สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม — กันยายน) พ.ศ. 2555(อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า)

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 20, 2012 14:34 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

1. สถานการณ์ปัจจุบัน

การผลิต

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีประมาณ 1,637,057 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ลดลง ร้อยละ 12.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 30.85 สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 18.38 แต่เหล็กทรงแบนกลับเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.43 โดยเหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 42.63 เหล็กแผ่นรีดเย็น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.43 และเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.37 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า การผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.97 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.37 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ19.99 เหล็กแผ่นเคลือบชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.75 สำหรับเหล็กทรงยาวมีการผลิตลดลง ร้อยละ 5.31

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี 2555 มีประมาณ 5,079,551 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ลดลง ร้อยละ 8.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 25.95 รองลงมาคือ เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 7.49 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 3.92 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 10.54 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ 7.21 ซึ่งสาเหตุที่การผลิตลดลงเนื่องจากสถานการณ์เหล็กในช่วงนี้มีการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่สูงมาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจหลายประเทศที่ชะลอตัว เช่น ประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตเหล็กที่สำคัญซึ่งขณะนี้มีความต้องการใช้ที่ลดลง จึงทำให้ส่งเหล็กเข้ามายังประเทศไทยจำนวนมาก จึงทำให้ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของไทยบางรายประสบกับปัญหาสภาพคล่องและการเพิ่มทุน จึงทำให้ระดับการผลิตภายในประเทศลดลงต่อเนื่อง

ความต้องการใช้ในประเทศ

ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีประมาณ 4,764,522 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็นเหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.87 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.12 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.35 สำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.16 เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 3.44 และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน พบว่า ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศโดยรวมลดลง ร้อยละ 3.23 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีความต้องการใช้ลดลงมากที่สุด คือ เหล็กทรงแบน เหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 7.31 โดยเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ 20.84 เหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 8.77 และเหล็กแผ่นรีดเย็น ลดลง ร้อยละ 5.55

ปริมาณความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี 2555 มีประมาณ 13,893,708 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็นเหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณความต้องการใช้เพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.29 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.88 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.97 ซึ่งความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะมาจากการนำเข้าเหล็กชนิดพิเศษเพื่อใช้สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มียอดการผลิตที่ทำสถิติใหม่ สำหรับเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.67

การนำเข้า- การส่งออก

การนำเข้า

มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีจำนวนประมาณ86,524 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.81 โดยเหล็กแท่งแบน(Slab) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67.73 ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาเหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.84 โดยเหล็กเส้น (Bar) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.58 โดยเหล็กที่นำเข้ามามีมูลค่ามากในช่วงนี้เป็นเหล็กชนิดคุณภาพพิเศษซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ สำหรับเหล็กเส้นซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างจะใช้เหล็กเกรดธรรมดาซึ่งผลิตได้เองในประเทศ สำหรับเหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.63 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากในช่วงนี้ ได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ (Pipe- Seamless) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.53 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี(Galv.(HDG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.50 และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.02 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า มูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.89 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished products) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.11 โดยเหล็กแท่งแบน (Slab) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 68.05 สำหรับเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.72 โดยเหล็กเส้น เพิ่มขึ้น ร้อยละ 32.03 เหล็กทรงแบนชะลอตัวลง ร้อยละ 0.72 โดย เหล็กแผ่นเคลือบโครเมียม(Tin free)ลดลง ร้อยละ 25.61และท่อเหล็กมีตะเข็บ (Pipe-Welded) ลดลง ร้อยละ 21.45

มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี 2555 มีจำนวนประมาณ 240,248 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.18 โดยผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ (All others semi) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 55.69 รองลงมาคือ เหล็กแท่งแบน (Slab) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.67 ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาเหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.13 โดยเหล็กเส้น (Bar) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.02 สำหรับเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.95 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี(Galv.(HDG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.61 รองลงมา คือ เหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.30 รายละเอียดตามตารางที่ 3

