"...เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและการค้าระหว่างประเทศที่ฟ้นื ตัว..."
ภาวะเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ ในไตรมาส 2 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจากการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค และการค้าระหว่างประเทศที่ฟื้นตัว
หมายเหตุ
(11) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 2 ปี 2555
- ที่มา www.nscb.gov.ph www.bsp.gov.ph www.ceicdata.com www.gtis.com/gta
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาส 2 ปี 2555 อยู่ที่ระดับ 96.0 ขยายตัวร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ดัชนีในเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2555 ขยายตัวร้อยละ 3.7 และ 3.5 ตามลำดับ
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกไตรมาส 2 ปี 2555 มีมูลค่า 13,881 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นสหรัฐฯ และจีน ขยายตัวร้อยละ 12.2 12.2 และ 6.5 ตามลำดับ สำหรับในเดือนกรกฎาคม 2555การส่งออกขยายตัวร้อยละ 6.7 ด้านการนำเข้าในไตรมาส 2 ปี 2555 มีมูลค่า 15,248 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับในเดือนกรกฎาคม 2555การนำเข้าหดตัวร้อยละ 0.7
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.9 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 3.6
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2555 ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Reverse Repurchase) ไว้ที่ร้อยละ 3.75 เนื่องจากธนาคารกลางเห็นว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และควบคุมระดับอัตราเงินเฟ้อได้
เศรษฐกิจอินเดีย(12)
"...เศรษฐกิจอินเดีย ในไตรมาส 2 ปี 2555 ขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อันเป็นผลมาจากการบริโภคของภาครัฐที่ขยายตัวเป็นสำคัญ..."
ภาวะเศรษฐกิจของอินเดีย ในไตรมาส 2 ปี 2555 GDP ขยายตัวร้อยละ 5.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการบริโภคภาครัฐที่ขยายตัวเป็นสำคัญ
การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตสาขาอุตสาหกรรมการผลิต ในไตรมาส 2 ปี2555 อยู่ที่ระดับ 176.8 หดตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีในเดือนกรกฎาคม 2555 หดตัวร้อยละ 0.4 ขณะที่ดัชนีในเดือนสิงหาคม 2555 ขยายตัวร้อยละ 2.9
การส่งออกและนำเข้า การส่งออกเดือนกันยายน 2555 มีมูลค่า 23,698.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หดตัวร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ด้านการนำเข้าในเดือนมีนาคม 2555 มีมูลค่า 41,778.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
หมายเหตุ
(12) - ที่มา ข้อมูลบางส่วนล่าสุดยังเป็นข้อมูลในไตรมาส 2 ปี 2555
- ที่มา commerce.nic.in www.fpo.go.th www.ceicdata.com
อัตราเงินเฟ้อ ไตรมาส 3 ปี 2555 อยู่ที่ร้อยละ 9.9 ลดลงจากในไตรมาส 2 ปี 2555 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 10.2 ทั้งนี้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2555 อยู่ที่ร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สถานการณ์ด้านการเงิน เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2555 ธนาคารกลางอินเดียประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 8.0 เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--