สรุปภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม — กันยายน) พ.ศ. 2555(อุตสาหกรรมยานยนต์)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 21, 2012 14:04 —สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมรถยนต์ใน 9 เดือนแรกของปี 2555 ขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เมื่อพิจารณาในไตรมาสสามของปี 2555 ขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุน ซึ่งได้แก่ การขยายเวลานโยบายรถยนต์คันแรก การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น และโรงงานผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์สามารถกลับมาดำเนินการผลิตได้เป็นปกติ จึงมีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า

? สถานการณ์ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2555 มีโครงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 57 โครงการ คิดเป็นเงินลงทุนรวม 68,672.40 ล้านบาทก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทยเพิ่มขึ้นกว่า 11,498 คน ในจำนวนนี้มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีเงินลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท จำนวน 11 โครงการ คือ 1) โครงการผลิตชิ้นส่วนสำหรับยานพาหนะ เช่น Subframe Lower & Upper Arm, Axle Beam และ Arm Trailing เป็นต้น ของบริษัท เอฟ-เทค เอ็มเอฟจี (ไทยแลนด์) จำกัด เงินลงทุน 1,179.10 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงานไทย 442 คน 2) โครงการผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคล (Eco car) และ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ของบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เงินลงทุน 14,000.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 1,521 คน 3) โครงการผลิตโคมไฟรถยนต์และกระจกมองข้างรถยนต์ ของบริษัท อิจิโกห์ อินดัสตรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด เงินลงทุน 1,400.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 390 คน 4) โครงการผลิตเครื่องยนต์แก๊สโซลีนสำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ของ บริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด เงินลงทุน 6,962.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 469 คน 5) โครงการผลิตยางเรเดียล off The Road Radial Tire ของ บริษัท บริดจสโตน สเปเชียลตี้ ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง(ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 20,568.60 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 683 คน6) โครงการผลิตปั๊มหัวฉีดเชื้อเพลิงแรงดันสูงสำหรับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน ของ บริษัท สยาม เด็นโซแมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด เงินลงทุน 2,665.40 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 797 คน 7) โครงการผลิตเพลาขับเคลื่อน ของบริษัท เอ็นทีเอ็น แมนูแฟคเจอริ่ง (ไทยแลนด์) จำกัด เงินลงทุน 1,128.10 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 81 คน 8) โครงการผลิต Agricultural Tire, Solid Tire Rubber Track ของ บริษัท ซูมิโตโม รับเบอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด เงินลงทุน 3,960.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 512 คน 9) โครงการผลิตหม้อน้ำรถยนต์ และชิ้นส่วนหม้อน้ำรถยนต์ เช่น Core, Ture, Tank และ Blower ของ บริษัท เด็นโซ่ (ประเทศไทย)จำกัด เงินลงทุน 1,147.70 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 190 คน 10) โครงการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับยานพาหนะ เบาะรถยนต์ แผงบังแดด แผ่นกันร้อนและกันเสียง ของ บริษัท ซัมมิท โอโตซีท อินดัสตรี จำกัด เงินลงทุน 2,224.00 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 1,110 คน และ 11) โครงการผลิตชิ้นส่วนปั๊มขึ้นรูปสำหรับยานพาหนะ ของ บริษัทโตโยโตมิ ออโต้ พาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด เงินลงทุน 2,217.60 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างแรงงาน 260 คน (รวบรวมข้อมูลจาก www.boi.go.th)

อุตสาหกรรมรถยนต์โลก (รวบรวมข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2555 จาก FOURIN)

? อุตสาหกรรมรถยนต์โลกในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 (มกราคม-พฤษภาคม) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 34,006,112 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 10.20แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 25,467,983 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 8,538,129 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 11.50 และ 6.40 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตรถยนต์ที่สำคัญ ได้แก่ จีน และสหรัฐอเมริกา พบว่า จีนมีการผลิตรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี2555 (มกราคม-พฤษภาคม) จำนวน 8,007,355 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.55 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการผลิตรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2555 (มกราคม-พฤษภาคม) จำนวน 4,429,629 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13.02 ของปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งโลก สำหรับการจำหน่ายรถยนต์โลกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 (มกราคม-มิถุนายน) มีการจำหน่ายรถยนต์ 38,645,176 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 6.70 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 28,677,893 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 9,967,283 คันเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 7.80 และ 3.70 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาประเทศผู้ผลิตที่สำคัญ พบว่า จีนมีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 (มกราคม-มิถุนายน) จำนวน 9,604,536 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.85 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก และสหรัฐอเมริกามีการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2555 (มกราคม-มิถุนายน) จำนวน 7,423,051 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 19.20 ของปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ทั้งโลก

? อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศสหรัฐอเมริกา มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วง 8 เดือนของปี 2555 (มกราคม-สิงหาคม) จำนวน 6,963,421 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 24.00 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 2,726,648 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.20 และการผลิตรถบรรทุก 4,236,773 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.00 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2555 (มกราคม-กรกฎาคม) มีจำนวน 8,601,957 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 14.30 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 4,311,894 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.10 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 4,290,063 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.70

? อุตสาหกรรมรถยนต์ของประเทศจีน มีปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วง 8 เดือนของปี 2555 (มกราคม-สิงหาคม) จำนวน 12,477,164 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 5.10 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง 10,017,188 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.40 และมีการผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2,459,976 ลดลงร้อยละ 6.60 สำหรับการจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2555 (มกราคม-สิงหาคม) มีจำนวน 12,479,129 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 3.80 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 9,954,889 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.70 และการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 2,524,240 คัน ลดลงร้อยละ 8.90

อุตสาหกรรมรถยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555(ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 1,703,044 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.50 โดยมีการผลิตรถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.03, 32.24 และ 88.83 ตามลำดับ ซึ่งจากปริมาณการผลิตรถยนต์โดยรวม เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 650,748 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 38.21 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยแบ่งเป็น การผลิตรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) เพื่อการส่งออกร้อยละ 76.30 และการผลิตรถยนต์นั่งเพื่อการส่งออกร้อยละ 23.70 สำหรับรถยนต์นั่งที่มีการผลิตเพื่อส่งออกมากที่สุดได้แก่ รถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,201-1,500 ซี.ซี. รองลงมาคือ รถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล และรถยนต์นั่งที่มีขนาดเครื่องยนต์ 1,501-1,800 ซี.ซี. ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2555 (ก.ค.-ก.ย.) มีปริมาณการผลิตรถยนต์ 648,751 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถยนต์ 474,628 คัน ร้อยละ 36.68 โดยเป็น การผลิตรถยนต์นั่ง 267,619 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 370,988 คัน และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 10,144 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 51.69 , 26.76 และ 82.47 เนื่องจากโรงงานประกอบรถยนต์เร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าที่มีมากขึ้น สำหรับปริมาณการผลิตรถยนต์ทั้งหมดในไตรมาสที่สามของปี 2555 แบ่งเป็นการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออก 278,385 คัน หรือคิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 43.00 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด โดยเป็นรถยนต์นั่ง 74,554 คัน คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 26.78 และรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน (รวมรถยนต์ PPV) 180,887 คัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 39.11 หากพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาปริมาณการผลิตรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.90 โดยเป็นการผลิตรถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.40รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.92 และ รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.92 ตามลำดับ

การจำหน่าย ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี2555 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 998,223 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.77 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์นั่ง รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ และรถยนต์ PPV รวม SUV เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.28, 48.75, 44.83 และ 42.62 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของ ปี 2555 (ก.ค.-ก.ย.) มีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 392,748 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ 238,957 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 64.35หากแยกตามประเภทรถยนต์ มีการจำหน่ายรถยนต์นั่ง 192,597 คัน รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน 154,994 คัน รถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ 24,351 คัน และ รถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) 20,806 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.49, 54.90, 70.40 และ 29.20 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2555เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.07 โดยมีการจำหน่ายรถยนต์เพื่อการพาณิชย์อื่นๆ รถยนต์นั่ง รถยนต์ปิกอัพ 1 ตัน และ รถยนต์ PPV (รวมรถยนต์ SUV) เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.02, 24.25, 15.55 และ 3.72 ตามลำดับ

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี2555 (ม.ค.-ก.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ (CBU) จำนวน 735,254 คัน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.94 ถ้าคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 352,027.16 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วง 9 เดือนแรกปี 2554 ร้อยละ 17.73 เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2555 (ก.ค.-ก.ย.) มีปริมาณการส่งออกรถยนต์ จำนวน 278,385 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถยนต์ 238,727 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.61 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกมีมูลค่า 134,943.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกรถยนต์ 122,628.01 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.04 หากพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา ปริมาณการส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.88 และเมื่อคิดเป็นมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.04