การส่งออก

มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีจำนวนประมาณ 9,701 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.19 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2,947.33 รองมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.(EG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 233.78 และเหล็กแผ่นรีดเย็น (CR carbon steel) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 136.35 สำหรับเหล็กทรงยาวลดลง ร้อยละ 5.13 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 50.59 เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L)) ลดลง ร้อยละ 8.92 ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนพบว่า มูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 3.86 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished products) ลดลงร้อยละ 15.82 โดย เหล็กแท่งเล็ก (Billet) ลดลง ร้อยละ 99.90

มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี 2555 มีจำนวนประมาณ 29,492 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 6.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 84.66 โดยเหล็กแท่งแบน ลดลง ร้อยละ 100 และผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ (All others semi) ลดลง ร้อยละ 87.36 สำหรับเหล็กทรงยาว มีมูลค่าการส่งออกที่ลดลง ร้อยละ 10.95 โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 52.13 และเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อน (HR section (H/L))ลดลงร้อยละ 9.66 สำหรับเหล็กทรงแบน มีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 1.02 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.(EG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 64.71 เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin Plate)เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.24 และท่อเหล็กไร้ตะเข็บ (Pipe-Seamless) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 44.09

2. สรุป

ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีประมาณ 1,637,057 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ลดลง ร้อยละ 12.13 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ

เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 30.85 สำหรับเหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 18.38เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.43 สำหรับปริมาณความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีประมาณ 4,764,522 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20.87 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.12 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 19.35 มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีจำนวนประมาณ 86,524 ล้านบาทโดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.55 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.81 โดยเหล็กแท่งแบน (Slab) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 67.73 ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาเหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.84 โดยเหล็กเส้น (Bar) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.58 โดยเหล็กที่นำเข้ามามีมูลค่ามากในช่วงนี้เป็นเหล็กชนิดคุณภาพพิเศษซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น ยานยนต์ สำหรับเหล็กเส้นซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างจะใช้เหล็กเกรดธรรมดาซึ่งผลิตได้เองในประเทศ สำหรับเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.63 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากในช่วงนี้ ได้แก่ ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ (Pipe- Seamless) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.53 รองลงมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.(HDG)) เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.50 และเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O) เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.02 โดยเป็นผลมาจากการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ สำหรับมูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีจำนวนประมาณ 9,701 ล้านบาทโดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.24 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ เหล็กทรงแบนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10.19 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อนชนิดกัดกรดและเคลือบน้ำมัน (HR sheet P&O)เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2,947.33 รองมาคือ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.(EG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 233.78 และเหล็กแผ่นรีดเย็น (CR carbon steel) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 136.35ปริมาณการผลิตเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี 2555 มีประมาณ 5,079,551 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) ลดลง ร้อยละ 8.89 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีการผลิตลดลงมากที่สุดในช่วงนี้ คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป ลดลง ร้อยละ 25.95 รองลงมาคือ เหล็กทรงยาว ลดลง ร้อยละ 7.49 สำหรับเหล็กทรงแบน ลดลง ร้อยละ 3.92 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน ลดลง ร้อยละ 10.54 และเหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและเคลือบโครเมียม ลดลง ร้อยละ 7.21 ซึ่งสาเหตุที่การผลิตลดลงเนื่องจากสถานการณ์ช่วงนี้การแข่งขันในอุตสาหกรรมที่สูงมาก ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจหลายประเทศที่ชะลอตัว เช่น ประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศผู้ผลิตเหล็กที่สำคัญซึ่งขณะนี้มีความต้องการใช้ที่ลดลงจึงทำให้ส่งเหล็กเข้ามายังประเทศไทยจำนวนมาก จึงทำให้ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่บางรายประสบกับปัญหาสภาพคล่องและการเพิ่มทุน จึงทำให้ระดับการผลิตภายในประเทศลดลงต่อเนื่องปริมาณความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี 2555 มีประมาณ 13,893,708 เมตริกตัน ( ไม่รวมผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป เหล็กแผ่นรีดเย็น เหล็กแผ่นเคลือบและท่อเหล็กเพื่อไม่ให้เกิดการนับซ้ำ ) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 12.50 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณความต้องการใช้เพิ่มขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ คือ เหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16.29 โดยเหล็กแผ่นรีดร้อน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 25.88 เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี เพิ่มขึ้น ร้อยละ 13.97 ซึ่งความต้องการใช้ในประเทศที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นการนำเข้าเหล็กชนิดพิเศษเพื่อใช้สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มียอดการผลิตที่ทำสถิติใหม่ สำหรับเหล็กทรงยาวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.67 มูลค่าการนำเข้าเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี 2555 มีจำนวนประมาณ 240,248 ล้านบาท โดยมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.95 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป(Semi-finished products)เพิ่มขึ้น ร้อยละ 18.18 โดยผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ (All others semi) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 55.69 รองลงมาคือ เหล็กแท่งแบน (Slab) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 23.67 ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาเหล็กในกลุ่มทรงยาว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.13 โดยเหล็กเส้น (Bar) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.02 สำหรับเหล็กทรงแบน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 7.95 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการนำเข้าเพิ่มขึ้นมากในช่วงนี้ ได้แก่ เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.(HDG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 21.61 มูลค่าการส่งออกเหล็กและเหล็กกล้าที่สำคัญใน 9 เดือนแรกของปี 2555 มีจำนวนประมาณ 29,492 ล้านบาท โดยมูลค่าการส่งออกลดลง ร้อยละ 6.94 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เหล็กกึ่งสำเร็จรูป (Semi-finished products) ลดลง ร้อยละ 84.66 สำหรับเหล็กทรงยาว มีมูลค่าการส่งออกที่ลดลง ร้อยละ 10.95โดยเหล็กลวด (Wire rod (LC/HC)) ลดลง ร้อยละ 52.13 สำหรับเหล็กทรงแบน มีมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 1.02 โดยเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี (Galv.(EG)) เพิ่มขึ้น ร้อยละ 64.71เหล็กแผ่นเคลือบดีบุก (Tin Plate) เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.24

