การผลิต
โซดาไฟ
การผลิตโซดาไฟในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีปริมาณ 196,413.6 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.69 และการจำหน่ายโซดาไฟในไตรมาสที่ 3 ปี 2555 มีปริมาณ 216,131.4 ตัน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ร้อยละ 7.19
หมายเหตุ : โซดาไฟเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และยังใช้ประโยชน์ได้อีกมากมาย เช่น ในการผลิตเยื่อและกระดาษ สบู่และผลิตภัณฑ์ซักฟอก เคมีภัณฑ์ การทำความสะอาด โรงกลั่นน้ำมัน การใช้งานทางอุตสาหกรรมโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร เส้นใยเรยอน สิ่งทอ และอื่น ๆ
การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 3 ปี 2555 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 13,978 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.66 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.45 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่านำเข้า 29,926 ล้านบาท เลดลงร้อยละ 12.85 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 1.98 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีมูลค่านำเข้า 25,837 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.09 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.03 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมสีมีการนำเข้า 12,278 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.86 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 9,465 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.50 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.92 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
การส่งออก
ไตรมาส 3 ปี 2555 การส่งออกเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 4,827 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.06 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 12.78 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 20,726 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.49 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 42.90 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีมีมูลค่าการส่งออก 1,179ล้านบาท ลดลงร้อยละ 7.75 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมสีมีมูลค่าส่งออก 4,791 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.16 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้วและเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 16,408 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.27 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.30 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
แนวโน้ม
ประเด็นวิกฤตการณ์ทางการเงินของเศรษฐกิจยุโรปถือว่าเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงที่ภาคธุรกิจของไทยกำลังเผชิญกับความอ่อนแอ เนื่องจากที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปัญหา 3 ด้านที่เผชิญอยู่ก่อนแล้วได้แก่ 1.ปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมือง 2.ปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้น ซึ่งบางธุรกิจยังไม่
สามารถฟื้นตัวกลับมาผลิตได้อย่างเต็มที่ และ 3.ปัญหาจากนโยบายการขึ้นค่าแรง 300 บาท ที่ทำให้ต้นทุนทางการผลิตของภาคธุรกิจเพิ่มขึ้น
ถึงแม้ว่าวิกฤติในยุโรปแม้ไม่ได้กระทบกับภาคการส่งออกของไทยโดยตรงมากนักเนื่องจากไทยมีสัดส่วนการส่งออกสินค้าไปยังยุโรปเพียงร้อยละ 9.5 ของการส่งออกทั้งหมด แต่หลังจากยุโรปรัดเข็มขัดและใช้จ่ายน้อยลงมาก ได้ส่งผลต่อการผลิตของคู่ค้าหลักของไทยทั้ง 6 ประเทศได้แก่ จีน ฮ่องกง สหรัฐญี่ปุ่น จีน สหภาพยุโรปและการค้าในอาเซียน ซึ่งทั้งหมดเป็นคู่ค้าสำคัญของไทยโดยรวมสัดส่วนการส่งออกของทั้ง 6 กลุ่มประเทศ อยู่ที่ร้อยละ 73 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย การผลิตของทุกประเทศที่ส่งสินค้าไปยังยุโรปเริ่มชะลอตัวลง ทำให้คำสั่งซื้อสินค้าที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าลดลง และส่งผลกระทบให้เห็นชัดเจนในบางรายสินค้าแล้ว เช่น ยางพารา ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องประดับ เป็นต้นทั้งนี้การเผชิญปัญหาต่างๆ ของภาคเอกชนทำให้ใน 6 เดือนแรกของปีนี้มีโรงงานที่ต้องปิดตัวไปแล้วกว่าร้อยละ 6 ถ้าหากยืดเยื้อต่อไป อาจจะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตและการส่งออกต่ออุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ซึ่งเป็นวัตถุดิบในกาผลิตของอุตสาหกรรมหลักภายในประเทศก็เป็นได้
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--