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกรถยนต์นั่งของไทยในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555 มีมูลค่า 98,618.10ล้านบาท ตลาดส่งออกสำคัญของรถยนต์นั่ง ได้แก่ อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 32.61, 16.92 และ11.53 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถยนต์นั่งไปอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.12 และ 6.19 ตามลำดับ แต่การส่งออกรถยนต์นั่งไปออสเตรเลีย มีมูลค่าลดลงร้อยละ 33.65 มูลค่าการส่งออกรถแวนและปิกอัพของไทยในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555 มีมูลค่า 13,674.19 ล้านบาท ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญ ได้แก่ญี่ปุ่น คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 85.21 มูลค่าการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกของไทยในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555 มีมูลค่า 238,968.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 954.52 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถบัสและรถบรรทุก ได้แก่ ออสเตรเลียซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 24.24, 10.72 และ5.16 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถบัสและรถบรรทุกไปออสเตรเลีย ซาอุดิอาระเบีย และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2,120.35, 300.57 และ 293.59 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้ารถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรก 2555 (ม.ค.-ก.ย.)มีการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก คิดเป็นมูลค่า 33,612.32 และ19,749.83 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรก 2554 พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.55 และ 19.20 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามปี 2555 มีมูลค่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารและรถบรรทุก 9,968.41 และ 5,945.08 ล้านบาท ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว พบว่าการนำเข้ารถยนต์นั่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 49.34 แต่การนำเข้ารถโดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 0.19 เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถยนต์นั่ง ลดลงร้อยละ 19.77 การนำเข้ารถโดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 5.42 แหล่งนำเข้ารถยนต์นั่งที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และเยอรมนี คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 34.42, 29.42 และ 17.27 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์นั่งจากญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ242.07, 142.12 แต่การนำเข้ารถยนต์นั่งจากเยอรมนี ลดลงร้อยละ 9.71 ตามลำดับ ส่วนแหล่งนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 61.04, 9.30 และ 7.37 ตามลำดับ โดยการนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.53, 144.41ตามลำดับ แต่การนำเข้ารถยนต์โดยสารและรถบรรทุกจากเกาหลีใต้ ลดลงร้อยละ 4.72 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้มรถยนต์

อุตสาหกรรมรถยนต์ใน 9 เดือนแรกของปี 2555 ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากมีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า ประกอบกับมีปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายรถยนต์คันแรก และการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น

หากพิจารณาอุตสาหกรรมรถยนต์ในไตรมาสที่สามของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่สองของปี 2555 ขยายตัว เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุน ซึ่งได้แก่การขยายเวลานโยบายรถยนต์คันแรก การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น และโรงงานผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์สามารถกลับมาดำเนินการผลิตได้เป็นปกติ จึงมีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้า สำหรับการส่งออกขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในประเทศแถบเอเชีย สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ไตรมาสที่สี่ของปี 2555 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ส่งผลให้ปริมาณการผลิต การจำหน่าย และการส่งออกรถยนต์ของไตรมาสที่สี่ของปี 2554 อยู่ในระดับต่ำ โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถยนต์ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่สี่ปี 2555 คาดว่าการผลิตรถยนต์ประมาณ6.5 แสนคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 50-55 และการผลิตเพื่อการส่งออกประมาณร้อยละ 45-50 เนื่องจากผู้ผลิตรถยนต์มีการเร่งการผลิตรถยนต์เพื่อให้ทันต่อความต้องการของลูกค้าภายในประเทศเป็นหลัก ประกอบกับจะสิ้นสุดระยะเวลาการจองและยื่นเอกสารการขอใช้สิทธิ์สำหรับนโยบายรถยนต์คันแรก อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบสภาวะเศรษฐกิจยุโรปและความผันผวนของราคาพลังงาน

  • อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์

การผลิต ปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกปี2555 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 2,024,044 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 1,792,061 คัน ร้อยละ 12.94 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 1,831,722 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 192,322 คันเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.75 และ 39.11 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2555 มีจำนวน 679,245 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ 624,469 คัน ร้อยละ 8.77 แบ่งเป็นการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 614,705 คัน และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 64,540 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.23 และ 20.06 ตามลำดับ หากพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการผลิตรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.95 โดยมีการผลิตรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว และรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.05 และ 1.97 ตามลำดับ