3.แนวโน้ม

สถานการณ์อุตสาหกรรมเหล็กในช่วง 3 เดือนหลังของปี 2555 ในส่วนของเหล็กทรงแบนคาดการณ์ว่าการผลิตและความต้องการใช้ในประเทศจะเพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการเร่งการผลิตเพื่อให้เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ และอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น เครื่องจักรกล บรรจุภัณฑ์ ที่ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอยู่ แต่สำหรับอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์คาดการณ์ว่ายังคงทรงตัว แต่ยังคงมีปัญหาที่ต่อเนื่อง คือ การขยายตัวของการนำเข้าเหล็กประเภทกลุ่มที่เป็นเหล็กกล้าเจือ (Alloyed product) ที่มีลักษณะของการนำไปใช้งานที่เหมือนกับกลุ่มเหล็กกล้าคาร์บอน แต่ผู้นำเข้าระบุว่าเป็นกลุ่มเหล็กกล้าเจือจึงไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า จากที่ต้องเสียภาษีนำเข้าในอัตรา 5% ซึ่งช่วงนี้มีแนวโน้มการนำเข้าเหล็กประเภทนี้มากขึ้นทั้งในกลุ่มเหล็กแผ่นรีดร้อนและเหล็กลวดซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมในประเทศไม่สามารถแข่งขันกับเหล็กที่นำเข้าได้และส่งผลให้การผลิตในประเทศลดลงด้วย ขณะเดียวกันในภาคอสังหาริมทรัพย์พบว่าโครงการต่างๆของภาครัฐและเอกชนยังคงทรงตัวอยู่จึงมีผลทำให้แนวโน้มสถานการณ์การผลิตและความต้องการใช้ในประเทศของเหล็กในกลุ่มทรงยาวทรงตัวด้วย

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