การจำหน่าย ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยใน 9 เดือนแรกของปี 2555(ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 1,644,382 คัน เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 1,621,872 คัน ร้อยละ 1.38 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 764,745 คัน ลดลงร้อยละ 2.54 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 816,444 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.04 และการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 63,193 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.44 ตลาดรถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในไตรมาสที่สามของปี2555 มีจำนวน 538,348 คัน ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ 540,966 คัน ร้อยละ 0.48 แบ่งเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว 248,360 คัน ลดลงร้อยละ 9.90 การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ 266,325คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.37 และการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต 23,663 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ20.84 หากพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ลดลงร้อยละ 8.19 โดยเป็นการจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวและรถจักรยานยนต์แบบสกูตเตอร์ ลดลงร้อยละ 9.41, 8.31 ตามลำดับ แต่การจำหน่ายรถจักรยานยนต์แบบสปอร์ต เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.62

การส่งออก ปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555 (ม.ค.-ก.ย.) มีจำนวน 619,025 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน237,306 คัน และ CKD จำนวน 381,719 ชุด) เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกปี 2554 ลดลงร้อยละ 30.67 คิดเป็นมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) มีมูลค่า 21,315.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 2.83 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2555จำนวน 192,623 คัน (เป็นการส่งออก CBU จำนวน 64,993 คัน และ CKD จำนวน 127,630 ชุด)ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ 339,058 คัน ลดลงร้อยละ 43.18 หากคิดเป็นมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์มีมูลค่า 6,418.45ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 6,322.18 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.50 หากพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา มีปริมาณการส่งออกรถจักรยานยนต์ (CBU&CKD) ลดลงร้อยละ 2.72 และมูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 10.04

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555 มีมูลค่า22,462.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 51.80 ประเทศที่เป็นตลาดส่งออกสำคัญของรถจักรยานยนต์ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 22.72, 13.36 และ 13.30 ตามลำดับ โดยการส่งออกรถจักรยานยนต์ไปสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักร มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 110.57, 29.15 และ 23.94 ตามลำดับ

การนำเข้า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555(ม.ค.-ก.ย.) มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์คิดเป็นมูลค่า 2,650.15 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 174.84 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2555 มีการนำเข้ารถจักรยานยนต์ คิดเป็นมูลค่า 1,019.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งมีปริมาณการนำเข้ารถจักรยานยนต์ 338.58 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 201.08 หากพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การนำเข้ารถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.31 แหล่งนำเข้ารถจักรยานยนต์ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555 ได้แก่ เวียดนาม แอฟริกาใต้ และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 37.17, 12.82 และ 12.63 ตามลำดับ โดยมีการนำเข้ารถจักรยานยนต์เวียดนาม และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 365.73 และ 5,340.65 ตามลำดับ

สรุปและแนวโน้ม รถจักรยานยนต์

อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 การผลิตขยายตัวเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากผู้ผลิตรถจักรยานยนต์ต้องการเร่งการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ประกอบกับมีการเปิดตัวรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น อุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์ไตรมาสที่สี่ของปี 2555 คาดว่าจะทรงตัวเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากแผนการผลิตของผู้ประกอบการรถจักรยานยนต์ ประมาณการว่า ในไตรมาสที่สี่ของปี 2555 จะมีการผลิตรถจักรยานยนต์กว่า 6.5แสนคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ประมาณร้อยละ 85-90 และการผลิตเพื่อการส่งออกร้อยละ 10-15

อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์

การส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 ( ม.ค.-ก.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) มีมูลค่า 126,113.27 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 ร้อยละ 18.91 การส่งออกเครื่องยนต์มีมูลค่า 21,743.81 ล้านบาทเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี 2554 ร้อยละ 8.41 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ มีมูลค่า 15,187.80 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกของปี2554 ร้อยละ 27.65 เมื่อพิจารณาในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2555 มีมูลค่า 46,605.13 ล้านบาทเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 18.80 การส่งออกเครื่องยนต์ มีมูลค่า7,148.62 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 5.96 และการส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ 5,561.97 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 36.21 หากพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2555 เปรียบเทียบกับไตรมาสที่ผ่านมาพบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ (OEM) และชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 9.28, 11.87 ตามลำดับ แต่สำหรับมูลค่าการส่งออกเครื่องยนต์ ลดลง 7.32จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า มูลค่าการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 161,892.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 28.02 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซียคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 14.17, 13.61 และ 10.51 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ไปอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.49, 28.77และ 35.04 ตามลำดับ

การส่งออกชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ ในช่วง 9 เดือนแรกปี 2555 (ม.ค.-ก.ย.) การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 7,915.31 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกปี 2554 ลดลงร้อยละ 21.22 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 570.95 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 9 เดือนแรกปี 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.08 เมื่อพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2555 การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) มีมูลค่า 2,087.38 ล้านบาท ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 46.14 การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่า 204.95 ล้านบาท ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 0.46 หากพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2555 เปรียบเทียบกับ ไตรมาสที่ผ่านมา พบว่า การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ (OEM) ลดลง ร้อยละ 22.94 แต่การส่งออกชิ้นส่วนอะไหล่รถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.14

จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่ามูลค่าการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี2555 มีมูลค่า 17,369.64 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 17.10 ตลาดส่งออกที่สำคัญของส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ ได้แก่ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชาคิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 17.69, 12.53 และ 11.40 ตามลำดับ โดยการส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปกัมพูชา เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.15 แต่การส่งออกส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ไปเวียดนาม และ อินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ 29.85 และ 42.99 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถยนต์ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 209,024.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 43.49 หากพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2555 เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 58.98 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่ผ่านมา พบว่ามูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.25 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้า ร้อยละ 59.39, 7.04 และ 4.39 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์จากญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.73, 88.61 และ33.16 ตามลำดับ

การนำเข้าชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ฯ จากข้อมูลของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ พบว่า การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ ของประเทศไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 มีมูลค่า 12,491.63 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.88 หากพิจารณาในไตรมาสที่สามของปี 2555 เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 23.79 หากเปรียบเทียบไตรมาสที่สามกับไตรมาสที่สองของปี 2555 พบว่า มูลค่าการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.43 แหล่งนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯที่สำคัญในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2555 ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินโดนีเซีย คิดเป็นสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ 39.19, 16.90 และ 11.56 ตามลำดับ โดยการนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากอินโดนีเซีย และจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 66.51 และ 18.64 ตามลำดับ แต่การนำเข้าส่วนประกอบและอุปกรณ์รถจักรยานยนต์ฯ จากญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 1.75

นโยบายภาครัฐที่เกี่ยวข้อง

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2555 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการขยายเวลาการรับและส่งมอบรถยนต์รวมถึงเอกสารหลักฐานของราชการออกไปสำหรับโครงการรถยนต์ใหม่คันแรก ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

1. ผู้ขอใช้สิทธิในโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกต้องทำการซื้อหรือจองรถยนต์ภายในวันที่ 31ธันวาคม 2555 และต้องยื่นคำขอใช้สิทธิฯ และเอกสารประกอบการใช้สิทธิฯ ภายในวันที่ 31ธันวาคม 2555

2. เนื่องจากในวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ผู้ขอใช้สิทธิในโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกอาจจะยังไม่ได้รับมอบรถยนต์หรือจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบกไม่ทันตามกำหนดเวลา ส่งผลให้ไม่สามารถยื่นเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ได้ภายในวันสิ้นสุดโครงการฯ (วันที่ 31 ธันวาคม 2555) จึงผ่อนผันให้ผู้ขอใช้สิทธิฯ นำเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมมายื่น ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขา ภายในระยะเวลา 90 วันนับจากวันถัดจากวันรับมอบรถยนต์

3. หากผู้ขอใช้สิทธิในโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกไม่ดำเนินการตามข้อ 1) และไม่นำเอาเอกสารเพิ่มเติมในข้อ 2) มายื่น ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่หรือสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่สาขาภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ขอใช้สิทธิฯ ไม่ประสงค์จะขอรับเงินคืนตามโครงการฯ และจะเรียกร้องสิทธิฯ และค่าเสียหายใด ๆ กับทางราชการไม่ได้ ทั้งนี้ ให้กรมสรรพสามิตสามารถกำหนดแนวปฏิบัติเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีต่อไปได้

4. ผู้ขอใช้สิทธิในโครงการรถยนต์ใหม่คันแรกจะได้รับเงินคืนหลังจากครอบครองรถยนต์ใหม่คันแรกไปแล้ว 1 ปี ทั้งนี้ ชื่อผู้ซื้อที่ระบุในใบจองรถยนต์ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 จะต้องเป็นชื่อบุคคลเดียวกันกับผู้ซื้อรถยนต์ที่ยื่นขอใช้สิทธิฯ ดังกล่าวเท่านั้น (www.cabinet.thaigov.go.th)

--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